ตัวเลขญี่ปุ่น
ตัวเลขญี่ปุ่น เป็นตัวเลขที่ใช้ภายในประเทศญี่ปุ่น โดยรูปแบบอักษรและระบบได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนเกือบทั้งหมด เสียงอ่านของตัวเลขญี่ปุ่นมีทั้งเสียงที่ยืมมาจากประเทศจีนและเสียงที่ประเทศญี่ปุ่นคิดค้นขึ้นเอง นอกเหนือจากนี้ระบบตัวเลขของญี่ปุ่นนั้นยังสามารถออกเสียงได้มากมาย อย่างเช่น การนับสิ่งของ หรือวันที่ในปฏิทิน รูปแบบของคำอ่านก็จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม รูปแบบตัวเลขของญี่ปุ่นตัวเลขญี่ปุ่นนั้นสามารถเขียนได้สองลักษณะคือตัวเลขอาหรับ (1, 2, 3) หรือตัวเลขจีน (一, 二, 三) ตัวเลขอาหรับมักใช้ในงานเขียนแนวนอน ส่วนตัวเลขจีนมักพบในงานเขียนแนวตั้ง ตัวเลขส่วนใหญ่มีวิธีอ่านสองแบบ โดยแบบจีนใช้ในจำนวนเชิงการนับ (อ่านแบบ"อง") และแบบญี่ปุ่น (อ่านแบบ"คุง") ใช้กับตัวเลขที่ไม่ทางการถึง 10 ในบางกรณี (ดูข้างล่าง) แบบญี่ปุ่นสามารถใช้ได้ทุกรูปแบบ เสียงอ่านในอดีตกำกับด้วยสัญลักษณ์ †
* สามารถพบรูปเขียนพิเศษ 〇 (มารุ หมายถึง "กลม" หรือ "วงกลม") ตัวอย่างยอดนิยมคือห้างสรรพสินค้า 109 ที่เขตชิบูยะ ซึ่งอ่านเป็น อิจิ-มารุ-คีว (一〇九; บางครั้งสามารถอ่านได้เป็น 'สิบ-เก้า' (โท-คีว) ซึ่งเป็นการเล่นคำถึงชื่อห้างสรรพสินค้าโทคีว ผู้เป็นเจ้าของอาคารนี้) การใช้ มารุ เป็นเลข 0 คล้ายกับการอ่านเลข 0 ในภาษาอังกฤษเป็น oh อย่างไรก็ตาม ถ้าเขียนเป็นตัวเลข ก็จะเป็น 0 หรือ 零 นอกจากนี้ ในเลขโทรศัพท์จะอ่านเลขสองและห้าเป็นเสียงยาว (เช่น にい นี และ ごお โก) จากหมายเหตุข้างบน ผู้คนมักนิยมอ่านเป็น ยง (4) และ นานะ (7) มากกว่า ชิ และ ชิจิ โดยมีเหตุผลอ้างว่าเป็นเพราะ ชิ พ้องเสียงกับคำว่า ความตาย (死) ซึ่งทำให้มันเป็นรูปอ่านที่โชคร้าย (ดูอาการกลัวเลขสี่) ในขณะที่ ชิจิ ออกเสียงคล้ายกับ อิจิ (1), ชิ หรือ ฮาจิ (8) อย่างไรก็ตาม ในคำและวลีจำนวนมาก จะมีกาารอ่าน ชิ และ ชิจิ นอกจากนี้ เมื่ออ่านเป็นชื่อตัวเลข (เป็น "อิจิ, นิ, ซัง, ชิ,...") ก็มีการพูดคำเหล่านี้ด้วย หมายเลข 9 ก็ถือเป็นเลขโชคร้าย เพราะเสียง คุ ไปพ้องเสียงกับคำว่า ความทุกข์ (苦) ส่วนเลข 13 บางครั้งถือเป็นโชคร้าย ถึงแม้ว่ามันจะมาจากธรรมเนียมตะวันตกก็ตาม ในทางตรงกันช้าม เลข 7 และบางครั้งรวมเลข 8 ถือเป็นเลขนำโชคในภาษาญี่ปุ่น[2] ตัวเลขทางการตัวเลขญี่ปุ่นยังมีชุดอักษรคันจิสำหรับตัวเลขที่เรียกว่า ไดจิ (大字) เหมือนกับตัวเลขจีน โดยจะใช้ในเอกสารทางการหรือธุรกรรมเพื่อป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพแอบใส่ขีดเพิ่มหนึ่งหรือสองขีด ซึ่งเปลี่ยนให้เลขหนึ่งไปเป็นเลขสองหรือสาม ตัวเลขทางการมีรูปร่างเหมือนกับตัวเลขทางการจีนแต่มีขีดน้อยกว่า ปัจจุบัน เฉพาะเลขหนึ่ง สอง สาม และสิบเท่านั้นที่เขียนในเอกสารทางการในรูปทางการ (เลข 4 ถึง 9, 100, 1000 และ 10000 เขียนเหมือนกับตัวเลขทั่วไป ตามตารางข้างล่าง)[3] ตัวเลขทางการ:
ธนบัตรเยนจำนวน 1000-เยน, 2000-เยน, 5000-เยน และ 10000-เยน ฉบับปัจจุบัน มีตัวเลขทางการ 千, 弐千, 五千 และ 壱万 ตามลำดับ อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|