Share to:

 

บีบีซี

บริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ
ชื่อท้องถิ่น
British Broadcasting Corporation
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
โดยได้รับพระบรมราชานุญาต
อุตสาหกรรมสื่อสารมวลชน
ก่อนหน้าบริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (British Broadcasting Company)
ก่อตั้ง18 ตุลาคม พ.ศ. 2465 (102 ปีที่แล้ว) ในนามบริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ
1 มกราคม พ.ศ. 2470 (98 ปีที่แล้ว) ในนามบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ
ผู้ก่อตั้งรัฐบาลในสมเด็จฯ
สำนักงานใหญ่,
สหราชอาณาจักร
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลักริชาร์ด ชาร์ป
(ประธาน)
ทิม เดวี
(ผู้อำนวยการ)
ผลิตภัณฑ์เว็บท่า
บริการ
รายได้เพิ่มขึ้น 5,064 พันล้านปอนด์สเตอร์ลิง (พ.ศ. 2564)
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 290 ล้านปอนด์ (พ.ศ. 2564)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 227 ล้านปอนด์ (พ.ศ. 2564)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 2.11 พันล้านปอนด์ (พ.ศ. 2564)
เจ้าของบริษัทมหาชน[1]
พนักงาน
ลดลง 22,219 คน (พ.ศ. 2564)
เว็บไซต์bbc.co.uk bbc.com

บริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ[2] หรือ บีบีซี[2] (อังกฤษ: British Broadcasting Corporation, BBC) เป็นองค์การกระจายเสียงสาธารณะของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2465 โดยนายจอห์น รีท มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่บรอดคาสติงเฮาส์ในกรุงลอนดอน และมีศูนย์ผลิตรายการอยู่ที่เมืองซอลฟอร์ด เบลฟัสต์ เบอร์มิงแฮม บริสตอล คาร์ดิฟฟ์ และกลาสโกว์ รวมทั้งยังมีศูนย์ผลิตรายการย่อยอีกจำนวนมากอยู่ทั่วอังกฤษ บีบีซียังเป็นองค์กรด้านสถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดและยังเป็นสถานีออกอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพนักงานจำนวนกว่า 23,000 คน[3][4][5]

บีบีซีเป็นหน่วยงานด้านสถานีวิทยุและโทรทัศน์ที่จัดตั้งขึ้นโดยได้รับพระบรมราชานุญาต (Royal Charter)[6] และดำเนินกิจการตามข้อตกลงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม สื่อ และกีฬา[7] การดำเนินงานของบริษัทได้รับการอุดหนุนด้านการเงินเป็นหลักจากค่าธรรมเนียมการรับชมโทรทัศน์ซึ่งเรียกเก็บจากครัวเรือน บริษัท และองค์กรทุกแห่งในสหราชอาณาจักรที่ใช้อุปกรณ์ใด ๆ ก็ตามในการรับชมการแพร่ภาพโทรทัศน์[8] รัฐบาลสหราชอาณาจักรเป็นผู้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา[9]

ประวัติ

การกำเนิดของการกระจายเสียงของอังกฤษ ค.ศ. 1920 ถึง 1922

การถ่ายทอดสดสาธารณะครั้งแรกของสหราชอาณาจักรเกิดขึ้นจากโรงงานของบริษัทวิทยุโทรเลขมาร์โกนี ในเมืองเชล์มสฟอร์ด ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1920 โดยได้รับการสนับสนุนจาก ไวเคานต์นอร์ทคลิฟ (Lord Northcliffe) แห่งหนังสือพิมพ์เดลีเมล์ และดำเนินรายการโดย เนลลี เมลบา (Dame Nellie Melba) นักร้องเสียงโซปราโนที่มีชื่อเสียงชาวออสเตรเลีย การออกอากาศของเมลบาดึงดูดจินตนาการของผู้คนและเป็นจุดเปลี่ยนในทัศนคติต่อวิทยุของสาธารณชนชาวอังกฤษ[10] อย่างไรก็ตาม ความกระตือรือร้นของสาธารณชนนี้ไม่ได้ถูกยอมรับในแวดวงทางการที่มองว่าการออกอากาศดังกล่าวขัดขวางการสื่อสารทางการทหารและพลเรือนที่สำคัญ ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1920 ความกดดันจากหน่วยงานเหล่านี้และความไม่สะดวกใจในหมู่เจ้าหน้าที่ของที่ทำการไปรษณีย์ทั่วไป (General Post Office) ซึ่งเป็นหน่วยงานออกใบอนุญาต ก็เพียงพอแล้วที่จะนำไปสู่การห้ามการออกอากาศที่เชล์มสฟอร์ดต่อไป[11]

