โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์
โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ที่มีสถานภาพเป็นโรงเรียนเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมูลนิธิเพื่อการศึกษาโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ เป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นผู้จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิฯ โดยคำแนะนำของสภามหาวิทยาลัย โดยโรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย เริ่มเปิดสอนในปีการศึกษา 2548[3] ผู้บริหารโรงเรียน
อัตลักษณ์ของโรงเรียนคือ SMART with CARE & SHARE ประกอบด้วย SMART
CARE
SHARE
แนวการบริหารจัดการ
ประเภทการรับสมัครเข้าศึกษาการสมัครเข้าศึกษาต่อยังโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย หรือเรียกโดยย่อว่า โครงการ วมว. มีการคัดเลือกรอบแรกดำเนินการโดยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งเปิดรับสมัครนักเรียนที่จบการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือกำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษานั้น จากทั่วประเทศและทุกพื้นที่บริการ ซึ่งนักเรียนที่เลือกสอบเข้าโครงการ วมว. จะไม่สามารถเลือกสอบเข้าโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยได้ โดยจะคัดเลือกในรอบแรกไว้ 200 คน และในรอบที่สอง การสอบคัดเลือกจะดำเนินการโดยโรงเรียนเอง เพื่อคัดเลือกเหลือเพียง 60 คน (แบ่งเป็น 2 ห้องเรียน) ประเภทคัดเลือกทั่วไปเป็นการสอบคัดเลือกรูปแบบปกติ ดำเนินการสอบคัดเลือกโดยโรงเรียนเอง โดยการสอบประเภทนี้จะจัดสอบในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปีการศึกษา แบ่งจำนวนการรับนักเรียนด้วยวิธีนี้ในมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประมาณ 150 คนต่อปี และมัธยมศึกษาปีที่ 4 รับตามจำนวนที่ไม่เท่ากันในแต่ละปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เดิมที่มีสิทธิ์เข้าศึกษาต่อ และประสงค์จะเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต่อไป โดยยังมีการแบ่งกลุ่มการจัดลำดับเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มบุตร น้อง และหลานบุคลากร กลุ่มบุคคลทั่วไป และกลุ่มผู้มีอุปการคุณ นอกจากนี้ คะแนนของการสอบคัดเลือกทั่วไปจะนำมาใช้พิจารณาในการคัดเลือกห้องเรียนทางไกลที่อยู่ภายใต้การดูแลของ โครงการพระราชดำริ ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเป็นฐานจัดการเรียนการสอนทางไกลแบบสื่อสารสองทาง สามารถตอบโต้ได้ระหว่างห้องเรียนต้นทางไปปลายทาง และมีการฝึกปฏิบัติการทดลองทางไกลร่วมกันเป็นแห่งแรกของไทย โดยมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 6 โรงเรียน 4 จังหวัดของภาคใต้ คือพังงา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส รับสมัครด้วยการยื่นแฟ้มสะสมผลงาน[4]เป็นการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อด้วยการยื่นแฟ้มสะสมผลงานและพิจารณาโดยกรรมการของโรงเรียน โดยแบ่งกลุ่มนักเรียนที่รับสมัครด้วยการยื่นแฟ้มสะสมผลงานนี้เป็น 4 ประเภท แต่ละประเภทรับเข้าศึกษาประมาณ 30 คนยกเว้นกลุ่มนักเรียนประจำระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รับเข้าศึกษาประมาณ 15 คน โดยแบ่งระดับชั้นที่รับสมัครดังนี้
กิจกรรมของโรงเรียนกิจกรรมภายในโรงเรียน
กิจกรรมกีฬาสีจะจัดขึ้นในภาคเรียนที่ 1 ของทุกปีการศึกษา การแบ่งสีประจำนักเรียนจะแบ่งให้กับนักเรียนที่เข้าใหม่ทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามลำดับเลขที่ของนักเรียน ประกอบด้วย สีชมพู สีฟ้า สีม่วง และสีส้ม ตามลำดับ อดีตมีสีแดงและสีเหลือง ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว โดยจะมีการจัดตามเลขที่รูปแบบใหม่เมื่อเข้าช่วงมัธยมศึกษาตอนปลาย อดีตใช้การจับสลากในการแบ่งสีให้แก่นักเรียน อ้างอิง
ดูเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่น
7°00′04″N 100°30′25″E / 7.001036°N 100.506942°E
|