สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาPrincess Galyani Vadhana Institute of Music |
รูปทรงใบเทศ สกว. และกุญแจซอล ตราสัญลักษณ์ของสถาบัน |
ชื่อย่อ | สกว. / PGVIM[1] |
---|
คติพจน์ | ดนตรีแห่งชีวิต ดนตรีแห่งแผ่นดิน (Musique de la Vie et de la Terre) |
---|
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ |
---|
สถาปนา | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555; 12 ปีก่อน (2555-05-26)[2] |
---|
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
---|
สังกัดวิชาการ | หลักสูตรวิชาดนตรี |
---|
งบประมาณ | 160,610,000 บาท (พ.ศ. 2568)[3] |
---|
นายกสภาสถาบัน | รองศาสตราจารย์ คุณหญิงวงจันทร์ พินัยนิติศาสตร์ |
---|
อธิการบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อโณทัย นิติพน (รักษาการ) |
---|
อาจารย์ | 8 คน (พ.ศ. 2564) |
---|
บุคลากรทั้งหมด | 40 คน (พ.ศ. 2564) |
---|
ผู้ศึกษา | 116 คน (พ.ศ. 2567)[4] |
---|
ที่ตั้ง | เลขที่ 2010 ซอยอรุณอัมรินทร์ 36 ถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700 |
---|
สี | สีฟ้าเทอร์ควอยซ์ (C100 M30 Y25 K0) |
---|
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของสถาบัน |
---|
สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา (อังกฤษ: Princess Galyani Vadhana Institute of Music; อักษรย่อ: สกว./PGVIM) เป็น สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555[5]
โดยมีเจตนารมณ์ที่จะเทิดพระเกียรติและสืบสานพระปณิธานของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในการที่จะพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษทางดนตรีคลาสสิกให้มีมาตรฐานในระดับสากล รวมทั้งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิกสู่สาธารณชน โดยการเป็นตัวหลักสำคัญในการเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ด้านดนตรีคลาสสิกให้กับสังคมไทย
ปัจจุบัน สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ conservatory (สถาบันอุดมศึกษาด้านดนตรีที่ไม่สังกัดมหาวิทยาลัย) โดยมีสำนักวิชาดุริยางคศาสตร์ รับผิดชอบด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น หลักสูตรระยะสั้น และหลักสูตรระดับปริญญา และสำนักงานสถาบัน รับผิดชอบด้านสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและภารกิจของสถาบันในด้านอื่นๆ
ประวัติ
สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เกิดจากความร่วมมือของ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ กระทรวงวัฒนธรรม ที่ร่วมกันจัดทำโครงการจัดตั้งสถาบันดนตรีในรูปแบบ Conservatory เพื่อเฉลิมพระเกียรติในมงคลวโรกาสที่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจน้อยใหญ่เพื่อชาวไทยตลอดมา รวมทั้งเพื่อสนองพระปณิธานที่จะพัฒนาดนตรีคลาสสิกในประเทศไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมนานาชาติ เมื่อ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในเวลานั้น และคณบดี คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กราบทูลให้ทรงทราบ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ก็ได้มีพระกรุณาธิคุณพระราชทานชื่อสถาบันว่า "สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา"
ตามมาตรา 6 พระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. 2555[6] ได้กำหนดให้สถาบันฯ เป็นสถานศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริม และพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงในทางดนตรีและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมนั้น เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ และเพื่อให้เป็นการสอดคล้องกับพระปณิธานและบทบาทหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ สถาบันฯ จึงได้กำหนดพันธกิจที่จะ
- เป็นสถาบันดนตรีที่สร้างและพัฒนาบุคลากรทางด้านดนตรีคลาสสิกที่มีศักยภาพสูง มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความสามารถจะประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านดนตรีให้เป็นประโยชน์ และเหมาะสมกับบริบทของสังคม
- เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านดนตรีและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับสังคม และ
- เป็นศูนย์รวมในการศึกษาค้นคว้าวิจัย บูรณาการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านดนตรีระหว่างบุคคล ชุมชน และสถาบันทางการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
ตราสัญลักษณ์ของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาเป็นรูปทรงลายใบเทศ ภายในประกอบด้วยตัวอักษรย่อ "สกว" ประกอบกับกุญแจซอลอยู่ภายใน[7]
สีประจำสถาบันคือ สีฟ้าเทอร์คอยส์
"การศึกษาด้านศิลปศาสตร์นั้น เป็นการฝึกฝนพัฒนาให้เกิดความดีงามเป็นเลิศทางปัญญาและศีลธรรม จึงเป็นวิชาที่สำคัญที่ยกระดับจิตใจ และสติปัญญาให้สูงขึ้น"
