คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่Faculty of Science, Chiang Mai University |
|
สถาปนา | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 (60 ปี) |
---|
คณบดี | ศาสตราจารย์ ดร.ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี |
---|
ที่อยู่ | 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200 |
---|
สี | สีเหลืองจำปา |
---|
เว็บไซต์ | www.science.cmu.ac.th |
---|
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Science, Chiang Mai University) เป็นหนึ่งในสามคณะแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มเปิดการเรียนการสอนวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นการสอนวันแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันดำเนินการจัดการเรียนการสอน และการวิจัย โดยจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
การรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการรับนักศึกษาผ่านทาง 3 ช่องทาง ประกอบด้วย
- โครงการพิเศษ มีทั้งโครงการที่คณะรับเอง และรับตรงผ่านมหาวิทยาลัย
- โครงการรับตรงของคณะ ประกอบด้วย การรับนักศึกษาเข้าในโครงการทุน พสวท., ทุนเพชรทองกวาว, ทุน วคช. , โครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน (วทร.), และการรับเข้าโดยวิธีพิเศษ (วพ.) โดยเปิดรับสมัครนักเรียน ม.5 ในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ของทุกปี และสอบในเดือนพฤษภาคมของทุกปี นอกจากนี้ยังมีโครงการอัจฉริยภาพ (รับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ JSTP) และโครงการพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ซึ่งรับสมัครในเดือนกันยายน และสอบในเดือนธันวาคมของทุกปี
- โครงการพิเศษผ่านมหาวิทยาลัย โดยโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและชุมชน (โครงการเรียนดี ม.ช. และโครงการกีฬา)
- การรับนักศึกษาในระบบโควตาภาคเหนือ เป็นการรับนักศึกษาผ่านการสอบโควตาภาคเหนือ 17 จังหวัด ซึ่งจัดสอบในเดือนธันวาคมของทุกปี
- การรับนักศึกษาในระบบแอดมิดชันส์
หลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรี
ปัจจุบันใช้หลักสูตรที่ปรับปรุงในปีการศึกษา 2548 - 2549 ตามแต่ละสาขาวิชา โดยคาดว่าปีการศึกษา 2554 จะมีการใช้หลักสูตรใหม่ โดยเพิ่มกระบวนการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม การเพิ่มรายวิชาสหกิจศึกษา และหลักสูตรสำหรับนักศึกษาปรีชาชาญ (Honor Program)[1]
หลักสูตรปริญญาโท
หลักสูตรระดับปริญญาโทที่เปิดสอนในคณะวิทยาศาสตร์ มี 2 แผน เป็นหลักสูตร 2 ปี ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 5 ปี จำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต ดังนี้
- แผน ก เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทำวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ ดังนี้
- แบบ ก 1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
- แบบ ก 2 ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชา ในระดับบัณฑิตศึกษาอีกไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต
- แผน ข เป็นแผนการศึกษาที่เน้นงานรายวิชา โดยไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่ต้องมีการค้นคว้าแบบอิสระ
- ทำการค้นคว้าแบบอิสระ 5-6 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาอีกไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต[2]
หลักสูตรปริญญาเอก
หลักสูตรระดับปริญญาเอกที่เปิดสอนในคณะวิทยาศาสตร์มี 2 แบบ ได้แก่
- แบบ 1 เน้นการวิจัยที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
- แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
- แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต และใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
นอกจากนี้หลักสูตรอาจกำหนดให้เรียนกระบวนวิชาเพิ่มเติมได้โดยไม่นับหน่วยกิต
- แบบ 2 เน้นการวิจัยและมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ
- แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
- แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต และใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 8 ปีการศึกษา[3]
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
ระดับปริญญาตรี
|
ระดับปริญญาโท
|
ระดับปริญญาเอก
|
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
- สาขาคณิตศาสตร์
- สาขาเคมี
- สาขาชีวเคมีและชีวเคมีเทคโนโลยี
- สาขาฟิสิกส์
- สาขาวัสดุศาสตร์
- สาขาชีววิทยา
- สาขาสัตววิทยา
- สาขาจุลชีววิทยา
- สาขาสถิติ
- สาขาเคมีอุตสาหกรรม
- สาขาธรณีวิทยา
- สาขาอัญมณีวิทยา
- สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- สาขาวิทยาการข้อมูล
|
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
- หลักสูตรปกติ
- สาขาคณิตศาสตร์
- สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์
- สาขาการสอนคณิตศาสตร์
- สาขาเคมี
- สาขาการสอนเคมี
- สาขาเคมีอุตสาหกรรม
- สาขาฟิสิกส์
- สาขาฟิสิกส์ประยุกต์
- สาขาวัสดุศาสตร์
- สาขาการสอนฟิสิกส์
- สาขาสถิติประยุกต์
- สาขาชีววิทยา
- สาขาการสอนชีววิทยา
- สาขาธรณีวิทยา
- สาขาธรณีฟิสิกส์ประยุกต์
- สาขาชีวสารสนเทศศาสตร์
- สาขาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์บูรณาการ
- สาขานิติวิทยาศาสตร์
- สาขาจุลชีววิทยาประยุกต์
- หลักสูตรนานาชาติ
- สาขาธรณีฟิสิกส์ประยุกต์
- สาขาธรณีศาสตร์ปิโตรเลียม
- สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- หลักสูตรปกติและภาคพิเศษ
- หลักสูตรร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย
- สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
- แขนงชีวเคมีและชีวเคมีเทคโนโลยี
- แขนงวิชาจุลชีววิทยาและเทคโนโลยีจุลินทรีย์
|
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) (Ph.D.)
