รศ.ดร.วิโรฒ ศรีสุโร |
---|
รศ.ดร.วิโรฒ ศรีสุโร ถ่ายโดย Chrakkrit Phuangphila |
เกิด | 9 มกราคม พ.ศ. 2482 อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
---|
เสียชีวิต | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 (69 ปี) |
---|
อาชีพ | สถาปนิก ศิลปิน อาจารย์มหาวิทยาลัย |
---|
มีชื่อเสียงจาก | ศิลปวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมอีสาน |
---|
รศ.ดร.วิโรฒ ศรีสุโร ได้ศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ทางวัฒนธรรมอีสาน จนเป็นที่ยอมรับ และได้รับรางวัลพระสิทธิธาดาทองคำ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม[1] และรางวัลสถาปนิกดีเด่น[2] เกิดวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2482 ที่อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี แต่ใช้ชีวิตอยู่ที่อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
การศึกษา
- พ.ศ. 2507 วุฒิสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต (อุตสาหกรรมศิลป์) จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
- พ.ศ. 2519 Certificate : Wood Industrial Machinery ที่ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2534 วุฒิสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
การทำงาน
วิโรฒ ศรีสุโร เริ่มรับราชการเป็นครูตรี สังกัดวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นในปี พ.ศ. 2532 จึงโอนมาสังกัดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จนได้รับตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 กระทั่งปี พ.ศ. 2544 จึงได้ริเริ่มก่อตั้งคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และเป็นคณบดีคนแรกของคณะ[3]
ผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมอีสาน
จากการเดินทางศึกษาศิลปะพื้นบ้านในภาคอีสานตลอดเวลากว่า 30 ปี ได้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน โดนเฉพาะผลงานด้านสถาปัตยกรรม เช่น สิม (อุโบสถ) ซึ่งได้ถูกรื้อถอนทำลายอย่างมากมาย จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะศึกษารวบรวมและทำวิจัย จนเกิดเป็นรูปเล่มในหนังสือชื่อ "สิมอีสาน" ซึ่งได้รางวัลวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (2540)
จากความมุ่งมั่นศึกษารูปลักษณ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสานจึงก่อให้เกิดงานสถาปัตยกรรมประยุกต์เพื่อรับใช้สังคมปัจจุบัน อาทิ เช่นอุโบสถ วัดศาลาลอย จังหวัดนครราชสีมา ,สถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นต้น ซึ่งนับเป็นการประยุกต์รูปแบบสถาปัตยกรรมอีสานให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย
การสร้างสรรค์เผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชนในประเทศและต่างประเทศ
- พระอุโบสถวัดศาลาลอย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (2520)
- พระธาตุวัดศรีมงคล บ้านธาตุ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร (2525)
- อนุสาวรีย์ พระยาชัยสุนทร อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ (2527)
- ซุ้มประตูวัดสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (2528)
- ศาลาทรงอีสาน วัดญาณสังวรา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (2530)
- อาคารที่ทำการ กรรมาธิการสถาปนิกอีสาน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2531) สถาปนิกร่วม รศ.ธิติ เฮงรัศมี
- พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดเลย (2533)
- พระธาตุหลวงปู่ ชามา อจุตโต วัดใหม่อัมพวัน บ้านไร่ม่วง อำเภอเมือง จังหวัดเลย (2534)
- สถาบันวิจัยค้นคว้าศิลปวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (2535)
- ป้ายชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (2536)
- หอพระ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มห่วิทยาลัยมหาสารคาม (2536)
- หอแจก วัดพระพุทธบาท อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี (2538) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
- อาคารและสวนวัฒนธรรมอีสาน ร้านพระธรรมขันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (2538) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
- พิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรม วัดเจติยภูมิ (พระธาตุขามแก่น) อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น (2539) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
- อาคารศตวรรษมงคล ขอนแก่นวิทยายน 100 ปี (2539) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
- ซุ้มประตูทางเข้าค่าย "เปรม ติณสูลานนท์" อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น (2539)
- อาคารปฏิบัติธรรมและพิพิธภัณฑ์ หลวงพ่อมหาธนิต ปัญญาปสุโต (ป.๙) (2540)
- พระอุโบสถวัดศรีมงคล บ้านธาตุ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร (2540) สถาปนิกร่วม นายประวัติ บุญรักษา
- พลับพลารับเสด็จสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เวียงจันทน์ ลาว (2540) สถาปนิกร่วมนาย พงศ์พันธ์ พิศาลสารกิจ
- วิหารพระเจ้าใหญ่อินแปง วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (2540)(อยู่ระหว่างดำเนินการ)
- สำนักปฏิบัติธรรม สาขาวัดประโดก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (2540) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
- "ธาตุมรรค๘ - โบสถ์บนหอแจก" วัดป่ากุฉิธรรมวาส อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (2541)(อยู่ระหว่างดำเนินการ)
- หอศิลปวัฒนธรรมและเวทีแสดงกลางแจ้ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำดภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (2542) สถาปนิกร่วม รศ.ธิติ เฮงรัศมี
- อาคารรับพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (2545) อยู่ระหว่างดำเนินการ
- ป้ายชื่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
- อาคารสถาบันวิจัยวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง (อาคารมรรค๘) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (2547) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
- อาคารเรียนคณะศิลปประยุกต์และออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี (2548)
- อาคารเรียนโครงการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (2548)(อยู่ระหว่างดำเนินการ)
- อาคารพระปทุมราชวงศา วัดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (2548) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
หนังสืออ้างอิง [3]
ผลงานแต่งตำราหรือหนังสือ
- เบิ่งฮูป-แต้มคำ = Photo-Poem. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. 2546.
- บันทึกอีสานผ่านเลนส์. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. 2543.
- เถียงนาอีสาน: กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี ยโสธร กาฬสินธุ์ และสกลนคร. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2538.
- สิมอีสาน. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2536.
- การศึกษาและสำรวจ ลักษณะรูปแบบอาคารทางศาสนาในภาคอีสาน (เฉพาะจังหวัดร้อยเอ็ด). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2535.
- การศึกษาและสำรวจ ลักษณะรูปแบบอาคารทางศาสนาในภาคอีสาน (เฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2535.
- สถาปัตยกรรมกลุ่มชนสายวัฒนธรรมไต-ลาว.ขอนแก่น (ประกอบวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 801 313). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2534.
- ศาสนาคารในกาฬสินธุ์ / โดยวิโรฒ ศรีสุโร และธาดา สุทธิธรรม. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2534.
- หลักบ้านในภาคอีสาน ("บือบ้าน" ในภาคอีสาน) / โดยวิโรฒ ศรีสุโร และธาดา สุทธิธรรม. 2534.
- ธาตุอีสาน. เมฆาเพรส. 2531.
อ้างอิง [4]
รางวัล
- สถาปนิกดีเด่น ปี 2537 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ในวาระครบรอบ 60 ปีสมาคมสถาปนิกสยาม)[1]
- รางวัลพระสิทธิธาดาทองคำ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ปี 2534 [2]
การเสียชีวิต
อาจารย์วิโรฒ ป่วยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารตั้งแต่ พ.ศ. 2549 และไม่สามารถเดินได้ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2550 ทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เชิญมาอภิปรายในงานดินเนอร์ทอล์กซึ่งอาจารย์วิโรฒยินดีมาทั้งที่ต้องใช้รถเข็น หลังจากนั้นอาจารย์วิโรฒได้เข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์เป็นเวลาหลายเดือนจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง