มือ (อังกฤษ: Hand) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อแขน สำหรับจับ [1] หยิบ สิ่งของต่างๆ
กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์
มือของมนุษย์ประกอบด้วยฝ่ามือ (Palm) กับนิ้วมือ (Finger) ปลายแขนนั้นโดยร่วมกันเรียกว่าข้อมือ (Wrist) และหลังมือ (Back of the hand)
นิ้วมือ
นิ้วมือนั้นอยู่นอกสุดของมือ สามารถขยับไปมาได้มากกว่าฝ่ามือ นิ้วมือนั้นมีทั้งหมดห้านิ้ว คือ
ลายนิ้วมือ
ลายนิ้วมือนั้นมีมาแต่กำเนิด และจะดำรงอยู่โดยไม่เปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้ประชากรทั่วโลกจำนวนหลายพันล้านคนจะไม่มีใครที่มีลายนิ้วมือเหมือนกันเลย ดังนั้นการพิมพ์ลายนิ้วมือจึงเป็นสิ่งที่มีเฉพาะบุคคล และจำแนกบุคคล แต่ละบุคคลได้ชัดเจน ลายนิ้วมือนั้นสามารถแบ่งออกได้ 4 จำพวกใหญ่ ๆ คือ
- ลายนิ้วมือรูปก้นหอย
- ลายนิ้วมือรูปลูกคลื่น
- ลายนิ้วมือรูปลูกคลื่นม้วน
- ลายนิ้วมือรูปภูเขา
โดยทั่วไปแล้วลายนิ้วมือแบบ 1-3 นั้นเป็นลายนิ้วมือปกติ แต่ถ้าเป็นลายนิ้วมือแบบที่ 4 ทางแพทย์จีนกล่าวว่า ผู้ที่ลายนิ้วมือดังกล่าวมักเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ โรคประสาท โรคเกี่ยวกับอัณฑะ แต่ถ้าเป็นสตรีมักตั้งครรภ์มาก หรือเป็นโรคเกี่ยวกับเต้านม สำหรับบุคคลที่มีลายนิ้วมือผิดปกติจาก 4 จำพวกข้างต้นมักเกิดขึ้น เนื่องจากประสาทเจริญเติบโตผิดปกติ หรือเนื้อเยื่อบริเวณนั้นขาดออกซิเจน หรือไม่เพียงพอ การกระจายหรือการเจริญเติบโตของต่อมเหงื่อไม่ดี เป็นต้น ถ้าลายนิ้วมือผิดปกติ และไม่ใช่นิ้วหัวแม่มือ จะไม่ค่อยมีความหมายมากนัก แต่หากเป็นที่นิ้วหัวแม่มือ หรือเป็นที่นิ้วอื่นหลาย ๆ นิ้ว แสดงว่าร่างกายไม่แข็งแรง [2]
กระดูก
โครงกระดูกของมือมนุษย์มีทั้งหมด 27 กระดูก
กระดูกข้อมือ
โครงกระดูกตรงข้อมือมีทั้งหมด 8 กระดูกอยู่เรียงติวกันเป็นแถว ซึ่งเชื่องโยงกับกระดูกแขน (สแคฟฟอยด์ ,ลูเนท ,ไตรกีตรัล ,พิสิฟอร์ม ,ทราพีเซียม ,ทราพีซอยด์ ,แคปปิเตต และฮาเมต)
กระดูกฝ่ามือ
โครงกระดูกตรงฝ่ามือมีทั้งหมด 5 กระดูก คือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วหัวแม่มือ ,กระดูกฝ่ามือของนิ้วชี้
,กระดูกฝ่ามือของนิ้วกลาง ,กระดูกฝ่ามือของนิ้วนาง และกระดูกฝ่ามือของนิ้วก้อย
กระดูกนิ้วมือ
โครงกระดูกตรงนิ้วมือมีทั้งหมด 3 กระดูก คือ กระดูกนิ้วมือท่อนต้น ,กระดูกนิ้วมือท่อนกลาง และกระดูกนิ้วมือท่อนปลาย
กล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อในมือมีทั้งหมด 2 กลุ่ม คือ
- กลุ่มกล้ามเนื้อภายนอก
- กลุ่มกล้ามเนื้อภายใน
ฝ่ามือด้านข้าง
ฝ่ามือด้านใกล้ลำตัว
เนินโคนนิ้วก้อย (Hypothenar eminence) :
กลางมือ
เส้นประสาท
มือ มีเส้นประสาทโดยรวมแล้วประมาณ 3 เส้นประสาท คือ เส้นประสาทอัลนาร์ ,เส้นประสาทมีเดียน และเส้นประสาทเรเดียล
ความแตกต่างระหว่างเพศ
ความยาวเฉลี่ยของชายมือผู้ใหญ่เป็น 189 มม. ในขณะที่ความยาวเฉลี่ยของหญิงมือผู้ใหญ่เป็น 172 มม. ความกว้างมือโดยเฉลี่ยสำหรับผู้ใหญ่เพศชายและเพศหญิงคือ 84 และ 74 มม. ตามลำดับ
ความผิดปกติและโรค
ประโยชน์ของมือ
ด้านภาษา
- ภาษามือ = เป็นการ เป็นอวัจนภาษาอย่างหนึ่ง ที่ประกอบด้วย การสื่อสารด้วยมือ, การสื่อสารด้วยร่างกาย และการใช้ริมฝีปากในการสื่อความหมายแทนการใช้เสียงพูด การสื่อสารจะใช้ลักษณะของมือที่ทำเป็นสัญลักษณ์ การเคลื่อนไหวมือ แขนและร่างกาย และการแสดงความรู้สึกทางใบหน้าเพื่อช่วยในการสื่อสารความคิดของผู้สื่อ ภาษาสัญลักษณ์ส่วนใหญ่มักใช้ในกลุ่มผู้พิการทางหู ซึ่งรวมทั้งผู้พิการทางหูเอง ผู้ตีความหมาย (interpreter) ผู้ร่วมงาน เพื่อน และครอบครัวของผู้พิการทางหูซึ่งอาจจะพอได้ยินบ้างหรือไม่ได้ยินเลย
ด้านการละเล่น
- เป่ายิ้งฉุบ = เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งที่นิยมกันมากในหมู่เด็กๆ หลายชาติหลายภาษาทั่วโลก อาศัยเพียงเสี่ยงมือระหว่างผู้เล่นสองฝ่าย เพื่อเอาชนะกัน การเสี่ยงมือทำได้ 3 แบบ คือ ค้อน (กำมือ) , กระดาษ (แบมือ) และกรรไกร (ยื่นเฉพาะนิ้วชี้และนิ้วกลาง)
- จ้ำจี้ = เป็นการละเล่นของไทย โดยผู้เล่นนั่งล้อมวงกัน คว่ำมือทั้งสองลงบนพื้น คนหนึ่งเป็นคนจี้ โดยใช้นิ้วชี้จิ้มไปที่นิ้วของผู้เล่นไล่ไปทีละนิ้วให้รอบวง พร้อมทั้งร้องเพลงไปด้วย เมื่อร้องจบแล้ว จิ้มอยู่ที่นิ้วใดคนนั้นต้องพับนิ้วนั้นเข้าไป ผู้จิ้มก็เริ่มเล่นใหม่ไปเรื่อยๆ ใครต้องพับนิ้วทั้งหมดเป็นคนแรกแพ้ [3]
- การเล่นละครหุ่นมือ = หุ่นที่ทำเป็นตัวอะไรก็ได้ที่มีอยู่ในบทละครที่แสดง เช่น คน สัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น ตัวหุ่นทำด้วยผ้าหรือกระดาษ เวลาแสดงใช้สวมที่มือ ใช้นิ้วชี้ทำหน้าที่ส่วนหัว ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลางหรือนิ้วก้อยแสดงการเคลื่อนไหวของหุ่น [4]
ด้านประเพณี
- การไหว้แบบไทย = เป็นมารยาทไทยที่เป็นสืบทอดกันมาช้านาน การไหว้เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความหมายเพื่อการทักทาย การขอบคุณ การขอโทษ หรือการกล่าวลา โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน
- การกราบ = การกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ เป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุด ต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูงสุด [5]
ด้านการใช้บำบัด
- การนวด = การนวด เป็นจัดระเบียบร่างกายรูปแบบหนึ่ง เพื่อการบำบัดและทำให้ร่างกายผ่อนคลาย โดยใช้ทักษะทางร่างกายและอุปกรณ์เสริมด้วยการ บีบ จับ คลึง รีดเส้น เหยียบ ยัน กดจุด ดัด หรือกระตุ้นด้วยการสั่น เพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อและต่อมต่างๆ ในบริเวณนั้นๆ ทำงานดีขึ้น เช่น การนวดแผนไทย
- กายภาพบำบัดมือ = เป็นวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน รักษา และจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติ ที่เกิดขึ้นจากสภาพและภาวะของโรค ที่เกิดขึ้นในทุกช่วงของชีวิต การบำบัดมือช่วยให้กันโรคนิ้วล็อก และช่วยให้ผ่อนคลาย
ด้านการบอกตำแหน่งทิศทาง
มือนั้นมีสองข้าง คือ มือซ้าย และมือขวา ซึ่งสามารถบอกตำแหน่งซ้าย-ขวาได้ มีความสัมพันธุ์ของการหาตำแหน่งและทิศทางได้ 2 วิธี คือ
- ความสัมพันธ์ระหว่างด้านหมุนและด้านตรง
- ความสัมพันธ์ของเส้นตรงสามเส้น
ด้านคณิตศาสตร์
- การหาค่าฟังก์ชันตรีโกณมิติโดยใช้มือ = คือ ฟังก์ชันของมุม ซึ่งมีความสำคัญในการศึกษารูปสามเหลี่ยมและปรากฏการณ์ในลักษณะเป็นคาบ ฟังก์ชันอาจนิยามด้วยอัตราส่วนของด้าน 2 ด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก หรืออัตราส่วนของพิกัดของจุดบนวงกลมหนึ่งหน่วย หรือนิยามในรูปทั่วไปเช่น อนุกรมอนันต์ หรือสมการเชิงอนุพันธ์ รูปสามเหลี่ยมที่นำมาใช้จะอยู่ในระนาบแบบยุคลิด ดังนั้น ผลรวมของมุมทุกมุมจึงเท่ากับ 180° เสมอ[6]
อ้างอิง
ดูเพิ่ม