Share to:

 

ภาษาซาซัก

ภาษาซาซัก
ประเทศที่มีการพูดประเทศอินโดนีเซีย
ภูมิภาคเกาะลมบก
ชาติพันธุ์ชาวซาซัก
จำนวนผู้พูด2.7 ล้านคน  (2010)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรบาหลี (ดัดแปลง),[2]
อักษรละติน[3]
รหัสภาษา
ISO 639-2sas
ISO 639-3sas
แผนที่ภาษาศาสตร์ของเกาะลมบกจากข้อมูลใน ค.ศ. 1981 พื้นที่ที่มีผู้พูดภาษาซาซักอยู่ในสีเขียว และผู้พูดภาษาบาหลีอยู่ในสีแดง

ภาษาซาซัก เป็นภาษาที่พูดโดยชาวซาซักซึ่งอยู่ในเกาะลมบก ประเทศอินโดนีเซีย มีความใกล้เคียงกับภาษาบาหลีและภาษากัมเบอราในเกาะซุมบาวา แบ่งเป็น 5 สำเนียง[1][3]

  • ซาซักเหนือ (กูโต-กูเต)
  • ซาซักตะวันออกเฉียงเหนือ (เงโต-เงเต)
  • ซาซักกลาง (เมโน-เมเน)
  • ซาซักตะวันออก-กลาง ซาซักตะวันตก-กลาง (เงโน-เงเน)
  • ซาซักใต้-กลาง (มรียัก-มรีกู)

ผู้พูด

กลุ่มเด็กยิ้มหน้าบ้านบ้านหลังคามุงจาก
หมู่บ้านชาวซาซักบนเกาะลมบก

ผู้พูดภาษาซาซักคือชาวซาซักที่อาศัยอยู่บนเกาะลมบกที่อยู่ระหว่างเกาะบาหลี (ตะวันตก) กับเกาะซุมบาวา (ตะวันออก) ในจังหวัดนูซาเติงการาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีจำนวนผู้พูดประมาณ 2.7 ล้านคนใน ค.ศ. 2010 เกือบร้อยละ 85 ของประชากรบนเกาะลมบก[1] มีการใช้งานภาษาซาซักในระดับครอบครัวและหมู่บ้าน แต่ไม่ได้มีสถานะทางการ เนื่องด้วยภาษาอินโดนีเซีย ภาษาประจำชาติ เป็นภาษาสำหรับการศึกษา การปกครอง กาารรู้หนังสือ และการสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ[4] ชาวซาซักไม่ได้เป็นเพียงกลุ่มชาติพันธุ์เดียวที่อาศัยอยู่บนเกาะลมบกเท่านั้น มีชาวบาหลีประมาณ 300,000 คนอาศัยอยู่ในบริเวณฝั่งตะวันตกของเกาะ และใกล้กับมาตารัม เมืองหลักของจังหวัด[5] ในเขตเมืองที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากกว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงภาษาไปเป็นภาษาอินโดนีเซียบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบการสลับและปนรหัสมากกว่าละทิ้งภาษาซาซัก[4]

การจำแนกและภาษาที่เกี่ยวข้อง

ตารางความสัมพันธ์ระหว่างภาษาซาซักกับภาษาในบริเวณใกล้เคียง
ภาษาซาซักกับภาษากลุ่มมลายู-ซุมบาวาใกล้เคียง ตามรายงานจาก Adelaar (2005)

K. Alexander Adelaar นักภาษาศาสตร์สาขาออสโตรนีเซียน จัดให้ภาษาซาซักเป็นหนึ่งในกลุ่มภาษามลายู-ซุมบาวา (กลุ่มที่เขาระบุได้ตอนแรก) ของกลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียตะวันตกในเอกสารเมื่อ ค.ศ. 2005[6][7] ภาษาพี่น้องที่ใกล้ชิดกับภาษาซาซักที่สุดคือภาษาซุมบาวาและภาษาบาหลี ทั้งสามภาษารวมกันเป็นกลุ่มย่อยบาหลี-ซาซัก-ซุมบาวา[6] ทั้งกลุ่มย่อยบาหลี-ซาซัก-ซุมบาวา, มาเลย์อิก (รวมภาษามลายู, อินโดนีเซีย และมีนังกาเบา) และจาม (รวมภาษาอาเจะฮ์) ถูกรวมเข้าในสาขาของกลุ่มภาษามลายู-ซุมบาวา[7][6] ส่วนอีกสองสาขาคือซุนดาและมาดูรา[7] การจำแนกนี้จัดให้ภาษาชวาที่เคยถือว่าอยู่ในกลุ่มเดียวกัน อยู่ข้างนอกกลุ่มภาษามลายู-ซุมบาวา และตั้งอยู่ในอีกสาขาของกลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียตะวันตก[7]

อย่างไรก็ตาม บลัสต์ (2010) และ สมิธ (2017) ปฏิเสธข้อเสนอมลายู-ซุมบาวา โดยทั้งสองคนรวมกลุ่มภาษาบาหลี-ซาซัก-ซุมบาวาเข้าในกลุ่มย่อยสมมติ "อินโดนีเซียตะวันตก" ร่วมกับภาษาชวา มาดูรา ซุนดา ลัมปุง เกรตเตอร์บารีโต และเกรตเตอร์บอร์เนียวเหนือ[8][9]

ภาษากวิ ภาษาวรรณกรรมที่อิงจากภาษาชวาเก่า มีอิทธิพลต่อภาษาซาซักอย่างมาก[10] โดยมีการใช้ภาษานี้ในโรงละครหุ่นกระบอก กวี และเอกสารตัวเขียนซาซัก บางครั้งก็ใช้งานผสมกับภาษาซาซัก[10][2]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Austin 2012, p. 231.
  2. 2.0 2.1 Austin 2010, p. 36.
  3. 3.0 3.1 ภาษาซาซัก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  4. 4.0 4.1 Austin 2010, p. 33.
  5. Austin 2010, p. 32.
  6. 6.0 6.1 6.2 Shibatani 2008, p. 869.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Adelaar 2005, p. 357.
  8. Blust 2010, p. 81-82.
  9. Smith 2017, p. 443, 456.
  10. 10.0 10.1 Austin 2010, p. 35.

บรรณานุกรม

  • Adelaar, Alexander (2005). "Malayo-Sumbawan". Oceanic Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 44 (2): 356–388. doi:10.1353/ol.2005.0027. JSTOR 3623345. S2CID 246237112.
  • Archangeli, Diana; Tanashur, Panji; Yip, Jonathan (2020). "Sasak, Meno-Mené Dialect". Journal of the International Phonetic Association (ภาษาอังกฤษ). 50 (1): 93–108. doi:10.1017/S0025100318000063. S2CID 150248301.
  • Austin, Peter K. (2004). Clitics in Sasak, Eastern Indonesia. Linguistics Association of Great Britain Annual Conference (ภาษาอังกฤษ). Sheffield, United Kingdom.
  • Austin, Peter K. (2010). "Reading the Lontars: Endangered Literature Practices of Lombok, Eastern Indonesia". Language Documentation and Description. 8: 27–48.
  • Austin, Peter K. (2012). "Tense, Aspect, Mood and Evidentiality in Sasak, Eastern Indonesia". Language Documentation and Description (ภาษาอังกฤษ). 11: 231–251.
  • Austin, Peter K. (2013). "Too Many Nasal Verbs: Dialect Variation in the Voice System of Sasak". NUSA: Linguistic Studies of Languages in and Around Indonesia (ภาษาอังกฤษ). 54: 29–46. hdl:10108/71804.
  • Blust, Robert (2010). "The Greater North Borneo Hypothesis". Oceanic Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 49 (1): 44–118. doi:10.1353/ol.0.0060. JSTOR 40783586. S2CID 145459318.
  • Donohue, Mark (2007). "The Papuan Language of Tambora". Oceanic Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 46 (2): 520–537. doi:10.1353/ol.2008.0014. JSTOR 20172326. S2CID 26310439.
  • Goddard, Cliff (2005). The Languages of East and Southeast Asia: An Introduction (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-927311-9.
  • PHOIBLE (2014). "Sasak Sound Inventory (PH)". ใน Steven Moran; Daniel McCloy; Richard Wright (บ.ก.). PHOIBLE Online (ภาษาอังกฤษ). Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  • Seifart, Frank (2006). "Orthography Development". ใน Jost Gippert; Nikolaus P. Himmelmann; Ulrike Mosel (บ.ก.). Essentials of Language Documentation (ภาษาอังกฤษ). Berlin: Walter de Gruyter. pp. 275–300. ISBN 9783110197730.
  • Shibatani, Masayoshi (2008). "Relativization in Sasak and Sumbawa, Eastern Indonesia" (PDF). Language and Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 9 (4): 865–916.
  • Smith, Alexander D. (2017). "The Western Malayo-Polynesian Problem". Oceanic Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 56 (2): 435–490. doi:10.1353/ol.2017.0021. JSTOR 26408513. S2CID 149377092.
  • Wouk, Fay (1999). "Sasak Is Different: A Discourse Perspective on Voice". Oceanic Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 38 (1): 91–114. doi:10.2307/3623394. JSTOR 3623394.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya