ตัวเลขไทย เป็นอักษรตัวเลขที่ใช้แสดงจำนวนนับในภาษาไทย ประวัติการเกิดขึ้นของเลขไทยที่ใช้กันในปัจจุบัน พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงริเริ่มนำมาใช้เป็นภาษาของชาติไทย ทรงนำอักษรขอมมาดัดแปลง และมีต้นตอมาจากอักษรเทวนาครีของอินเดีย เช่นเดียวกับเลขอาหรับ เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่ใช้ระบบจำนวนนับเป็นเลขฐานสิบ และมีการเปลี่ยนแปลงสัณฐาน จากอดีตสู่ปัจจุบันน้อยมาก
เลขพื้นฐาน
ศูนย์ถึงสิบ
ศูนย์ในเลขอาหรับเขียนเป็น 0 แบบวงรี แต่ในเลขไทยเขียนเป็น ๐ แบบวงกลมเล็ก ในบางกรณีสามารถมีความหมายว่า ตรงกลาง ด้วย[1] คำนี้มีที่มาจากภาษาสันสกฤตว่า ศูนฺย
ชื่อเลขไทยสำหรับ จำนวน +1 และหน่วยทั่วไปของ 2 ถึง 9 อยู่ในตารางข้างล่าง ซึ่งเทียบกับรูปแบบภาษาจีน (เช่น กวางตุ้งและหมิ่นหนาน) ที่มีผู้พูดในจีนตอนใต้ บ้านเกิดของชาวจีนโพ้นทะเลที่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในความเป็นจริง ศัพทมูลวิทยาของตัวเลข 2, 3, 4, 6, 7, 8, 9 และ 10 คือภาษาจีนสมัยกลาง ส่วนตัวเลข 5 คือภาษาจีนเก่า[2]
ตัวเลขอาหรับ |
ตัวเลขไทย
|
ตัวเลข |
ตัวเขียน |
สัทอักษรสากล |
แบบอดีต |
ศัพทมูลวิทยา
|
0 |
๐ |
ศูนย์ |
/sǔːn/ |
|
สันสกฤต ศูนฺย
|
1 |
๑ |
หนึ่ง |
/nɯ̀ŋ/ |
อ้าย |
ไทดั้งเดิม */nʉŋ/[2]
|
2 |
๒ |
สอง |
/sɔ̌ːŋ/ |
ยี่ |
จีนสมัยกลาง /saŋ/[2] (เทียบกับ 雙 sang1 ของหมิ่นหนาน) และ /nyijH/[2] (เทียบกับ 二 ji7 ของหมิ่นหนาน)
|
3 |
๓ |
สาม |
/sǎːm/ |
สาม |
จีนสมัยกลาง /sam/[2] (เทียบกับ 三 sam1 ของแคะ/กวางตุ้ง)
|
4 |
๔ |
สี่ |
/sìː/ |
ไส |
จีนสมัยกลาง sijH[2] (เทียบกับ 四 si3 ของหมิ่นหนาน)
|
5 |
๕ |
ห้า |
/hâː/ |
งั่ว |
จีนเก่า /*ŋaʔ/[2] (เทียบกับ 五 ngo. ของหมิ่นหนาน)
|
6 |
๖ |
หก |
/hòk/ |
ลก |
จีนสมัยกลาง /ljuwk/[2] (เทียบกับ 六 liok8 ของแคะ + กวางตุ้ง)
|
7 |
๗ |
เจ็ด |
/t͡ɕèt/ |
เจ็ด |
จีนสมัยกลาง /tshit/[2] (เทียบกับ 七 chit4 ของหมิ่นหนาน)
|
8 |
๘ |
แปด |
/pɛ̀ːt/ |
แปด |
จีนสมัยกลาง /peat/[2] (เทียบกับ 八 pat4 ของกวางตุ้ง)
|
9 |
๙ |
เก้า |
/kâːw/ |
เจา |
จีนสมัยกลาง /kjuwX/[2] (เทียบกับ 九 kau2 ของหมิ่นหนาน)
|
10 |
๑๐ |
สิบ |
/sìp/ |
จ๋ง |
จีนสมัยกลาง dzyip (เทียบกับ หมิ่นหนาน[2] (เทียบกับ 十 sip8 ของแคะ)
|
อย่างไรก็ตาม รูปร่างเลขโดดมีความคล้ายกับตัวเลขเขมร ถึงแม้ว่าชื่อเรียกสำหรับตัวเลขในภาษาไทยและลาวมีความคล้ายกัน แต่รูปร่างตัวเลขทั้งสองภาษามีรูปร่างแตกต่างกันบางส่วน โดยตารางข้างบนเทียบอักษรและการสะกดแบบกวางตุ้งกับหมิ่นหนาน ส่วนตารางข้างล่างเทียบรูปร่างตัวเลขในแบบเขมร ไทย และลาว
ตัวเลข |
ไทย |
เขมร |
ลาว
|
ตัวเลข |
ตัวเขียน |
สัทอักษรสากล |
แบบอดีต |
ตัวเลข |
ตัวเขียน |
สัทอักษรสากล |
ตัวเลข |
ตัวเขียน |
สัทอักษรสากล
|
0 |
๐ |
ศูนย์ |
/sǔːn/ |
(ศูนฺย ในสันสกฤต) |
០ |
សូន្យ |
/soun/ |
໐ |
ສູນ |
/sǔːn/
|
1 |
๑ |
หนึ่ง |
/nɯ̀ŋ/ |
อ้าย |
១ |
មួយ |
/muəj/ |
໑ |
ນຶ່ງ |
/nɯ̌ŋ/
|
2 |
๒ |
สอง |
/sɔ̌ːŋ/ |
ยี่ |
២ |
ពីរ |
/piː/ |
໒ |
ສອງ |
/sǒːŋ/
|
3 |
๓ |
สาม |
/sǎːm/ |
สาม |
៣ |
បី |
/ɓəj/ |
໓ |
ສາມ |
/sǎːm/
|
4 |
๔ |
สี่ |
/sìː/ |
ไส |
៤ |
បួន |
/ɓuən/ |
໔ |
ສີ່ |
/sìː/
|
5 |
๕ |
ห้า |
/hâː/ |
งั่ว |
៥ |
ប្រាំ |
/pram/ |
໕ |
ຫ້າ |
/hâː/
|
6 |
๖ |
หก |
hòk |
ลก |
៦ |
ប្រាំមួយ |
/pram muəj/ |
໖ |
ຫົກ |
/hók/
|
7 |
๗ |
เจ็ด |
/t͡ɕèt/ |
เจ็ด |
៧ |
ប្រាំពីរ |
/pram piː/ |
໗ |
ເຈັດ |
/t͡ɕét/
|
8 |
๘ |
แปด |
/pɛ̀ːt/ |
แปด |
៨ |
ប្រាំបី |
/pram ɓəj/ |
໘ |
ແປດ |
/pɛ́t/
|
9 |
๙ |
เก้า |
/kâːw/ |
เจา |
៩ |
ប្រាំបួន |
/pram ɓuən/ |
໙ |
ເກົ້າ |
/kâw/
|
10 |
๑๐ |
สิบ |
/sìp/ |
จ๋ง |
១០ |
ដប់ |
/ɗɑp/ |
໑໐ |
ສິບ |
/síp/
|
สิบถึงหนึ่งล้าน
เลขไทย
|
เลขอาหรับ
|
ค่าของตัวเลข
|
๑๐
|
10
|
สิบ
|
๑๑
|
11
|
สิบเอ็ด
|
๒๐
|
20
|
ยี่สิบ
|
๑๐๐
|
100
|
(หนึ่ง)ร้อย
|
๑,๐๐๐
|
1,000
|
(หนึ่ง)พัน
|
๑๐,๐๐๐
|
10,000
|
(หนึ่ง)หมื่น
|
๑๐๐,๐๐๐
|
100,000
|
(หนึ่ง)แสน
|
๑,๐๐๐,๐๐๐
|
1,000,000
|
(หนึ่ง)ล้าน
|
เลข ๑๓๒ อ่านว่า หนึ่งร้อยสามสิบสอง คำว่า ร้อย, พัน ฯลฯ ซึ่งเป็นค่าประจำหลัก จะต้องอ่านออกเสียงหลังเลขในหลักนั้น ๆ และในหลักภาษา จะต้องอ่านออกเสียง ๑๐๐ ว่า หนึ่งร้อย ไม่ใช่ ร้อย[ต้องการอ้างอิง]
ในภาษาพูดทั่วไป คำว่า หนึ่ง มีออกเสียงเพี้ยนเป็น นึง ซึ่งทำให้ความหมายของ 100 (ร้อยนึง) กับ 101 (ร้อยหนึ่ง : ตามหลักภาษา อ่านว่า หนึ่งร้อยเอ็ด) แตกต่างกัน[ต้องการอ้างอิง]
สูงกว่าหนึ่งล้าน
ตัวเลขที่สูงกว่าหนึ่งล้าน สามารถใช้คำว่า ล้าน เป็นตัวคูณ เช่น 10,000,000 อ่านว่า สิบล้าน มาจากเอา "สิบ" คูณ "ล้าน"
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น