Share to:

 

อักษรลาว

อักษรลาว
ອັກສອນລາວ
ชนิด
ช่วงยุค
ป. 1350 – ปัจจุบัน
ทิศทางซ้ายไปขวา Edit this on Wikidata
ภาษาพูดลาว, อีสาน, ไทย และอื่น ๆ
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ระบบพี่น้อง
ไทย
ISO 15924
ISO 15924Laoo (356), ​Lao
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Lao
ช่วงยูนิโคด
U+0E80–U+0EFF
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

อักษรลาว (ลาว: ອັກສອນລາວ [ʔáksɔ̌ːn láːw]) เป็นอักษรหลักที่ใช้เขียนภาษาลาวและภาษาชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศลาว มีพัฒนาการจากอักษรไทน้อย ซึ่งใช้เขียนภาษาอีสานด้วย แต่ภายหลังเปลี่ยนไปเขียนอักษรไทยแทน อักษรลาวมีพยัญชนะ 33 ตัว แบ่งเป็นพยัญชนะโดด 27 ตัว และพยัญชนะผสม 6 ตัว, สระ 28 ตัว และ 4 วรรณยุกต์ อักษรลาวเป็นระบบพี่น้องกับอักษรไทย ซึ่งมีความคล้ายและรากศัพท์ที่คล้ายกันหลายแห่ง อย่างไรก็ตาม อักษรลาวมีตัวอักษรน้อยกว่าและมีรูปโค้งมนกว่าอักษรไทย

ประวัติ

อักษรลาวดัดแปลงจากอักษรเขมรของจักรวรรดิเขมร[1] โดยมีอิทธิพลจากอักษรมอญ ทั้งอักษรเขมรและลาวมีที่มาจากอักษรพราหมีของอินเดีย อักษรลาวเริ่มกลายเป็นอักษรมาตรฐานอย่างช้า ๆ ในหุบเขาริมแม่น้ำโขงหลังรัฐไทหลายแห่งในบริเวณนั้นรวมตัวเป็นอาณาจักรล้านช้างในคริสต์ศตวรรษที่ 14 แล้วแทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนับตั้งแต่ช่วงที่คิดค้นอักษรจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าอักษรไทยยังคงพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งสองอักษรก็ยังคงมีความคล้ายกัน[2]

ป้ายที่มีอักษรลาวในวัดธาตุหลวง เวียงจันทน์

วิวัฒนาการ

ตัวอย่างของอักษรลาวเดิมหรืออักษรไทน้อย ซึ่งใช้เขียนเป็นป้ายชื่อพิพิธภัณฑ์วัดศรีอุบลรัตนาราม จังหวัดอุบลราชธานี

อักษรลาวมี 2 แบบคืออักษรลาว (อักษรลาวโบราณภาษาลาวเรียกว่า อักษรลาวเดิม พบในภาคอีสานของไทยด้วยเช่นกัน แต่เรียกว่าอักษรไทน้อย) และอักษรธรรมลาว อักษรลาวประกอบด้วยพยัญชนะ 33 รูป 21 เสียง และสระ 28 รูป 27 เสียง เขียนจากซ้ายไปขวา ระบบการเขียนในภาษาลาวจะซับซ้อนน้อยกว่าในภาษาไทยและภาษาเขมร เนื่องจากเขียนตามเสียงโดยตรง

วิวัฒนาการของอักษรลาวนั้นมีผู้ที่ให้ความเห็นแตกต่างกันไป ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดซ์ เคยให้ความเห็นว่าอักษรลาวนั้น น่าจะมีที่มาจากอักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เกิดขึ้นที่เมืองสุโขทัย แล้วแพร่หลายไปยังเมืองที่ติดต่อกันในดินแดนล้านช้างและล้านนา แต่ภายหลังตัวอักษรไทยในดินแดนล้านช้างได้เปลี่ยนเป็นตัวลาว แนวคิดนี้ได้ถูกลบล้างไปเพราะขัดแย้งกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของลาวและอีสาน เนื่องจากมีการค้นพบอักษรลาวเก่าที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกันและเก่าแก่กว่าอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. 1826) และสมัยพระยาลิไทย จารึกที่หลักเสมาหินสมัยจันทปุระ นครเวียงจันทน์ ถ้ำจอมเพ็ชร และวัดวิชุน เมืองหลวงพระบาง และจารึกวัดร้างบ้านท่าแร่ (วันศรีบุญเรือง) อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร (พ.ศ. 1893) ทำให้เชื่อว่าอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงได้รับอิทธิพลมาจากอักษรลาวเดิม สันนิษฐานว่า เชื้อพระวงศ์ของพ่อขุนรามคำแหงเป็นตระกูลลาวสายหนึ่งที่อพยพลงไปทางตอนใต้จึงได้นำเอาอักษรลาวเก่าไปใช้และพัฒนาเป็นอักษรในสุโขทัยด้วย

นักวิชาการลาวเชื่อว่าคนลาวที่อยู่ในดินแดนล้านช้างมีอักษรเป็นของตนเองมานาน อักษรลาวคล้ายกับตัวอักษรไทยเพราะวิวัฒนาการมาจากอักษรเทวนาครี อันเป็นอักษรของพวกอินเดียทางเหนือ มหาสิลา วีระวงส์ เห็นว่าชาติลาวมีตัวหนังสือของตัวเองมาหลายร้อยปี หรืออาจจะเป็นพันปีก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงของไทย โดยอักษรลาวเป็นอักษรไทพวกหนึ่งที่เรียกว่า อักษรไทน้อย ซึ่งได้กลายเป็นหนังสือลาวในเวลาต่อมา อักษรไทน้อยน่าจะมีที่มาจากอักษรพราหมีของอินเดียดังกล่าวไปแล้ว และมีสายวิวัฒนาการมาพร้อมกันกับอักษรขอมโบราณ อย่างไรก็ดีทฤษฎีนี้ยังมีข้อถกเถียง เนื่องจากอักษรลาวหรือไทน้อยถูกวิวัฒนาการขึ้นก่อนการเกิดขึ้นของอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเป็นสมัยที่คนเผ่าที่พูดภาษาไททั้งหลายยังไม่ได้แยกออกจากกันเป็นอาณาจักรของตนเอง ทั้งยังเป็นการนำคติชาติพันธุ์นิยมอันเป็นคติสมัยใหม่มาอธิบาย[3] ซึ่งไม่สอดคล้องกับความสัมพันธ์ตามประวัติศาสตร์ระหว่างคนไทเผ่าต่าง ๆ ในอดีต[4]

นักวิชาการไทยบางกลุ่มเห็นว่า อักษรลาวนั้นมีวิวัฒนาการไม่ต่างจากอักษรไทยและเขมร คือล้วนมีรากฐานมาจากตัวอักษรอินเดียใต้ของราชวงศ์ปัลลวะ หาใช่อักษรอินเดียฝ่ายเหนืออย่างเทวนาครีไม่ แต่แนวคิดนี้ได้ถูกลบล้างไปด้วยปรากฏว่า อักษรที่ปรากฏอยู่ในจารึกของลาวนั้นมีความเก่าแก่กว่าอักษรที่ปรากฏอยู่ในจารึกของไทย และเก่าแก่กว่าอักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงของไทย อักษรลาวและอักษรไทยจึงไม่น่าจะพัฒนามาพร้อมกัน หากแต่อักษรไทยน่าจะวิวัฒนาการมาจากอักษรลาว โดยเป็นการพัฒนาจนสมบูรณ์แบบขึ้น เพื่อให้มีตัวอักษรเพิ่มขึ้นจนทำให้สามารถถอดคำภาษาบาลีและสันสกฤตมาไว้ในภาษาไทยได้ เนื่องจากอักษรไทน้อยแต่เดิมมีอักษรไม่เพียงพอที่จะใช้เขียนถ่ายคำจากภาษาบาลี

