คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ประวัติ[1]คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการจัดตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในคราวประชุมครั้งที่ 306(4/2551) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2551 ที่ได้กำหนดให้วิทยาเขต สุราษฎร์ธานีมีการปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ตามแนวคิดการจัดกลุ่มศาสตร์ที่ใกล้เคียงกันไว้ในคณะเดียวกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ มีการดำเนินงานภายใต้โครงสร้างการบริหารแบบรวมศูนย์บริการประสานภารกิจ ซึ่งมีคณบดีทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานทางวิชาการ โดยการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาเขต คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มีภารกิจหลักในการจัดการเรียนการสอนด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และการจัดการทั้งในระยะแรกมีการจัดการเรียนการสอนจำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่ 1. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (วิทยาการจัดการ) เป็นหลักสูตรเดิมจากคณะเทคโนโลยี และการจัดการ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนหลักสูตรเป็นหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (พัฒนาธุรกิจ) เมื่อปี พ.ศ.2552 2. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) 3. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ) 4. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษา การสื่อสารและธุรกิจ) รวมทั้งได้ดำเนินการในการสร้างสรรค์งานวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม พ.ศ.2554 เปิดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การจัดการรัฐกิจและวิสาหกิจ) ขึ้น โดยในรุ่นแรกรับนักศึกษาได้จำนวน 54 คน และปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) เป็นหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) พ.ศ.2555 เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจการท่องเที่ยว) ขึ้น โดยในรุ่นแรกรับนักศึกษาจำนวน 129 คน พ.ศ.2557 เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต โดยในรุ่นแรกรับนักศึกษาจำนวน 5 คน พ.ศ.2558 เปิดหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (หลักสูตร 2 ภาษา) ขึ้น โดยในรุ่นแรกรับนักศึกษาจำนวน 26 คน และปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การจัดการรัฐกิจและวิสาหกิจ) โดยเปลี่ยนชื่อเป็น หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การจัดการรัฐกิจ) พ.ศ 2559 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ปรับเปลี่ยนระบบการบริหารเป็นมหาวิทยาลัยภายใต้การกำกับของรัฐ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่โดยกำหนดให้คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ให้เป็นคณะที่มีภาระหน้าที่ในการบริหารจัดการทั้งระบบ โดยยังคงมีลักษณะรวมศูนย์บริการประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานวิทยาเขต แต่ขอบเขตอำนาจหน้าที่มีใกล้เคียงกับคณะอื่นในมหาวิทยาลัย และได้มีการปรับปรุงหลักสูตรหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษา การสื่อสารและธุรกิจ) เป็นหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ) พ.ศ.2561 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีขึ้น โดยได้แยกหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ) และคณาจารย์สาขาภาษาต่างประเทศไปอยู่ที่วิทยาลัยนานาชาติ ทำให้คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ ยังคงจัด การเรียนการสอนอยู่ 6 หลักสูตร พ.ศ.2563 ปรับปรุงหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (หลักสูตร 2 ภาษา) เป็นหลักสูตรภาษาไทยเหมือนกับหลักสูตรอื่นๆ เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน โดยในรุ่นแรกรับนักศึกษาจำนวน 36 คน พ.ศ.2564 ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (พัฒนาธุรกิจ) โดยเปลี่ยนชื่อเป็น หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจ) โดยในรุ่นแรกรับนักศึกษาจำนวน 61 คน พ.ศ.2566 มหาวิทยาลัยได้ให้ควบรวมวิทยาลัยนานาชาติ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี มาอยู่กับคณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ โดยโอนบุคลากรสายวิชาการ สายอำนวยการ และนักศึกษา ทำให้คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการในปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนจำนวน 9 หลักสูตร และได้ดำเนินภารกิจทั้งในด้านการวิจัย การบริการวิชาการและพันธกิจเพื่อสังคม และการบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยภได้มีการจัดตั้งศูนย์วิจัย ศูนย์บริการวิชาการ และสำนักงานบริหารคณะขึ้น หลักสูตรการศึกษา[2]ปริญญาตรี 8 หลักสูตร 1. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจ) 2. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจการท่องเที่ยว) 3. หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) 4. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต 5. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การจัดการรัฐกิจ) 6. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ) 7. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ) 8. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาเพื่อการสื่อสารธุรกิจระหว่างประเทศ) ปริญญาโท 1 หลักสูตร 1. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ศูนย์วิชาการ1. หน่วยวิจัยนวัตกรรมการจัดการ ท่องเที่ยว และภาษาเพื่อสังคม 2. หน่วยวิจัยการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อสังคมสูงวัย 3. ศูนย์อาเซียนพลัส 4. ศูนย์ศรีวิชัยศึกษา 5. ศูนย์ภาษา ทำเนียบคณบดี
อ้างอิง
|