ร่างกายมนุษย์
ร่างกายมนุษย์ เป็นโครงสร้างทั้งหมดของมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดที่รวมกันเป็นเนื้อเยื่อซึ่งรวมกันเป็นระบบอวัยวะ สิ่งเหล่านี้คงภาวะธำรงดุลและความอยู่รอดของร่างกายมนุษย์ ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยศีรษะ, คอ, ลำตัว (ซึ่งรวมถึงอกและท้อง), แขนและมือ, ขาและเท้า การศึกษาร่างกายมนุษย์เชื่อมโยงกับกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา มิญชวิทยา และคัพภวิทยา ร่างกายมีความแตกต่างทางกายวิภาคแบบต่าง ๆ สรีรวิทยามุ่งไปที่ระบบและอวัยวะของมนุษย์และการทำงานของอวัยวะ หลายระบบและกลไกมีปฏิกิริยาต่อกันเพื่อคงภาวะธำรงดุล โดยมีระดับที่ปลอดภัยของสารต่าง ๆ เช่น น้ำตาลและออกซิเจนในเลือด องค์ประกอบร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ เช่น ไฮโดรเจน ออกซิเจน คาร์บอน แคลเซียม และฟอสฟอรัส[1] ธาตุเหล่านี้อยู่ในเซลล์นับล้านล้านและส่วนประกอบที่ไม่ใช่เซลล์ในร่างกายมนุษย์ ประมาณร้อยละ 60 ของร่างกายชายโตเต็มวัยเป็นน้ำ คิดเป็นปริมาณประมาณ 42 ลิตร ในจำนวนนี้ 19 ลิตรเป็นน้ำภายนอกเซลล์รวมถึงน้ำเลือดปริมาณ 3.2 ลิตร และสารน้ำแทรกปริมาณ 8.4 ลิตร และส่วนที่เหลือเป็นน้ำภายในเซลล์จำนวน 23 ลิตร[2] ส่วนประกอบและความเป็นกรดของน้ำทั้งในและนอกเซลล์ถูกรักษาไว้อย่างดี อิเล็กโทรไลต์หลักของน้ำภายนอกเซลล์ในร่างกายได้แก่ โซเดียม และคลอไรด์ ส่วนสำหรับน้ำภายในเซลล์ได้แก่โพแทสเซียมและฟอสเฟตอื่น[3] เซลล์ร่างกายประกอบด้วยเซลล์นับล้านล้านซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต[4] ขณะโตเต็มวัย มนุษย์มีเซลล์ประมาณ 30[5]–37[6] ล้านล้านเซลล์ในร่างกาย ปริมาณจากจำนวนเซลล์ทั้งหมดในอวัยวะต่าง ๆ และเซลล์ประเภทต่าง ๆ นอกจากนี้ร่างกายยังเป็นที่อาศัยของเซลล์ที่ไม่ใช่มนุษย์จำนวนเท่า ๆ กัน[5] รวมถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ซึ่งอาศัยในทางเดินอาหารและบนผิวหนัง[7] ร่างกายไม่ได้ประกอบไปด้วยเซลล์เพียงอย่างเดียว เซลล์ตั้งอยู่ในสารเคลือบเซลล์ที่ประกอบด้วยโปรตีน เช่น คอลลาเจน ล้อมรอบด้วยน้ำภายนอกเซลล์ มนุษย์ที่น้ำหนัก 70 กิโลกรัมมีเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์มนุษย์และวัสดุที่ไม่ใช่เซลล์ เช่น กระดูกและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน น้ำหนักเกือบ 25 กิโลกรัม[5] เซลล์ในร่างกายทำงานได้ด้วยดีเอ็นเอซึ่งอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ ข้างในนิวเคลียส ส่วนของดีเอ็นเอถูกคัดลอกและส่งไปยังตัวของเซลล์ในรูปแบบของอาร์เอ็นเอ[8] จากนั้นอาร์เอ็นเอถูกใช้เพื่อสร้างโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐานสำหรับเซลล์ กิจกรรมของเซลล์ และผลิตภัณฑ์ของเซลล์ โปรตีนเป็นตัวกำหนดหน้าของเซลล์และการแสดงออกของยีน เซลล์สามารถควบคุมตัวเองได้จากปริมาณโปรตีนที่ผลิต[9] อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกเซลล์ที่จะมีดีเอ็นเอ เซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงสูญเสียนิวเคลียสเมื่อโตเต็มที่ เนื้อเยื่อ
