ปารีณา ไกรคุปต์
ปารีณา ไกรคุปต์ (เกิด 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519) ชื่อเล่น เอ๋ เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี 4 สมัย [2] ในปี 2548–2550, 2554 และ 2562 เคยอยู่หลายพรรคการเมือง เช่น พรรคไทยรักไทย, พรรคชาติไทย, พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคพลังประชารัฐ เคยประกวดนางสาวไทยเมื่อปี 2544 จนผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้ายคว้ารางวัลนางงามมิตรภาพ เกิดเมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519[3] เป็นชาวอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี[3] บิดาของปารีณา คือ ทวี ไกรคุปต์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี[3] มารดาของปารีณา คือ สิริบังอร ไกรคุปต์ ปารีณาสมรสกับอุปกิต ปาจรียางกูร[3] มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ กล้าเกล้า ไกรคุปต์, อดิศรา ปาจรียางกูร และกิตตรา ปาจรียางกูร[3] งานทางการเมืองปารีณาเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 3 จังหวัดราชบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 สืบต่อจากบิดา ครั้งแรกปารีณาลงสมัครในนามพรรคไทยรักไทย ต่อมาย้ายไปพรรคชาติไทย, พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคพลังประชารัฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป 2 ครั้ง ที่ปารีณาได้ลงรับสมัครเลือกตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะในภายหลัง
กระแสวิพากษ์วิจารณ์การใช้คำพูดปารีณาใช้คำว่า "อีช่อ" พาดพิงพรรณิการ์ วานิช (ชื่อเล่นว่า ช่อ) แต่ถูกสื่อสังคมวิจารณ์ว่าเป็นการใช้คำหยาบคาย ปารีณาให้เหตุผลว่า "อีช่อ" เป็นคำท้องถิ่นและเป็นคำที่ใช้ในบ้านของตน[4] นอกจากนี้ ปารีณาทำนายว่าพรรคการเมืองพรรคหนึ่งจะถูกยุบ ทำให้สื่อสังคมคาดเดาไปต่าง ๆ นานา[5] ในทวิตเตอร์มีการติดแฮชแท็กถึงปารีณามากมาย เช่น "#ปารีณาค้าอาวุธ" รวมถึงวิจารณ์การใช้คำผิด ๆ ของเธอ เช่น ปารีณาเขียนว่า "ลุงตู๋" ทำให้ผู้ใช้ทวิตเตอร์ติดแฮชแท็กว่า "#พลังประชารัฐโป๊ะแตก"[6] การแสดงความคิดเห็นเชิงพาดพิง"เมื่อมีคนพยายามเปลี่ยน แต่เปลี่ยนไม่ได้ เพราะสังคมมีความฉลาด คนหนึ่งจัดฉากยิงตัวตาย ไม่ตาย ไม่เนียน เพราะเป็นคนมีความชำนาญเรื่องปืน และกระสุนปืน ต้องการทำลายความน่าเชื่อถือ ต้องการทำลายสถาบันศาล โกหก ใส่ร้าย จัดฉาก แต่ไม่เนียน สังคมฉลาดพอ มันไม่ง่ายหรอกที่จะทำลายล้างสถาบันที่มีความเข้มแข็ง"
ตอนหนึ่งที่ปารีณากล่าวถึงคณากร เพียรชนะ[7] เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ปารีณาได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัววิจารณ์กรณีสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ถูกทำร้าย ว่าเป็นการสร้างกระแสเพื่อใส่ร้ายรัฐบาล และเรียกคะแนนสงสาร[8] จนตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส สมาชิกพรรคเพื่อไทย วิจารณ์ปารีณาว่า "ปารีณารู้ข้อมูลมากกว่าตำรวจในพื้นที่ซึ่งทำคดีนี้เสียอีก"[9] พร้อมฝากคำถามถึงปารีณาเกี่ยวกับพิรุธในเหตุการณ์[9] วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17:25 น. ปารีณาได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีข้อความช่วงหนึ่งได้มีการกล่าวในเชิงพาดพิง หลังจากข้อความดังกล่าวถูกเผยแพร่ ได้มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดยเชื่อว่าเป็นการกล่าวถึงคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลา ที่ใช้อาวุธปืนยิงตัวเองหลังอ่านคำพิพากษา ภายในห้องพิจารณาคดีชั้น 3 ของศาลาจังหวัดยะลาเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ในปีเดียวกัน[10] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 มีข่าวว่าปารีณาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวโต้เถียงกับปนัดดา วงศ์ผู้ดี ทำให้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจจาก CPTPP[11] คดีความครอบครองอาวุธสงครามคดีเกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2557 ซี่งเป็นเวลาที่มีการบังคับใช้กฎอัยการอยู่ โดยนายสัชญา สถิรพงษะสุทธิและนางปารีณา ไกรคุปต์ฐานครอบครองอาวุธสงครามที่ไม่ได้อนุญาตจากปลัดกระทรวงกลาโหม อันได้แก่ กล้องส่องเวลากลางคืน 1 ชุด เสื้อเกราะกันกระสุน 1 ตัว หมวกเกราะกระสุน 1 ใบ ปืนกลเล็ก ซึ่งไม่ใช่ชนิดและขนาดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ โดยมีไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ พ.ศ.2490 และ พ.ร.บ.อาวุธปืน วัตถุระเบิด และสิ่งเทียมอาวุธปืนฯ พ.ศ.2522 และ [12]พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 มาตรา 15,42 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 , 140 , 371 [13] นอกจากนี้ได้พกพาปืนพกออโตเมติกขนาด .38 SUPER ซึ่งเป็นอาวุธปืนได้รับอนุญาตให้มีได้โดยชอบด้วยกฎหมาย กับกระสุนปืนออโตเมติกจำนวน 31 นัด และอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์กับกระสุนปืนลูกกรดจำนวน 8 นัด ติดตัวไปในซอยสมคิด ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน ซึ่งเป็นทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควรและไม่ได้รับอนุญาตให้พกพาอาวุธ โดยเหตุเกิดในท้องที่ซี่งขณะนั้นประกาศใช้กฎอัยการศึก[14] โดยโอนคดีจากศาลทหารยื่นฟ้องต่อศาลอาญาเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562 ศาลประทับรับฟ้องเป็นคดีหมายเลข ดำ อ.3041/2562 และกำหนดนัดจำเลยให้ปากคำในวันที่ 27 มกราคม 2563 [15] และเลื่อนคดีไปวันที่ 9 มีนาคม 2563 เนื่องจากจำเลยอีกคนไม่มาเพราะยังไม่ได้รับหมาย[16] และเลื่อนคดีไปอีกครั้งในวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 เนื่องจากทนายความจำเลยที่ 1 ติดภารกิจฌาปณกิจศพมารดา[17] โดยคดีนี้ศาลอาญามีคำสั่งให้ปล่อยชั่วคราว โดยกำหนดราคาประกัน 700,000 บาท [18][19] ฟาร์มไก่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งรัดตรวจสอบการถือครองที่ดิน ส.ป.ก. กรณีฟาร์มไก่เขาสนฟาร์ม ของปารีณา พบว่าอยู่เขต ส.ป.ก. กว่าพันไร่ ซึ่งที่ดินดังกล่าวมีชื่อของทวี ไกรคุปต์ บิดาของปารีณาเป็นผู้ถือครอง[20] วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ธรรมนัส พร้อมกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบฟาร์มไก่ของปารีณา หลังจากที่ ส.ป.ก. ทำหนังสือถึงปารีณาให้คืนที่ดินจำนวน 682 ไร่ บริเวณฟาร์มไก่ ให้กับ ส.ป.ก. ภายใน 7 วัน อย่างไรก็ตาม ปารีณาได้ทำหนังสือส่งมอบคืนที่ดินทั้งหมดให้ทางเลขา ส.ป.ก. เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ที่ผ่านมา ธรรมนัสจึงเข้ามารับมอบคืนพื้นที่ด้วยตนเอง[21] วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดราชบุรี ได้นำป้ายประกาศยึดพื้นที่ไปติดหน้าฟาร์มไก่ของปารีณา แต่ยังมีคนอยู่ข้างในพื้นที่ภายในฟาร์มไก่[22] วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563 เกิดเหตุเพลิงไหม้ในฟาร์มไก่โดยไม่ทราบสาเหตุ เหตุการณ์ครั้งนี้มีโรงไก่ถูกไฟไหม้เสียหาย 1 โรงเรือน แม้จะไม่มีไก่ในโรงดังกล่าวแล้ว แต่อุปกรณ์เลี้ยงไก่ที่อยู่ภายในได้เสียหายเกือบทั้งหมด ปารีณายืนยันว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรเนื่องจากไม่มีการใช้ไฟฟ้าในฟาร์มไก่มานานแล้ว อีกทั้งผู้เห็นเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้ยืนยันว่าไม่ได้เกิดจากไฟป่า[23][24] อย่างไรก็ตาม หลังจากปารีณาได้โพสต์ภาพความเสียหายของฟาร์มไก่ที่ถูกเพลิงไหม้ ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ปรากฏว่ามีชาวสังคมออนไลน์ที่ใช้เฟซบุ๊กเข้ามากดปุ่มหัวเราะ(Haha) ในโพสต์ดังกล่าว ประมาณ 17,000 ครั้ง ขณะที่คนกดถูกใจ(Likes) อยู่ที่ประมาณ 3,500 ครั้ง ส่วนเสียใจ(Sad) อยู่ที่ประมาณ 500 ครั้ง[25] ปกปิดบัญชีทรัพย์สินวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)[26] พิจารณากรณีปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ปกปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จต่อ ป.ป.ช. จากการไต่สวนพบว่า ปารีณาแจ้งรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินผิดจากข้อเท็จจริง 2 รายการ ได้แก่ 1) กรณียื่นรายการทรัพย์สินอื่นเป็นพระเครื่องผิดรุ่นโดยปารีณาแจ้งต่อ ป.ป.ช.ว่า ครอบครองพระสมเด็จบางขุนพรหม มูลค่า 2.5 ล้านบาท แต่จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าพระเครื่องดังกล่าวประเมินมูลค่าได้ประมาณ 2-3 แสนบาท 2) กรณีรายการเงินให้กู้ยืมที่ ปารีณาแจ้งแก่ป.ป.ช.ว่า ทำสัญญาเงินกู้ 7-8 ล้านบาท แต่เมื่อตรวจสอบพบว่า สัญญาเงินกู้ดังกล่าวเป็นเท็จ เพราะไม่ได้มีการกู้เงินดังกล่าวตามจริง โดยถือว่าเป็นการปกปิดข้อมูลและแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ ถือว่าชัดคำสั่งเจ้าพนักงานเป็นความผิดอาญา[27]โดยจะส่งเรื่องให้ศาลฎีกาเพื่อพิจารณาถึงการตัดสิทธิทางการเมือง รวมถึงตัดสิทธิในการเลือกตั้ง[28] การพ้นจากหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิดของปารีณา กรณีครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. โดยมีมติว่า การกระทำของปารีณาเป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรง[29] ต่อมาเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565 ศาลฎีกาได้มีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของปารีณาเป็นเวลา 10 ปี รวมถึงไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิต[30] ส่งผลให้ปารีณาพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปโดยปริยาย และคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องจัดการเลือกตั้งในเขต 3 ของจังหวัดราชบุรีภายใน 45 วัน แทนตำแหน่งที่ว่าง[31] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|