ปลายแขน
ปลายแขน หรือ แขนท่อนปลาย (อังกฤษ: Forearm) เป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของรยางค์บน (upper limb) อยู่ระหว่างข้อศอกและข้อมือ[1] ซึ่งจะต่างจากแขนหรือต้นแขน (arm หรือ upper arm) ที่ในทางกายวิภาคจะนับจากหัวไหล่ลงมาถึงแค่ข้อศอก ปลายแขนของมนุษย์ปลายแขนประกอบด้วยกระดูกยาว 2 ชิ้น คือ กระดูกเรเดียส (radius) และกระดูกอัลนา (ulna) ประกอบกันเป็นข้อต่อเรดิโออัลนา (radioulnar joint) โดยมีเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) เชื่อมระหว่างกระดูกสองชิ้นนี้ ปลายแขนจะปกคลุมด้วยผิวหนัง โดยพื้นผิวส่วนหน้ามักมีขนน้อยกว่าพื้นผิวส่วนหลัง ปลายแขนประกอบด้วยกล้ามเนื้อจำนวนมากมายในกลุ่มกล้ามเนื้องอนิ้ว (flexors) และกล้ามเนื้อเหยียดนิ้ว (extensors) , กล้ามเนื้องอข้อศอก (กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส (brachioradialis)) , และกลุ่มกล้ามเนื้อคว่ำมือ (pronators) และหงายมือ (supinators) ในภาพตัดขวางของปลายแขนอาจแบ่งพื้นที่ของปลายแขนออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ด้านหลังปลายแขน (posterior compartment) ซึ่งมีกล้ามเนื้อกลุ่มเหยียดมือซึ่งเลี้ยงโดยเส้นประสาทเรเดียล (radial nerve) และพื้นที่ด้านหน้าปลายแขน (anterior compartment) ซึ่งมีกล้ามเนื้อกลุ่มงอมือซึ่งส่วนใหญ่เลี้ยงโดยเส้นประสาทมีเดียน (median nerve) และยังมีเส้นประสาทอัลนา (ulnar nerve) ซึ่งวิ่งไปตามความยาวของปลายแขน หลอดเลือดแดงเรเดียล (radial artery) และหลอดเลือดแดงอัลนา (ulnar artery) และแขนงต่างๆ ของมันให้เลือดไปเลี้ยงปลายแขน หลอดเลือดเหล่านี้มักจะวิ่งไปบนด้านหน้าของกระดูกเรเดียสและอัลนาลงไปตลอดปลายแขน หลอดเลือดดำชั้นผิวหลักๆ ของปลายแขนได้แก่หลอดเลือดดำเซฟาลิค (cephalic vein) , หลอดเลือดดำกลางปลายแขน (median antebrachial vein) , และหลอดเลือดดำเบซิลิค (basilic vein) หลอดเลือดดำเหล่านี้สามารถนำมาใส่หลอดคา (cannularisation) หรือใช้เจาะเลือด (venipuncture) แต่แพทย์มักจะใช้การเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำในแอ่งแขนพับ (cubital fossa) มากกว่า กายวิภาคศาสตร์กระดูก
ข้อต่อ
กล้ามเนื้อ
หมายเหตุ
เส้นประสาท
หลอดเลือด
โครงสร้างอื่นๆ
ภาพอื่นๆ
อ้างอิงแหล่งข้อมูลอื่น
|