มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Chiang Mai University; อักษรย่อ: มช. : คำเมือง:) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคและเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่หกของประเทศไทย[4] ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2507[5] ตั้งอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2551[6] มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดำเนินการจัดการศึกษาและการวิจัยครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเกษตร สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ใน 21 คณะ 3 วิทยาลัย 1 บัณฑิตวิทยาลัย และ 8 สถาบัน[7]โดยมีหลักสูตรที่เปิดสอนในแต่ละคณะจำนวน 340 หลักสูตร ในระดับปริญญาตรี มีการจำแนกหลักสูตรออกเป็น หลักสูตรภาคปกติ หลักสูตรภาคพิเศษ หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรต่อเนื่อง และหลักสูตรสาขาวิชาร่วม หลักสูตรระดับปริญญาโท แบ่งเป็น 2 แผน คือ แผน ก และแผน ข และหลักสูตรระดับปริญญาเอก แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบ 1 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ และแบบ 2 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง และก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพ[8][9] ประวัติในปี พ.ศ. 2484 รัฐบาลมีนโยบายที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในส่วนภูมิภาคแต่เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง การดำเนินงานจึงชะงักลง ต่อมาเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ประชาชนชาวเชียงใหม่นำโดย นายกีและนางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ ได้เรียกร้องให้มีการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้นในส่วนภูมิภาค โดยขอให้รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องอย่างหนัก และส่วนหนึ่งของการแสดงการเรียกร้องในครั้งนั้นคือ การแสดงความคิดเห็นเรียกร้องผ่านการพิมพ์บัตรต่าง ๆ เพื่อแจกจ่ายให้นักเรียน และประชาชน ดังต่อไปนี้[10]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 รัฐบาลได้แถลงนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาว่าจะดำเนินการ "พัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค ตลอดถึงการศึกษาขั้นสูง" และเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ได้มีการประชุมโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค ภาคการศึกษา 8 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[11]เป็นประธาน ในการประชุมครั้งนั้นหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล[12] ได้บันทึกไว้ว่า "การตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค ตามความเรียกร้องของประชาชน ที่ประชุมเห็นว่าน่าจะจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดเชียงใหม่ ...ด้วยเป็นความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง..."[13] เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว คณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ลงมติอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503[14] และมอบหมายให้หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเตรียมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ. 2506 ซึ่งหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้บันทึกเกี่ยวกับการตั้งชื่อมหาวิทยาลัยไว้ใน บันทึกของปม. ความตอนหนึ่งว่า "...ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้สั่งไว้ว่า รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลปฏิวัติให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ปฏิวัติงานให้เข้าสู่สภาพที่ควรในทุกๆกรณี ถ้าเราเรียกชื่อมหาวิทยาลัยที่จังหวัดเชียงใหม่ว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็จะเป็นการปฏิวัติแล้ว คือเรียกชื่อมหาวิทยาลัยตามชื่อเมือง เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ชื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพราะมาก ขออย่าให้ใครมาแก้ไขเป็นอย่างอื่นเลย..."[15] ด้วยเหตุที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เกิดจากความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง และเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ณ จังหวัดเชียงใหม่ จึงมีชื่อว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พุทธศักราช 2507 เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2507 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2507 โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[16]จึงถือว่าวันก่อตั้งมหาวิทยาลัยตามกฎหมาย คือ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2507 มีผลบังคับใช้ และได้ดำเนินการเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 และต่อมาในปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2508 ซึ่งชาวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ถือว่าเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย[17] พระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล) อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เห็นว่าตราของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ควรจะมีคำขวัญหรือสุภาษิตกำกับไว้ จึงมอบหมายให้ ศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม กราบนมัสการขอพุทธภาษิตจากท่านเจ้าคุณ พระสาสนโสภณ[18] เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร) และได้เลือกพุทธภาษิตบทที่ว่า “อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา” แปลว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน เป็นคำขวัญประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กำหนดให้คำขวัญนี้อยู่ในตรามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน[19] ในระยะเริ่มต้นได้เปิดดำเนินการสอน 3 คณะ ที่เป็นรากฐานของทุกสาขาวิชา คือ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ได้รับโอนกิจการคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จาก มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) มาเป็นคณะแพทยศาสตร์สังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีเดียวกันนี้เอง ได้เริ่มจัดตั้งคณะเกษตรศาสตร์ขึ้นอีกคณะหนึ่ง ในปีการศึกษา 2511 ได้จัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ และในปีการศึกษา 2513 ได้จัดตั้งคณะใหม่อีก คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 จึงได้จัดตั้งเพิ่มขึ้นอีก 3 คณะคือ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2518 ได้จัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์เพิ่มขึ้น และตั้งบัณฑิตวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อเป็นหน่วยประสานงานด้านการเรียนการสอนและมาตรฐานหลักสูตรขั้นบัณฑิตศึกษามีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งแต่การดำเนินงานด้านการสอนและการวิจัยซึ่งกระทำโดยคณาจารย์ของคณะ และได้มีการจัดตั้งคณะวิจิตรศิลป์ขึ้น ในปี พ.ศ. 2525 เปิดรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2526 ในปี 2536 ได้จัดตั้งคณะเพิ่มขึ้นอีก 3 คณะ คือ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และคณะอุตสาหกรรมเกษตร และในปี พ.ศ. 2538 ได้จัดตั้งคณะเพิ่มอีก 1 คณะ คือ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2543 ได้มีการจัดตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ขึ้นเป็นคณะที่ 17 ในปีพ.ศ. 2548 ได้จัดตั้งอีกสองคณะ และหนึ่งวิทยาลัยคือ คณะการสื่อสารมวลชน คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี และในปีพ.ศ. 2549 ได้จัดตั้งคณะที่ 20 คือ คณะนิติศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2550 ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และต่อมาพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2551[20] ให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2567 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 64 มีมติให้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหมี เป็นกรรมการในคณะกรรมการสรรหากรรมการกำกับกิจการพลังงาน สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
ตราประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นรูปช้างชูคบเพลิงมีสุภาษิตเป็นภาษาบาลีว่า “อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา” อยู่ในกรอบเส้นรอบวงด้านบนและคำว่า “มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2507” อยู่ด้านล่างตรงกลาง ระหว่างข้อความทั้งสองนี้ มี “ดอกสัก” คั่นกลางปรากฏอยู่ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ซึ่งมีความหมายดังนี้[21]
ทั้งนี้ในตอนแรก ไกรศรี นิมมานเหมินท์ เสนอให้ตรามหาวิทยาลัยเป็นรูปเก้งเผือกสองแม่ลูก ยืนกลางเนินหญ้าคา พื้นหลังเป็นดอยสุเทพ ซึ่งอิงตามตำนานการสร้างเวียงเชียงใหม่ของพญามังราย[22] แต่ข้อเสนอของเขาไม่ได้รับการพิจารณา การบริหารงานนายกสภามหาวิทยาลัยนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีนายกสภามหาวิทยาลัย ดังรายนามต่อไปนี้ อธิการบดีอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี มาจากการเสนอชื่อ 2 ทาง คือ 1) การสมัครของผู้ที่มีความสนใจ และ 2) การเสนอชื่อ ซึ่งคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดให้มีการรับสมัครและการเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[25] การสรรหาอธิการบดีมีระบุในข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 ตอนหนึ่งว่า "ห้ามมีการสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งหรือการหยั่งเสียง หากเจ้าหน้าที่คนใดกระทำหรือสนับสนุน จะมีความผิดทางวินัย หน่วยงานต่าง ๆ ให้ใช้วิธีการเสนอชื่อด้วยวิธีปรึกษาหารือเท่านั้น"[26] ในเรื่องนี้ หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ ลงว่า การหยั่งเสียงทำให้เกิดความแตกแยกเพราะมีการหาเสียงโจมตีกันเพื่อเรียกความนิยม ประกอบกับมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2564 ที่ว่า "การหยั่งเสียงสามารถทำได้ [...] และผลการหยั่งเสียงที่ได้ดังกล่าวไม่ให้นำมาเป็นเกณฑ์ชี้ขาดในการพิจารณา ทั้งในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการสรรหาและของสภามหาวิทยาลัย"[27] กระบวนการดังกล่าวได้กลายมาเป็นประเด็น หลังมีอาจารย์คณะนิติศาสตร์ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองให้ยกเลิกข้อบังคับการสรรหาอธิการบดีดังกล่าว แต่ต่อมาถอนฟ้องหลังมีการยกเลิกข้อบังคับดังกล่าว[28] ขณะเดียวกันมีการเรียกร้องจากนักศึกษาและอาจารย์ส่วนหนึ่งให้ใช้วิธีหยั่งเสียงแทนการสรรหา[29] นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีอธิการบดี ดังรายนามต่อไปนี้ การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีจำนวนนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบัน จำนวน 35,059 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2560) จำแนกตามระดับการศึกษา ได้แก่ ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต โดยมีคณะที่เปิดสอนจำนวนทั้งสิ้น 21 คณะ 3 วิทยาลัย 2 สถาบันและ 1 บัณฑิตวิทยาลัย ได้แก่
ลำดับการก่อตั้งคณะหลักสูตรในระดับปริญญาตรีมีการแบ่งหลักสูตรออกเป็น หลักสูตรภาคปกติ หลักสูตรภาคพิเศษ หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรต่อเนื่อง และหลักสูตรสาขาวิชาร่วม โดยแต่ละคณะจะเป็นผู้กำหนดรายวิชาในแต่ละสาขาวิชาที่เปิดสอน โดยลำดับการก่อตั้งคณะต่างๆ เป็นไปตามตารางด้านล่าง
อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัยตารางแสดงการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากสถาบันต่างๆ
การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัยการประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัยโดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จากการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตาม "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย" พ.ศ. 2549 โดยในภาพรวมผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการเรียนการสอน และกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อยู่ในกลุ่ม ดีเลิศ ทั้งการเรียนการสอน และการวิจัย[34] การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัยโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษา โดยผลการประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการประเมินในระดับดีในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สาขาวิชาการประมง และสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/ สัตวแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สาขาวิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์/ สหเวชศาสตร์ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[35] และในการประเมินครั้งที่ 3 พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการประเมินในระดับดีมากในสาขาวิชา Material Technology / Material และ Mining Engineering ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์, สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สาขาวิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[36] การประเมินคุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติในแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยมีสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเผยแพร่ สนับสนุน และผลักดันให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาคการผลิตและการบริการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการ องค์กรที่มีวิธีปฏิบัติและผลการดำเนินการในระดับมาตรฐานโลกจะได้รับการประกาศเกียรติคุณด้วยรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และองค์กรที่ได้รับรางวัลจะนำเสนอวิธีปฏิบัติที่นำองค์กรของตนไปสู่ความสำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างให้องค์กรอื่นๆ นำไปประยุกต์เพื่อให้ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน ซึ่งรางวัลคุณภาพแห่งชาติถือเป็นรางวัลระดับโลก (World Class) เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA)[37] มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class) ประจำปี 2563[38] โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ดำเนินการพัฒนามหาวิทยาลัยตามปณิธานอย่างต่อเนื่อง และนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติมาใช้เป็นเครื่องมือในการยกระดับการดำเนินการและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ มุ่งเน้นที่ความสำเร็จ และคำนึงถึงมุมมองเชิงระบบในการบริหารจัดการองค์กรเพื่อการบรรลุพันธกิจ และวิสัยทัศน์ อันเป็นสิ่งยืนยันว่ามหาวิทยาลัยมีแนวทางการบริหารจัดการที่เป็นระบบเพื่อนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ และมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรเพื่อสร้างประโยชน์ให้ทุกภาคส่วน รวมไปถึงสังคม ชุมชน และประเทศชาติ[39] อันดับมหาวิทยาลัยนอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน ได้แก่ การจัดอันดับโดย Academic Ranking of World Universitiesการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Academic Ranking of World Universities หรือ ARWU โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจาก 1. Quality of Education ได้แก่ Alumni of an institution winning Nobel Prizes and Fields Medals 2. Quality of Faculty ได้แก่ Staff of an institution winning Nobel Prizes and Fields Medals, Highly Cited Researchers 3. Research Output ได้แก่ Papers published in Nature and Science, Papers indexed in Science Citation Index-Expanded and Social Science Citation Index 4. Per Capita Performance ได้แก่ Per capita academic performance of an institution โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 (ร่วม) ของประเทศไทย และอันดับที่ 601-700 ของโลก[40] การจัดอันดับโดย CWTS Leiden Rankingการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย CWTS Leiden Ranking โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏชื่ออยู่ในฐานข้อมูล Web of Science database มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ของประเทศไทย และอันดับที่ 551 ของโลก[41] การจัดอันดับโดย Center for World University Rankingsการจัดอันดับโดย Center for World University Rankings หรือ CWUR ที่มีเกณฑ์การจัดอันดับคือ คุณภาพงานวิจัย ศิษย์เก่าที่จบไป คุณภาพการศึกษา คุณภาพของอาจารย์ และภาควิชาต่าง ๆ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ของประเทศไทย และอันดับที่ 913 ของโลก[42] การจัดอันดับโดย Quacquarelli Symondsแควกเควเรลลี ไซมอนด์ส หรือ QS จัดอันดับมหาวิทยาลัยในสองส่วน คือ การจัดอันดับเป็นระดับโลก(QS World University Rankings) และระดับทวีปเอเชีย(QS University Rankings: Asia) มีระเบียบวิธีจัดอันดับ ดังนี้ QS World
น้ำหนักการชี้วัด การแบ่งคะแนนจะต่างกันในแต่ละสาขาวิชา เช่น ทางด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่มีอัตราการเผยแพร่งานวิจัยสูง การวัดการอ้างอิงและH-index ก็จะคิดเป็น 25 เปอร์เซนต์ สำหรับแต่ละมหาวิทยาลัย ในทางกลับกันสาขาที่มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่น้อยกว่า เช่น สาขาประวัติศาสตร์ จะคิดเป็นร้อยละที่ต่ำกว่าคือ 15 เปอร์เซนต์ จากคะแนนทั้งหมด ในขณะเดียวกันสาขาศิลปะและการออกแบบ ซึ่งมีผลงานตีพิมพ์น้อยก็จะใช้วิธีการวัดจากผู้ว่าจ้างและการสำรวจด้านวิชาการ[43] โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ของประเทศไทย และอันดับที่ 571 ของโลก[44] QS Asia
โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 102 ของเอเชีย[46] การจัดอันดับโดย Round University Rankingsการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก Round University Rankings โดย RUR Rankings Agency ของประเทศรัสเซีย เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (a ranking of leading world universities) มีเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับโดยการพิจารณาตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในระดับสากล 4 ด้าน 20 ตัวชี้วัด คือด้านการสอน (Teaching) 5 ตัวชี้วัด คิดเป็น 40% การวิจัย (Research) 5 ตัวชี้วัด 40% ด้านความเป็นนานาชาติ (International Diversity) 5 ตัวชี้วัด 10% และด้านความยั่งยืนทางการเงิน (Financial Sustainability) 5 ตัวชี้วัด 10% ผลการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ของประเทศไทย และอันดับที่ 673 ของโลก[47] การจัดอันดับโดย SCImago Institutions Rankingอันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Ranking หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะไม่ได้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย และอันดับที่ 987 ของโลก [48] การจัดอันดับโดย The Times Higher EducationThe Times Higher Education World University Rankings หรือ THE (World) มีระเบียบวิธีการจัดอันดับโดยแบ่งตัวชี้วัดเป็น 5 ประการ วัดคะแนนเป็นเปอร์เซนต์[49] การสอน (บรรยากาศการเรียน) คิดเป็น 30 เปอร์เซนต์ ประกอบไปด้วย การสำรวจชื่อเสียงทางวิชาการ 15 เปอร์เซนต์ อัตราส่วนของจำนวนบุคลากรต่อนักศึกษา 4.5 เปอร์เซนต์ อัตราส่วนผู้สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตต่อบัณฑิต 2.25 เปอร์เซนต์ อัตราส่วนบุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต 6 เปอร์เซนต์ รายรับของมหาวิทยาลัย 2.25 เปอร์เซนต์ การวิจัย (ปริมาณ รายรับ และชื่อเสียง) 30 เปอร์เซนต์ ประกอบไปด้วย