ร่างกายประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อหลายแบบ โดยเนื้อเยื่อถูกให้ความหมายว่าคือกลุ่มเซลล์ที่มีหน้าที่เฉพาะ[10] การศึกษาเกี่ยวกับเนื้อเยื่อเรียกว่ามิญชวิทยาและมักศึกษาผ่านกล้องจุลทรรศน์ ร่างกายประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อสี่ชนิดหลัก คือ เนื้อเยื่อบุผิว เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อประสาท และเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เซลล์ที่ตั้งอยู่บนพื้นผิวที่พบกับโลกภายนอกหรือในทางเดินอาหาร (เนื้อเยื่อบุผิว) หรือเนื้อเยื่อบุโพรง (endothelium) มีหลายรูปแบบและรูปร่าง ตั้งแต่เซลล์แบนชั้นเดียว ไปจนถึงเซลล์ในปอดที่มีซีเลียคล้ายเส้นผม ไปจนถึงเซลล์แท่งทรงกระบอกที่บุกระเพาะอาหาร เซลล์เนื้อเยื่อบุโพรงเป็นเซลล์ที่บุช่องภายในรวมทั้งเส้นเลือดและต่อมต่าง ๆ เซลล์บุควบคุมว่าสิ่งไหนสามารถผ่านหรือไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ ปกป้องโครงสร้างภายใน และทำหน้าที่เป็นพื้นผิวรับความรู้สึก[11] อวัยวะอวัยวะเป็นกลุ่มเซลล์ที่มีโครงสร้างและหน้าที่เฉพาะ[12] ซึ่งตั้งอยู่ภายในร่างกาย ตัวอย่างเช่น หัวใจ ปอด และตับ อวัยวะหลายอย่างอยู่ในช่องว่างภายในร่างกายรวมถึงช่องว่างในลำตัวและโพรงเยื่อหุ้มปอด ระบบระบบไหลเวียนระบบไหลเวียนประกอบด้วยหัวใจ หลอดเลือด (หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอย) หัวใจทำหน้าที่ขับเคลื่อนการไหลเวียนของเลือด โดยเลือดเป็นดั่ง "ระบบขนส่ง" ในการขนย้ายออกซิเจน เชื้อเพลิง สารอาหาร ของเสีย เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน และตัวนำส่งสารเคมี (เช่น ฮอร์โมน) จากส่วนหนึ่งของร่างกายไปยังอีกส่วน เลือดประกอบด้วยน้ำที่ขนส่งเซลล์ในระบบไหลเวียน รวมถึงบางเซลล์ที่เดินทางจากเนื้อเยื่อไปกลับหลอดเลือด รวมทั้งไปยังและจากม้ามและไขกระดูก[13][14][15] ระบบย่อยอาหารระบบย่อยอาหารประกอบด้วยปากรวมถึงลิ้นและฟัน, หลอดอาหาร, กระเพาะอาหาร, ทางเดินอาหาร, ลำไส้เล็กและใหญ่ รวมถึงไส้ตรง รวมถึงตับ, ตับอ่อน, ถุงน้ำดี และต่อมน้ำลาย ทำหน้าที่เปลี่ยนอาหารเป็นโมเลกุลที่เล็ก มีคุณค่าทางอาหาร และไม่เป็นพิษ เพื่อให้สามารถกระจายและดูดซึมได้ในร่างกาย[16] ระบบต่อมไร้ท่อระบบต่อมไร้ท่อประกอบด้วยต่อมไร้ท่อหลัก รวมถึง ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ตับอ่อน ต่อมพาราไทรอยด์ และต่อมบ่งเพศ ทว่าอวัยวะและเนื้อเยื่อเกือบทั้งหมดผลิตฮอร์โมนต่อมไร้ท่อเฉพาะเช่นกัน ฮอร์โมนต่อมไร้ท่อทำหน้าที่เป็นตัวส่งสัญญาณจากระบบร่างกายหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งเพื่อบอกถึงสถานะต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงาน[17] ระบบภูมิคุ้มกันระบบภูมิคุ้มกันประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวและแดงทำงานปกติ ต่อมไทมัส ต่อมน้ำเหลือง และทางเดินน้ำเหลือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำเหลือง ระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายสามารถแยกแยะเซลล์และเนื้อเยื่อตนเองออกจากเซลล์และสิ่งภายนอก เพื่อต่อต้านหรือทำลายเซลล์หรือสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกโดยใช้โปรตีนเฉพาะและ เช่น แอนติบอดี ไซโตไคน์, toll-like receptors และอื่น ๆ ระบบผิวหนังระบบผิวหนังประกอบด้วยผิวหนังที่ปกคลุมร่างกาย รวมถึง เส้นผม และเล็บรวมถึงโครงสร้างอื่น ๆ ที่มีหน้าที่สำคัญ เช่น ต่อมเหงื่อและต่อมไขมัน ผิวหนังทำหน้าที่ห่อหุ่ม เป็นโครงสร้าง และป้องกันอวัยวะอื่น และยังเป็นตัวรับรู้ถึงโลกภายนอก[18][19] ระบบน้ำเหลืองระบบน้ำเหลืองสกัด ขนส่ง และเปลี่ยนแปลงน้ำเหลือง หรือน้ำที่อยู่ระหว่างเซลล์ ระบบน้ำเหลืองคล้ายกับระบบไหลเวียนทั้งในเชิงโครงสร้างและหน้าที่พื้นฐานซึ่งคือการขนส่งน้ำในร่างกาย[20] ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกระบบกล้ามเนื้อและกระดูกประกอบด้วยโครงกระดูกมนุษย์ (รวมถึงกระดูก เอ็นยึด เอ็นกล้ามเนื้อ และกระดูกอ่อน) และกล้ามเนื้อที่ยึดติด ระบบนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของร่างกายและเป็นตัวให้ความสามารถในการขยับ นอกจากจะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างแล้ว กระดูกชิ้นใหญ่ในร่างกายยังบรรจุไขกระดูก ซึ่งเป็นที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือด นอกจากนี้ กระดูกทุกชิ้นยังเป็นที่เก็บสะสมหลักของแคลเซียมและฟอสเฟต ระบบนี้สามารถแบ่งออกเป็นระบบกล้ามเนื้อและระบบกระดูก[21] ระบบประสาทระบบประสาทประกอบด้วยระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) และระบบประสาทนอกส่วนกลางประกอบด้วยเส้นประสาทและปมประสาทนอกสมองและไขสันหลัง สมองเป็นอวัยวะแห่งความคิด อารมณ์ ความทรงจำ และการประมวนทางประสาทสัมผัส และทำหน้าที่ในหลายมุมมองของการสื่อสารและควบคุมระบบและหน้าที่ต่าง ๆ ความรู้สึกพิเศษประกอบด้วย การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้รส และการดมกลิ่น ซึ่ง ตา,หู, ลิ้น, และจมูกรวบรวมข้อมูลจากสิ่งรอบตัว[22] ระบบสืบพันธุ์ระบบสืบพันธุ์ประกอบด้วยต่อมบ่งเพศและอวัยวะเพศทั้งภายในและภายนอก ระบบสืบพันธุ์ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ในแต่ละเพศ, ให้กลไกสำหรับการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์, และสำหรับเพศหญิงยังให้สิ่งแวดล้อมในการพัฒนาทารกในเก้าเดือนแรก[23] ระบบหายใจระบบหายใจประกอบด้วยจมูก คอหอย หลอดลม และปอด อวัยวะเหล่านี้นำออกซิเจนจากอากาศและขับคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำกลับไปยังอากาศ[24] ระบบทางเดินปัสสาวะระบบทางเดินปัสสาวะประกอบด้วยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ โดยทำหน้าที่ขับสิ่งเป็นพิษออกจากเลือดเพื่อผลิตปัสสาวะซึ่งขนส่งโมเลกุลของเสียและไอออนส่วนเกินและน้ำออกจากร่างกาย[25] อ้างอิง
หนังสือ
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิพจนานุกรม มีความหมายของคำว่า body วิกิตำรามีตำราในหัวข้อ Human Physiology
|