บอดี้สแลม
บอดี้สแลม (อังกฤษ: Bodyslam) เป็นวงดนตรีร็อกสัญชาติไทยจากกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2545 เป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย สมาชิกวงที่เป็นที่รู้จักกันดีจากวงนี้คือ นักร้องนำของวง อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน) โดยเพลงส่วนใหญ่ได้อิทธิพลมาจากดนตรีร็อกจากฝั่งสหรัฐอเมริกาในยุคต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ผสมผสานกับดนตรีแนวโพรเกรสซิฟร็อก[1] บอดี้สแลมประสบความสำเร็จกับอัลบั้มชุดแรกของวง ซึ่งมีชื่ออัลบั้มเป็นชื่อเดียวกันกับวง หลังจากนั้นก็ได้ออกจำหน่ายอัลบั้มชุดต่อมา ไดรฟ์ ในปี พ.ศ. 2546 และตามด้วยการออกงานแสดงคอนเสิร์ต หลังจากที่ได้เซ็นสัญญากับจีนี่เรคคอร์ดส บอดี้สแลมก็ได้ออกอัลบั้ม บีลีฟ เซฟมายไลฟ์ และอัลบั้ม คราม ตามลำดับ โดยจากผลสำรวจของเอแบคโพล บอดี้สแลมเป็นวงดนตรีที่เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุดอันดับ 1 ทั้งในปี พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2553 และ พ.ศ. 2555 และอัลบั้มชุดที่ 6 มีชื่อว่า ดัม-มะ-ชา-ติ ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2557 จากนั้นก็ได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ทั่วประเทศไทยชื่อว่า ปรากฏการณ์ดัมมะชาติ ประวัติช่วงแรกของวง (พ.ศ. 2539–2541)บอดี้สแลมเริ่มต้นมาจากวง ละอ่อน ที่ได้รางวัลชนะเลิศการประกวดวงดนตรีฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2539 และได้ออกอัลบั้มกับค่ายมิวสิค บั๊กส์ ในชื่อ ละอ่อน ในปี พ.ศ. 2540 ด้วยแนวเพลงป็อปร็อก เพลงหนึ่งในอัลบั้ม "ได้หรือเปล่า" เป็นเพลงที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดของวง ต่อมา ตูนกับเภาขอออกจากวงไป และได้ปั้น (Basher) มาร้องนำวงละอ่อนแทนตูน และได้ออกอัลบั้มชุดที่สอง เทพนิยายนายเสนาะ ในปี พ.ศ. 2541 แต่หลังจากนั้นวงก็ได้แยกย้ายกันไปเรียนต่อ[2] อัลบั้ม บอดี้สแลม และ ไดรฟ์ (พ.ศ. 2545–2547)ตูนและเภาได้รวบรวมสมาชิกใหม่และก่อตั้งวงขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2545 ด้วยชื่อวงว่า บอดี้สแลม ซึ่งมีเปลี่ยนแนวเพลงไปเป็นร็อกที่หนักหน่วงมากขึ้น ด้วยสมาชิกเพียงสามคนที่เหลืออยู่ ได้แก่ อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน) นักร้องนำ, ธนดล ช้างเสวก (ปิ๊ด) มือเบส และรัฐพล พรรณเชษฐ์ (เภา) มือกีตาร์ ที่มาของชื่อวงมาจากชื่อท่าหนึ่งของมวยปล้ำ แต่ถ้าแปลความหมายตรงตัว "บอดี้" แปลว่า "ร่างกาย" ส่วน "สแลม" แปลว่า "การทุ่ม" เมื่อนำมารวมกันเป็น "บอดี้สแลม" ก็จะมีนิยามที่ว่า "การทุ่มสุดตัว" คือการทำงานเพลงกันเต็มที่แบบทุ่มสุดตัว วงได้ออกจำหน่ายอัลบั้มชุดแรกของวงชื่อว่า บอดี้สแลม ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545 และได้ประสบความสำเร็จ โดยมีเพลงฮิตอย่าง "งมงาย", "ย้ำ" และ "สักวันฉันจะดีพอ"[3] ต่อมาได้ออกวางจำหน่ายอัลบั้มชุดที่สอง ไดรฟ์ (Drive) ในปี พ.ศ. 2546 โดยมีเพลงฮิตอย่าง "ปลายทาง" "ความซื่อสัตย์" "ชีวิตที่ฉันเหลืออยู่" และ "หวั่นไหว" และได้ชนะรางวัลมิวสิกวิดีโอในสาขา "กลุ่มศิลปินที่เป็นที่ชื่นชอบ" ในมิวสิกวิดีโอของเพลง "ปลายทาง"[4] ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2547 บอดี้สแลมได้ออกคอนเสิร์ต HOTWAVE LIVE: BODYSLAM MAXIMUM LIVE จัด ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตที่ทาง 91.5 ฮอตเวฟ จัดให้โดยเป็นคอนเสิร์ตครั้งแรกของวง โดยมีศิลปินรับเชิญคือ ปู แบล็คเฮด, อ๊อฟ บิ๊กแอส และป๊อด โมเดิร์นด็อก ต่อตระกูล ใบเงิน หรือ ต่อ มือกลอง วง ซิลลี่ ฟูลส์ ได้ร่วมบันทึกเสียงกลอง อัลบั้นแรก และ อัลบั้มที่ 2 ของทางวงก่อนที่ สุชัฒติ จั่นอี๊ด (ชัช) จะมาเป็นมือกลองแบกอัพ อัลบั้ม บีลีฟ (พ.ศ. 2548–2549)หลังจากอัลบั้มที่สอง บอดี้สแลมได้มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย วงได้ออกจากค่ายมิวสิค บั๊กส์และได้เซ็นสัญญากับจีนี่ เรคคอร์ดในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ค่ายเพลงใหญ่ของประเทศไทย ต่อมามือกีตาร์ของวง รัฐพล พรรณเชษฐ์ (เภา) ได้ออกจากวงบอดี้สแลม และออกอัลบั้มเดี่ยวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ในอัลบั้มชื่อ Present Perfect สังกัดค่ายสนามหลวง ทำให้บอดี้สแลมเหลือสมาชิกวงอยู่ 2 คน จึงได้หามือกีตาร์คนใหม่ คือ ธนชัย ตันตระกูล (ยอด) และให้ สุชัฒติ จั่นอี๊ด (ชัช) มือกลองแบ็คอัพมาเป็นสมาชิกวงเต็มตัว ออกสตูดิโออัลบั้มชุดที่สามของวง บีลีฟ (Believe) ในปี พ.ศ. 2548 โดยทางวงประสบความสำเร็จอย่างสูง มีเพลงฮิตอย่าง "ขอบฟ้า" "ห้ามใจ" "ความรักทำให้คนตาบอด" "พูดในใจ" "รักก็เป็นอย่างนี้" "ชีวิตเป็นของเรา" "คนที่ถูกรัก" และ "ความเชื่อ" ซึ่งเพลงนี้ต่อมาได้กลายเป็นเพลงสัญลักษณ์ประจำวงบอดี้แสลมในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 บอดี้สแลมได้ออกคอนเสิร์ตวันคุ้มครองโลกในชื่อ บอดี้สแลมบิลีฟคอนเสิร์ต ที่ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี โดยมีแขกรับเชิญ 2 คน คือ บอย พีซเมกเกอร์ และรัฐพล พรรณเชษฐ์ อดีตมือกีตาร์ของวง ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ได้ออกคอนเสิร์ตบิ๊กบอดี้ (Big Body) ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี โดยจัดร่วมกับวงบิ๊กแอส และได้แสดงร่วมกับวงบิ๊กแอสอีกครั้งในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2549 ในคอนเสิร์ตเอ็มร้อยห้าสิบ สุดชีวิตคนไทย ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี และยังได้แสดงร่วมกับโปเตโต้, เสก โลโซ, ลานนา คัมมินส์ และไมค์ ภิรมย์พร อัลบั้ม เซฟมายไลฟ์ (พ.