Share to:

 

พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2

พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2
Stone tablet with image of Nebuchadnezzar and a temple
ส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า "ศิลาจารึกหอคอยบาเบล" แสดงพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 ที่ด้านขวาและมหาซิกกูแรตแห่งบาบิโลน (เอเตเมนอันกิ) ด้านซ้าย[a]
กษัตริย์แห่งจักรวรรดิบาบิโลนใหม่
ครองราชย์สิงหาคม 605 ปีก่อน ค.ศ. – 7 ตุลาคม 562 ปีก่อน ค.ศ.
ก่อนหน้าแนโบโพแลสซาร์
ถัดไปอาเมล-มาร์ดุก
ประสูติป. 642 ปีก่อน ค.ศ.[b]
อูรุก (?)
สวรรคต7 ตุลาคม 562 ปีก่อน ค.ศ. (ป. 80 พรรษา)
บาบิโลน
คู่อภิเษกอามีติสแห่งบาบิโลน (?)
พระราชบุตร
กับพระองค์
อื่น ๆ
แอกแคดNabû-kudurri-uṣur
ราชวงศ์ราชวงศ์บาบิโลน
พระราชบิดาแนโบโพแลสซาร์

เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 (อังกฤษ: Nebuchadnezzar II, /nɛbjʊkədˈnɛzər/; อักษรรูปลิ่มบาบิโลน: Nabû-kudurri-uṣur,[6][7][c] หมายถึง "นาบู คุ้มครองผู้สืบทอดของข้า";[8] ฮีบรูไบเบิล: נְבוּכַדְנֶאצַּר[d] Nəḇūḵaḏneʾṣṣar) หรือสะกดเป็น เนบูคัดเรซซาร์ที่ 2 (Nebuchadrezzar II)[8] เป็นกษัตริย์องค์ที่สองแห่งจักรวรรดิบาบิโลนใหม่ผู้ครองราชย์ตั้งแต่การสวรรคตของแนโบโพแลสซาร์ พระราชบิดา ใน 605 ปีก่อน ค.ศ. จนกระทั่งสวรรคตใน 562 ปีก่อน ค.ศ. ตามประวัติศาสตร์รู้จักกันในพระนาม เนบูคัดเนสซาร์มหาราช[9][10] เนื่องโดยทั่วไปถือเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรวรรดิ[8][11][12] เนบูคัดเนสซาร์ยังคงมีชื่อเสียงจากการทัพในลิแวนต์ โครงการก่อสร้างในบาบิโลน เมืองหลวงของพระองค์ รวมถึงสวนลอยบาบิโลน และมีบทบาทในประวัติศาสตร์ชาวยิว[8] เนบูคัดเนสซาร์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดในราชวงศ์บาบิโลน โดยปกครองไป 43 ปี ในช่วงที่สวรรคต พระองค์กลายเป็นหนึ่งในผู้ปกครองที่ทรงอำนาจที่สุดในโลก[11]

แหล่งข้อมูล

ข้อมูลอักษรรูปลิ่มในช่วงระหว่าง 594 ถึง 557 ปีก่อน ค.ศ. ที่ครอบคลุมรัชสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 และผู้ครองราชย์ถัดจากพระองค์อีก 3 พระองค์ ได้แก่ อาเมล-มาร์ดุก, เนริกลิสซาร์ และลาบาชี-มาร์ดุก มีน้อยมาก[13] การขาดแหล่งข้อมูลดังกล่าวส่งผลอันน่าเสียดายตรงที่แม้ว่าเนบูคัดเนสซาร์ครองราชย์ยาวนานที่สุด แต่กลับเป็นที่รู้จักอย่างแน่ชัดน้อยกว่ารัชสมัยของกษัตริย์บาบิโลนใหม่เกือบทั้งหมด แม้ว่าสามารถกู้คืนแหล่งที่มาอักษรรูปลิ่มจำนวนหยิบมือ โดยเฉพาะพงศาวดารบาบิโลน ที่ยืนยันเหตุการณ์บางส่วนในรัชสมัยของพระองค์ เช่น ความขัดแย้งกับราชอาณาจักรยูดาห์ ส่วนเหตุการณ์อื่น ๆ อย่างการทำลายล้างพระวิหารของซาโลมอนเมื่อ 586 ปีก่อน ค.ศ. และการทัพอื่น ๆ ที่เนบูคัดเนสซาร์อาจควบคุม ไม่ปรากฏในเอกสารอักษรรูปลิ่มเท่าที่มีอยู่[14]

