ยุคหินกลาง (แอฟริกา)
ในสาขาบรรพมานุษยวิทยาและชีววิทยาวิวัฒนาการเป็นต้น ยุคหินกลาง (อังกฤษ: Middle Stone Age ตัวย่อ MSA) เป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ของแอฟริการะหว่างยุคหินต้น (Early Stone Age) และยุคหินหลัง ๆ (Later Stone Age) โดยทั่วไปพิจารณาว่าเริ่มประมาณ 280,000 ปีก่อนและยุติประมาณ 50,000-25,000 ปีก่อน[1] จุดเริ่มต้นของเครื่องมือหินแบบ MSA อาจเริ่มตั้งแต่ 550,000-500,000 ปีก่อน และดังนั้น นักวิจัยบางคนพิจารณาว่านั่นเป็นจุดเริ่มต้นของ MSA[2] MSA บ่อยครั้งเข้าใจผิดว่าเท่ากับยุคหินเก่ากลาง (Middle Paleolithic) ของยุโรป เพราะมีระยะเวลาเกือบเหมือนกัน แต่ยุคหินเก่ากลางของยุโรปสัมพันธ์กับสปีชีส์มนุษย์ที่ต่างกัน ซึ่งก็คือ Homo neanderthalensis เปรียบเทียบกับแอฟริกาที่ไม่มีมนุษย์สปีชีส์นี้ในช่วง MSA นอกจากนั้นแล้ว งานโบราณคดีในแอฟริกายังได้ให้หลักฐานเป็นจำนวนมากที่แสดงว่า พฤติกรรมและลักษณะทางประชานของมนุษย์ปัจจุบันได้เริ่มพัฒนาขึ้นในแอฟริกาช่วง MSA ก่อนกว่าที่พบในยุโรปช่วงยุคหินเก่ากลางอย่างมาก[3] อนึ่ง ราชบัณฑิตยสถานแปลคำว่า Mesolithic period (12,000-7,000 ปีก่อนในยุโรป และ 22,000-11,500 ปีก่อนในลิแวนต์) ว่า "ยุคหินกลาง"[4] ซึ่งอาจซ้ำกับคำแปลของ Middle Stone Age (280,000-25,000 ปีก่อนในแอฟริกา) ได้เหมือนกัน แต่ให้สังเกตว่าคำแต่ละคำหมายเอาสิ่งที่ต่างกันแทบสิ้นเชิง MSA สัมพันธ์กับทั้งมนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern humans) สปีชีส์ Homo sapiens และกับมนุษย์โบราณ (archaic Homo sapiens) ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า Homo helmei ด้วย[1] หลักฐานที่เป็นรูปธรรมยุคต้น ๆ ของ MSA มาจากโบราณสถานต่าง ๆ ใน Gademotta Formation ในเอธิโอเปีย, หมวดหินแคปธิวริน (Kapthurin Formation) ในประเทศเคนยา และ Kathu Pan ในแอฟริกาใต้[2] เขตต่าง ๆ ที่พบก่อนจะกล่าวถึง MSA ในแอฟริกา ก็จำต้องพิจารณาถึงขนาดทวีปอันมหึมาเสียก่อน มีโบราณสถานและหลักฐานต่าง ๆ ที่มาจากเขตต่าง ๆ ข้ามทวีป และเพื่อความเรียบง่าย มักจะแบ่งออกเป็น 5 เขต คือ[5][6]
ในแอฟริกาเหนือและตะวันตก ความชุ่มชื้นที่เกิดสลับกับความแห้งแล้งของทะเลทรายสะฮารา ทำให้ได้โบราณสถานต่าง ๆ ที่ให้หลักฐานดีมาก ตามด้วยดินที่พืชไม่สามารถขึ้นได้ (จึงมีหลักฐานน้อย) แล้วตามด้วยหลักฐานของประชากรมนุษย์อีกเมื่อความแห้งแล้งเบาลง การสงวนหลักฐานในเขตสองแห่งนี้จึงสลับกันระหว่างเยี่ยมกับน่าเศร้า แต่หลักฐานที่พบก็ได้แสดงถึงการปรับตัวของมนุษย์ต้น ๆ ให้เข้ากับภูมิอากาศที่ไม่เสถียรได้ มีนักวิจัยที่มองว่าแอฟริกาเหนือต่างจากแอฟริกาที่เหลือ เหมือนกับจะมีพัฒนาการทางวัฒนธรรมต่างหาก ซึ่งเป็นการสร้างความแตกต่างที่ไร้เหตุผลและล้าสมัย[6] ส่วนแอฟริกาตะวันออกมีหลักฐานที่หาอายุได้น่าเชื่อถือมากที่สุด โดยใช้การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีกับตะกอนที่เป็นเถ้าภูเขาไฟ และมีโบราณสถานยุค MSA อันเก่าแก่ที่สุดส่วนหนึ่ง แต่ซากสัตว์สงวนได้ไม่ค่อยดี และมาตรฐานในการขุดค้นและการจัดหมวดหมู่เครื่องมือหินก็ไม่มีจนกระทั่งเร็ว ๆ นี้ โดยไม่เหมือนแอฟริกาเหนือ การเปลี่ยนเทคโนโลยีเครื่องมือหินจากสมัยหนึ่งไปสู่อีกสมัยหนึ่งไม่ชัดเจนเท่า น่าจะเพราะภูมิอากาศดีกว่าซึ่งทำให้มนุษย์สามารถอยู่ในที่เดียวกันอย่างต่อเนื่อง[5][6][7] แอฟริกากลางจะออกคล้ายแอฟริกาตะวันออก แต่ต้องเพิ่มงานโบราณคดีในเขตนี้ ส่วนแอฟริกาใต้มีโบราณสถานที่เป็นถ้ำจำนวนมาก และโดยมากจะแสดงจุดเริ่มและจุดยุติของเทคโนโลยีเครื่องมือหินแบบเป็นพัก ๆ อย่างชัดเจน งานวิจัยในเขตนี้ทั้งต่อเนื่องและทำเป็นมาตรฐาน ทำให้เทียบสิ่งที่พบจากที่ต่าง ๆ ในเขตได้อย่างน่าเชื่อถือ หลักฐานโบราณคดีเกี่ยวกับกำเนิดพฤติกรรมปัจจุบันของมนุษย์มักจะมาจากเขตนี้ คือจากโบราณสถานต่าง ๆ รวมทั้งถ้ำบลอมโบส์ (Blombos Cave), Howieson's Poort Shelter, โบราณสถานสติลเบย์ (Stillbay), และแหลมพินนะเคิล (Pinnacle Point)[5][6] พัฒนาการยุคต้น ๆกำเนิดวัฒนธรรม MSA โดยมากจะกำหนดโดยการเปลี่ยนใช้เทคโนโลยีหินแบบอะชูเลียน (Acheulian) ไปเป็นแบบ MSA ซึ่งพิจารณาว่าเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่เหตุการณ์หนึ่ง ๆ ที่เทคโนโลยีมนุษย์ก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว แม้ว่าการเปลี่ยนเช่นนี้จะมีอายุต่าง ๆ กัน โบราณสถาน MSA เก่าแก่ที่สุดอันหาอายุน่าเชื่อถือได้ที่สุดก็คือ Gademotta Formation ในเอธิโอเปีย ซึ่งเก่าแก่เกิน 276,000 ปีก่อน[8] หุบเขาอะวอชกลาง (Middle Awash) ในเอธิโอเปีย และหุบเขา Central Rift ในเคนยารวมกันเป็นศูนย์นวัตกรรมทางพฤติกรรมที่สำคัญ[9] อาจเป็นไปได้ว่า เขตเหล่านี้มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถรับรองประชากรมนุษย์จำนวนพอสมควรที่หากินและผลิตเครื่องมือในรูปแบบที่คล้าย ๆ กับมนุษย์นักล่า-เก็บของป่าที่พบในสาขาชาติพันธุ์วรรณนา หลักฐานโบราณคดีจากแอฟริกาตะวันออกเริ่มจาก Rift Valley ในเอธิโอเปียไปจนถึงแทนซาเนียเหนือ เป็นหลักฐานจำนวนมากที่สุดของการเปลี่ยนการใช้เทคโนโลยีอะชูเลียนรุ่นปลายไปเป็นเทคโนโลยีแบบ MSA การเปลี่ยนแปลงเห็นได้จากลำดับชั้นหินที่มีเครื่องมือหินแบบอะชูเลียน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขวานหินสองคม (bifacial handaxe) ที่พบใต้หรือในชั้นหินเดียวกับที่มีเทคโนโลยี MSA รวมทั้งเครื่องมือแบบ Levallois, ชิ้นหินที่ตีออก (flake), เครื่องมือทำจากชิ้นหินที่ตีออก, ชิ้นหินแหลม, ชิ้นหินสองคมเล็กสำหรับอาวุธแบบพุ่ง, และที่มีน้อยมาก ก็คือเครื่องมือใส่ด้าม[6][8] ดังนั้น หลักฐานว่าการเปลี่ยนใช้เทคโนโลยีเป็นเรื่องค่อยเป็นค่อยไปจึงมาจากเครื่องมือหิน "ต่างยุค" ที่พบในชั้นหินตามลำดับหรือชั้นเดียวกัน