Share to:

 

กิเยร์โม ริกอนโด

กิเยร์โม ริกอนโด
เกิดกิเยร์โม ริกอนโด โอร์ติซ
30 กันยายน พ.ศ. 2523
สถิติเหรียญโอลิมปิก
มวยสากลสมัครเล่น
ตัวแทนของ ธงของประเทศคิวบา คิวบา
โอลิมปิกฤดูร้อน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ซิดนีย์ 2543 แบนตัมเวท
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเธนส์ 2547 แบนตัมเวท
มวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลก
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เบลฟาสต์ 2544 แบนตัมเวท
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เหมียนหยาง 2548 แบนตัมเวท
มวยสากลสมัครเล่นเวิลด์คัพ
เหรียญทอง - ชนะเลิศ อัสตานา 2545 แบนตัมเวท
เหรียญทอง - ชนะเลิศ มอสโก 2548 แบนตัมเวท
เหรียญทอง - ชนะเลิศ บากู 2549 แบนตัมเวท
กีฬาแพนอเมริกัน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ซานโตโดมิงโก 2546 แบนตัมเวท
กีฬาอเมริกากลางและแคริบเบียน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ การ์ตาเฮนา 2549 แบนตัมเวท
มวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์คิวบา
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2000–06 (7×) แบนตัมเวท

กิเยร์โม ริกอนโด โอร์ติซ (สเปน: Guillermo Rigondeaux Ortiz) เป็นนักมวยสากลชาวคิวบา เกิดเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2523 ที่ซานติอาโก เด กูบา ประเทศคิวบา เป็นนักมวยที่ประสบความสำเร็จในการชกมวยทั้งมวยสากลสมัครเล่นและมวยสากลอาชีพ โดยได้เหรียญทองกีฬาโอลิมปิก 2 ครั้ง และยังเป็นแชมป์โลกหลายสถาบัน

มวยสากลสมัครเล่น

ริกอนโดติดทีมชาติคิวบาเข้าแข่งขันโอลิมปิก 2 ครั้ง ครั้งแรก โอลิมปิก พ.ศ. 2543 ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย รอบแรก ชนะน็อก โมเอซ เซมเซมี จากตูนิเซีย ยก 1 เมื่อ 16 กันยายน รอบสอง ชนะอาร์เอสซี คาซูมาซะ สึจิโมโตะ จากญี่ปุ่น ยก 3 เมื่อ 21 กันยายน รอบก่อนรองชนะเลิศ ชนะ อะอาซี อะกากูว์โลลู จากตุรกี เมื่อ 26 กันยายน รอบรองชนะเลิศ ชนะ คลอเรนซ์ วิลสัน จากสหรัฐ เมื่อ 28 กันยายน รอบชิงชนะเลิศ ชนะ เรียมกุล มาลักเบกอฟ จากรัสเซีย เมื่อ 30 กันยายน ได้เหรียญทอง [1]

ต่อมา ริกอนโดติดทีมชาติเข้าแข่งขัน โอลิมปิก พ.ศ. 2547 ที่เอเธนส์ ประเทศกรีซ รอบแรก ชนะ หลิว ยฺเหวียน จากจีน เมื่อ 17 สิงหาคม รอบสอง ชนะอาร์เอสซี เมห์รุลลอห์ ลาสซี จากปากีสถาน ยก 3 เมื่อ 20 สิงหาคม รอบก่อนรองชนะเลิศ ชนะ เกนนาดี โกวัลยอฟ จากรัสเซีย เมื่อ 23 สิงหาคม รอบรองชนะเลิศ ชนะ บาโฮดีร์จอน ซุลโตนอฟ จากอุซเบกิสถาน เมื่อ 27 สิงหาคม รอบชิงชนะเลิศ ชนะ วรพจน์ เพชรขุ้ม จากไทย เมื่อ 29 สิงหาคม ได้เหรียญทอง[2]

มวยสากลอาชีพ

ริกอนโดไม่ไปปรากฏตัวในการแข่งขันกีฬาแพนอเมริกันที่บราซิลใน พ.ศ. 2550 และมีข่าวว่าเขาจะลี้ภัยไปสหรัฐเพื่อชกมวยสากลอาชีพเช่นเดียวกับยัน บาร์เตเลมี, ยูริโอร์กิส กัมโบอา และออดลานิเอร์ โซลิสที่ลี้ภัยไปก่อนหน้านี้ในปีเดียวกัน อีกเดือนต่อมา เขามอบตัวกับตำรวจบราซิลเพื่อกลับคิวบา แต่ประธานาธิบดีฟิเดล กัสโตร ประกาศว่าริกอนโดไม่สามารถติดทีมชาติคิวบาได้อีก ริกอนโดลี้ภัยอีกครั้งผ่านเม็กซิโกไปยังไมอามีใน พ.ศ. 2552 และขึ้นชกมวยสากลอาชีพในที่สุด

ริกอนโดได้ครองแชมป์โลกในรุ่นซูเปอร์แบนตัมเวทหลายสถาบัน ทั้ง WBA WBO ระหว่าง พ.ศ. 2556 - 2560 ใน พ.ศ. 2560 เขาได้รับยกย่องจากเดอะริงว่าเป็นนักมวยยอดเยี่ยมในรุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท[3] และนักมวยยอดเยี่ยมปอนด์ต่อปอนด์ในลำดับที่เก้า ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ริกอนโดเลื่อนรุ่นขึ้นมาชิงแชมป์โลกในรุ่นซูเปอร์เฟเธอร์เวท กับวาซีล โลมาเชนโก ผลการชกริกอนโดแพ้อาร์ทีดียก 6[4]

เกียรติประวัติ

อ้างอิง

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-06. สืบค้นเมื่อ 2018-07-14.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-06. สืบค้นเมื่อ 2018-07-14.
  3. "All Rankings". Transnational Boxing Rankings Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-06. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  4. "Lomachenko Makes Rigondeaux Quit After Six For TKO Victory". BoxingScene.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-12-11.
  5. espn.com
Kembali kehalaman sebelumnya