สำรวจความมีชื่อเสียงทุกปี โดย Academic Reputation Survey 18 เปอร์เซนต์ รายรับจากงานวิจัย 6 เปอร์เซนต์ ปริมาณงานวิจัย 6 เปอร์เซนต์ การอ้างอิง อิทธิพลของงานวิจัย 30 เปอร์เซนต์ ทัศนะจากนานาชาติ (บุคลากร นักศึกษาและงานวิจัย) 7.5 เปอร์เซนต์ อัตราส่วนนักศึกษาต่างชาติต่อนักศึกษาในประเทศ 2.5 เปอร์เซนต์ อัตราส่วนบุคลากรต่างชาติต่อในประเทศ 2.5 เปอร์เซนต์ ความร่วมมือระดับนานาชาติ 2.5 เปอร์เซนต์ การส่งต่อความรู้ 2.5เปอร์เซนต์ การที่มหาวิทยาลัยมีนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ที่นำไปใช้ต่อยอดในภาคอุตสาหกรรม โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 3 (ร่วม) ของประเทศไทย และอันดับที่ 801-1000 ของโลก[50] The Times Higher Education Impact Rankings คือการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกที่สร้างผลกระทบสูงต่อสังคม จาก 1,406 มหาวิทยาลัยทั่วโลก ทั้งนี้การจัดอันดับดังกล่าวใช้เกณฑ์การประเมินมหาวิทยาลัยตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) โดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้คะแนนรวม 89.7 คะแนน จาก 100 คะแนน เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 74 ของโลก[51] และเป้าหมาย SDGs ในด้าน SDG 5 Gender Equality (2022) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 1 ของโลก[52] การจัดอันดับโดย University Ranking by Academic Performanceอันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย และอันดับ 628 ของโลก[53] การจัดอันดับโดย U.S. News & World ReportU.S. News & World Report นิตยสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุดของสหรัฐอเมริกา จากการสำรวจมหาวิทยาลัยทั่วโลก และมีเกณฑ์จัดอันดับหลายด้าน เช่น ชื่อเสียงการวิจัยในระดับโลก และระดับภูมิภาค สื่อสิ่งพิมพ์ การถูกนำไปอ้างอิง ความร่วมมือระหว่างประเทศ จำนวนบุคลากรระดับปริญญาเอก เป็นต้น โดยการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก “Best Global Universities Rankings” มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย และอันดับที่ 739 ของโลก[54] อันดับของมหาวิทยาลัยในด้านอื่น ๆการจัดอันดับโดย Webometricsการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของเว็บโอเมตริกซ์ จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวน Link ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บนั้น ๆ จากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วยSearch Engine และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์ .pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยการจัดอันดับในปี2023 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และอันดับที่ 472 ของโลก[55] สถาบันวิจัย
การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต และประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพ ให้มีความชำนาญในสาขาวิชาเฉพาะ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนางานในสาขาวิชาชีพ นั้น ๆ การศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตจะต้องศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษา มีหน่วยกิตรวม ตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต โดยเป็นกระบวนวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต ระดับปริญญาตรีหลักสูตรในระดับปริญญาตรี มีหลักสูตรที่เปิดสอนในแต่ละคณะทั้งหมดประมาณ 100 หลักสูตรโดยจะมีการแบ่งหลักสูตรออกเป็น หลักสูตรภาคปกติ หลักสูตรภาคพิเศษ (เสาร์-อาทิตย์) หลักสูตรภาคพิเศษ (ช่วงเย็น) หลักสูตรต่อเนื่อง และหลักสูตรสาขาวิชาร่วม โดยแต่ละคณะจะเป็นผู้กำหนดรายวิชาในแต่ละสาขาที่เปิดสอนเอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีในระบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
โครงการรับนักเรียนที่มีผลการเรียนดี โครงการพัฒนาและส่งเสริมเยาวชนดีเด่นทางการกีฬา โครงการวิศวะสู่ชุมชน โครงการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โครงการบัณฑิตเพื่อชุมชน โครงการนักคิดเพื่อสังคม โครงการส่งเสริมนักเขียนและกวีล้านนา โครงการสื่อสารมวลชนเพื่อสังคม โครงการสื่อสารมวลชนสู่ชนบท โครงการผู้มีความสามรถพิเศษทางการสื่อสารมวลชน โครงการช้างเผือกคณะเศรษฐศาสตร์ โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนฯ (วมว.) โครงการเด็กดีมีที่เรียน โครงการสำนึกรักบ้านเกิดเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน โครงการผู้มีแววเป็นนักนิติศาสตร์ โครงการพิเศษสำหรับนักเรียนพิการ โครงการทายาทศิษย์เก่าบัญชี-บริหารธุรกิจ โครงการนักเรียนที่มีผลการเรียนดีและเป็นทายาทผู้ประกอบการธุรกิจ โครงการนักเรียนที่สนใจศึกษาความเปลี่ยนแปลงของสังคม คณะมนุษยศาสตร์
โดยจะรับคัดเลือกแต่นักเรียนที่เรียนอยู่ในเขตพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ เป็นเวลา 3 ปี โดยจะมีการจัดการสอบเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนธันวาคม
โดยผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกต้องผ่านกระบวนการทดสอบความถนัดทั่วไป (TGAT) ความถนัดทางวิชาชีพ (TPAT) และการทดสอบวิชาสามัญเพื่อการประยุกต์ใช้ (A - Level) โดยจะนำผลการทดสอบดังกล่าวมาเลือกคณะและสาขาวิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้ตามความต้องการโดยผ่านทางการคัดเลือกในระบบของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ระดับปริญญาโทหลักสูตรระดับปริญญาโท แบ่งเป็น 2 แผน คือ แผน ก และแผน ข ดังนี้ - แผน ก แบบ ก 1 หมายถึง การเรียนที่มีเพียงการทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว มีหน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และจะต้องทำกิจกรรมทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ อาจมีการเรียนกระบวนวิชาเพิ่มเติมได้โดยไม่นับหน่วยกิตสะสม - แผน ก แบบ ก 2 หมายถึง การเรียนที่เป็นลักษณะของการศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หน่วยกิตสะสมเป็นไปตามโครงสร้างหลักสูตรของสาขาวิชา - แผน ข หมายถึง การศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษา และทำการค้นคว้าแบบอิสระไม่น้อยกว่า 3-6 หน่วยกิต มีการสอบคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ โดยทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดสอบเอง ระดับปริญญาเอกหลักสูตรระดับปริญญาเอก แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบ 1 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ แยกเป็น แบบ 1.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต แบบ 1.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต แบบ 2 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง และก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพ และศึกษากระบวนวิชาเพิ่มเติม แยกเป็น แบบ 2.1 สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต แบบ 2.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต พื้นที่มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณกำแพงเมืองเชียงใหม่ประตูสวนดอก (ฝั่งสวนดอก) ไปถึง บริเวณเชิงดอยสุเทพ (ฝั่งสวนสัก) ขนาบข้างด้วยถนนห้วยแก้ว และ ถนนสุเทพ พื้นที่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีพื้นที่รวม 8,502 ไร่ พื้นที่บางส่วนเป็นที่ดินของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เอง ซึ่งมีการซื้อหรือเวนคืนในช่วงการจัดตั้งมหาวิทยาลัย บางส่วนหน่วยงานราชการอื่น โดยเฉพาะกรมป่าไม้ อนุญาตให้ใช้ประโยชน์ได้ และบางส่วนได้รับจากผู้มีจิตศรัทธา พื้นที่เหล่านี้กระจายอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ดังนี้
ฝั่งสวนสักฝั่งสวนสัก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200 อยู่ห่างจากใจกลางเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 5 กิโลเมตร ตั้งอยู่ติดกับดอยสุเทพ ฝั่งสวนสักประกอบด้วยศูนย์บริหารของมหาวิทยาลัยและคณะต่างๆ ได้แก่
นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของศาลาธรรม หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาลพระภูมิ ศาลาอ่างแก้ว สนามกีฬา ศูนย์อาหาร หอพักนักศึกษา สิ่งอำนวยความสะดวก บริการทรัพยากรทั้งหมดในมหาวิทยาลัย และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาที่สำคัญ จุดเด่นของวิทยาเขตนี้คืออ่างเก็บน้ำอ่างแก้ว สร้างขึ้นเพื่อจัดหาน้ำประปาให้กับมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับผู้อยู่อาศัยในวิทยาเขตและชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย ในทศวรรษที่ 1960 พื้นที่ยังคงเป็นป่า โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ อาคารมหาวิทยาลัยจึงถูกสร้างขึ้นระหว่างต้นไม้ ส่งผลให้วิทยาเขตยังคงสภาพเดิมไว้มาก ฝั่งสวนดอกฝั่งสวนดอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 110 ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200 อยู่ใกล้ฝั่งสวนสักและใกล้ตัวเมืองมากขึ้น เป็นศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโดยมีโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง ฝั่งสวนดอกมีพื้นที่ 110 เอเคอร์ (0.45 กม. 2 ) ซึ่งประกอบด้วยคณะวิชาที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์การแพทย์ การพยาบาล ทันตกรรม ร้านขายยา และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ที่รู้จักกันในท้องถิ่นว่าโรงพยาบาลสวนดอก โรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทย
ฝั่งแม่เหียะฝั่งแม่เหียะ หรือฝั่งดอยคำ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 155 หมู่ 2 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100 ห่างจากฝั่งสวนสักไปทางใต้ประมาณ 5 กม. ฝั่งแม่เหียะมีพื้นที่ 864 เอเคอร์ (3.50 กม. 2 ) เป็นที่ตั้งของหน่วยงานสำคัญคือ ศูนย์การศึกษาหริภุญไชยศูนย์การศึกษาหริภุญไชย ตั้งอยู่เลขที่ 205 หมู่ 2 ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 51000 เป็นที่ตั้งของหน่วยงานสำคัญคือ
ศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสาครศูนย์การศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร ตั้งอยู่เลขที่ 119/76 ตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000 เป็นที่ตั้งของหน่วยงานสำคัญคือ สถานที่สำคัญ
กิจกรรมและประเพณี
ประเพณีรับน้องขึ้นดอย เริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นปีแรกของการเปิดดำเนินการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 291 คน โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บุญสม มาร์ติน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีที่รับผิดชอบดูแลนักศึกษา มีความคิดที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีประเพณีที่แตกต่างไปจากมหาวิทยาลัยอื่น และเป็นประเพณีที่น่าประทับใจ น่าจดจำไว้ด้วยความภาคภูมิใจ ประกอบกับจังหวัดเชียงใหม่มีหนทางขึ้นดอยสุเทพ โดยครูบาศรีวิชัยเป็นผู้นำในการทำหนทางดังกล่าว นับว่าเป็นผลงานที่แสดงถึงความศรัทธาและความสามัคคีเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นหลังจากการปฐมนิเทศนักศึกษาในปีแรกแล้ว จึงได้ชักชวนนักศึกษารุ่นแรกทุกคนเดินขึ้นดอยสุเทพพร้อมกันด้วยความสามัคคี เพื่อนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ ด้วยความศรัทธาและแสดงถึงความเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่อย่างสมบูรณ์ ประเพณีดังกล่าวนี้นักศึกษารุ่นหลังยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาตราบจนทุกวันนี้และเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ที่น่าภาคภูมิของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเพณีรับน้องขึ้นดอยเป็นประเพณีของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่จัดขึ้นประมาณต้นเดือนกรกฎาคมของทุกปี ตามประวัติแล้วประเพณีนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ลูกช้างเชือกใหม่ทุกคน และดอยสุเทพซึ่งวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวเชียงใหม่ โดยในวันรับน้องขึ้นดอยนั้นแต่ละคณะจะจัดตั้งขบวนบริเวณหน้าศาลาธรรมตั้งแต่เช้าตรู่โดยริ้วขบวนจะประกอบไปด้วยเฟรชชีและพี่ๆแต่ละชั้นปีเดินขึ้นไปพร้อมกัน โดยทุกคนจะแต่งกายแบบล้านนาทำให้ดูมีสีสันสวยงามน่าตื่นตาตื่นใจ[63]
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ตุวานนท์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นศิษย์เก่ารหัส 07 (นักศึกษารุ่นแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ได้กล่าวถึงความเป็นมาของ “ประเพณีรับน้องรถไฟ” ว่า ในปี พ.ศ. 2507 นักศึกษาบางคนมากันเป็นกลุ่มหรือผู้ปกครองพามา ในขณะเดียวกันผู้บริหารมหาวิทยาลัยในตอนนั้นอาจารย์บัวเรศ คำทอง คุณหมอบุญสม มาร์ติน คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มีความเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของนักศึกษาต่างจังหวัดที่ต้องเดินทางมาเรียนที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ส่งอาจารย์ 3 ท่าน คือ อาจารย์การุณ กลั่นกลิ่น อาจารย์จิตติ โอฬารรัตน์มณี และอาจารย์สุข เดชชัย ไปช่วยดูแลอำนวยความสะดวก ทำการเหมาตู้รถไฟและนำตั๋วมาจำหน่ายให้นักศึกษารุ่นแรกที่หัวลำโพง พานักศึกษาเดินทางมายังจังหวัดเชียงใหม่ รถไฟสมัยนั้นเป็นรถเร็วซึ่งค่าตั๋วถูกกว่ารถด่วนเหมาะกับนักศึกษา เมื่อมาถึงเชียงใหม่ก็มีแพทย์สวนดอกรุ่นพี่(รหัส 04) นำทีมโดย คุณหมอเกษม วัฒนชัย ซึ่งเดิมสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และต่อมาได้โอนมาสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มาต้อนรับน้องๆที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ และได้พานักศึกษารุ่นแรก รหัส 07 ขึ้นรถบรรทุกทหารของค่ายกาวิละมายังมหาวิทยาลัย[64] ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 อาจารย์วิศิษฐ์ศักดิ์ ไทยทอง รหัส 08 ได้รับเลือกเป็นนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในสมัยนั้น รับอาสาเป็นผู้ดูแลกิจกรรมดังกล่าวแทนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยพาพี่ ๆ เพื่อน ๆ ไปรับน้องที่เดินทางจากหัวลำโพงมาเชียงใหม่และมาไหว้ศาลพระภูมิก่อนเข้าหอพัก ต่อจากนั้นสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็เป็นผู้รับผิดชอบการจัดงานรับน้องรถไฟตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และเดินทางโดยรถเร็วตรงจากหัวลำโพงมายังสถานีรถไฟเชียงใหม่ ต่อมาเปลี่ยนเป็นรถด่วนและเมื่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีศิษย์เก่าเพิ่มมากขึ้นได้มีการจัดตั้งเป็นชมรม สมาคมตามจังหวัดต่างๆ และจังหวัดที่ชมรม สมาคมเข้มแข็งก็จะพาศิษย์เก่ารุ่นพี่ๆ มาต้อนรับน้องๆ คล้องพวงมาลัย แจกน้ำ และขนมขบเคี้ยวที่สถานีรถไฟลพบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก และลำปาง และทำกันเป็นประเพณีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน วัตถุประสงค์เพื่อพาน้องใหม่มาถึงเชียงใหม่โดยสวัสดิภาพ ปลอดภัย เสริมสร้างความสามัคคีระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง[65] ประเพณีรับน้องรถไฟถือว่าเป็นประเพณีประจำปีอย่างหนึ่งที่จัดขึ้นโดยรุ่นพี่ของแต่ละคณะที่มาต้อนรับนักศึกษาใหม่ที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ และอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครหรือพื้นที่นอกเขตภาคเหนือ เริ่มต้นกิจกรรมกันที่สถานีรถไฟหัวลำโพงโดยมหาวิทยาลัยจะเหมารถไฟจำนวนหลายขบวน และแบ่งตู้รถไฟกันตามคณะและจำนวนของรุ่นพี่และรุ่นน้องในคณะนั้นๆ โดยรุ่นพี่ของแต่ละคณะก็จะเตรียมกิจกรรมและเกมส์ต่างๆ มีการสอนร้องเพลงประจำมหาวิทยาลัย เพลงประจำคณะ เป็นต้น ซึ่งเป็นการให้รุ่นน้องได้ทำกิจกรรมบนรถไฟช่วงที่รถไฟวิ่งมุ่งหน้าไปยังจังหวัดเชียงใหม่ โดยปกติเมื่อไปถึงจังหวัดเชียงใหม่แล้วรุ่นพี่จะพาน้องใหม่ไปไหว้พระที่ศาลาธรรมเพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นการรับขวัญน้องใหม่ที่มาจากแดนไกล หลังจากนั้นรุ่นพี่ก็จะพาน้องใหม่เข้าไปพักตามหอพักนักศึกษา(หอใน)ตามที่น้องได้จองไว้ ประเพณีรับน้องรถไฟเป็นกิจกรรมรับน้องครั้งแรกที่รุ่นน้องและรุ่นพี่ได้พบเจอกัน อีกทั้งยังมีศิษย์เก่า และผู้ปกครองมาส่งรุ่นน้องที่สถานีรถไฟ ทำให้บรรยากาศในวันนั้นเต็มไปด้วยผู้คนมากมายในการแสดงความยินดีกับการเริ่มต้นการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รุ่นน้องจะได้รับบัตรคล้องคอ หรือติดเสื้อโดยเขียนชื่อเล่นแต่ละคนเอาไว้เพื่อให้ได้ทำความรู้จักกัน นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้นจะถูกเรียกว่า "ลูกช้าง" เพราะช้างเป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันประเพณีรับน้องรถไฟยังคงจัดกิจกรรมเป็นประจำทุกปีเพื่อสืบสานประเพณีที่ดีงามอันเก่าแก่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เอาไว้สืบไป
สปอร์ตเดย์แอนด์สปิริตไนท์เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแสดงความสามัคคีและน้ำใจนักกีฬาของแต่ละคณะ โดยกิจกรรมจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนของทุกปีประกอบด้วยกิจกรรมช่วงกลางวัน และกิจกรรมในช่วงกลางคืน ในกิจกรรมช่วงกลางวัน (Sport Day) จะมีการแข่งขันกีฬา การประกวดเชียร์ลีดเดอร์ สแตนเชียร์ ขบวนพาเหรด และกิจกรรมในช่วงกลางคืน (Spirit Night) จะเป็นการแสดงโชว์สแตนเชียร์ของแต่ละคณะที่เรียกว่าไคลแมกซ์ พิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เริ่มเปิดสอนในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 โดยระยะแรกมี 3 คณะ ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ มาทรงประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2508 และในปีเดียวกันนี้เองที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับโอนคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มาสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนั้นพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ในครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2509) จึงเป็นพิธีพระราชทานปริญญาบัตรพร้อมกับมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ณ หอประชุมแพทยาลัย มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2510) จัด ณ พลับพลาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 3-5 (พ.ศ. 2512 –2514 ) จัด ณ พลับพลาบริเวณสนามหน้าตึกอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีพุทธศักราช 2515 เมื่อการสร้างศาลาอ่างแก้วแล้วเสร็จ มหาวิทยาลัยจึงได้ย้ายสถานที่ประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมายังศาลาอ่างแก้ว ดังนั้น พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่ 6–30 (พ.ศ. 2515–2539) จึงจัด ณ ศาลาอ่างแก้ว ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวมีเหตุการณ์ที่ควรบันทึกไว้คือ ในการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่ 25 (พ.ศ. 2534) เป็นปีฉลอง 25 ปีแห่งพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดทำเหรียญที่ระลึกพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่ 25 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเหรียญทองคำหนัก 25 บาท จำนวน 1 เหรียญ เพื่อขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญที่ระลึกดังกล่าวแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 25 เพื่อเป็นศิริมงคลแก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2540 หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคารหอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมกับพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนั้นการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่ 31 (พ.ศ. 2540) จึงเป็นปีที่เริ่มใช้หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตร ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|