Share to:

 

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Fine Arts, Chiang Mai University
สถาปนา4 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 (41 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เกษรเกศรา
ที่อยู่
เลขที่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
สี  สีแดงชาด
เว็บไซต์https://www.finearts.cmu.ac.th

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Fine Arts, Chiang Mai University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2526 เป็นคณะลำดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติ

คณะวิจิตรศิลป์ จัดตั้งขึ้นตามเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีจุดมุ่งหมายเป็นแหล่งการศึกษาของทุกสาขาวิชาชีพ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และศิลปศาสตร์ โดยสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้อนุมัติให้จัดตั้งคณะวิจิตรศิลป์ขึ้น เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2525 เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตทางด้านศิลปะ และเป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้า วิจัย อนุรักษ์ สร้างสรรค์ พัฒนา และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ในท้องถิ่นภาคเหนือ และในประเทศไทย รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน

คณะวิจิตรศิลป์ ได้รับอนุมัติหลักสูตรจากทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2525 และสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีประกาศแบ่งส่วนราชการเป็นคณะ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2526 เป็นคณะลำดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2526 โดยเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ สาขาวิชาศิลปะไทย และสาขาวิชาจิตรกรรม[1]

ระดับปริญญาตรี

  • ปี 2526 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปะไทย
  • ปี 2526 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาจิตรกรรม
  • ปี 2528 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาพพิมพ์
  • ปี 2529 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาประติมากรรม
  • ปี 2538 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นคณะในกำกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2543)
  • ปี 2540 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการออกแบบ
  • ปี 2551 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ
  • ปี 2553 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
  • ปี 2554 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์
  • ปี 2557 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปะการดนตรีและการแสดง

ระดับปริญญาโท

  • ปี 2542 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา (สาขาวิชาร่วมระหว่างคณะวิจิตรศิลป์ คณะรัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์)
  • ปี 2545 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาภาพพิมพ์
  • ปี 2547 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ (สาขาวิชาร่วมระหว่างคณะ วิจิตรศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะการสื่อสารมวลชน และคณะวิศวกรรมศาสตร์)
  • ปี 2550 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาจิตรกรรม
  • ปี 2550 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาทัศนศิลป์ (ปรับปรุงจากหลักสูตรสาขาวิชาภาพพิมพ์)
  • ปี 2552 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม (สาขาวิชาร่วมระหว่างคณะวิจิตรศิลป์ คณะบริหารธุรกิจ คณะศึกษาศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย)

ระดับปริญญาเอก

  • ปี 2556 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ[2]

โครงสร้างหลักสูตร

คณะวิจิตรศิลป์ ทำการเปิดสอนในระดับ หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ปริญญาตรี) ทั้งหมด 9 หลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) ทั้งหมด 3 หลักสูตร หลักสูตรศิลปดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) ทั้งหมด 1 หลักสูตร

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาควิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
ภาควิชาทัศนศิลป์ หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.)
  • สาขาวิชาจิตรกรรม[3]

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN PAINTING)

  • สาขาวิชาประติมากรรม[4]

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN SCULPTURE)

  • สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์[5]

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN PRINTMAKING)

  • สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์[6]

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN MULTIDISCIPLINARY ART)

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
  • สาขาวิชาทัศนศิลป์[7]

(MASTER OF FINE ARTS PROGRAM IN VISUAL ARTS)

ภาควิชาศิลปะไทย หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.)
  • สาขาวิชาศิลปะไทย[8]

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN THAI ART)

  • สาขาวิชาการออกแบบ[9]

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN DESIGN)

  • สาขาวิชาศิลปะการแสดง[10]

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN MUSIC AND PERFORMING ARTS)

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
  • สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม[11]

(MASTER OF FINE ARTS PROGRAM IN ART AND CULTURE MANAGEMENT)

ภาควิชาสื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อ หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.)