ศ. 2550–2551)ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2550 บอดี้สแลมได้ออกจำหน่ายสตูดิโออัลบั้มชุดที่สี่ เซฟมายไลฟ์ (Save My life) มีเพลงฮิตอย่าง "แค่หลับตา" "นาฬิกาตาย" "อกหัก" "เสี้ยววินาที" "คนมีตังค์" และ "ยาพิษ" ทางวงเองได้ออกคอนเสิร์ตใหญ่ในกรุงเทพในต้นเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ในวันที่ 20–21 ตุลาคม พ.ศ. 2550 บอดี้สแลมได้ออกคอนเสิร์ตบอดี้สแลมเซฟมายไลฟ์ ที่อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก โดยมีแขกรับเชิญ ได้แก่ โก้ มิสเตอร์ แซกแมน (Koh Mr.Saxman) ร่วมแสดงในเพลง "นาฬิกาตาย", พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ ร่วมแสดงในเพลง "ความเชื่อ" "แม่", ปนัดดา เรืองวุฒิ ร่วมแสดงในเพลง "แค่หลับตา", แอ๊ด คาราบาว ร่วมแสดงในเพลง "ความเชื่อ" "รักต้องสู้", และทีมเชียร์ลีดเดอร์จากมหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมแสดงในเพลง "ท่านผู้ชม" ความสำเร็จจากอัลบั้มใหม่ทำให้วงมีแฟนคลับขนาดใหญ่ขึ้น และกลายเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย อัลบั้ม เซฟมายไลฟ์ ได้ชนะในสีสันอะวอร์ด ครั้งที่ 20 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 สาขาศิลปินกลุ่มร็อกยอดเยี่ยม อัลบั้มร็อกยอดเยี่ยม และเพลงร็อกยอดเยี่ยม สำหรับเพลง "ยาพิษ"[5] และได้ออกคอนเสิร์ตในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ในชื่อคอนเสิร์ต EVERY BODYSLAM CONCERT ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี[6] โดยมีศิลปินรับเชิญ ได้แก่ ฟักแฟง โน มอร์ เทียร์-ไปรยา มลาศรี ในเพลง "แค่หลับตา" และบุดด้าเบลส อัลบั้ม คราม (พ.ศ. 2552–2555)ซิงเกิล "คราม" ออกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 พร้อมกับสตูดิโออัลบั้มชุดที่ห้าของวง คราม ออกจำหน่ายในกลางปี พ.ศ. 2553 (หลังจากเลื่อนไปเป็นมิถุนายน พ.ศ. 2553 จากการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553) อัลบั้มนี้มีเพลงฮิตอย่าง "คราม" "คิดฮอด"[7] "โทน" "แสงสุดท้าย" "ทางกลับบ้าน" "ความรัก" "สติ๊กเกอร์" "เงา" "ปล่อย" และ "เปราะบาง" วงได้ออกแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ที่เรียกว่า บอดี้สแลมไลฟ์อินคราม ที่ราชมังคลากีฬาสถาน ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ด้วยผู้ชมมากกว่า 65,000 คน[8] โดยมีศิลปินรับเชิญ ได้แก่ ศิริพร อำไพพงษ์ ในเพลง "คิดฮอด", อุ๋ย บุดด้าเบลส และฟักกลิ้ง ฮีโร่ ในเพลง "สติ๊กเกอร์", และวงบิ๊กแอส[9] และได้สำเร็จทัวร์ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554 ด้วยคอนเสิร์ต บอดี้สแลมไลฟ์อินลาว : เวิลด์ทัวร์ ที่สนามกีฬาแห่งชาติลาว และในปี พ.ศ. 2555 ได้จัดคอนเสิร์ต บอดี้สแลมนั่งเล่น ที่อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น ฮอลล์ 1 (Impact Exhibition Hall 1) ในวันที่ 10–12 กุมภาพันธ์[10][11] อัลบั้ม ดัม-มะ-ชา-ติ (พ.ศ. 2556–2560)สตูดิโออัลบั้มชุดที่หกของวง ดัม-มะ-ชา-ติ (Dharmajāti) ในภาษาสันสกฤตหมายถึง "ธรรมชาติ" โดยอัลบั้มนี้จะเน้นไปทางเกี่ยวกับชีวิตและมีแนวเพลงไปทางโพรเกรสซิฟร็อก ออกจำหน่ายในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557[12] มีเพลงดังอย่าง "เรือเล็กควรออกจากฝั่ง" "ปลิดปลิว" "ดัม-มะ-ชา-ติ" "รักอยู่ข้างเธอ" "ชีวิตยังคงสวยงาม" "ความฝันกับจักรวาล" และ "คิดถึง" และมีกำหนดการออกคอนเสิร์ตบอดี้สแลม ปรากฏการณ์ ดัม-มะ-ชา-ติ โดยเป็นการทัวร์คอนเสิร์ตเต็มรูปแบบครั้งแรกของวง เพื่อสนับสนุนอัลบั้ม โดยเริ่มแสดงตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558[13] และเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ยุทธนา บุญอ้อม ได้ประกาศยกเลิกทัวร์ บอดี้สแลม ปรากฏการณ์ ดัม-มะ-ชา-ติ ที่เหลือทั้งหมด โดยจัดที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดสุดท้าย ในการจบการแสดงคอนเสิร์ต [14] ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 วงบอดี้แสลมจัดคอนเสิร์ต คอนเสิร์ตบอดี้สแลมสิบสาม เพื่อครบรอบ 13 ปีของทางวง ที่ริมทะเลสาบเมืองทองธานี โดยมีศิลปินรับเชิญ ได้แก่ อัญชลี จงคดีกิจ[15] ร่วมแสดงในเพลง "รักอยู่ข้างเธอ" และ "แค่หลับตา", วงโมเดิร์นด็อก[16] ร่วมแสดงในเพลง "ปล่อย" "คนที่ถูกรัก" และ "ตาสว่าง", วงลาบานูน [17] ร่วมแสดงในเพลง "ตาสว่าง" "ยาม" และ "ปลิดปลิว", อ๊อฟ-กบ-หมู จากวงบิ๊กแอส[18][19] ร่วมแสดงในเพลง "งมงาย" "ความรักทำให้คนตาบอด" "ย้ำ" และ "อย่างน้อย", ศิริพร อำไพพงษ์ ร่วมแสดงในเพลง "คิดฮอด", รัฐพล พรรณเชษฐ์ ร่วมแสดงในเพลง "สักวันฉันจะดีพอ" และเพลง "บอดี้สแลม", กอล์ฟ ฟักกลิ้งฮีโร่ และอุ๋ย บุดด้า เบลส ร่วมแสดงในเพลง "สติ๊กเกอร์"[20] วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ทางวงได้เผยแพร่เพลงใหม่ "เวลาเท่านั้น"[21][22] อัลบั้ม วิชาตัวเบา (พ.ศ. 2561–2565)วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 บอดี้สแลมได้เผยแพร่เพลง"ใครคือเรา" เพลงแรกจากอัลบั้มชุดที่ 7 วิชาตัวเบา โดยแสดงสดครั้งแรกที่ลานอัฒจันทร์สยามสแควร์วัน กรุงเทพมหานคร เวลา 18.00 นาฬิกา พร้อมเผยแพร่มิวสิควิดีโอในเวลาเดียวกัน[23] ต่อมาในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 บอดี้สแลมได้เผยแพร่เพลงที่สอง "วิชาตัวเบา" เป็นเพลงต่อมา ในเวอร์ชัน 360 VR[24][25] และเผยแพร่เพลงที่สาม "แสงสวรรค์" ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2561 ซึ่งเพลงนี้ได้ถูกนำไปประกอบในภาพยนตร์ 2,215 เชื่อ บ้า กล้า ก้าว วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561 บอดี้สแลมได้เผยแพร่เพลงที่สี่ "ครึ่ง ๆ กลาง ๆ" และได้ถูกนำไปประกอบในภาพยนตร์สั้น ครึ่ง ๆ กลาง ๆ กำกับโดย นนทรีย์ นิมิบุตร [26] ต่อมาในวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 พวกเขาได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ บอดี้สแลม เฟส วิชาตัวเบา ที่ราชมังคลากีฬาสถาน โดยจัดการแสดง 2 รอบ มีจำนวนผู้ชมที่มากถึง 130,000 คน และในวันที่ 25-26 มกราคม พ.ศ. 2563 พวกเขาจัดคอนเสิร์ตใหญ่ บอดี้แสลม นับ 1 ถึง 7 ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี และสร้างสถิติจำหน่ายบัตรคอนเสิร์ตหมดภายใน 4 นาที โดยรายได้จากการจำหน่ายบัตรคอนเสิร์ตครั้งนี้ถูกมอบให้แก่มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์[27] อัลบั้ม Sunny Side Up (พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน)วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2565 บอดี้สแลมได้เล่นเพลง “วันสิ้นปี” เป็นครั้งแรกที่ Big Mountain Music Festival 12 ก่อนที่จะเผยแพร่มิวสิกวีดีโอใน วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ทางช่องยูทูป Genierock ต่อมาในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2566 บอดี้สแลมได้เผยแพร่เพลงที่สอง "เหว" และเผยแพร่เพลงที่สาม "ปรากฏการณ์ผีเสื้อ" ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งเพลงนี้ได้ร่วมกับ โจอี้ ภูวศิษฐ์ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 บอดี้สแลมได้เผยแพร่เพลงที่สี่ "เข้าสังคม" ซึ่งมิวสิกวีดีโอของเพลงนี้ได้ถูกถ่ายที่ ฮาราจูกุ ไทยแลนด์ และเผยแพร่เพลงที่ห้า "แผลเป็น" ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งเพลงนี้ได้ร่วมกับ เจฟ ซาเตอร์ ต่อมาในวันที่ 21 - 23 มิถุนายน พ.ศ. 2567 พวกเขาได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ "Every Bodyslam 2024 The Sunny Side Up" ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี มีจำนวนผู้ชมมากถึง 30,000 คน และอัลบั้ม "Sunny Side Up" ได้ออกจำหน่ายในวันเดียวกันกับคอนเสิร์ต รายได้จากการจำหน่ายบัตรคอนเสิร์ตรอบวันที่ 23 มิถุนายน ถูกมอบให้แก่ศูนย์วิทยาการเวชศาสตร์ผู้สูงอายุศิริราช ด้วยจำนวน 47,256,355.55 บาท สมาชิกของวง
ผลงาน
สตูดิโออัลบั้มหมายเหตุ: สมาชิกของวงที่มีชื่อเล่นเป็น ตัวเอน คือ สมาชิกแบกอัปในอัลบั้มนั้น ๆ ของวง
เพลงประกอบภาพยนตร์โฆษณา
เพลงพิเศษ
ศิลปินรับเชิญ
โฆษณา
รางวัลที่ได้รับ
ผลสำรวจ
คอนเสิร์ต
ผลงานแสดงภาพยนตร์บอดี้สแลมเคยร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่อง SuckSeed ห่วยขั้นเทพ (2554) และ 2,215 เชื่อ บ้า กล้า ก้าว (2561) อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|