หากจะกล่าวโดยละเอียดคือ อักษรลาวนั้นวิวัฒนาการมาจากอักษรลาวโบราณสมัยเชียงดง-เชียงทอง ราวก่อนรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ่มหรือพระเจ้าสามแสนไทก็ว่าได้ โดยการวิวัฒนาการของอักษรลาวนั้นเริ่มจากการเกิดอักษรชนิดหนึ่งที่มีเชื่อเรียกว่าอักษรฝักขาม (ซึ่งเป็นตัวอักษรที่ได้รับวิวัฒนาการมาจากอักษรลาวในสมัยล้านช้าง และปรากฏหลักฐานการวิวัฒนาการในเอกสารตราตั้ง (ลายจุ้ม-ดวงจุ้ม) ของกษัตริย์ลาวในสมัยต่าง ๆ ทั้งหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ จากนั้นจึงวิวัฒนาการต่อไปเป็นอักษรไทยน้อยและอักษรลาวตามลำดับ อักษรลาวโบราณบางส่วนได้มีอิทธิพลต่ออักษรไทยในสมัยหลังสุโขทัยเป็นต้นมา ตลอดจนเป็นต้นกำเนิดอักษรฝักขามและอักษรธรรมของล้านนาด้วย

ระบบการเขียนภาษาลาว มีวิวัฒนาการ 3 แบบดังนี้ คือ

  1. แบบของมหาสิลา วีระวงส์ หรือแบบพุทธบัณฑิตสภาจันทบุรี
  2. แบบของสมจีน ป. งิน
  3. แบบของพูมี วงวิจิด

แบบของมหาสิลา วีระวงส์ หรือแบบพุทธบัณฑิตสภาจันทบุรี

อักษรแบบนี้ได้มีการคิดตัวอักษรเพิ่มเติมให้ครบวรรคในภาษาบาลี เพื่อให้สะดวกในการเขียนเรื่องต่าง ๆ ทั้งทางโลกและทางธรรม โดยมีสาเหตุจากปัญหาความยุ่งยากในการจัดทำตัวพิมพ์อักษรธรรมลาวเพื่อเขียนเรื่องต่าง ๆ ทางศาสนา

อักขรวีธีของอักษรลาวแบบนี้สะกดตามเค้าเดิมของภาษาอย่างเคร่งครัด มีการใช้ตัวสะกดตัวการันต์ เพื่อให้รู้ต้นเค้าของคำว่าเป็นคำภาษาลาวเดิมหรือคำภาษาต่างประเทศ เช่น คำภาษาบาลี-สันสกฤต ซึ่งคล้ายกับระบบการเขียนภาษาไทยในปัจจุบัน ระบบการเขียนแบบนี้เคยใช้ในสมัยที่ประเทศลาวยังไม่มีระบบการเขียนที่แน่นอน ขาดหลักการที่ชัดเจน ใช้ในสมัยที่ลาวยังเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสจนถึงปี พ.ศ. 2491

เทียบอักษรลาวตามแบบพุทธบัณฑิตสภาจันทบุรีกับอักษรไทย

เปรียบเทียบอักษรลาวซึ่งพุทธบัณฑิตสภาจันทบุรีบัญญัติให้ใช้เพิ่มเติมกับอักษรไทยปัจจุบัน
วรรค ฐานกรณ์ กักสิถิล กักธนิต นาสิก
วรรค กะ เพดานอ่อน




วรรค จะ เพดานแข็ง




วรรค ฏะ ปุ่มเหงือก




วรรค ตะ




วรรค ปะ ริมฝีปาก




ไตรยางศ์ กลาง สูง ต่ำ
วรรค เปิดหรือรัว เสียดแทรก เปิดข้างลิ้น
ปุ่มเหงือก
เศษวรรค








ไตรยางศ์ ต่ำ สูง ต่ำ

แบบของสมจีน ป. งิน

แบบนี้สะกดตามแบบที่ได้กำหนดในพระราชโองการ (พระราชบัญญัติ) เลขที่ 10 พ.ศ. 2491 ในรัชสมัยของพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ซึ่งได้บัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดหลักการเขียนภาษาลาวให้มีความแน่นอนและชัดเจนยิ่งขึ้น อักขรวิธีของระบบนี้ คือ สะกดคำตามเสียงอ่านแต่ยังคงรักษาเค้าเดิมของภาษาไว้ การสะกดการันต์ยังคงมีการใช้ แต่ได้เลิกใช้อักษรบางตัวลงจากแบบแรกเพื่อให้เขียนง่ายขึ้น ซึ่งคล้ายกับการเขียนภาษาไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 อักษรลาวรูปแบบนี้ใช้อยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2491-2518 คือ นับตั้งแต่ประเทศลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปัจจุบันยังมีคงการใช้อยู่ในกลุ่มคนลาวอพยพในต่างประเทศ

แบบของพูมี วงวิจิด

อักขรวิธีแบบนี้สะกดตามเสียงอ่านเท่านั้น คือ อ่านออกเสียงอย่างไรให้สะกดอย่างนั้น เริ่มใช้ในเขตปลดปล่อยของขบวนการปะเทดลาวก่อน หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว รัฐบาลลาวจึงได้ปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อให้อักษรลาวสามารถเขียนง่ายอ่านง่ายขึ้น แต่ก็ทำให้เกิดจุดอ่อนหลายอย่าง และทำให้ภาษาลาวเกิดปัญหาการขาดหลักการสะกดคำที่ชัดเจนขึ้นอีกครั้ง เช่น ได้มีการตัดตัวการันต์ ตัว ร หันลิ้น (ภาษาลาวเรียกว่า ร รถ) ออก ทำให้ไม่สามารถเขียนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศและภาษาของชนเผ่าต่าง ๆ ได้ครบถ้วน อักษรลาวระบบนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการลาวได้บรรจุตัว ร หันลิ้นกลับมาใช้ใหม่ และมีการใช้ตัวการันต์สำหรับสะกดคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่นคำภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส ยกเว้นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต และคำลาวเดิม ยังสะกดตามเสียงอ่านอยู่เหมือนเดิม

ปัญหาของระบบอักษรลาวปัจจุบัน

หนังสือภาษาลาว

ระบบการเขียนภาษาลาวในปัจจุบันยังขาดเอกภาพ ไม่มีมาตรฐานในการเขียนและการใช้คำศัพท์ เพราะยังไม่มีองค์กรที่มาควบคุมอย่างเป็นทางการ จึงมีลักษณะต่างคนต่างเขียนตามหลักการของตนเอง ทำให้เกิดความสับสนในการเขียนและการใช้คำศัพท์ ส่วนคนลาวที่อพยพไปอยู่ต่างประเทศหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2518 ก็ยังใช้ภาษาลาวตามแบบที่ 2 ในสมัยที่ยังเป็นราชอาณาจักรลาวอยู่เหมือนเดิม ทำให้เกิดความสับสนระหว่างคนลาวในประเทศกับนอกประเทศ แม้รัฐบาลและประชาชนลาวเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในข้างต้นก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีมาตรการใด ๆ ออกมาแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจน แต่ในอนาคตคาดว่ารัฐบาลลาวจะจัดตั้งองค์กรออกมาควบคุมเพื่อให้ระบบการใช้ภาษาลาวเป็นมาตรฐานเดียวกัน[ต้องการอ้างอิง]

ลักษณะ

อักษรลาว มีพยัญชนะ 33 รูป 21 เสียง สระมี 28 รูป 27 เสียง มีเสียงวรรณยุกต์ 6 เสียงซึ่งขึ้นกับพื้นเสียงของพยัญชนะ ลักษณะของคำ (คำเป็น คำตาย) เครื่องหมายวรรณยุกต์ และความยาวของเสียงสระ การเขียนยึดสำเนียงเวียงจันทน์เป็นหลัก ไม่มีระบบการถอดเป็นอักษรโรมันที่แน่นอน นิยมใช้ระบบถ่ายเสียงของภาษาฝรั่งเศส, อักษรที่ไม่ใช้แล้วมี 16 ตัว ซึ่งมี , , , , , , , , , , , ຣ, , , , ◌໌

รูปพยัญชนะ

พยัญชนะลาวทั้ง 33 รูป แบ่งเป็นพยัญชนะโดด 27 ตัว ภาษาลาวเรียกว่า พยัญชนะเค้า (ພະຍັນຊະນະເຄົ້າ; แปลว่า พยัญชนะต้น) และพยัญชนะควบอีก 6 ตัว ซึ่งมีดังต่อไปนี้

พยัญชนะโดด

รูปอักษรลาว ชื่ออักษรในภาษาลาว เทียบรูปอักษรไทย เสียง หมายเหตุ
ກ ໄກ່ (ก ไก่) [k]
ຂ ໄຂ່ (ข ไข่) [kʰ] เสียงของ /ข/ ในที่นี้บางพื้นที่ส่วนใหญ่จะออกเสียง /ห/
ຄ ຄວາຍ (ค ควาย) [kʰ]
ງ ງົວ (ง งัว), ງ ງູ (ง งู) [ŋ] งัว (ງົວ) แปลว่า วัว ในภาษาไทยปัจจุบัน ใช้คำเดียวกับภาคเหนือ (ไทยถิ่นเหนือ: ᨦ᩠ᩅᩫ) และภาคอีสานของไทย
ຈ ຈອກ (จ จอก) [tɕ] จอก (ຈອກ) แปลว่า แก้วน้ำ

เสียงของ /จ/ ในที่นี้บางพื้นที่ส่วนใหญ่จะออกเสียง /ก/

ສ ເສືອ (ส เสือ) [s] เสียงของ ฉ ในภาษาไทย ภาษาลาวจะออกเสียงเป็น /ส/ ทุกแห่งเหมือนภาคเหนือและภาคอีสานของไทย (ไม่มีเสียง ฉ ฉิ่ง)
ຊ ຊ້າງ (ซ ซ้าง) [s] ซ้าง (ຊ້າງ) แปลว่า ช้าง คำเสียง ช ในภาษาไทย ภาษาลาวออกเสียงเป็น /ซ/ ทุกแห่ง (ไม่มีเสียง ช ช้าง)
ຍ ຍຸງ (ย ยุง) [ɲ] ในที่นี้จะไม่มีเสียงของ ย ยักษ์ แต่เป็นแทนรูปเป็นภาษาไทย /ย/ หรือ /ญ/ ออกเสียงนาสิก /ຢ/ แต่รูปจะไม่ควบกล้ำเป็น อย
ດ ເດັກ (ด เด็ก) [d] เสียงของ ด ในที่นี้บางพื้นที่ส่วนใหญ่ออกเสียง

/ล/ แต่จะคงรูป /ດ/ ในปัจจุบันก็เริ่มมีเสียง /ด/ ภาษาลาวไม่มีไม้ไต่คู้ (◌็) มีแต่ไม้หันอากาศ (◌ั)

ຕ ຕາ (ต ตา) [t]
ຖ ຖົງ (ถ ถง) [tʰ] ถง (ຖົງ) แปลว่า ย่าม, ถุง รูปอักษรตัวนี้ บางคราวเขียนแบบหัวเข้า (คล้ายตัว ฤ) บางคราวก็ใช้เขียนหัวออก (คล้ายตัว ฦ และเลข ໗ (7) ในภาษาลาว)
ທ ທຸງ (ท ทุง) [tʰ] ทุง (ທຸງ) แปลว่า ธง
ນ ນົກ (น นก) [n] เสียงของ น (ນົກ) ในที่นี้บางพื้นที่ส่วนใหญ่ออกเสียง /น/ และ /ม/ ได้ทั้งคู่แต่จะสลับเสียงกัน เช่น นัก เป็น มัก เนื่องจากตัวอักษรคล้ายกัน ผู้เรียนอักษรลาวใหม่ ๆ มักสับสนกับ ມ (ม แมว) เสมอ
ບ ແບ້ (บ แบ้) [b] แบ้ (ແບ້) แปลว่า แพะ
ປ ປາ (ป ปา) [p] ปา (ປາ) ในที่นี้แปลว่า ปลา (ไม่มีเสียง ล ควบกล้ำ)
ຜ ເຜິ້ງ (ผ เผิ้ง; เสียงสั้น) [pʰ] เผิ้ง (ເຜິ້ງ) แปลว่า ผึ้ง ภาษาไทยใช้สระอึ ภาษาลาวใช้สระเออะ
ຝ ຝົນ (ฝ ฝน) [f]
ພ ພູ (พ พู) [pʰ] พู (ພູ) แปลว่า ภูเขา (ในภาษาไทยเขียนว่า ภู) (ไม่มี ภ สำเภา)
ຟ ໄຟ (ฟ ไฟ) [f]
ມ ແມວ (ม แมว) [m] เสียงของ ม (ແມວ) ในที่นี้บางพื้นที่ส่วนใหญ่ออกเสียง /ม/ และ /น/ ได้ทั้งคู่แต่จะมีสลับเสียงกัน เช่น มัก เป็น นัก เนื่องจากตัวอักษรคล้ายกัน ผู้เรียนอักษรลาวใหม่ ๆ มักสับสนกับ ນ (น นก) เสมอ
ຢ ຢາ (อย อยา) อฺย [j] อยา (ຢາ) แปลว่า ยา ย ตัวนี้ภาษาลาวจัดเป็นอักษรกลาง ออกเสียงแบบเดียวกับ ย ในภาษาไทย ใช้ในบางคำ เช่น "ຢຸດ" (หยุด) "ຢາກ" (อยาก) เป็นต้น
ຣ ຣົຖ (การสะกดแบบใหม่: ຣ ລົດ) (ร ลด) [r], [l] ลด (ລົດ) แปลว่า รถ ร ตัวนี้ปัจจุบันนิยมใช้เขียนคำที่มีที่มาจากภาษาต่างประเทศ (ปัจจุบันใช้ตัวอักษร ລ) มีชื่อเรียกหลายชื่อ ออกเสียงเหมือน ล ทั้งหมด ในการเขียนภาษาลาวโบราณ รูปอักษรนี้ยังใช้แทนเสียง ฮ ในคำที่ปัจจุบันเขียนด้วยตัวอักษร ຮ
ລ ລີງ (ล ลีง) [l] ลีง (ລີງ) แปลว่า ลิง ในภาษาลาวออกเสียงคำนี้ยาว จึงใช้สระอีแทน ปกติภาษาลาวสามารถใช้พยัญชนะตัวนี้เขียนคำทุกคำที่ออกเสียง /ร/ หรือ /ล/ แต่เวลาอ่านออกเสียงอ่านเป็นเสียง /ล/ ทุกตัว
ວ ວີ (ว วี) [ʋ], [w] วี (ວີ) แปลว่า พัด
ຫ ຫ່ານ (ห ห่าน) [h]
ອ ໂອ (อ โอ) [ʔ] โอ (ໂອ) แปลว่า ขันน้ำ
ຮ ເຮືອນ (ฮ เฮือน) [h] เฮือน (ເຮືອນ) แปลว่า เรือน, บ้าน; ภาษาไทยใช้ ร ภาษาลาวใช้ ຮ

อักษรนำ

รูปอักษร เทียบอักษรไทย เสียง หมายเหตุ
ຫງ หง [ŋ]
ຫຍ หย [ɲ] ระบบอักษรลาวเก่ามักใช้รูป ຫຽ
ຫນ, ໜ หน [n] ปัจจุบันนิยมใช้รูป ໜ
ຫມ, ໝ หม [m] ปัจจุบันนิยมใช้รูป ໝ
ຫຣ หร [r] ปัจจุบันนิยมใช้รูป ຫຼ, ຫລ
ຫລ, ຫຼ หล [l] รูปอักษรทั้งสองแบบนี้นิยมใช้ปะปนกันทั่วไป, ปัจจุบันนิยมใช้รูป ຫຼ
ຫວ หว [ʋ], [w]

รูปสระ

อักษรลาวในระบบยูนิโค้ด

ช่วงรหัสอักษรลาวในระบบ ยูนิโค้ด อยู่ตั้งแต่ช่วงรหัส U+0E80 ถึง U+0EFF

ลาว
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+0E8x                  
U+0E9x          
U+0EAx            
U+0EBx      
U+0ECx        
U+0EDx    
U+0EEx                                
U+0EFx                                


อ้างอิง

  1. Benedict, Paul K. "Languages and literatures of Indochina." The Far Eastern Quarterly (1947): 379–389.
  2. For comparison of the two, please see Daniels, Peter T. & Bright, William. (Eds.). (1996). The World's Writing Systems (pp. 460–461). New York, NY: Oxford University Press.
  3. Ivarsson, Søren (2008). Creating Laos: The Making of a Lao Space between Siam and Indochina, 1860–1945. NIAS Press. pp. 240. ISBN 8-7769-4023-3.
  4. Chamberlain, James (1989). "Thao Hung or Cheuang: A Tai Epic Poem" (PDF). Mon-Khmer Studies (18–19): 14–34.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya