Share to:

 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี
Faculty of Science and Technology
Prince of Songkla University
สถาปนา3 ตุลาคม พ.ศ. 2528
คณบดีรศ.ดร.กรรณิการ์ สหกะโร
ที่อยู่
อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
สีสีเลือดนก
เว็บไซต์sat.psu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นคณะที่ 3 ในวิทยาเขตปัตตานี โดยโอนภาควิชาวิทยาศาสตร์ และภาควิชาคหกรรมศาสตร์ จากคณะศึกษาศาสตร์ มาสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และภาควิชาที่โอนมาสังกัดคณะใหม่ ได้เปลี่ยนชื่อภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป เป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยเปิดสอนนักศึกษารุ่นแรกของคณะ ในปีการศึกษา 2528 สาขาเทคโนโลยีการยาง จำนวน 11 คน นอกจากนี้คณะฯ ยังรับผิดชอบในการสอนนักศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ คือ ศษ.บ. (คหกรรมศาสตร์), วท.บ(ศึกษาศาสตร์) โปรแกรมวิชาเอกสาขาคณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป วิชาโทสาขาต่าง ๆ และหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์) ให้ทุกคณะในวิทยาเขตปัตตานี

หลังจากการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบันได้พัฒนาการเปิดสาขาต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้

ระดับปริญญาตรี
  • พ.ศ. 2528 เปิดสอนสาขาวิชาเทคโนโลยียาง
  • พ.ศ. 2531 เปิดสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง
  • พ.ศ. 2533 เปิดสอนสาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  • พ.ศ. 2535 เปิดสอนสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2538 เปิดสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
    • สาขาวิชาเคมี-ชีววิทยา
  • พ.ศ. 2542 เปิดสอนสาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม
  • พ.ศ. 2546 เปิดสอนสาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง (ผลิตภัณฑ์ประมง)

หลักสูตร


ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (4 ปี)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยียาง
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  • สาขาวิชาเคมี-ชีววิทยา
  • สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร (เทคโนโลยีการผลิตพืช)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร (เทคโนโลยีการผลิตสัตว์)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง (เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ประมง)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภขนาการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์นิเทศ
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ตั้งแต่ปี 2564 เดิมคณิตศาสตร์ประยุกต์)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาเคมีประยุกต์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีพอลิเมอร์
  • สาขาวิชาฟิสิกส์พอลิเมอร์
  • สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัย
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภขนาการ

หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีพอลิเมอร์
  • สาขาวิชาวิทยาการวิจัย

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya