Share to:

 

ดานัง

ดานัง

Đà Nẵng

ด่าหนัง
นครดานัง
Thành phố Đà Nẵng
ชายหาดหมีเค · กระเช้าไฟฟ้าบ่าน่า · ภูเขาหินอ่อน · โนโวเทลดานัง · สะพานข้ามแม่น้ำห่าน
ชายหาดหมีเค · กระเช้าไฟฟ้าบ่าน่า · ภูเขาหินอ่อน · โนโวเทลดานัง · สะพานข้ามแม่น้ำห่าน
แผนที่ประเทศเวียดนามเน้นดานัง
แผนที่ประเทศเวียดนามเน้นดานัง
พิกัด: 16°04′N 108°14′E / 16.067°N 108.233°E / 16.067; 108.233
ประเทศ เวียดนาม
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,256 ตร.กม. (485 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด973,800 คน
 • ความหนาแน่น780 คน/ตร.กม. (2,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+07:00 (เขตเวลาอินโดจีน)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+7
รหัสพื้นที่511

ดานัง[1] (อังกฤษ: Da Nang), ด่าหนัง[2] (เวียดนาม: Đà Nẵng) หรือ ดาหนัง[1] เป็นเมืองท่าสำคัญของเวียดนามกลางตอนใต้ ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลจีนใต้ จัดเป็น 1 ใน 5 เขตการปกครองส่วนท้องถิ่นในเวียดนาม

สภาพทางภูมิศาสตร์

ตำแหน่งที่ตั้ง

ดานังตั้งอยู่ที่ตำแหน่งละติจูดที่ 15°55' ถึง 16°14' องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 107°18' ถึง 108°20' องศาตะวันออก ทิศเหนือติดกับเมืองเว้ ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของเวียดนาม ทิศตะวันตกและทิศใต้ติดกับจังหวัดกว๋างนาม ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงฮานอยไปทางใต้ 764 กิโลเมตร และห่างจากนครโฮจิมินห์ไปทางเหนือ 964 กิโลเมตร

ภูมิอากาศ

เมืองดานังตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นมรสุมโดยทั่วไปจะมีอุณหภูมิสูงและมีความผันผวนน้อย สภาพภูมิอากาศดานังเป็นสถานที่ทางตอนเหนือของภูมิอากาศแบบ subtropic ทางตอนเหนือและตอนใต้ของเวียดนามโดยมีสภาพภูมิอากาศที่เด่นชัด เขตร้อนในภาคใต้ มีฤดูที่แตกต่างกันคือฤดูฝนฤดูฝนตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคมและฤดูแล้งตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคมโดยมีฤดูหนาวเป็นช่วง ๆ หนาและไม่นาน

ข้อมูลภูมิอากาศของดานัง
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 32
(90)
35
(95)
37
(99)
41
(106)
39
(102)
38
(100)
38
(100)
38
(100)
37
(99)
36
(97)
35
(95)
32
(90)
41
(106)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 24.8
(76.6)
26.1
(79)
28.7
(83.7)
31.0
(87.8)
33.4
(92.1)
33.9
(93)
34.3
(93.7)
33.9
(93)
31.5
(88.7)
29.6
(85.3)
27.0
(80.6)
24.9
(76.8)
29.93
(85.87)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 21.7
(71.1)
23.0
(73.4)
25.1
(77.2)
27.2
(81)
29.2
(84.6)
29.7
(85.5)
29.8
(85.6)
29.7
(85.5)
27.8
(82)
26.4
(79.5)
24.3
(75.7)
22.1
(71.8)
26.33
(79.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 18.5
(65.3)
19.8
(67.6)
21.5
(70.7)
23.3
(73.9)
24.9
(76.8)
25.5
(77.9)
25.3
(77.5)
25.5
(77.9)
24.1
(75.4)
23.2
(73.8)
21.6
(70.9)
19.3
(66.7)
22.71
(72.88)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 8
(46)
7
(45)
11
(52)
7
(45)
18
(64)
20
(68)
17
(63)
21
(70)
21
(70)
12
(54)
7
(45)
11
(52)
7
(45)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 96.2
(3.787)
33.0
(1.299)
22.4
(0.882)
26.9
(1.059)
62.6
(2.465)
87.1
(3.429)
85.6
(3.37)
103.0
(4.055)
349.7
(13.768)
612.8
(24.126)
366.2
(14.417)
199.0
(7.835)
2,044.5
(80.492)
ความชื้นร้อยละ 83 83 83 82 78 75 74 76 81 84 84 84 80.6
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 13.7 6.9 4.8 5.6 8.9 8.0 8.6 11.4 15.4 21.2 20.9 18.6 144
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 136.4 144.1 105.4 207.0 257.3 237.0 257.3 207.7 174.0 145.7 120.0 116.6 2,108.5
แหล่งที่มา 1: World Meteorological Organisation (UN)[3]
แหล่งที่มา 2: Weatherbase (record highs, lows, and humidity) [4]

ประวัติศาสตร์

ปี พ.ศ. 2390 เรือรบฝรั่งเศสได้ระดมยิงโจมตีเมืองดานังเพื่อตอบโต้ที่กลุ่มมิชชันนารีคาทอลิกถูกประหารชีวิต

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2401 กองทหารฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกที่ดานัง ตามพระบัญชาของพระเจ้านโปเลียนที่ 3 เพื่อประกาศพื้นที่นี้เป็นอาณานิคมภายใต้อาณัติของฝรั่งเศส และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อภาษาฝรั่งเศสว่า ตูราน (Tourane) ขณะนั้นถือว่าเป็น 1 ใน 5 เมืองสำคัญบนคาบสมุทรอินโดจีน ในระหว่างสงครามเวียดนาม เมืองนี้เป็นที่ตั้งฐานทัพอากาศหลักของกองทัพสหรัฐอเมริกา ครั้งนั้นจำนวนประชากรในเมืองได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 1 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยสงคราม

ก่อนปี พ.ศ. 2540 ดานังยังเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดกว๋างนาม-ดานัง จนกระทั่งวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2540 ดานังได้ถูกแยกออกจากจังหวัดกว๋างนาม และเป็นเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งที่ 4 ของเวียดนาม

การศึกษา

ดานังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย 2 แห่ง ได้แก่

สภาพเศรษฐกิจ

ดานังจัดเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และมีท่าเรือที่รองรับการขนส่งสินค้า มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กตั้งอยู่ในเมืองจำนวนหนึ่ง สินค้าเศรษฐกิจของเมืองได้แก่

  • อาหารทะเล
  • เครื่องเรือนหวาย
  • เครื่องใช้ภายในบ้านทั่วไป
  • เครื่องนุ่งห่ม

ในดานังมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ราว 4,900 แห่ง ในปี พ.ศ. 2540 ดานังมีสินค้าส่งออกคิดเป็นมูลค่าราว 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การเดินทาง

ดานังตั้งอยู่ที่ปลายสุดของแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างเวียดนาม ลาว ไทย และพม่า

ทางอากาศ

ท่าอากาศยานนานาชาติดานังตั้งอยู่ใจกลางเมืองดานัง เป็นท่าอากาศยานนานาชาติลำดับที่สามของเวียดนาม เป็นช่องทางสำคัญในการเดินทางเข้าสู่เวียดนามตอนกลาง เมื่อก่อนปี พ.ศ. 2515 ที่นี่เคยเป็นท่าอากาศยานที่มีเครื่องบินขึ้นและลงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เนื่องจากมีกิจกรรมทางทหารอยู่บ่อยครั้ง ปัจจุบันรองรับเที่ยวบินภายในประเทศระหว่างเมืองสำคัญต่าง ๆ ภายในเวียดนาม เช่น ฮานอย โฮจิมินห์ซิตี กุยเยิน และเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังกรุงเทพมหานครและสิงคโปร์

ทางบก

  • ทางหลวงหมายเลข 1
  • ทางหลวงหมายเลข 14B
  • ทางพิเศษดานัง-กว๋างหงาย (กำลังก่อสร้าง)
  • อุโมงค์หายเวิน
  • สะพานข้ามแม่น้ำฮัน

ทางเรือ

  • ท่าเรือเทียนซา


เมืองพี่น้อง

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเวียดนาม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 14.
  3. "World Weather Information Service - Đà Nẵng". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2014-11-16.
  4. "Weatherbase: Historical Weather for Da Nang". Weatherbase. สืบค้นเมื่อ 11 August 2012.
  5. "Marzuki: Hubungan Indonesia-Vietnam Harus Ditingkatkan - Yahoo! News Indonesia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-06. สืบค้นเมื่อ 2014-11-04.
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 6.12 6.13 6.14 6.15 6.16 6.17 "Overseas Relations: Sister cities and prefectures of Danang City". Danang People's Committee. 2004-01-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-24. สืบค้นเมื่อ 2012-10-11.
  7. "Russian and Vietnamesee partnership". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-12. สืบค้นเมื่อ 2014-11-04.
Kembali kehalaman sebelumnya