และมาจากการปรากฏแรกสุดของเทคโนโลยี MSA ในโบราณสถาน Gademotta เมื่อ 276,000 ปีก่อน และหลักฐานเทคโนโลยีอะชูเลียนที่ปรากฏหลังสุด ที่หมวดหินบุรี (Bouri Formation) ซึ่งมีอายุระหว่าง 154,000-160,000 ปีก่อน ซึ่งแสดงการเหลื่อมล้ำกันจนอาจถึง 100,000-150,000 ปี[8] ถ้ำต่าง ๆ ในแอฟริกาใต้ก็ให้ข้อมูลในการเปลี่ยนแปลงที่หาอายุได้อย่างแม่นยำเนื่องจากตะกอนเถ้าภูเขาไฟ โดยพบอายุถ้ำต่าง ๆ ที่ระหว่าง 999,000 - 49,000 ปีก่อน แม้ถ้ำฮารธ์ส (Cave of Hearths) และถ้ำมอนเตกิว (Montague Cave) ในแอฟริกาใต้จะมีหลักฐานเทคโนโลยีทั้งแบบอะชูเลียนและ MSA แต่ก็ไม่มีการเหลื่อมล้ำกันโดยอายุ[6] เทคโนโลยีหินใบมีด (blade) หินต้น ๆ อาจมีอายุถึง 550,000-500,000 ปีโดยพบที่หมวดหินแคปธิวรินในประเทศเคนยา และโบราณสถาน Kathu Pan ในแอฟริกาใต้[2] ส่วนใบมีดมีหลัง (Backed blade) จากโบราณสถานต่าง ๆ ใน Twin Rivers และ Kalambo Falls ณ ประเทศแซมเบียมีอายุประมาณ 300,000-140,000 ปี ก็ใช้เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมใหม่ ๆ บ้าง[2][10] ใบมีดอายุประมาณ 280,000 ปีพบที่หมวดหินแคปธิวริน ก็ปรากฏว่ามีเทคนิคการผลิตระดับสูงเช่นเดียวกัน[11] เทคโนโลยีหินที่ใช้ระหว่าง MSA มีเทคนิคการผลิตที่ผสมผเส เริ่มที่ประมาณ 300,000 ปีก่อน เครื่องมือที่ใช้ตัดขนาดใหญ่แบบอะชูเลียนก็เปลี่ยนเป็นเครื่องมือที่ผลิตโดยเทคนิค Levallois ซึ่งนีแอนเดอร์ทาลก็ได้ใช้อย่างกว้างขวางในช่วงยุคหินเก่ากลางของยุโรปด้วย[12] เมื่อยุค MSA ดำเนินต่อไป เทคโนโลยีหินแบบต่าง ๆ ก็สามัญไปทั่วแอฟริการวมทั้งหินแหลม ใบมีด ชิ้นหินที่ตีออกแล้วแต่ง (retouched flake) หินขูดตามปลายหรือตามข้าง (end scraper, side scraper) หินลับมีด และแม้แต่เครื่องมือกระดูก[1][6] การใช้ใบมีด (ที่พบโดยหลักในยุคหินเก่าปลาย [Upper Palaeolithic] ในยุโรป) ก็ยังพบในที่ต่าง ๆ ด้วย[1] ในแอฟริกา ใบมีดอาจใช้ในช่วงระหว่างการเปลี่ยนจากเทคโนโลยียุคหินต้น (Early Stone Age) เป็น MSA และหลังจากนั้น[13] ในที่สุด ในช่วงหลัง ๆ ของ MSA อย่างช้าก็ 70,000 ปีก่อน เทคโนโลยีหินไมโคร (microlith) ที่ใช้ผลิตอะไหล่ของเครื่องมือผสมแบบมีด้าม ก็เริ่มปรากฏในโบราณสถานต่าง ๆ เช่น แหลมพินนะเคิล และ Diepkloof Rock Shelter ในแอฟริกาใต้[14][15] เทคโนยียุค MSA มักจะเกิดขึ้นแล้วก็หายไป เช่น ลูกประคำที่ทำจากเปลือกหอย[16] หัวลูกศร เครื่องมือทำหนังรวมทั้งเข็ม[17] และกาว[18] ซึ่งเป็นตัวอย่างคัดค้านทฤษฎี "ออกจากแอฟริกา" ฉบับแบบแผน ที่อ้างว่า เทคโนโลยีซับซ้อนจะสะสมขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วง MSA แล้วทำให้สามารถอ้างได้ว่า นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเช่นนี้ "ปรากฏ หายไป แล้วก็ปรากฏอีก โดยเข้ากับสถานการณ์ว่า ความบังเอิญทางประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางประชาน เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก"[17] วิวัฒนาการของมนุษย์และการอพยพย้ายถิ่นฐานมนุษย์ได้อพยพย้ายถิ่นฐานออกจากแอฟริกาสองครั้ง ครั้งแรกเป็นของมนุษย์ H. erectus โดยเข้าไปในยูเรเชียประมาณ 1.9-1.7 ล้านปีก่อน ครั้งสองเป็นของ H. sapiens ที่เริ่มในช่วง MSA ประมาณ 80,000-50,000 ปีก่อน โดยอพยพไปในเอเชีย ออสเตรเลีย และยุโรป[19][20] ซึ่งอาจเป็นจำนวนน้อยในตอนต้น ๆ แต่โดย 30,000 ปีก่อน ก็ได้แทนที่มนุษย์นีแอนเดอร์ทาล และ H. erectus เกือบทั้งหมด[21] การอพยพแต่ละรอบแสดงถึงความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นของมนุษย์สกุล Homo ในการรอดชีวิตในภูมิอากาศที่ต่าง ๆ กันอย่างมาก งานศึกษาปี 2550 ที่วัดกะโหลกศีรษะมนุษย์เป็นจำนวนมาก สนับสนุนกำเนิดของ Homo sapiens จากแอฟริกากลางหรือใต้ เพราะว่าเป็นเขตที่กลุ่มประชากรมีลักษณะปรากฏทางพันธุกรรมที่มีขนาดต่าง ๆ กันมากที่สุด แม้หลักฐานทางพันธุกรรมก็สนับสนุนข้อสรุปนี้เช่นกัน[21] แต่ว่า ก็ยังมีหลักฐานทางพันธุกรรมที่แสดงว่า การอพยพออกจากแอฟริกาเริ่มต้นที่ภาคตะวันออก และโบราณสถานต่าง ๆ เช่น Omo Kibish Formation, Herto Member ของ Bouri Formation, และ Mumba Cave ก็มีหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ซึ่งสนับสนุนข้อสรุปนี้ด้วย[8]
หลักฐานของพฤติกรรมมนุษย์ปัจจุบันมีทฤษฎีจำนวนหนึ่งที่อธิบายพัฒนาการทางพฤติกรรมของมนุษย์ปัจจุบัน แต่เร็ว ๆ นี้ ทฤษฎีแบบผสมก็เป็นมุมมองที่นิยมที่สุดเกี่ยวกับ MSA โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาหลักฐานโบราณคดี[22] แม้จะมีนักวิชาการที่อ้างว่า เป็นเรื่องที่เกิดโดยฉับพลัน[23] แต่ท่านอื่น ๆ ก็อ้างว่า ความก้าวหน้าทางประชานสามารถเห็นได้ตั้งแต่สมัย MSA และกำเนิดสปีชีส์ของเราสัมพันธ์กับการปรากฏของเทคโนโลยี MSA ตั้งแต่ 250,000-300,000 ปีก่อน[1] ซากศพที่เก่าแก่สุดของ Homo sapiens มีอายุประมาณ 300,000 ปีก่อนในแอฟริกาเหนือ[24] ในบันทึกโบราณคดีของทั้งแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาใต้ โบราณสถานต่าง ๆ ของ Homo sapiens แตกต่างกันอย่างมหาศาล และเป็นช่วงเวลานี้แหละที่เห็นหลักฐานกำเนิดของพฤติกรรมมนุษย์ปัจจุบัน ตามนักวิชาการคู่หนึ่ง มีลักษณะเฉพาะ 4 อย่างของพฤติกรรมมนุษย์ปัจจุบัน คือ ความคิดแบบนามธรรม ความสามารถในการวางแผนและกลยุทธ์ "ความสามารถในการสร้างอะไรใหม่ ๆ ทางพฤติกรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี" และพฤติกรรมเชิงสัญลักษณ์[1] โดยด้านต่าง ๆ สามารถแบ่งออกเป็นหมวดหมู่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้งศิลปะ การตกแต่งตัว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นต้น แต่หมวดหมู่หลัก 4 อย่างที่เหลื่อมล้ำกันอย่างสำคัญเหล่านี้ ก็พอให้สามารถคุยกันเรื่องการเปลี่ยนมามีพฤติกรรมปัจจุบันอย่างละเอียดแล้ว วัฒนธรรมต่าง ๆเมื่อ Homo sapiens