- หลักสูตรปกติ
- สาขาคณิตศาสตร์
- สาขาเคมี
- สาขาธรณีวิทยา
- สาขาฟิสิกส์
- สาขาวัสดุศาสตร์
- สาขาชีววิทยา
- สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- สาขาความหลากหลายทางชีวภาพและชีววิทยาชาติพันธุ์
- สาขาจุลชีววิทยาประยุกต์
- สาขาฟิสิกส์ประยุกต์
- หลักสูตรปกติภาษาอังกฤษ
- หลักสูตรนานาชาติ
- สาขาเคมี
- สาขาธรณีวิทยา
- สาขาฟิสิกส์
- สาขาวัสดุศาสตร์
- หลักสูตรร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย
- สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
- สาขาวิทยาศาสตร์นาโนและเทคโนโลยีนาโน
|
ภาควิชาและการแบ่งส่วนงาน
ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีภาควิชาทั้งสิ้น 8 ภาควิชา ดังต่อไปนี้
โดยสำหรับสำนักงานคณะวิทยาศาสตร์ ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 อาคาร 40 ปี คณะวิทยาศาสตร์ โดยสำนักงานคณะวิทยาศาสตร์ได้แบ่งส่วนงานไว้ดังนี้
- งานการเงิน การคลังและพัสดุ
- งานบริหารทั่วไป
- งานบริการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักศึกษา
- งานนโยบายและแผนและประกันคุณภาพการศึกษา
- งานบริหารงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์
โครงการที่คณะวิทยาศาสตร์ดำเนินการ
การบริการวิชาการแก่ชุมชน
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้บริการวิทยาศาสตร์แก่ชุมชนในหลายๆ โครงการ อาทิเช่น
- การจัดสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค โดยจัดสลับกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้
- โครงการอบรมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และวิทยาศาสตร์โลก
- โครงการเรียนล่วงหน้า (AP Program)
- การให้บริการวิชาการด้านดาราศาสตร์ ณ หอดูดาวสิรินธร ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์
- การให้บริการวิชาการด้านธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพ ณ ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ
สถานที่สำคัญภายในคณะ
- อาคารเคมี 1 (CB1) เป็นอาคารหลังแรกของคณะวิทยาศาสตร์
- อาคาร 30 ปี คณะวิทยาศาสตร์ (SCB1) เป็นอาคารที่สร้างขึ้นในโอกาสเฉลิมฉลองคณะวิทยาศาสตร์ ครบรอบ 30 ปี โดยเป็นอาคารเรียนและปฏิบัติการพื้นฐาน และห้องบรรยายขนาด 300 ที่นั่ง และเป็นที่ตั้งของห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ด้วย
- อาคาร 40 ปี คณะวิทยาศาสตร์ (SCB2) เป็นอาคารที่สร้างขึ้นในโอกาสเฉลิมฉลองคณะวิทยาศาสตร์ ครบรอบ 40 ปี โดยเป็นอาคารรวม ประกอบด้วย สำนักงานคณะวิทยาศาสตร์ (ชั้น 2) สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ (ชั้น 1) ห้องบรรยายขนาด 300 ที่นั่ง ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง และที่ตั้งสาขาจุลชีววิทยา
- อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการ (SCB3) เป็นอาคารเรียนรวมและปฏิบัติการสำหรับภาควิชาธรณีวิทยา และสาขาอัญมณีวิทยา
- อาคาร 45 ปี คณะวิทยาศาสตร์ (SCB4) เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2551 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2553 สำหรับเป็นอาคารเรียนและวิจัยสำหรับภาควิชาคณิตศาสตร์และภาควิชาสถิติ
- หอดูดาวสิรินธร ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ ตั้งอยู่บนดอยสุเทพ
- โรงอาหารภาควิชาชีววิทยา ตั้งอยู่ที่ใต้ถุนอาคารชีววิทยา 2 ภาควิชาชีววิทยา
- ลานอะตอม เป็นโถงสำหรับจัดกิจกรรมทั่วไป อยู่บริเวณโถงอาคาร 40 ปี คณะวิทยาศาสตร์
- พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา ตั้งอยู่บริเวณอาคาร SCB3
- พิพิธภัณฑ์ชีววิทยา ตั้งอยู่บริเวณอาคารชีววิทยา 1
- ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ ตั้งอยู่บริเวณถนนทางขึ้นดอยสุเทพ
กิจกรรมสำหรับนักศึกษา
สำหรับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีกิจกรรมสำหรับนักศึกษาให้เลือกสรรอย่างหลากหลาย ภายใต้การดูแลของสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สนว.) ซึ่งการบริหารงานปัจจุบัน ดำเนินการตามตามระเบียบการบริหารงานสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พุทธศักราช 2551 โดยสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ตั้งอยู่ที่ชั้น 1 อาคาร 40 ปีคณะวิทยาศาสตร์
กิจกรรมนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์
กิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บางกิจกรรมเข้าร่วมกับสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สมช.)
