อักษรรูปลิ่ม
อักษรรูปลิ่ม (อังกฤษ: cuneiform script) เป็นระบบการเขียนที่หลากหลาย เป็นได้ทั้งอักษรพยางค์ อักษรคำ และอักษรที่มีระบบสระ-พยัญชนะ คำว่า “cuneiform” ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาละติน “cuneus” แปลว่าลิ่ม ดังนั้นอักษรรูปลิ่มจึงรวมอักษรที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มทั้งหมด ภาษาหลายตระกูล ทั้งตระกูลเซมิติก ตระกูลอินโด-ยูโรเปียน และอื่น ๆ ที่เขียนด้วยอักษรนี้ เช่น
แผ่นดินเหนียว ตัวกลางของอักษรรูปลิ่มตัวอย่างเก่าสุดของอักษรในเมโสโปเตเมีย เริ่มราว 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช พบในบริเวณอูรุก (Uruk) นิปปูร์ ซูซา และอูร์ (Ur) ส่วนใหญ่เป็นบันทึกเกี่ยวกับการค้าขาย บันทึกเหล่านี้พัฒนามาจากระบบการนับที่ใช้มาตั้งแต่ 5,000 ปี ก่อนหน้านั้น แผ่นดินเหนียวเริ่มใช้ตั้งแต่ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชในเมโสโปเตเมียโดยทั่วไป เป็นรูปทรง 3 มิติ มี 2 ชนิดคือ แบบแผ่นแบนและแผ่นซ้อน
จากแผ่นดินเหนียวสู่ตัวอักษรแผ่นดินเหนียวถูกเขียนให้เป็นเรื่องราว โดยใช้วัตถุที่เป็นของแข็งและแหลม แล้วถูกเก็บในห่อที่แข็งแรงทำด้วยดินเหนียว เรียกว่าบุลลา (bulla) เพื่อป้องกันการสูญหาย เนื่องจากการนับแผ่นดินเหนียวภายในบุลลาหลังการผนึกทำได้ยาก การแก้ปัญหาจึงใช้การกดแผ่นดินเหนียวลงบนผิวนอกของบุลลาในขณะที่ดินเหนียวยังอ่อนตัวอยู่ แล้วจึงใส่แผ่นดินเหนียวเข้าไปข้างในและปิดผนึก การนับจำนวนแผ่นดินเหนียวอีกครั้งใช้การนับรอยกดบนผิวด้านนอก จากรอยกดนี้ ชาวซูเมอร์ได้พัฒนามาเป็นสัญลักษณ์รูปลิ่ม เพื่อใช้บอกความหมายและจำนวน เช่น รูปลิ่ม 1 อัน หมายถึง 1 รูปวงกลม หมายถึง 10 การบันทึกว่า “แกะ 5 ตัว” ใช้การกดลงบนดินเหนียวเป็นรูปลิ่ม 5 อัน แล้วตามด้วยสัญลักษณ์ของแกะ ยูนิโคดอักษรรูปลิ่มบนยูนิโคดมีหลายช่วง แต่อักษรแบบหลักอยู่ที่
อ้างอิง
ดูเพิ่ม |