ต้น ๆ เริ่มอยู่ในเขตนิเวศที่หลากหลายในช่วง MSA บันทึกโบราณคดีที่สัมพันธ์เกับเขตเหล่านี้ก็เริ่มแสดงหลักฐานของความสืบต่อกันทางวัฒนธรรมในเขตภูมิภาค ๆ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเพราะเหตุผลต่าง ๆ การขยายถิ่นฐานของ Homo sapiens เข้าไปในเขตนิเวศต่าง ๆ แสดงความสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายรวมทั้งชายทะเล ทุ่งหญ้าสะวันนา ทะเลทรายที่ค่อนข้างแห้งแล้ง และป่า การปรับตัวได้เช่นนี้ สะท้อนให้เห็นในสิ่งประดิษฐ์แบบ MSA จากเขตเหล่านี้ เป็นสิ่งประดิษฐ์สไตล์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในเขตไหน เทียบกับวัฒนธรรมอะชูเลียนระหว่าง 1.5 ล้านปีจนถึง 3 แสนปีก่อน ที่เทคโนโลยีหินเหมือนกันอย่างไม่น่าเชื่อในเขตนิเวศทุก ๆ แห่ง และเพราะเทคโนโลยี MSA มีทั้งความแตกต่างและความสืบต่อกันเฉพาะเขต ๆ จึงเป็นความก้าวหน้าที่น่าทึ่งใจ[1][7][8] ข้อมูลเช่นนี้ใช้สนับสนุนทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางสังคมและทางศิลป์ที่เกิดตลอดช่วง MSA[25] ในแอฟริกาใต้ นักวิชาการก็ได้พบเทคโนโลยีแบบ Howiesons Poort และสติลเบย์ โดยมีชื่อตามโบราณสถานที่ค้นพบเป็นครั้งแรก มีเทคโนโลยีแบบอื่น ๆ อีกที่ยังไม่ได้หาอายุ หรือหาอายุได้อย่างไม่น่าเชื่อถือ รวมทั้งแบบ Lupemban ในแอฟริกากลาง, แบบ Bambatan ในแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ (อายุ 70,000-80,000 ปี), แบบอะทีเรียน (Aterian) ในแอฟริกาเหนือ (อายุ 160,000-90,000 ปี)[1][22] การคิดเป็นนามธรรมหลักฐานการคิดเป็นนามธรรมได้พบในบันทึกโบราณคดีเริ่มตั้งแต่ยุคเปลี่ยนจากวัฒนธรรมอะชูเลียนไปเป็น MSA ประมาณ 300,000-250,000 ปีก่อน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากเทคโนโลยีหินแบบ Mode 2 ซึ่งก็คือเครื่องมืออะชูเลียน ไปเป็น Mode 3 และ 4 ซึ่งรวมทั้งใบมีดและเทคโนโลยีหินไมโคร การผลิตเครื่องมือเหล่านี้ต้องวางแผนและเข้าใจว่า การตีหินจะให้ผลเป็นชิ้นหินในรูปแบบต่าง ๆ อย่างไร[26] ซึ่งต้องใช้การคิดเป็นนามธรรม อันเป็นคุณสมบัติหลักอย่างหนึ่งของพฤติกรรมมนุษย์ปัจจุบัน[1] การเปลี่ยนจากการใช้เครื่องมือตัดขนาดใหญ่ของวัฒนธรรมอะชูเลียน ไปเป็นชุดเครื่องมือที่เล็กกว่าและหลากหลายมากกว่าของ MSA หมายถึงความเข้าใจทางประชานและทางมโนทัศน์ที่ดีขึ้น ในเรื่องการตีหินและผลประโยชน์ที่อาจได้จากเครื่องมือแบบต่าง ๆ ความลึกซึ้งในการวางแผนโดยคล้ายกับการคิดเป็นนามธรรม สมรรถภาพในการวางแผนและกลยุทธ์ สามารถเห็นได้จากชุดเครื่องมือที่ต่าง ๆ กันมากกว่าของ MSA ตลอดจนรูปแบบการหากินที่พบในช่วงเวลานั้น เมื่อมนุษย์ยุค MSA เริ่มอพยพไปยังเขตนิเวศต่าง ๆ การมีกลยุทธ์ล่าสัตว์เป็นฤดู ๆ ก็กลายเป็นเรื่องจำเป็น ความสำนึกถึงฤดูจะเห็นได้ชัดในซากสัตว์ที่พบในค่ายพักชั่วคราว ในเขตนิเวศที่อันตรายกว่า ความสำนึกนี้จำเป็นต่อการอยู่รอด และสมรรถภาพในการวางแผนกลยุทธ์หากินที่อาศัยความสำนึกนี้ แสดงถึงความสามารถในการคิดนอกเหนือจากแค่ปัจจุบันแล้วดำเนินการตามความเข้าใจ[1] ความลึกซึ้งในการวางแผนยังเห็นได้จากการมีวัสดุดิบใหม่ ๆ ตามโบราณสถาน MSA ต่าง ๆ การหาวัตถุดิบใกล้ ๆ ทำได้ง่าย แต่โบราณสถาน MSA มักจะมีวัตถุดิบที่ได้มาจากที่ ๆ ไกลถึง 100 กม. และบางครั้งไกลกว่า 300 กม.[6] การหาวัตถุดิบจากที่ไกล ๆ เช่นนี้จำเป็นต้องรู้เรื่องทรัพยากรนั้น ๆ รู้คุณค่าของทรัพยากรไม่ว่าจะเพื่อใช้งานหรือคุณค่าทางสัญลักษณ์ และอาจต้องสามารถบริหารเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้วัสดุที่ต้องการได้[1][6] นวัตกรรมการอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ทั่วแอฟริกา และในที่สุด ทั่วโลก แสดงระดับความสามารถในการปรับตัว และดังนั้น จึงแสดงสมรรถภาพในการสร้างอะไรใหม่ ๆ ที่บ่อยครั้งพิจารณาว่าเป็นลักษณะเฉพาะของพฤติกรรมปัจจุบัน[1] และนี่ก็ไม่ใช่หลักฐานการทำอะไรใหม่ ๆ ได้อย่างเดียวที่เห็นใน Homo sapiens ต้น ๆ มีการพัฒนาเครื่องมือใหม่ ๆ ที่เหมาะกับเขตภูมิภาค เช่นที่ใช้เก็บทรัพยากรทางทะเลดังที่เห็นในโบราณสถาน Abdur เอธิโอเปีย, ถ้ำที่แหลมพินนะเคิล แอฟริกาใต้ และถ้ำบลอมโบส์ แอฟริกาใต้[1][5] การใช้ไฟก็แสดงการทำอะไรได้ใหม่ ๆ ด้วย เช่นเมื่อใช้สร้างเครื่องมือหินที่แข็งแรงกว่า เช่น ซิลเครตเผาไฟที่พบที่ถ้ำบลอมโบส์, Howiesons Poort, และสติลเบย์[5][15] และเครื่องมือกระดูกเผาไฟจากสติลเบย์[22] เครื่องมือติดด้าม/เครื่องมือผสม ยังแสดงสมรรถภาพการทำอะไรใหม่ ๆ ของมนุษย์ด้วย เครื่องมือสำหรับตัดขนาดใหญ่ในวัฒนธรรมอะชูเลียนได้เปลี่ยนเป็นเครื่องมือที่เล็กและซับซ้อนกว่า ซึ่งเหมาะกับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ กันมากกว่า เป็นตัวแสดงระดับการทำอะไรใหม่ ๆ เนื่องจากมีประสิทธิภาพและการผลิตที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น สมรรถภาพในการคิดเกินการตีหินชิ้นเล็กออกจากหินก้อนใหญ่ แสดงความยืดหยุ่นได้ทางประชาน และการใช้กาว ซึ่งบ่อยครั้งมีองค์ประกอบเป็นดินสี (ochre) เพื่อติดชิ้นหินกับด้าม แสดงความเข้าใจของการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่มีประโยชน์นอกเหนือจากการเป็นสี[5] โดยเริ่มใช้ติดด้ามประมาณ 95,000 ปีก่อนที่ถ้ำซิบูดู (Sibudu Cave) ในแอฟริกาใต้[1][5] พฤติกรรมสัญลักษณ์พฤติกรรมสัญลักษณ์ (symbolic behavior) เป็นลักษณะทางพฤติกรรมของมนุษย์ปัจจุบันที่แยกแยะได้ยากที่สุดตามหลักฐานโบราณคดี เมื่อหาหลักฐานของพฤติกรรมสัญลักษณ์ช่วง MSA มีหลักฐานสามแบบที่สามารถพิจารณาได้ คือ
หลักฐานโดยตรงก่อน 40,000 ปีก่อนหาได้ยาก หลักฐานโดยอ้อมก็เป็นเรื่องทางนามธรรม และดังนั้น หลักฐานทางเทคโนโลยีจึงดีที่สุดในบรรดาทั้ง 3 อย่าง[6] ปัจจุบัน มีมติร่วมกันในบรรดานักโบราณคดีว่า ศิลปะและวัฒนธรรมสัญลักษณ์แรกของโลกมาจากแอฟริกาใต้สมัย MSA วัตถุที่โดดเด่นมากที่สุด รวมทั้งดินสีแท่งสีแดงที่สลักลาย ผลิตขึ้นที่ถ้ำบลอมโบส์ในแอฟริกาใต้ 70,000 ปีก่อน ลูกประคำที่ทำจากเปลือกหอยฝาเดียวสกุล Nassarius โดยเจาะรูแล้วระบายสีดิน ก็พบด้วยที่ถ้ำ โดยมีตัวอย่างที่เก่าแก่ยิ่งกว่านั้นจากวัฒนธรรมอะทีเรียนช่วง MSA ที่ Taforalt Caves ส่วนหัวลูกศรและเครื่องมือทำหนังก็พบที่ถ้ำซิบูดู[17] ตลอดจนหลักฐานการทำอาวุธด้วยกาวผสมที่เผาไฟ[18] ระบบประชานที่ซับซ้อนมีหลักฐานของนวัตกรรมเป็นชุด ๆ ตั้งแต่ 170,000-160,000 ปีก่อนที่ตำแหน่งแหลมพินนะเคิล 13B ติดชายฝั่งทิศใต้ของแอฟริกาใต้[27] ซึ่งรวมหลักฐานเก่าแก่ที่สุดอันยืนยันแล้วของการใช้ดินสีและทรัพยากรทะเลคือการทานหอยเป็นอาหาร อาศัยการวิเคราะห์กลุ่มชีวินวัวและควาย (bovid assemblage) พบที่ Klasies River Caves แอฟริกาใต้[28] นักวิจัยได้รายงานว่า มนุษย์สมัย MSA เป็นนักล่าที่น่าเกรงขาม และรูปแบบพฤติกรรมทางสังคมของพวกเขาใกล้กับมนุษย์ปัจจุบัน นักวิชาการอีกท่านหนึ่งดำรงว่า การจัดการทรัพยากรอาหารที่เป็นพืชโดยการตั้งใจเผาทุ่งหญ้าเพื่อให้โอกาสพืชที่มีหัวแบบเผือก (corm) หรือหัวแบบมันฝรั่ง (tuber) ในแอฟริกาใต้ช่วงวัฒนธรรม Howiesons Poort (ประมาณ 70,000-55,000 ปีก่อน) เป็นตัวบ่งชี้พฤติกรรมมนุษย์ปัจจุบัน[29] และว่า การหากินแบบเป็นครอบครัว การใช้สัญลักษณ์สี การแลกเปลี่ยนสิ่งที่ทำขึ้น และการจัดระเบียบที่อยู่ ล้วนแต่เป็นหลักฐานการมีพฤติกรรมปัจจุบันในช่วง MSA นักวิชาการท่านอื่น ๆ เสนอว่า ทักษะซับซ้อนที่จำเป็นเพื่อใช้กาวผสมเผาไฟติดด้ามอาวุธดูเหมือนจะแสดงความสืบต่อกันระหว่างระบบประชานของมนุษย์ปัจจุบันจากของมนุษย์เมื่อ 70,000 ปีก่อนที่ถ้ำซิบูดู[18][30] หลักฐานการใช้ภาษาโบราณสถานสมัย MSA ต้น ๆ ปรากฏว่ามีดินสี ยกตัวอย่างเช่นที่หมวดหินแคปธิวริน และ Twin Rivers โดยกลายเป็นสิ่งสามัญหลังจาก 100,000 ปีก่อน[31] มีนักวิชาการที่อ้างว่า แม้ถ้าบางส่วนของสีดินนี้ใช้ในงานสัญลักษณ์เกี่ยวกับสี การคิดเป็นนามธรรมเช่นนี้จะเป็นไปไม่ได้โดยไร้ภาษา เขาจึงเสนอว่า ดินสี (ochre) สามารถใช้เป็นตัวแทนเพื่อสืบหากำเนิดภาษา[32] นักโบราณคดีบ่อยครั้งสัมพันธ์การใช้เครื่องมือกระดูกกับพฤติกรรมปัจจุบัน[33] ดังนั้น ฉมวกกระดูกซับซ้อนซึ่งผลิตที่ Katanda แอฟริกาตะวันตกประมาณ 90,000 ปีก่อน[34][35] และเครื่องมือกระดูกอายุประมาณ 77,000 ปีก่อนจากถ้ำบลอมโบส์[33] ก็อาจใช้เป็นตัวอย่างวัตถุในวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับการใช้ภาษารูปแบบเดียวกับภาษาปัจจุบัน มีการเสนอว่า ภาษาเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อดำรงเครือข่ายการแลกเปลี่ยน งานวิจัยปี 2546 แสดงหลักฐานว่ามีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนในช่วง MSA คืองานได้เปรียบเทียบระยะทางของโบราณสถานที่วัสดุปรากฏกับแหล่งวัสดุ[36] โบราณสถาน MSA 5 แห่งมีวัสดุจากแหล่งที่ห่างถึง 140-340 กม. ซึ่งตีความเทียบกับข้อมูลทางชาติพันธุ์วรรณนาว่า ระยะห่างเช่นนี้จะเป็นไปได้ก็เพราะมีเครือข่ายแลกเปลี่ยนวัสดุ[36] นักวิชาการคนหนึ่งมองว่า ภาษาที่ประกอบด้วยวากยสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมที่ทำให้มนุษย์สมัย MSA ตั้งถิ่นฐานในป่าดิบชื้นที่ปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกได้[37] นักวิชาการหลายคนคาดว่า เหตุของการปรากฏวัสดุสัญลักษณ์จำนวนมากอย่างฉับพลัน ก็คือพัฒนาการพร้อม ๆ กันของภาษาที่ประกอบด้วยวากยสัมพันธ์ อันวิวัฒนาการผ่านระบบการเรียนรู้ทางสังคมแบบเฉพาะเจาะจง[38] และช่วยอำนวยการสื่อสารที่ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่สถานที่และเวลา[39] วากยสัมพันธ์จะมีบทบาทกุญแจสำคัญในกระบวนการนี้ และสมรรถภาพในการใช้มันอย่างสมบูรณ์อาจเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของพฤติกรรมสัญลักษณ์ที่ปรากฏใน MSA[40] ความเปลี่ยนแปลงทางสมองแม้ว่ากำเนิดของลักษณะทางกายวิภาคปัจจุบันจะไม่สามารถเชื่อมกับการเปลี่ยนแปลงทางประสาทในยุคดึกดำบรรพ์ได้อย่างมั่นใจ[41] แต่ก็ดูจะเป็นไปได้ว่า สมองมนุษย์ได้วิวัฒนาการผ่านกระบวนการคัดเลือกเดียวกันกับของอวัยวะส่วนอื่น ๆ[42] ยีนที่ทำให้เกิดสมรรถภาพทางสัญลักษณ์อาจได้การคัดเลือก ซึ่งก็จะแสดงว่า มูลฐานของวัฒนธรรมสัญลักษณ์อาจมาจากกระบวนการทางชีววิทยา แต่ว่า พฤติกรรมที่สัญลักษณ์อำนวยอาจตามมาทีหลัง แม้ว่าสมรรถภาพทางกายจะมีก่อนตั้งนาน ยกตัวอย่างเช่น นักวิชาการคู่หนึ่งอ้างว่า การเพิ่มขนาดสมองส่วน prefrontal cortex จะทำให้สามารถใช้สัญลักษณ์ในการคิดอย่างที่ไม่สามารถมาก่อน และกระบวนการนี้ ซึ่งตอนแรกเริ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ก็เร่งเร็วเพิ่มขึ้น ๆ ในช่วง 100,000 ปีที่ผ่านมา[43] พฤติกรรมที่สัญลักษณ์อำนวยก็อาจป้อนกลับไปยังกระบวนการนี้ โดยเพิ่มสมรรถภาพการสร้างสิ่งประดิษฐ์ทางสัญลักษณ์และเครือข่ายทางสังคม ตามกลุ่มนักวิจัยที่โบราณสถาน Jebel Irhoud การค้นพบเช่นนี้แสดงว่า Homo sapiens เอง ไม่ใช่สมาชิกมนุษย์กลุ่มอื่น ๆ หรือบรรพบุรุษ (เช่น Homo heidelbergensis, Homo naledi) เป็นสปีชีส์ที่ได้ทิ้งเครื่องมือแบบ MSA ให้ขุดพบได้ทั่วแอฟริกา[44] โบราณสถานโบราณสถานจำนวนมากในแอฟริกาใต้สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมปัจจุบันของมนุษย์ 4 อย่างดังที่กล่าวแล้ว ถ้ำบลอมโบส์มีเครื่องประดับตัว สิ่งที่คิดว่าเป็นเครื่องมือสร้างภาพศิลป์ ตลอดจนเครื่องมือกระดูก[22] สติลเบย์ และ Howieson's Poort มีเทคโนโลยีเครื่องมือที่หลายหลาก[45] กลุ่มเครื่องมือต่าง ๆ จากช่วงเดียวกันเช่นนี้ ช่วยให้นักวิจัยประมาณค่านอกช่วงซึ่งพฤติกรรมที่น่าจะสัมพันธ์กับเทคโนโลยี เช่นการเปลี่ยนการหาอาหาร ซึ่งมีหลักฐานสนับสนุนจากพรรณสัตว์ที่พบในโบราณสถานเหล่านี้ รวมทั้ง
เชิงอรรถและอ้างอิง
|