แต่ในปี ค.ศ. 1922 ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วไปได้รับคำขอใบอนุญาตออกอากาศเกือบ 100 รายการ[12] และทำการยกเลิกการสั่งห้ามเมื่อมีการเกิดขึ้นของสมาคมไร้สาย 63 แห่งซึ่งมีสมาชิกมากกว่า 3,000 ราย[13] ด้วยความกังวลและพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการขยายตัวที่วุ่นวายแบบเดียวกับที่เคยมีประสบการณ์ในสหรัฐอเมริกา หน่วยงานที่ทำการไปรษณีย์ทั่วไปเสนอว่าจะออกใบอนุญาตกระจายเสียงให้กับบริษัทที่กลุ่มผู้ผลิตเครื่องรับไร้สายชั้นนำเป็นเจ้าของร่วมกัน ซึ่งรู้จักกันในชื่อบริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (British Broadcasting Company Ltd.) จอห์น รีท (John Reith) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทั่วไปในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1922 ไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่บริษัททำการออกอากาศครั้งแรกอย่างเป็นทางการ[14] ลีโอนาร์ด สแตนตัน เจฟเฟอรีส์ (Leonard Stanton Jefferies) เป็นผู้อำนวยการด้านดนตรีคนแรก[15] บริษัทจะได้รับเงินทุนจากค่าภาคหลวงในการขายชุดรับสัญญาณไร้สายของบีบีซีจากผู้ผลิตในประเทศที่ได้รับอนุมัติ[16] ขณะนั้นบีบีซีตั้งเป้าที่จะปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของรีท คือเพื่อ "แจ้งข่าว ให้ความรู้ และให้ความบันเทิง"[17]

ค.ศ. 1922–1939

ป้ายสีน้ำเงินที่พระราชวังอเล็กซานดรา เป็นสถานีโทรทัศน์ความละเอียดสูงแห่งแรกในโลก

ค.ศ. 1939–2000

บีบีซี เทเลวิชันเซ็นเตอร์ สำนักงานใหญ่ที่ไวต์ซิตี ลอนดอนตะวันตก เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 1960 และปิดทำการเมื่อ ค.ศ. 2013

ค.ศ. 2011–ปัจจุบัน

บรอดคาสติงเฮาส์ สำนักงานใหญ่แห่งใหม่ในกรุงลอนดอน เริ่มเปิดทำการใน ค.ศ. 2012–2013

บริการ

บีบีซีให้บริการกระจายเสียงและแพร่ภาพตลอดจนสื่อประสม ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

  1. ข่าวบีบีซี (BBC News)
  2. วิทยุบีบีซี (BBC Radio)
  3. โทรทัศน์บีบีซี (BBC Television)
  4. เว็บไซต์บีบีซี (www.bbc.co.uk)

ตราสัญลักษณ์ของบีบีซี

อ้างอิง

  1. "BBC – BBC Charter and Agreement – About the BBC". www.bbc.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2019. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
  2. 2.0 2.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์เทคโนโลยีทางภาพ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 50. ISBN 9786167073699.
  3. "BBC: World's largest broadcaster & Most trusted media brand". Media Newsline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2010. สืบค้นเมื่อ 23 September 2010.
  4. "Digital licence". Prospect. สืบค้นเมื่อ 23 September 2010.
  5. "About the BBC – What is the BBC". BBC Online. สืบค้นเมื่อ 23 September 2010.
  6. Andrews, Leighton (2005). "A UK Case: Lobbying for a new BBC Charter". ใน Harris, Phil; Fleisher, Craig S. (บ.ก.). The handbook of public affairs. SAGE. pp. 247–48. ISBN 978-0-7619-4393-8.
  7. "Making well informed, fair and transparent decisions". Annual Report 2013/14. BBC. 2014.
  8. "TV Licensing: Legislation and policy". สืบค้นเมื่อ 12 February 2010.
  9. "BBC Press Office: TV Licence Fee: facts & figures". สืบค้นเมื่อ 12 February 2010.
  10. Asa Briggs (1985). The BBC – the First Fifty Years. Oxford University Press. p. 47. ISBN 0-19-212971-6. Condensed version of the five-volume history by the same author
  11. Asa Briggs, p. 50
  12. James Curran; Jean Seaton (June 29, 2018). Power Without Responsibility (8th ed.). Routledge. p. 110. ISBN 9780415710428.
  13. Asa Briggs, pp. 50, 97
  14. supra Curran and Seaton, p. 110
  15. Doctor, Jennifer Ruth (1999). The BBC and Ultra-Modern Music, 1922–1936: Shaping a Nation's Tastes. Cambridge University Press. p. 402. ISBN 9780521661171. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2014. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019.
  16. Burns, Tom (1977). The BBC: Public Institution and Private World. Great Britain: The Macmillan Press LTD. p. 1. ISBN 978-0-333-19720-2.
  17. "No need to change BBC's mission to 'inform, educate and entertain'". UK Parliament. 31 October 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2016. สืบค้นเมื่อ 31 October 2016.
  18. "BBC logo design evolution - Logo Design Love". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2019. สืบค้นเมื่อ 26 June 2019.
  19. 19.0 19.1 Hayden Walker, History of BBC corporate logos เก็บถาวร 4 มีนาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. TV ARK. Retrieved 20 November 2010.
  20. 20.0 20.1 "The BBC logo story". BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2013. สืบค้นเมื่อ 27 September 2013.
  21. "BBC reveals new logos in modern makeover". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-10-20. สืบค้นเมื่อ 2021-10-21.

แหล่งข้อมูลอื่น


Kembali kehalaman sebelumnya