- วันแรกพบ คณะวิทยาศาสตร์
- ค่ายใต้ผืนฟ้า ชายคาเหลือง ในเมืองอะตอม (แต่เดิมใช้ชื่อค่ายว่า ค่ายอุ่นไอดิน กลิ่นไอดาว และชาวอะตอม)
- วันสอน BOOM SCIENCE
- ประเพณีนำนักศึกษาใหม่ขึ้นไปนมัสการวัดพระธาตุดอยสุเทพ จัดร่วมกับ สมช.
- กิจกรรม Sports day & Sports Night
- กิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาการศึกษาแบบองค์รวม
- กีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย (อะตอมเกมส์) โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ ในเดือนมีนาคม 2553 ภายใต้ชื่อ "ดอยสุเทพเกมส์"
ทั้งนี้นักศึกษาสามารถสังกัดชมรมในสังกัด สนว. ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ชมรมเสริมหลักสูตร และชมรมกีฬา ประกอบด้วย
ชมรมเสริมหลักสูตร
- ชมรมวิชาการ
- ชมรมดาราศาสตร์
- ชมรมดูนก
- ชมรมอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์
- ชมรมเชียร์
- ชมรมผู้นำเชียร์
|
- ชมรมพื้นบ้านล้านนา
- ชมรมดนตรีสากล
- ชมรมคอมพิวเตอร์
- ชมรมถ่ายภาพ
|
ชมรมกีฬา
- ชมรมฟุตบอล
- ชมรมบาสเกตบอล
- ชมรมหมากกระดาน
- ชมรมรักบี้ฟุตบอล
- ชมรมเทเบิลเทนนิส
- ชมรมเทนนิส
- ชมรมแบดมินตัน
|
- ชมรมซอฟท์บอล
- ชมรมเปตอง
- ชมรมกีฬาทางน้ำ
- ชมรมกรีฑา
- ชมรมเซปัคตะกร้อ
- ชมรมวอลเล่ย์บอล
- ชมรมรักบี้
|
ทำเนียบคณบดี
รายนามคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์พร้อมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จนถึงปัจจุบัน เรียงลำดับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้[4]
ทำเนียบคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
รายนามคณบดี
|
ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
|
1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.บัวเรศ คำทอง
|
พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2513
|
2. รองศาสตราจารย์ สมพงษ์ ชื่นตระกูล
|
พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2521
|
3. รองศาสตราจารย์ ดร.อุดม ศรีโยธา
|
พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2525
|
4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ทวีศักดิ์ ระมิงค์วงศ์
|
พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2533
|
5. รองศาสตราจารย์ ดร.การุณ กลั่นกลิ่น
|
พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2537
|
6. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กิตติชัย วัฒนานิกร
|
พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2543
|
7. รองศาสตราจารย์ บุญรักษา สุนทรธรรม
|
พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2548
|
8. รองศาสตราจารย์ ดร.มงคล รายะนาคร
|
พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2552
|
9. รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์
|
พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2560
|
10. ศาสตราจารย์ ดร.ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี
|
พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน
|
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
เกี่ยวกับ | | |
---|
การศึกษา | สุขภาพ | |
---|
เทคโนโลยี | |
---|
สังคม | |
---|
บัณฑิตศึกษา | |
---|
|
---|
วิจัยและพัฒนา | |
---|
สถานพยาบาล | โรงพยาบาล | |
---|
ศูนย์การแพทย์ | |
---|
โรงพยาบาลสัตว์ | |
---|
|
---|
คณะบุคคล | |
---|
สถาบันสมทบ | |
---|
หน่วยงานอื่น ๆ | |
---|
|
|
---|
ระดับคณะวิชาหรือเทียบเท่า | |
---|
ระดับภาควิชาหรือสาขาวิชา | |
---|
|
|