ดังนั้น การบูรณะประวัติศาสตร์ในช่วงนี้จึงมักยึดตามแหล่งข้อมูลทุติยภูมิในภาษาฮีบรู กรีก และละตินเพื่อตรวจสอบว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นในขณะนั้น นอกจากนี้ยังมีแผ่นจารึกจากบาบิโลนด้วย[13] แม้ว่าจะใช้แหล่งข้อมูลที่เขียนโดยผู้เขียนในภายหลัง แต่ข้อมูลหลายแหล่งเขียนขึ้นหลังสมัยเนบูคัดเนสซาร์ไปหลายศตวรรษ และมักสะท้อนทัศนคติทางวัฒนธรรมของตนเองต่อเหตุการณ์และบุคคลที่กล่าวถึง[15] ทำให้เกิดปัญหาในตัวมันเอง โดยทำให้เส้นแบ่งระหว่างประวัติศาสตร์และจารีตประเพณีจางลง แต่นั่นเป็นเพียงแนวทางเดียวที่เป็นไปได้ในการรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรัชสมัยของเนบูคัดเนสซาร์[14]

ภูมิหลัง

พระนาม

Mudbrick stamped with Nebuchadnezzar's name
อิฐโคลนไหม้จากบาบิโลนที่แสตมป์ด้วยพระนามและตำแหน่งของพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์

พระนามของพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 ในภาษาแอกแคดคือ Nabû-kudurri-uṣur[6] หมายถึง "นาบู คุ้มครองผู้สืบทอดของข้า"[8] ทางวิชาการสมัยก่อนมักตีความพระนามนี้เป็น "นาบู ผู้ปกป้องเขตแดน" เนื่องจากคำว่า kudurru สามารถหมายถึง 'ของเขต' หรือ 'เส้น' นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่สนับสนุนการตีความเป็น 'ผู้สืบทอด' มากกว่า 'ขอบเขต' ไม่มีเหตุผลใดที่เชื่อว่าชาวบาบิโลนตั้งใจให้พระนามนี้ตีความยากหรือมีความหมายสองนัย[16]

บรรพบุรุษและพระชนม์ชีพช่วงต้น

รัชสมัย

สิ่งสืบทอด

การประเมินโดยนักประวัติศาสตร์

เนื่องจากแหล่งข้อมูลมีไม่เพียงพอ ทำให้การประเมินลักษณะนิสัยและสภาพในรัชสมัยของเนบูคัดเนสซาร์โดยนักประวัติศาสตร์มีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละช่วงเวลา[17] โดยทั่วไปถือว่าพระองค์ได้รับการยกย่องเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่และมีเกียรติที่สุดของจักรวรรดิบาบิโลนใหม่[8][11][12]

ในธรรมเนียมยิวและพระคัมภีร์

Woodcut of Nebuchadnezzar
ภาพพิมพ์แกะไม้แสดงพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 สลักโดย Georg Pencz ช่างแกะสลัก ช่างวาดภาพ และช่างพิมพ์ชาวเยอรมันในคริสต์ศตวรรษที่ จากชุดภาพพิมพ์แกะไม้ชื่อ ทรราชในพันธสัญญาเก่า (Tyrants of the Old Testament)

คัมภีร์ไบเบิลมักจดจำพระองค์ในฐานะผู้ทำลายพระวิหารซาโลมอนในกรุงเยรูซาเลมและเป็นผู้เริ่มต้นยุคเชลย (ยุคที่ชาวยิวตกเป็นเชลยของบาบิโลน) หนังสือเยเรมีย์เรียกพระองค์ว่า "ผู้ทำลายประชาชาติ"[18] พระองค์ยังเป็นบุคคลสำคัญที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือดาเนียล

ตามบันทึกที่ปรากฏในหนังสือดาเนียลระบุว่า วันหนึ่ง ขณะที่พระองค์ทอดพระเนตรกรุงบาบิโลนจากบนดาดฟ้าของวัง พระองค์ก็ตรัสว่า "ดู​เมือง​ที่​เรา​สร้าง​สิ สวย​งาม​อะไร​อย่าง​นี้ เรา​คือ​ผู้​ยิ่ง​ใหญ่!" ทันใดนั้นก็มีเสียงดังขึ้นว่า "เนบูคัดเนสซาร์! เจ้า​ไม่​ได้​ปกครอง​อาณาจักร​นี้​แล้ว" พระเจ้าได้ริบรอนอำนาจและสติปัญญาของเนบูคัดเนสซาร์ เนบูคัดเนสซาร์ทำ​ตัว​เหมือน​สัตว์​และ​ถูกเนรเทศจาก​วัง​ไป​อยู่​กับ​สัตว์​ใน​ป่า ผม​ของ​เนบูคัดเนสซาร์​ยาว​เหมือน​ขน​นก​อินทรีและ​เล็บ​ของ​เขา​ยาว​เหมือน​กรง​เล็บ​ของ​นก เมื่อครบเวลาเจ็ดกาล (มักถูกตีความเป็นเจ็ดปี) เนบูคัดเนสซาร์​ก็​กลับ​มา​เป็น​ปกติ พระเจ้าให้เขากลับมาครองบัลลังก์บาบิโลนอีกครั้ง (เชื่อว่าเรื่องนี้มาจากความแค้นของชาวยิวที่ถูกพระองค์ทำลายอาณาจักรยูดาร์และลดขั้นให้เป็นทาส)

หมายเหตุ

  1. เนื่องจากจารึกบนแผ่นศิลาสลักโดยเนบูคัดเนสซาร์ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าพระองค์คือกษัตริย์ที่ได้รับการพรรณนาไว้ ศิลาจารึกนี้เป็นหนึ่งในสี่ภาพเขียนร่วมสมัยที่เป็นที่รู้จักของเนบูคัดเนซซาร์ โดยอีก 3 ภาพเป็นภาพแกะสลักบนหน้าผาในเลบานอน ซึ่งมีสภาพแย่กว่าภาพบนศิลาจารึกมาก ซิกกูแรตเอเตเมนอันกิคาดว่าเป็นแรงบันดาลใจต่อหอคอยบาเบลในพระคัมภีร์ จึงเป็นที่มาของชื่อ 'ศิลาจารึกหอคอยบาเบล'[1]
  2. พระราชบิดาทรงแต่งตั้งเนบูคัดเนสซาร์ให้เป็นนักบวชชั้นสูงแห่งวิหารเออันนาที่อูรุกเมื่อ 626/625 ปีก่อน ค.ศ.[2][3] สันนิษฐานว่าพระองค์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนักบวชชั้นสูงเมื่อทรงพระเยาว์มาก โดยพิจารณาว่าพระองค์สวรรคตในเวลากว่า 60 ปีต่อมา[4] ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าชาวบาบิโลนมีสิทธิ์บวชเป็นนักบวชได้เมื่อใด แต่มีบันทึกว่านักบวชชาวบาบิโลนที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งมีอายุ 15 หรือ 16 ปี[5]
  3. สัญลักษณ์อักษรรูปลิ่มคือ AG.NÍG.DU-ÙRU
  4. This is the Hebrew spelling in 13 cases; in 13 other cases, the Hebrew spelling is one of the following:

    נְבֻכַדְנֶאצַּרNəḇuḵaḏneʾṣṣar − with בֻḇu instead of בוּḇū.
    In 2 Kings 24:1&10 and 25:1&8, 1 Chronicles 5:41 (a.k.a. 6:15), and Jeremiah 28:11&14.

    נְבוּכַדְנֶצַּרNəḇūḵaḏneṣṣar – without אʾ, like the usual Aramaic spelling.
    In Ezra 1:7 and Nehemiah 7:6.

    נְבֻכַדְנֶצַּרNəḇuḵaḏneṣṣar – with בֻ‎ instead of בוּ‎ and without א‎, like the Aramaic spelling used in Daniel 3:14, 5:11, and 5:18.
    In Daniel 1:18 and 2:1.

    נְבוּכַדְנֶצּוֹרNəḇūḵaḏneṣṣōr – without א‎ and with צּוֹ(ṣ)ṣō instead of צַּ(ṣ)ṣa, cf. note d.
    In Ezra 2:1.

    נְבוּכַדנֶאצַּרNəḇūḵaḏneʾṣṣar – without the shva quiescens.
    In Jeremiah 28:3, and Ester 2:6.

อ้างอิง

  1. George 2011, pp. 153–154.
  2. Jursa 2007, pp. 127–134.
  3. Popova 2015, p. 402.
  4. Popova 2015, p. 403.
  5. Waerzeggers & Jursa 2008, p. 9.
  6. 6.0 6.1 Sack 2004, p. 1.
  7. Porten, Zadok & Pearce 2016, p. 4.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Saggs 1998.
  9. Wallis Budge 1884, p. 116.
  10. Sack 2004, p. 41.
  11. 11.0 11.1 11.2 Mark 2018.
  12. 12.0 12.1 Elayi 2018, p. 190.
  13. 13.0 13.1 Sack 1978, p. 129.
  14. 14.0 14.1 Sack 2004, p. 9.
  15. Sack 2004, p. x.
  16. Wiseman 1983, p. 3.
  17. Ephʿal 2003, p. 178.
  18. เยเรมีย์ 4:7 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิมและใหม่ ฉบับมาตรฐาน 2011

บรรณานุกรม

ข้อมูลเว็บ

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya