Share to:

 

ประเทศเคนยา

สาธารณรัฐเคนยา

Republic of Kenya (อังกฤษ)
Jamhuri ya Kenya (สวาฮีลี)
ตราแผ่นดินของเคนยา
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"Harambee" (ภาษาสวาฮีลี)
"ขอให้เราทุกคนร่วมมือกัน"
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ไนโรบี
1°16′S 36°48′E / 1.267°S 36.800°E / -1.267; 36.800
ภาษาราชการ
ภาษาประจำชาติภาษาสวาฮีลี [1]
กลุ่มชาติพันธุ์
(2019[2])
ศาสนา
(2019[2])
เดมะนิมชาวเคนยา
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบประธานาธิบดี สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ
William Ruto
Rigathi Gachagua
ประกาศเอกราช
12 ธันวาคม พ.ศ. 2506
พื้นที่
• รวม
582,650 ตารางกิโลเมตร (224,960 ตารางไมล์) (48)
2.3%
ประชากร
• 2557 ประมาณ
45,010,056[3] (31st)
• สำมะโนประชากร 2552
38,610,097[4]
78 ต่อตารางกิโลเมตร (202.0 ต่อตารางไมล์) (124)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 163.377 พันล้าน
$ 3,496
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 78.397 พันล้าน
$ 1,677
จีนี (2014)42.5[5]
ปานกลาง · 48
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.601[6]
ปานกลาง · 143
สกุลเงินชิลลิงเคนยา (KES)
เขตเวลาUTC+3 (แอฟริกาตะวันออก)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปป (คริสต์ศักราช)
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+254
โดเมนบนสุด.ke
[7] จากข้อมูลของซีไอเอ ได้ประมาณการถึงผลของการเสียชีวิตเนื่องจากโรคเอดส์สำหรับประเทศนี้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจส่งผลให้อายุขัยลดลง อัตราการตายและอัตราการเสียชีวิตของทารกที่สูงขึ้น จำนวนประชากรและอัตราการเติบโตที่ลดลง และการเปลี่ยนแปลงของการกระจายตัวของประชากรตามอายุและเพศสูงกว่าที่คาดไว้

เคนยา (อังกฤษและสวาฮีลี: Kenya) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเคนยา (อังกฤษ: Republic of Kenya; สวาฮีลี: Jamhuri ya Kenya) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตจรดประเทศเอธิโอเปีย (ทางเหนือ) ประเทศโซมาเลีย (ทางตะวันออกเฉียงเหนือ) ประเทศแทนซาเนีย (ทางใต้) ประเทศยูกันดา (ทางตะวันตก) ประเทศเซาท์ซูดานและทะเลสาบวิกตอเรีย (ทางตะวันตกเฉียงเหนือ) และมหาสมุทรอินเดีย มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดคือ ไนโรบี

เศรษฐกิจ

เคนยาเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก มีเครือข่ายการเชื่อมโยงการคมนาคมที่ดี มีท่าเรือสำคัญที่เมืองมอมบาซา เป็นแหล่งวัตถุดิบอัญมณีที่สำคัญอีกประเทศหนึ่งสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องประดับและอัญมณีของไทย และยังมีแหล่งพลอยที่สำคัญหลายชนิด นอกจากนี้ เคนยายังเป็นประเทศผู้ส่งออกไม้ตัดดอกรายใหญ่อีกด้วย ภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้ประเทศมากที่สุด ภาคเกษตรกรรม ภาคเกษตรกรรมของเคนยาเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ ทองคำ หินปูนขาว แร่เกลือ เพชรพลอย โซดาแอช แมกนีไซท์ อุตสาหกรรมสำคัญ ซีเมนต์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร การท่องเที่ยวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมผลิตสินค้าอุปโภคต่าง ๆ รายได้ที่สำคัญ รายได้จากภาคเกษตรกรรมเป็นรายได้ที่นำเงินตราต่างประเทศเป็นอันดับหนึ่ง

การคมนาคม

มีการสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างประเทศยูกานดาและเคนยา แต่ในหมู่บ้านต่าง ๆ ที่อยู่ห่างไกล การเดินทางระหว่างหมู่บ้านยังขาดความสะดวกสบาย เนื่องจากเป็นถนนลูกรัง ต่อมารัฐบาลเคนยาได้สร้างเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจในหมู่บ้านต่าง ๆ ดีขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย

สายการบินเคนย่าแอร์เวย์ทำการบินมายังกรุงเทพ ตั้งแต่ปี 2546 ถึง ปัจจุบัน รวม 21 ปี แม้จะเลิกบินบ้างในช่วงมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด[8]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Constitution (2009) Art. 7 [National, official and other languages] "(1) The national language of the Republic is Swahili. (2) The official languages of the Republic are Swahili and English. (3) The State shall–-–- (a) promote and protect the diversity of language of the people of Kenya; and (b) promote the development and use of indigenous languages, Kenyan Sign language, Braille and other communication formats and technologies accessible to persons with disabilities."
  2. 2.0 2.1 "2019 Kenya Population and Housing Census Volume IV: Distribution of Population by Socio-Economic Characteristics". Kenya National Bureau of Statistics. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
  3. Country Comparison :: Population เก็บถาวร 2020-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The World Factbook.
  4. "Kenya 2009 Population and housing census highlights" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-10. สืบค้นเมื่อ 2016-06-03.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์). www.knbs.or.ke.
  5. "Human Development Report 2014" (PDF). United Nations. 2014. สืบค้นเมื่อ 26 July 2014.
  6. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. December 15, 2020. สืบค้นเมื่อ December 15, 2020.
  7. Central Intelligence Agency (2012). "Kenya". The World Factbook. สืบค้นเมื่อ 28 May 2013.
  8. Kenya Airways resumes scheduled service to Bangkok

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติศาสตร์
สื่อสารมวลชน
การศึกษา
ด้านการท่องเที่ยว
Kembali kehalaman sebelumnya