Share to:

 

ภาษาโครยอ-มาร์

โครยอ-มาร์
고려말
ออกเสียง[ko.ɾjo.maɾ]
ประเทศที่มีการพูดอุซเบกิสถาน, รัสเซีย, คาซัคสถาน, คีร์กีซสถาน
ชาติพันธุ์เกาหลี
จำนวนผู้พูดไม่ทราบ (220,000 อ้างถึง1989)[ต้องการอ้างอิง]
ไม่ทราบจำนวนผู้พูดในปัจจุบัน
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนฮันกึล
รหัสภาษา
ISO 639-3
ภาษาโครยอ-มาร์
ชื่อเกาหลีเหนือ
โชซ็อนกึล
고려말
ฮันจา
高麗말
ชื่อภาษารัสเซีย
ภาษารัสเซียКорё мар
อักษรโรมันKoryo mar

ภาษาโครยอ-มาร์ (เกาหลี: 고려말; รัสเซีย: Корё мар) หรือ ภาษาเกาหลีเอเชียกลาง (ภาษาเกาหลีมาตรฐาน: 중앙아시아 한국어) เป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาเกาหลีที่ใช้พูดโดยโครยอ-ซารัม กลุ่มชาติพันธุ์เกาหลีที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อดีตสหภาพโซเวียต โดยสืบมาจากสำเนียงฮัมกย็องและวิธภาษาหลายภาษาในภาษาเกาหลีตะวันออกเฉียงเหนือ[1] ภาษานี้เข้าใจได้ยากเมื่อใช้พูดคุยกับภาษาเกาหลีมาตรฐาน ซึ่งอาจเป็นเพราะภาษาโครยอ-มาร์รับคำยืมจากภาษารัสเซีย และชาวโครยอ-ซารัมก็นิยมใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาแม่ มากกว่าใช้ภาษาโครยอ-มาร์ของตัวเอง[2]

เกียร์มัน คิมรายงานว่า ภาษาโครยอ-มาร์ไม่ค่อยมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในสื่อ และไม่มีการสอนในโรงเรียน จึงจัดให้ภาษานี้มีสถานะใกล้สูญ[3]

อักษร

ภาษาโครยอ-มาร์ไม่นิยมในการเขียนคำประพันธ์ด้วยอักษรเกาหลีได้รับอิทธิพลจากอักษรซิริลลิก แม้โซเวียตจะล่มสลายไปแล้วก็ตาม ขณะที่เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ต่างมีการใช้อักษรเกาหลีในการเขียนอย่างมีระบบแบบแผน[โปรดขยายความ] อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนักเขียนชาวโครยอ-ซารัมที่มีชื่อเสียง อย่างลัฟเรนติ ซ็อน (Лаврентий Сон) ได้เขียนเรื่องสั้นภาษาโครยอ-มาร์ โดยใช้อักษรฮันกึลในการเขียน[4]

แม้จะมีรูปแบบการเขียนอักษรโรมันเข้ามาในภาษาโครยอ-มาร์ ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลและนักภาษาศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมจากชาวโครยอ-ซารัม[5]

สรวิทยา

ลักษณะของภาษาโครยอ-มาร์ แตกต่างจากภาษาเกาหลีมาตรฐานรวมถึงความแตกต่างทางสัทวิทยาต่อไปนี้:[6]

  • ㄹ ออกเสียง [ɾ] หรือ [r] ในทุกตำแหน่งยกเว้นเมื่อออกเสียงยาวซึ่งจะออกเสียงเหมือนกับภาษาเกาหลีมาตรฐาน
  • การสูญเสียเสียง ㄹ พบได้บ่อยเมื่ออยู่ก่อนหน้าพยัญชนะที่ใช้ลิ้นส่วนหน้าในการออกเสียง
  • ระบบการเน้นระดับเสียง (Pitch accent) ที่แยกคำที่มีหน่วยเสียงต่างกันน้อยที่สุด มีสองเสียงคือสูงและต่ำ
  • การเก็บรักษาเสียง MK โดยย่อเป็น n เมื่อนำหน้า [i] และ [j]
  • ㄱ ออกเสียง [t͡ɕ] เมื่อนำหน้า ㅣ
  • ㄴ และ ㅇ ที่ส่วนท้ายคำออกเสียงง่ายลงเป็น 이
  • ㅏ, ㅔ ออกเสียงเป็น ㅑ และ ㅗ ออกเสียงเป็น ㅔ
  • ㅗ, ㅡ ออกเสียงง่ายลงเป็น ㅜ และ ㅣ สามารถใช้แทนกันได้กับ ㅡ
  • [w] ออกเสียงเป็น [v] เนื่องจากอิทธิพลของภาษารัสเซีย
  • ㅈ ออกเสียงเป็น ㄷ
  • ㄱ ออกเสียงเป็น ㅂ ในช่วงกลางของคำ

การศึกษา

ภาษาโครยอ-มาร์เป็นภาษาที่ไม่อยู่ระบบการเรียนการสอนเพื่อนำไปใช้ในหลายโรงเรียน ขณะที่ภาษาเกาหลีมาตรฐานทั้งของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ต่างใช้สอนตามมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วไปในอดีตสหภาพโซเวียตกับครูผู้สอนที่มาจากประเทศนั้น ๆ และมีอาจารย์จากเกาหลีใต้คนหนึ่งที่พยายามสอนภาษาโครยอ-มาร์ให้แก่นักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยอัลมาตีในประเทศคาซัคสถาน แต่ก็ล้มเหลวอย่างมาก[7]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Kwak, Chung-gu (2007). "Data and Ressarches for Korean dialect in Central Asia" (PDF). Journal of Humanities (ภาษาเกาหลี). 58: 231–272. hdl:10371/29722. ISSN 1598-3021 – โดยทาง Institute of Humanities, Seoul National University.
  2. Khan, Valeriy Sergeevich. "Koreans and the Poly-ethnic Environment in Central Asia: The Experience of Eurasianism". Seoul: Academy of Korean Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2007. สืบค้นเมื่อ 2006-11-20.
  3. Kim, German (2009). "Education and Diasporic Language: The Case of Koreans in Kazakhstan" (PDF). Acta Slavica Iaponica. The Slavic-Eurasian Research Center. 27: 103–123. hdl:2115/39584. ISSN 0288-3503.
  4. Kim, Phil. "Forced Deportation and Literary Imagination". Seoul: Academy of Korean Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-07-29. สืบค้นเมื่อ 2006-11-20.
  5. Kim, German. "The History, Culture, and Language of Koryo Saram" (PDF). Seoul: Kyujanggak Institute for Korean Studies. hdl:10371/63513. สืบค้นเมื่อ 2012-08-08.
  6. Tranter, Nicolas (25 June 2012). Tranter, Nicolas (บ.ก.). The Languages of Japan and Korea. Routledge Language Family Series. Routledge. doi:10.4324/9780203124741. ISBN 978-1-136-44658-0.{{cite book}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)
  7. Kim, German. "Korean Diaspora in Kazakhstan: Question of Topical Problems for Minorities in Post-Soviet Space" (PDF). Almaty: Institute of Oriental Studies, National Academy of Sciences.

อ่านเพิ่ม

Kembali kehalaman sebelumnya