Share to:

 

ภาษาบูกิซ

ภาษาบูกิซ
Basa Ugi
ᨅᨔ ᨕᨘᨁᨗ
ประเทศที่มีการพูดประเทศอินโดนีเซีย
ภูมิภาคจังหวัดซูลาเวซีใต้; และบางบริเวณในซูลาเวซี, บอร์เนียว, สุมาตรา, จังหวัดมาลูกู, ปาปัว
ชาติพันธุ์ชาวบูกิซ
จำนวนผู้พูด4 ล้านคน (รวมผู้พูดภาษาที่สอง 500,000 คน)  (2015 UNSD)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรละติน
อักษรลนตารา
รหัสภาษา
ISO 639-2bug
ISO 639-3bug
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาบูกิซและ Campalagian ทั่วซูลาเวซี

ภาษาบูกิซ (อังกฤษ: Buginese language, Bugis; บูกิซ: ᨅᨔ ᨕᨘᨁᨗ /basa.uɡi/) เป็นภาษาที่พูดโดยประชากรราว 5 ล้านคน ในภาคใต้ของเกาะซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซีย คำว่า บูกิซ มาจากภาษามลายู ส่วนชาวบูกิซเรียกภาษาของตนว่า บาซา อูกิ แปลว่ากษัตริย์องค์แรก ซึ่งหมายถึง กษัตริย์ในอาณาจักรบุกิสโบราณ แต่เรื่องราวไม่ชัดเจนเพราะไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หลักฐานลายลักษณ์อักษรครั้งแรกที่พบคือ อี ลา กาลิโก ซึ่งเป็นภาพวงกลม เล่าถึงกำเนิดชีวิต พบในซูลาเวซีใต้

ระบบการเขียน

อักษรที่ใช้เขียนภาษาบูกิซคืออักษรลนตารา เริ่มใช้เมื่อราว พ.ศ. 2200 ก่อนการเข้ามายึดครองของเนเธอร์แลนด์ บี เอฟ แมทธิวส์ เป็นมิชชันนารีคนแรกที่เรียนภาษาบูกิซและแปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษานี้ และได้เขียนพจนานุกรมและไวยากรณ์ไว้ด้วย เปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรละตินเมื่อเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์

ไวยากรณ์

ภาษาบูกิซเป็นภาษารูปคำติดต่อ จัดอยู่ในตระกูลออสโตรนีเซียน กลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตก มีความใกล้ชิดกับภาษาซุนดาและภาษาชวา เช่นคำว่า janrang (ม้า) คาดว่ามาจากภาษาชวา anyarang และจัดว่าใกล้เคียงภาษามลายูด้วย

การแพร่กระจาย

ผู้พูดภาษาบูกิซส่วนใหญ่อยู่ในซูลาเวซีใต้ แต่ก็มีผู้พูดภาษานี้กระจายอยู่ใน ชวา ซามารันดา สุมาตราตะวันออก ซาบะฮ์ มาเลเซีย และทางใต้ของฟิลิปปินส์ สาเหตุหนึ่งมาจากการอพยพประชากรหลังจากถูกดัตช์ยึดครอง

ตัวเลข

ตัวเลขในภาษาบูกิซ มีชื่อเรียกดังนี้:[2]

1 ᨔᨙᨉᨗ seddi
2 ᨉᨘᨓ dua
3 ᨈᨛᨒᨘ təllu
4 ᨕᨛᨄ əppa'
5 ᨒᨗᨆ lima
6 ᨕᨛᨊᨛ ənnəŋ
7 ᨄᨗᨈᨘ pitu
8 ᨕᨑᨘᨓ aruá
9 ᨕᨙᨔᨑ aserá
10 ᨔᨄᨘᨒᨚ səppulo
20 ᨉᨘᨓᨄᨘᨒᨚ duappulo
30 ᨈᨛᨒᨘᨄᨘᨒᨚ təlluppulo
40 ᨄᨈᨄᨘᨒᨚ patappulo
50 ᨒᨗᨆᨄᨘᨒᨚ limappulo
60 ᨕᨛᨊᨛᨄᨘᨒᨚᨊ ənnəppulona
70 ᨄᨗᨈᨘᨄᨘᨒᨚ pituppulo
80 ᨕᨑᨘᨓᨄᨘᨒᨚᨊ aruá pulona
90 ᨕᨙᨔᨑᨄᨘᨒᨚᨊ aserá pulona
100 ᨔᨗᨑᨈᨘ siratu'
1000 ᨔᨗᨔᨛᨅᨘ sisəbbu
10,000 ᨔᨗᨒᨔ silassa
100,000 ᨔᨗᨀᨚᨈᨗ sikətti

อ้างอิง

  1. ภาษาบูกิซ ที่ Ethnologue (22nd ed., 2019)
  2. Sirk, Ülo (1983). The Buginese language. Moscow: Akademia Nauk.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya