มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์
มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (เกิด 25 กันยายน พ.ศ. 2524) ชื่อเล่น เต้ เป็นนักการเมืองชาวไทย ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (เฉลิมชัย ศรีอ่อน) อดีตหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ[1] อดีตเลขาธิการคณะกรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นแห่งชาติ อดีตอาจารย์โรงเรียนจิตรลดา ปัจจุบันสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ประวัติมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เดิมชื่อ ธนะ สุขสินธารานนท์ หรือ ธนะ แซ่มุ่ย ที่อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก บุตรชายของนายธนกร ศรีบุญมาก (แซ่ตั้ง) และ นางรัตนวรรณ แซ่สั่ว มีศักดิ์เป็นหลานของ ศ.ดร.เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม[2] การศึกษามงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จบการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาเตรียมวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยชินวัตร[3] บทบาททางการเมืองมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เข้าสู่สนามการเมืองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ด้วยการลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตบางซื่อ (เขตเลือกตั้งที่ 11) ในสังกัดพรรคประชาราช[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งโดยได้เพียง 1,357 คะแนน[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 มงคลกิตติ์เป็นหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ และได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อในนามของพรรคไทยศรีวิไลย์ และได้รับดำรงการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 60,354 คะแนน ในฐานะฝ่ายรัฐบาล และโฆษกกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฏร[6][7] ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2566 มงคลกิตต์ในฐานะหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ได้นำพาพรรคลงเลือกตั้งอีกครั้ง ทว่าคราวนี้พรรคไทยศรีวิไลย์ไม่ได้รับเลือกตั้งเลยแม้ที่นั่งเดียว ปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 มงคลกิตต์ได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์[8] และในวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 มงคลกิตต์ได้รับแต่งตั้งจากเฉลิมชัย ศรีอ่อน ให้เป็นที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[9] กระแสวิพากษ์วิจารณ์มงคลกิตติ์พานักเรียนและผู้ปกครองกว่า 30 คนเข้ามารายงานตัว และให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับความไม่มั่นใจในศักยภาพของครูโรงเรียนบดินทรเดชา จนทำให้มีครูโต้ตอบ และขอให้เลิกยุ่งเกี่ยวกับโรงเรียนอีก พร้อมระบุว่าเขา ไม่มีความเกี่ยวข้องและยังทำให้โรงเรียนเสียชื่อเสียงมาอย่างต่อเนื่อง การปะทะคารมเกิดขึ้นหลายครั้ง ผสมด้วยเสียงโห่ไล่ของครูและนักเรียนที่ทนไม่ได้กับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม[10][11] มงคลกิตติ์ถูกพูดถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยเสนอการตัดงบประมาณกองทัพด้วยถ้อยคำรุนแรงว่า "จะตบปาก" และไล่ให้ไปเป็นทหารที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้[12] ซึ่งชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้ให้ความเห็นว่า นโยบายตัดงบประมาณของกองทัพ เป็นแนวทางของทุกกระทรวง และคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธฺ์ ได้ให้ความเห็นว่า "ไม่ให้ราคากับคนเหล่านี้ แค่ชื่อยังไม่รู้จัก"[13] วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 มงคลกิตติ์ขอขมาต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรณีเคยกล่าวล่วงเกิน[14] ก่อนหน้านี้ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้เตรียมล่ารายชื่อถอดถอนมงคลกิตติ์ออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[15] ต่อมา มงคลกิตติ์ ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวและแสดงความเห็นต่อกรณีของ พรรณิการ์ วานิช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคอนาคตใหม่ และ ปารีณา ไกรคุปต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในเวลาต่อมา โดยมงคลกิตติ์ได้กล่าวว่า "ในฐานะเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ไม่ใช่ผู้แทนราษฎร ไม่เช่นนั้นอาจจะโดนสอบเรื่องจริยธรรม สมัยเป็นเด็กก็ชอบดูผู้หญิงสวย ๆ ตบกันก็จะยืนดู แต่จะไม่ห้าม เพราะรู้สึกสนุกดี"ถ้าให้เปรียบเทียบกัน ผมว่าคุณปารีณาสวยกว่าเยอะ ขนาดอายุ 40 กว่า มีลูกหนึ่ง ยังดูแลตัวเองดีขนาดนี้ ในขณะที่คุณพรรณิการ์ อายุน้อยกว่า ยังดูดีสู้ไม่ได้เลย อาจจะสดกว่า แต่คุณปารีณาสวยกว่าแน่นอน เอาจริง ๆ ผมอยากจะเห็นเขาตบกันในสภาฯ แล้วจะไม่ห้าม เพราะถ้าเราไปห้าม ทั้งสองฝ่ายอารมณ์ยังไม่สุด ให้เขาตบกันให้เรียบร้อย ถ้าเหนื่อยเขาก็หยุดเอง สุดท้ายเขาอาจจะมารักกันก็ได้"[16] วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 มงคลกิตติ์ได้ลาประชุมสภาผู้แทนราษฏรและเชิญชวนนักเรียนช่าง ไปดูภาพยนตร์เรื่อง 4 KINGS อาชีวะ ยุค 90 ที่โรงภาพยนตร์เอสพลานาด สาขาแคราย ฟรีจำนวน 100 ที่นั่ง โดยมีเงื่อนไขว่าต้องใส่เสื้อช๊อป กางเกงยีนส์ และรองเท้าคอนเวิร์ส ในการเข้าชมภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว[17] โดยมงคลกิตตฺ์ได้ชี้แจงเหตุผลในการลาการประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่าเป็น "ภารกิจกับประชาชน พานักศึกษาไปดูหนัง 4 kings เวลา 14.00-19.00 น." พร้อมทั้งได้ระบุข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวว่า "ผมทำตามระเบียบสภาแล้วนะครับ พี่ศรีสุวรรณ กับสิระ หลักสี่ อย่าไปร้องผมผิดจริยธรรมอีกนะครับ ว่างมาดูด้วยกัน แต่อย่าลืมใส่ช๊อปมานะ กติกา ปล:ผมมันเด็กช่าง มีลิมิตความอดทน”[18] เมื่อช่วงกุมภาพันธ์ 2565 ดาราสาว แตงโม - ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ พลัดตกน้ำที่เจ้าพระยาบริเวณสะพานพระราม 7 มงคลกิตต์ได้เข้ามามีส่วนโดยยื่นหลักฐานทางคดีแก่เจ้าหน้าที่ แต่สังคมก็มีข้อกังขาว่าเป็นหลักฐานที่ไม่มีน้ำหนักและเพียงด้านเดียวเท่านั้น อาทิ การพบคลิปวิดิโอที่บ่งชี้ว่าดาราสาวกำลังตะเกียกตะกายในน่านน้ำ แต่มีพยานบุคคลคือนายวินิต ตรีปัญญาที่เป็นคนหาปลายืนกรานว่าคือขอนไม้[19] ภายหลังมงคลกิตต์ได้ขอโทษนายวินิตและทั้งคู่ถอนคดีหมิ่นประมาทแล้ว รวมไปถึงกรณีผ้าคลุมเอวสีขาวของดาราสาวในวันเกิดเหตุ โดยอ้างว่าอยู่กับบังแจ็ค โดยมีบุคคลนำมามอบให้ที่สหรัฐฯ[20] ภายหลัง กรรชัย กำเนิดพลอย พิธีกรชื่อดังเผยในรายการเที่ยงวันทันเหตุการณ์ว่าได้รับสายจากเลขารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในรายการระบุว่าตัวเชือกคลุมดังกล่าวยังอยู่กับร่างดาราสาว [21] อ้างอิง
|