หลักสูตรที่เปิดสอน
ระดับปริญญาตรี
หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.) (Bachelor of Music, B.M.) (หลักสูตร 4 ปี)
ระดับปริญญาโท
หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.) (Master of Music, M.M.) (หลักสูตร 2 ปี)
หลักสูตรดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป
สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ได้เปิดหลักสูตรสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภายใต้ชื่อ "Pitch by PGVIM" โดยจัดการเรียนการสอนที่อาคารกัลยาณินคีตการ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านดนตรีคลาสสิกให้แก่ผู้สนใจทั่วไป และส่งเสริมให้นักศึกษาและศิษย์เก่ามีรายได้จากการสอนดนตรี โดยมีครูผู้สอนเป็นอาจารย์ประจำของสถาบัน พนักงาน ศิษย์เก่า และนักศึกษาปัจจุบันของสถาบัน ที่ผ่านการคัดเลือกว่ามีทักษะและความรู้ความสามารถในการสอนปฏิบัติเครื่องดนตรีได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบัน Pitch by PGVIM เปิดสอนเครื่องดนตรีคลาสสิก อาทิ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเลส กีตาร์คลาสสิก เปียโน เปอร์คัชชั่น ฟลุต โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน ทรัมเป็ต เฟรนช์ฮอร์น ทรอมโบน ยูโฟเนียม ทูบา ฮาร์ป และขับร้องคลาสสิก
ทำเนียบนายกสภาสถาบัน
ทำเนียบอธิการบดี
รายนามอธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
|
ลำดับ
|
อธิการบดี
|
วาระการดำรงตำแหน่ง
|
1
|
รองศาสตราจารย์ คุณหญิงวงจันทร์ พินัยนิติศาสตร์
|
12 พฤศจิกายน 2555 - 7 มกราคม 2560[13] 8 มกราคม 2560 - 7 มกราคม 2564[14] 7 มกราคม 2564 - 11 กรกฎาคม 2564 (รักษาการแทน)
|
2
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูวิทย์ ยุระยง
|
12 กรกฎาคม 2564 - 5 ตุลาคม 2566[15]
|
3
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อโณทัย นิติพน
|
5 ตุลาคม 2566 - ปัจจุบัน (รักษาการแทน)[16][17]
|
- หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
อ้างอิง
- ↑ ประกาศสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เรื่อง ตราสัญลักษณ์ของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนพิเศษ 158ง หน้า 36, 18 ตุลาคม 2555
- ↑ พระราชบัญญัติ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. 2555, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนที่ 45ก หน้า 1, 25 พฤษภาคม 2555
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๔๐, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ↑ พระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. 2555
- ↑ พระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. 2555
- ↑ ประกาศสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เรื่อง ตราสัญลักษณ์ของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
- ↑ วธ. ร่วมมือ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จัดแสดงคอนเสิร์ตเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, วันที่ 21 ม.ค. 2558 กระทรวงวัฒนธรรม
- ↑ แต่งตั้งนายกสภาสถาบันและกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ ของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนพิเศษ 181ง หน้า 16, 27 พฤศจิกายน 2555
- ↑ แต่งตั้งนายกสภาสถาบันและกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ ของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 82ง หน้า 4, 8 เมษายน 2559
- ↑ แต่งตั้งนายกสภาสถาบันและกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ ของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 308ง หน้า 42, 18 ธันวาคม 2562
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาสถาบันและกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141 ตอนพิเศษ 155ง หน้า 16, 6 มิถุนายน 2567
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนพิเศษ 174ง หน้า 11, 19 พฤศจิกายน 2555
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 19ง หน้า 8, 17 มกราคม 2560
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 157ง หน้า 12, 14 กรกฎาคม 2564
- ↑ คำสั่งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ที่ 248/2566 เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนอธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
- ↑ คำสั่งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ที่ 131/2567 เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนอธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
|
|
---|
มหาวิทยาลัย | |
---|
สถาบัน | |
---|
วิทยาลัย | |
---|
|
|
|
---|
มหาวิทยาลัย | |
---|
สถาบัน | |
---|
วิทยาลัย | |
---|
|
|
|
|
|
|
แม่แบบ:คณะดนตรีและดุริยางค์ในประเทศไทย
แม่แบบ:สถานศึกษาในเขตบางพลัด