ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16
ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16 (อังกฤษ: TNN16, ชื่อเต็ม: Thai News Network) เป็นช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ นำเสนอข่าวสารและสาระ บริหารงานโดย บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด บริษัทย่อยในเครือทรูวิชั่นส์ ประวัติยุคก่อตั้งเริ่มแรกใช้ชื่อช่องว่า ไอบีซี 3 (อังกฤษ: IBC 3) ทดลองออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 พร้อมกับการเปิดตัวไอบีซีในวันเดียวกัน ซึ่งเน้นนำเสนอรายการข่าว เศรษฐกิจ สาระประโยชน์ และภาพยนตร์ต่างประเทศ ออกอากาศทางช่อง 13 (เสียงไทย) และช่อง 4 (เสียงต้นฉบับ) ผ่านระบบบริการกระจายสัญญาณแบบหลายจุดหลายช่อง (MMDS) และทางจานดาวเทียมในระบบเคยูแบนด์ ต่อมาในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ไอบีซี 3 เปลี่ยนชื่อเป็นไอบีซี นิวส์ (อังกฤษ: IBC News) พร้อมปรับรูปแบบมาเป็นการนำเสนอข่าวเท่านั้น ออกอากาศทางช่อง 10 (เสียงไทย) และช่อง 11 (เสียงต้นฉบับ) ต่อมาในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ไอบีซีได้ควบรวมกิจการกับยูทีวี และเปลี่ยนชื่อเป็นยูบีซี ช่องนี้จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็นยูบีซี นิวส์ (อังกฤษ: UBC News) ออกอากาศทางช่องยูบีซี 7 โดยออกอากาศข่าว เศรษฐกิจ และสาระประโยชน์ในสมัยนั้น และ 5 ปีต่อมาคือวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2546 ได้ปรับโฉมใหม่ เพิ่มภาพลักษณ์ใหม่ คงความสีสันกับช่องรายการข่าว สอดคล้องกับการเปลี่ยนโลโก้ของยูบีซี แต่ออกอากาศในช่องยูบีซี 7 เช่นเดิม ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้เข้าซื้อกิจการโทรทัศน์ยูบีซี ทำให้ช่องนี้เปลี่ยนชื่อเป็น ยูบีซีนิวส์ 24 (อังกฤษ: UBC News 24) หลังจากนั้นใช้ชื่อว่า ทรูนิวส์ 24 (อังกฤษ: True News 24) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนปีเดียวกัน ทีเอ็นเอ็นในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้แยกช่องข่าวจาก 1 ช่อง เป็น 2 ช่อง และเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อสถานีปัจจุบันคือ ทีเอ็นเอ็น (อังกฤษ: TNN) แต่เริ่มทดลองออกอากาศ 2 ช่องคือ ทีเอ็นเอ็น 24 (อังกฤษ: TNN24) นำเสนอรายการข่าวทุกเหตุการณ์ 24 ชั่วโมง ออกอากาศในช่อง 7 และ ทีเอ็นเอ็น 2 (อังกฤษ: TNN2) นำเสนอรายการข่าวสาระความรู้ ออกอากาศในช่อง ทรูวิชั่นส์ 8[1] และในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ได้เปิดตัวและเปลี่ยนรูปแบบมาทำเป็นสถานีข่าว ทีเอ็นเอ็น 24 (อังกฤษ: TNN24) พร้อมเริ่มออกอากาศจริงอย่างเป็นทางการ และในปีต่อมาคือวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 ได้เปิดตัวเว็บไซต์ www.tnnthailand.com อย่างเป็นทางการ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ทีเอ็นเอ็นได้ผลิตคลื่นวิทยุเป็นของตัวเองชื่อว่า ทีเอ็นเอ็น เรดิโอ (อังกฤษ: TNN Radio) ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก จส.2 กรมการทหารสื่อสาร เอฟเอ็ม 103.0 เมกะเฮิร์ตซ์ โดยนำรายการข่าวถ่ายทอดสดมาจากทีเอ็นเอ็น 24 มาออกอากาศในรูปแบบวิทยุกระจายเสียงคู่ขนานไปกับการออกอากาศโทรทัศน์ ออกอากาศเป็นเวลา 1 ปี จนยุติการกระจายเสียงไปเมื่อปี พ.ศ. 2554 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ทีเอ็นเอ็นได้เริ่มออกอากาศในระบบฟรีทูแอร์อย่างเต็มรูปแบบ โดยช่องทีเอ็นเอ็น 24 นอกจากจะได้รับชมทางทรูวิชั่นส์ ช่อง 7 แล้ว ยังได้ขยายช่องทางออกอากาศใหม่ ไปยังรับชมทางจานดาวเทียม ดีทีวี พีเอสไอ และอื่น ๆ เพื่อขยายฐานผู้ชม ครอบคลุมทุกช่องทางบนจานดาวเทียม มุ่งสู่ผู้ชมทั่วโลก ทางช่องเองได้มีการก่อตั้งบริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 ทีเอ็นเอ็น 24 ได้เริ่มออกอากาศในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง โดยระยะแรกออกอากาศทางระบบเคเบิลใยแก้วของทรูวิชั่นส์ทางช่อง 124 ต่อมาได้เปลี่ยนเลขช่องไปยังช่อง 121 และในปัจจุบันออกอากาศทางช่อง 111[2] และในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ได้เริ่มออกอากาศทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล โดยออกอากาศผ่านอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณโครงข่ายที่ 2 ของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ทางช่อง 16[3] โดยยังคงออกอากาศทางช่องหมายเลข 7 ตามเดิม แต่ในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559 ทรูวิชั่นส์ได้ปรับเปลี่ยนหมายเลขช่องใหม่ ทำให้ช่องหมายเลข 7 ที่ทีเอ็นเอ็น 24 ออกอากาศมานานกว่า 17 ปี และในระบบเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมที่ช่อง 26 ได้เปลี่ยนเลขช่องไปยังที่ช่อง 16 ทุกระบบ[4] แต่ยังคงออกอากาศทางทรูวิชั่นส์ในระบบ HD ช่อง 117 และ 777 เช่นเดิม ต่อมาในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ทีเอ็นเอ็น 24 เปลี่ยนชื่อเป็นชื่อสถานีปัจจุบันคือ ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16 (อังกฤษ: TNN 16) แต่ยังคงออกอากาศทางทรูวิชั่นส์ในระบบ HD ช่อง 117 และ 777 เช่นเดิม ต่อมาในวันที่ 21 สิงหาคม ปีเดียวกัน ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16 ได้ปรับโฉมใหม่ โดยตั้งเป้าให้เป็นช่องข่าวเศรษฐกิจอันดับที่ 1 ของทีวีดิจิทัลในประเทศไทย และเริ่มมีการควบรวมกับทีมข่าวของทรูโฟร์ยูบางส่วน[5] จากนั้นในวันที่ 18 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ได้ขยายสตูดิโอการถ่ายทำรายการข่าวเพิ่มเติม โดยสตูดิโอรายการข่าวใหม่ มาอยู่ที่อาคารทรูทาวเวอร์ 2 ถนนพัฒนาการ ใช้ร่วมกับสตูดิโอเดิม ที่อาคารทิปโก้ ถนนพระรามที่ 6 ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว และตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563 ก็ได้ออกอากาศรายการทุกช่วงของทีเอ็นเอ็น ช่อง 16 คู่ขนานไปพร้อมกับทรูโฟร์ยูอย่างเต็มรูปแบบ ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16 ได้ย้ายสตูดิโอใหม่ในบางรายการ จากอาคารทรูทาวเวอร์ 2 ถนนพัฒนาการ ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2566 อย่างไรก็ตาม ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16 ได้ย้ายสตูดิโอใหม่ จากอาคารทรูทาวเวอร์ 2 ถนนพัฒนาการ ซึ่งใช้จนถึงวันที่ 15 เมษายน และอาคารทิปโก้ ถนนพระรามที่ 6 ซึ่งใช้จนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม มาอยู่ที่ ทรู ดิจิทัล พาร์ค ถนนสุขุมวิท โดยเริ่มออกอากาศจากสตูดิโอใหม่อย่างเต็มรูปแบบ โดยเริ่มใช้สตูดิโอรายการหลัก (สตูดิโอ 1) ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน และเริ่มใช้สตูดิโอที่สอง (สตูดิโอ 2 กลาสเฮ้าส์) ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม ปีเดียวกัน อย่างไรก็ตาม สตูดิโอที่สอง (สตูดิโอ 2 กลาสเฮ้าส์) เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม สำหรับรายการพิเศษ Debate เปลี่ยนประเทศไทย ครั้งที่ 2 และในวันที่ 6 พฤษภาคม สำหรับรายการพิเศษเกี่ยวกับงานพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในปัจจุบันที่มีชื่อเสียง
ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในอดีต
ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|