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAM IN CREATIVE PHOTOGRAPHY)

  • สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ[13]

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN MEDIA ARTS AND DESIGN)

หลักสูตรศิลปดุษฎีบัณฑิต (ศล.ด.)
  • สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ[14]

(DOCTOR OF FINE ARTS PROGRAM IN ARTS AND DESIGN)

คณบดี

ทำเนียบคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายนามคณบดี ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
รองศาสตราจารย์ ชัยวัฒน์ ปานพลอย (รักษาการแทน) พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2528
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ สุนทรเภสัช พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2530
อาจารย์ อนันต์ ชันขุนทด พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พงศ์เดช ไชยคุต พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2538 (วาระที่1)
รองศาสตราจารย์ พงศ์เดช ไชยคุต พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542 (วาระที่2)
อาจารย์ อำนวย กันทะอินทร์ พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2547
รองศาสตราจารย์ หม่อมหลวง สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2551
รองศาสตราจารย์ สมเกียรติ ตั้งนโม พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2553[15]
รองศาสตราจารย์ พงศ์เดช ไชยคุต พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2557 (วาระที่3)
รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์  บุณยสุรัตน์ พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2561
รองศาสตราจารย์ อัศวิณีย์  หวานจริง พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2565
รองศาสตราจารย์ สุกรี เกษรเกศรา พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี[16] เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น[17]

ภาควิชาและการแบ่งส่วนงาน

ปัจจุบัน คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีภาควิชาทั้งสิ้น 3 ภาควิชา และ สำนักวิชาการบัณฑิต

โดยสำหรับสำนักงานคณะวิจิตรศิลป์ ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 อาคารสำนักงาน คณะวิจิตรศิลป์ โดยสำนักงานคณะวิจิตรศิลป์ได้แบ่งส่วนงานไว้ดังนี้[18]

  • หอศิลปวัฒนธรรม
  • งานบริหารทั่วไป
    • หน่วยธุรการ
    • หน่วยบริหารงานบุคคล
    • หน่วยอาคารสถานที่และยานพาหนะ
  • งานบริการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักศึกษา
    • หน่วยทะเบียนและประมวลผล
    • หน่วยส่งเสริมและพัฒนาวิชาการ
    • หน่วยบัณฑิตศึกษา
    • หน่วยบริการห้องสมุด
    • หน่วยเทคโนโลยีทางการศึกษาและสารสนเทศ
    • หน่วยพัฒนาคุณภาพนักศึกษา
  • งานบริหารงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์
    • หน่วยวิเทศสัมพันธ์
    • หน่วยบริหารงานวิจัย
  • งานการเงิน การคลังและพัสดุ
    • หน่วยการเงินและบัญชี
    • หน่วยพัสดุ
  • งานนโยบายและแผนและประกันคุณภาพการศึกษา
    • หน่วยวางแผนและพัฒนา
    • หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา

วัฒนธรรมสมัยนิยม

ภาพยนตร์ เพื่อนสนิท เป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องราวของเพื่อนสนิท ซึ่งเป็นนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกฉายในปี พ.ศ. 2548 [19] (การถ่ายทำภาพยนตร์ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาถ่ายทำที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ใช้วิธีการเป็นการกล่าวถึง โดยการถ่ายทำภาพยนตร์นั้น จะถ่ายทำในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "เกี่ยวกับเรา | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-09-13.
  2. "รายงานประจำปี 2558 คณะวิจิตรศิลป์.pdf". Google Docs.
  3. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาจิตรกรรม | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  4. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาประติมากรรม | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  5. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  6. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  7. "หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  8. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะไทย | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  9. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบ | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  10. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-21. สืบค้นเมื่อ 2022-01-03.
  11. "หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  12. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการถ่ายภาพสร้างสรรค์ | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  13. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  14. "หลักสูตรศิลปดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  15. "มะเร็งคร่าสมเกียรติ ตั้งนโมผู้ก่อตั้งเว็บม.เที่ยงคืน". คมชัดลึกออนไลน์. 2010-07-06.
  16. "ผู้บริหาร | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-08.
  17. "ฐานข้อมูลสูจิบัตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่". library.cmu.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-05. สืบค้นเมื่อ 2022-01-05.
  18. "โครงสร้างองค์กร | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-08.
  19. ฐานข้อมูลภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคณะวิจิตรศิลป์

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya