อำเภอโชคชัย |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Chok Chai |
---|
คำขวัญ: ดินด่านเกวียนเลิศล้ำ ประติมากรรมทองเหลือง บ้านบิง โบราณสถานยอดยิ่งปรางค์พะโค เคี้ยวหมากคำโตปูนแดงบ้านกอก อร่อยไม่หยอก หมี่กระโทก ด่านกระโทกคือชื่อดั้งเดิม |
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอโชคชัย |
พิกัด: 14°43′51″N 102°9′47″E / 14.73083°N 102.16306°E / 14.73083; 102.16306 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | นครราชสีมา |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 503.9 ตร.กม. (194.6 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2564) |
---|
• ทั้งหมด | 83,741 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 166.19 คน/ตร.กม. (430.4 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 30190 |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 3007 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอโชคชัย ถนนเสรีประชา ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา 30190 |
---|
|
โชคชัย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา อยู่ทางตอนใต้ของอำเภอเมืองนครราชสีมา ห่างจากตัวจังหวัด 30 กิโลเมตร
ประวัติศาสตร์
- ตามการสืบสวนถึงความเป็นมาที่ปรากฏหลักฐานในหนังสือศิลปกร ปีที่ 1 เล่ม 4 พ.ศ. 2480 อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ จังหวัดนครราชสีมา ว่า อำเภอโชคชัยนี้ เดิมเป็นด่านที่มีกองคาราวานซึ่งมีเกวียนเป็นพาหนะ ที่เดินผ่านไปมาระหว่างประเทศไทยกับประเทศเขมรในสมัยโบราณ กล่าวคือ เมื่อเดินทางมาถึงที่บ้านด่านเกวียนที่จะพักแรมที่นี้เป็นด่านที่หนึ่ง แล้วก็จะเดินทางต่อมาพักที่ด่านกระโทกเป็นด่านที่สอง แล้วก็เดินทางต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงประเทศเขมรอยู่เป็นประจำ จึงเรียกด่านนี้ว่า "ด่านกระโทก"คำว่า"กระโทก"นี้ มีผู้สันนิษฐานว่า ในบริเวณนี้ มีป่าไม้ชนิดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยต้นไม้ชื่อว่า "ต้นกระโทกโรก" มาก จึงได้ตั้งชื่อว่า "ด่านกระโทกโรก" ต่อมาคำนี้อาจจะไม่เหมาะสมหรือาจเรียกผิดเพี้ยนไป จึงเปลี่ยนมาเป็น "ด่านกระโทก"และตั้งชื่อว่า บ้านกระโทก มาจนถึงปันจจุบันนี้
- เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ยกทัพมาต่อสู้กับกองทัพของหมื่นเทพพิพิธ และได้รับชัยชนะ ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงจัดระเบียบการปกครองออกเป็นมณฑล ภาค จังหวัด และอำเภอได้ยกฐานะด่านกระโทก ขึ้นเป็นอำเภอกระโทก เมื่อ พ.ศ. 2449 จวบจนถึงปี 2488 ทางราชการ พิจารณาเห็นว่า คำว่า “กระโทก” มีสำเนียงและภาษาที่ไม่เหมาะสมและเพื่อให้เป็นไปตามความหมายเชิงประวัติศาสตร์ในอันที่จะให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงความเป็นมาของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ผู้ประกอบคุณงามความดี ให้กับประเทศชาติ และทำการรบได้ชัยชนะ ณ ที่แห่งนี้ (บริเวณบึงกระโทก และสนามหน้าเทศบาลตำบลโชคชัย )จึงได้เปลี่ยนนามอำเภอใหม่ว่า “อำเภอโชคชัย” มาตราบจนทุกวันนี้
- พ.ศ. 2449 ตั้งอำเภอมีชื่อว่า อำเภอกระโทก
- วันที่ 29 ธันวาคม 2486 เปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น อำเภอโชคชัย [1]
- วันที่ 30 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลโชคชัย ในท้องที่บางส่วนของตำบลกระโทก [2]
- วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2510 ตั้งตำบลทุ่งอรุณ แยกออกจากตำบลท่าลาดขาว [3]
- วันที่ 30 กันยายน 2512 ตั้งตำบลหนองบุนนาก แยกออกจากตำบลสารภี [4]
- วันที่ 1 สิงหาคม 2522 ตั้งตำบลไทยเจริญ แยกออกจากตำบลสารภี [5]
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2526 ได้แยกพื้นที่ตำบลหนองบุนนาก ตำบลสารภี และตำบลไทยเจริญ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอหนองบุนนาก ขึ้นกับอำเภอโชคชัย [6]
- วันที่ 15 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลท่าเยี่ยม แยกออกจากตำบลกระโทก [7]
- วันที่ 30 สิงหาคม 2526 จัดตั้งสุขาภิบาลด่านเกวียน ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าอ่าง [8]
- วันที่ 1 สิงหาคม 2527 ตั้งตำบลโชคชัย แยกออกจากตำบลกระโทก [9]
- วันที่ 1 สิงหาคม 2529 ตั้งตำบลละลมใหม่พัฒนา แยกออกจากตำบลท่าจะหลุง และ ตำบลท่าอ่าง [10]
- วันที่ 12 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลด่านเกวียน แยกออกจากตำบลท่าอ่าง [11]
- วันที่ 26 พฤษภาคม 2532 ยกฐานะเป็น อำเภอหนองบุนนาก [12]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลโชคชัย และ สุขาภิบาลด่านเกวียน เป็น เทศบาลตำบลโชคชัย และ เทศบาลตำบลด่านเกวียน
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอโชคชัยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ภูมิศาสตร์
- อำเภอโชคชัยอยู่ทางใต้ของจังหวัดนครราชสีมา ระยะทางห่างจากจังหวัด ประมาณ 30 กิโลเมตร มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงลักษณะลูกคลื่น บริเวณตอนใต้เป็นที่ราบสูงลาดมาตอนกลางซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม
มีแม่น้ำมูลไหลผ่านกลางอำเภอ ระยะทางประมาณ 96 กิโลเมตร
- มีเนื้อที่ทั้งหมด 424.410 ตารางกิโลเมตร หรือ 265,255 ไร่ หรือเท่ากับร้อยละ 2.065ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
- สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูง มีความสูงประมาณ 175-271 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ลำน้ำที่สำคัญไหลผ่าน 2 สายคือลำน้ำมูลและลำพระเพลิง
- ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ
- -ฤดูร้อน ช่วงระยะเดือนกุมภาพันธ์ถึง พฤษภาคม โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายน
- -ฤดูฝน ช่วงระยะเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม ฝนตกชุกระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม
- -ฤดูหนาว ช่วงระยะเดือนตุลาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ เดือนธันวาคม เป็นช่วงอุณหภูมิต่ำ
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอโชคชัยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 133 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอโชคชัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลโชคชัย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกระโทกและตำบลโชคชัย
- เทศบาลตำบลด่านเกวียน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าอ่างและตำบลด่านเกวียน
- เทศบาลตำบลท่าเยี่ยม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเยี่ยมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกระโทก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระโทก (นอกเขตเทศบาลตำบลโชคชัย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพลับพลาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าอ่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าอ่าง (นอกเขตเทศบาลตำบลด่านเกวียน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งอรุณ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งอรุณทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าลาดขาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าจะหลุงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโชคชัย (นอกเขตเทศบาลตำบลโชคชัย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลละลมใหม่พัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละลมใหม่พัฒนาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลด่านเกวียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลด่านเกวียน (นอกเขตเทศบาลตำบลด่านเกวียน)
ทรัพยากรธรรมชาติ
- ทรัพยากรดิน สภาพดินโดยส่วนใหญ่ เป็นดินปนทราย มีธาตุอาหารที่พืชต้องการน้อย
- ทรัพยากรน้ำ ลำมูล ลำพระเพลิง และสระเก็บน้ำ คลองธรรมชาติ คลองชลประทาน และฝายน้ำล้นจำนวน 206 แห่ง
- ทรัพยากรป่าไม้อำเภอโชคชัยมีพื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่
- ป่าสงวนแห่งชาติดงอีจานใหญ่ เนื้อที่ 605,187 ไร่ อยู่ในเขตอำเภอโชคชัย 50,312.50 ไร่ในท้องที่ตำบลท่าเยี่ยม ตำบลละลมใหม่พัฒนา และตำบลทุ่งอรุณ
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่านครราชสีมา ป่าปักธงชัย และป่าโชคชัย เนื้อที่ 78,750 ไร่ อยู่ในเขตอำเภอโชคชัย 26,250 ไร่ ในเขตท้องที่ตำบลด่านเกวียน ตำบลโชคชัย และตำบลพลับพลา
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่านครราชสีมา ป่าโชคชัย เนื้อที่ 18,365 ไร่ อยู่ในเขตอำเภอโชคชัย 9,262.5 ไร่ อยู่ในพื้นที่ตำบลด่านเกวียน ตำบลโชคชัย
- ป่าสงวนแห่งชาติทั้ง 3 แห่ง กรมป่าไม้ได้มอบให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินรับไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินให้เกษตรกรเข้าทำกินแล้ว
การคมนาคม
- การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในตำบล และหมู่บ้าน ดังนี้
- 1.ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 224 ติดต่ออำเภอเมืองนครราชสีมา
- 2.ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 24 ติดต่ออำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
- 3.ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2074 ติดต่ออำเภอครบุรี
- 4.ทางหลวงชนบท สายบ้านด่านเกวียน ตำบลด่านเกวียน ถึงบ้านขี้ตุ่น ตำบลท่าจะหลุง
- 5.ทางหลวงชนบทสายหนองหญ้าปล้อง ตำบลท่าจะหลุง ถึงบ้านหนองผักหวาน ตำบลละลมใหม่พัฒนา
- 6.ทางหลวงชนบทสายบ้านดอนไพล ตำบลท่าเยี่ยม ถึงบ้านดอนเกตุ ตำบลทุ่งอรุณ
- สำหรับเส้นทางที่เชื่อมระหว่างตำบล หมู่บ้าน เป็นสภาพถนนจำแนก ตามชนิด ดังนี้
- -ถนนลูกรัง จำนวน 196 สาย ระยะทาง 350 กิโลเมตร
- -ถนนลาดยาง จำนวน 45 สาย ระยะทาง 95.34 กิโลเมตร
- -ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 124 สาย ระยะทาง 90 กิโลเมตร
ส่วนราชการในการบริหารราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในอำเภอ
- ที่ว่าการอำเภอโชคชัย
- สถานีตำรวจภูธรโชคชัย
- สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโชคชัย
- สำนักงานท้องถิ่นอำเภอโชคชัย
- สำนักงานเกษตรอำเภอโชคชัย
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโชคชัย
- ศูนย์บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโชคชัย
- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาค 6
- หน่วยสัสดีอำเภอโชคชัย
- สำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาโชคชัย
- โรงพยาบาลโชคชัย
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาอำเภอโชคชัย
- สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขาอำเภอโชคชัย
- สำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา สาขาอำเภอโชคชัย
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยา อำเภอโชคชัย
- สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โชคชัย
- สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค โชคชัย
- สำนักงานไปรษณีย์ โชคชัย
- ศูนย์ประสานงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 2
- สำนักงานเทศบาลตำบลโชคชัย
- กองกำกับการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดนครราชสีมา
- ศูนย์วิจัยหม่อนไหมนครราชสีมา
ทำเนียบนายอำเภอ
- 1. ขุนอภัยอนุรักษ์เขต 2446-2450
- 2. หลวงตุลาโกศล 2450-2452
- 3. หลวงนครจันทึก 2452-2453
- 4. ขุนอภัยโยธา 2453-2456
- 5. หลวงบริบาลนิคมเขต 2456-2460
- 6. หลวงสมรรถบริหาร 2461-2470
- 7. พระวารินวีระศักด์ 2470-2471
- 8. หลวงระงับประจันตคาม 2471-2471
- 9. ขุนอำนาจอำนวยกิจ 2471-2478
- 10 ขุนนัยประศาสน์ 2478-2481
- 11 นายชำนาย กระบวน 2481-2481
- 12. ขุนปาลรัตน์ภิรมย์ 2481-2481
- 13. นายแม้น ศรีรัฐ 2481-2481
- 14. ขุนอำนาจ 2481-2483
- 15. นายชม วัลลิภากร 2483-2491
- 16. นายชาญ นิธิประภา 2491-2492
- 17. ร.ต.ท.จารึก จตุรภุช 2492-2493
- 18. นายไสว ไชยครุฑ 2493-2497
- 19. นายเลิศ พุกะนิดต์ 2497-2499
- 20. นายพยุง อิ่มสุวรรณ์ 2499-2501
- 21. นายเลิศ พุกะนิดต์ 2501-2502
- 22. นายสนอง สุนทรเนตร 2502-2504
- 23. นายอนันต์ อนันตกูล 2504-2505
- 24. ร.ต.ต.คลี่ วัลลิภากร 2505-2512
- 25. นายมนูญ สุวรรณสัมฤทธิ์ 2512-2514
- 26. นายสำรวย อภิบาลศรี 2514-2519
- 27. นายประจวบ นิยมทอง 2519-2521
- 28. นายทัศน์ ครณรัมย์ 2521-2522
- 29. นายสงวน เกิดโมลี 2523-2527
- 30. นายโยธิน เมธชนัน 2527-2531
- 31. นายปราโมทย์ สุวรรณศรี 2531-2533
- 32. นายอาทร กรึงไกร 2533-2537
- 33. นายวันชัย ฤกษ์อร่าม 2537-2540
- 34. นายปองชัย จุลเนตร 2540-2544
- 35. นายธีรวุฒิ ศิริวรรณ 2544-15 ธ.ค.2545
- 36. นายประหยัด เจริญศรี 7 ก.ค.2546-25 ธ.ค.2548
- 37. นายชนสิทธิ์ ธนาสนะ 26 ธ.ค.2548-7 ม.ค.2550
- 38. นายสุวิทย์ คำดี 8 ม.ค.2550-23 พ.ย.2551
- 39. นายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา 24 พ.ย.2551- 21 ก.พ.2553
- 40. นายชูศักดิ์ ชุนเกาะ 22 ก.พ.2553 - 12 ธ.ค.2554
- 41. นายอภิสิทธิ์ ธีรภูวฤทธิ์ 13 ธ.ค.2554 - 11 มี.ค.2556
- 42. นายโชติพัฒน์ สิชฌรังษี 11 มี.ค.2556 - 25 ม.ค.2558
- 43. นายกำพล สิริรัตตนนท์ 26 ม.ค.2558 - 24 ม.ค.2559
- 44. นายยงยุทธ จรเสมอ 25 ม.ค.2559 - 30 ก.ย.2560
- 45. นายบัลลังก์ ไวทย์ศิริ 16 ต.ค.2560 - ปัจจุบัน
การสาธารณสุข
- โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 60 เตียง จำนวน 1 แห่ง
ศูนย์สุขภาพชุมชนดอนไพล (ศสช.) จำนวน 1 แห่ง
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
สถานีอนามัย/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)จำนวน 11 แห่ง
- สถานพยาบาลของเอกชน จำนวน 25 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 7 แห่ง
การอาชีพและธุรกิจ
จากสภาพภูมิศาสตร์ของอำเภอโชคชัยเป็นที่ราบลุ่มและลาดเอียงสู่ลำน้ำมูลที่ไหลผ่านกลางพื้นที่จากทิศใต้ – เหนือ ทำให้อำเภอโชคชัยมีพื้นที่เหมาะแก่การเกษตรกรรม ทำนาข้าว ประกอบกับมีเขื่อนระบายน้ำเข้ามาในพื้นที่ 3 เขื่อน จึงสามารถทำนาได้ 2 ครั้ง/ปี เพิ่มรายได้และฐานะทางเศรษฐกิจความเป็นอยู่เป็นอย่างดี นอกจากนี้พื้นที่เป็นจุดเชื่อมต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลายแห่งมาตั้งในพื้นที่ ทำให้ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้ ไม่อพยพย้ายถิ่นฐาน
- อำเภอโชคชัยมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 166,350 ไร่ ครอบครัวเกษตรกร จำนวน 9,444 ครอบครัว
ที่ |
พืชเศรษฐกิจ |
พื้นที่ปลูก(ไร่) |
ผลผลิตเฉลี่ย(ไร่) |
จำนวนครัวเรือนที่ปลูก
|
1 |
ข้าว |
94,510 |
450 กก. |
7,474
|
2 |
มันสำปะหลัง |
63,349 |
2,500 กก. |
6,880
|
3 |
อ้อยโรงงาน |
23,835 |
8,500 กก. |
1,400
|
4 |
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ |
920 |
490 กก. |
70
|
5 |
ถั่วเขียวผิวมัน |
1,250 |
90 กก. |
410
|
6 |
ถั่วลิสง |
815 |
375 กก. |
280
|
7 |
ไม้ผล |
7,886 |
- |
2,250
|
การปศุสัตว์
สัตว์เลี้ยง |
จำนวน(ตัว) |
จำนวนเกษตรกร(ราย)
|
โคเนื้อ |
4,311 |
436
|
กระบือ |
1,476 |
149
|
สุกร |
12,501 |
1,167
|
เป็ด |
15,096 |
189
|
ไก่ |
754,036 |
4,784
|
การอุตสาหกรรม
ตำบล |
จำนวน
|
โชคชัย |
3
|
ทุ่งอรุณ |
4
|
กระโทก |
1
|
ท่าอ่าง |
5
|
ท่าลาดขาว |
1
|
ด่านเกวียน |
3
|
ท่าเยี่ยม |
1
|
สถานที่น่าสนใจ
- ตลาดเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
- หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
- สวนมะนาวด่านเกวียน
- ศูนย์หัตถกรรมทองเหลืองบ้านบิง
- ปราสาทพะโค
- ปราสาทสระเพลง
- ปราสาทบ้านปรางค์ ตำบลพลับพลา
- ปราสาทบึงไทย(เศษชิ้นส่วนปราสาทที่วัดบึงไทย)
- วัดด่านเกวียน
- วัดโบสถ์คงคาล้อม
- วัดนอก
- วัดใหม่สระปทุม
- วัดศีพุทราราม
- วัดบิง
- บึงกระโทก
- บึงพระ
- ไทรทองเทพนิมิตร
- หมู่บ้านหินทราย บ้านหนองโสน
- ตลาดไนท์พาซ่า
- บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัดสาขาโชคชัย
โรงเรียนมัธยมศึกษา
- โรงเรียนโชคชัยสามัคคี
- โรงเรียนด่านเกวียนวิทยา
- โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม
สถาบันอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง (วิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครราชสีมา)
- วิทยาลัยพิชญบัณฑิต นครราชสีมา
สถาบันอาชีวะศึกษา
อ้างอิง
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
การทหาร | |
---|
|
---|
|