พลเรือเอก กมล สีตกะลิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2515 เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตผู้บัญชาการทหารเรือ
ประวัติ
พล.ร.อ. กมล สีตกะลิน เดิมชื่อ "โกมล" เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2455 ที่เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนาวาเอก พระสาตราบรรง (บุญเต็ก สีตกะลิน) มีพี่น้อง 7 คน พล.ร.อ.กมล สมรสกับฉวีวรรณ ภีมะโยธิน บุตรีพระยารามกำแหง (ทองอยู่ ภีมะโยธิน) มีบุตรธิดา 4 คน
พล.ร.อ. กมล เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 3 พ.ศ. 2511[1] ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเขาได้รับเลือกเป็นรองประธานสภา คนที่ 2[2] แต่ก็ทำหน้าที่ได้มีนาน ภายหลัง วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 ได้มีสมาชิกลาออกไปถึง 288 คนจึงทำให้ไม่สามารถประชุมสภาได้สภาจึงสิ้นสุดลงเมื่อได้ประกาศ พระราชกฤษฎีกายุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2516
ในปี พ.ศ. 2518 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช[3] แต่ก็ดำรงตำแหน่งได้เพียง 10 เดือน ก็ถูกปรับให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
อ้างอิง
- ↑ "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2020-04-11.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (๑.พลตรี ศิริ สิริโยธิน ๒.นายทวี แรงขำ ๓.พลเรือเอก กมล สีตกะลิน)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (พ้นจากตำแหน่ง ๖ ราย และแต่งตั้ง ๑๕ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๘๓๖, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ และ เครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับผู้กระทำความชอบมีบาดเจ็บครั้งหนึ่ง, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๔๐, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๔๔, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๒๖ กันยายน ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๒๖๑๖, ๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๑๔๗๗, ๒ ตุลาคม ๒๔๘๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๖ ง หน้า ๓๕๐, ๒๖ มกราคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 84 ตอนที่ 73 หน้า 2238, 8 สิงหาคม 2510
|
---|
| |
|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม |
---|
|
|
|
---|
ทหารเรือวังหน้า | | |
---|
ทหารเรือวังหลวง | |
---|
ทหารเรือ (2430-33) | |
---|
กระทรวงทหารเรือ (2433-75) | |
---|
กองทัพเรือ (2475–ปัจจุบัน) | |
---|
ประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติของไทย |
---|
ประธาน | | |
---|
รองประธานคนที่ 1 | |
---|
รองประธานคนที่ 2 | |
---|
|