อักษรเตลูกู
อักษรเตลูกู[1] (เตลูกู: తెలుగు లిపి) ใช้เขียนภาษาเตลูกู ในรัฐทางใต้ของอินเดีย พัฒนามาจากอักษรพราหมีของอินเดียโบราณ ใกล้เคียงกับอักษรกันนาดามาก จารึกเก่าสุดพบในคริสต์ศตวรรษที่ 6 และกวีนิพนธ์ภาษาเตลูกู เริ่มปรากฏใน คริสต์ศตวรรษที่ 11 รูปแบบโบราณของอักษรเตลูกู ต่างจากที่ใช้ในทุกวันนี้และใช้มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก่อนจะมีการปรับปรุงใหม่และใช้มาจนปัจจุบัน พยัญชนะการถอดเป็นอักษรไทยตามรูป ใช้กับภาษาที่จัดพยัญชนะวรรคตามแบบภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤตเท่านั้นดูเพิ่มที่พยัญชนะวรรค
สระఅ = อะ (a), ఆ = อา (aa), ఇ = อิ (i), ఈ = อี (ii), ఉ = อุ (u), ఊ = อู (uu), ఎ = เอะ (short e), ఏ = เอ (ee), ఐ= ไอ (ai), ఒ = โอะ (short o), ఓ = โอ (oo), ఔ = เอา (au), ఋ = ฤ (vocalic r), ౠ = ฤๅ (vocalic rr), ఌ = ฦ (vocalic l), ౡ =ฦๅ (vocalic ll) 'క = ka, కా = kaa, కి = ki, కీ= kii, కు = ku, కూ = kuu, కె = Ke, కే = kee, కై = kai, కొ = ko, కో = koo, కౌ = kau, కృ = kr, కౄ = krr, ตัวเลข
อักษรเตลูกูในคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้วินโดวส์เอ็กซ์พี (Window XP) สามารถอ่านอักษรเตลูกู หรือพิมพ์ข้อความสั้นๆด้วยโปรแกรม Character Map ฟอนต์ gautami
อ้างอิง
Information related to อักษรเตลูกู |