วงมังคละวงมังคละ หรือ ปี่กลอง[2], ปี่กลองมังคละ เป็นดนตรีชั้นสูงสำหรับพระพุทธศาสนาของอาณาจักรสุโขทัยโบราณ โดยปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 1 และศิลาจารึกวัดช้างล้อม สันนิษฐานว่าดนตรีมังคละนั้นรับธรรมเนียม "มงคลเภรี" มาจากศรีลังกา[3][4] ก่อนที่จะกลายมาเป็นดนตรีพื้นบ้าน ในชุมชนกลุ่มคนที่ใช้สำเนียงอาณาจักรสุโขทัยโบราณ ปัจจุบันพบการละเล่นอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง[1] จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ รวมทั้งพบร่องรอยการละเล่นมังคละในจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดเพชรบูรณ์ (วงตุ๊บเก่ง) รวมทั้งวงกาหลอ[5] วงมังคละ มีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนที่ใช้สำเนียงอาณาจักรสุโขทัยโบราณ[6] โดย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ บันทึกไว้ในคราวตรวจการที่หัวเมืองพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. 2444 ได้ยินดนตรีดังกล่าวบริเวณวัดสะกัดน้ำมันจึงได้เรียกมาแสดงให้ดู ได้ให้ทัศนะต่อดนตรี "มังคละ" ว่า "เครื่องมังคละนี้เป็นเครื่องเบญจดุริยางค์แท้" [7] ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดนตรีปี่กลองมังคละเสื่อมความนิยมในสมัยหลัง เนื่องจากการเข้ามามีบทบาทของดนตรีกลองยาว แตรวง และดนตรีสมัยใหม่ ตามลำดับ[6] ทำให้ปัจจุบัน วงมังคละ ได้รับขึ้นทะเบียนให้เป็น มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ สาขาศิลปะการแสดง[8] เพื่อส่งเสริมอนุรักษ์และสืบทอดให้เป็นการละเล่นพื้นบ้านดั้งเดิมอันเป็นเอกลักษณ์ 3 จังหวัด ของทั้งจังหวัดสุโขทัย[9] จังหวัดพิษณุโลก [10]และอุตรดิตถ์[6] ได้ต่อไป ประวัติดนตรีมังคละกับพระพุทธศาสนา
จากหลักฐานดังกล่าว มีผู้สันนิษฐานว่าพระมหาสวามีสังฆราชน่าจะเสด็จมาพร้อมกับกองเกียรติยศทหารลังกา ประโคมมาตลอดทาง หรือแม้กระทั่งสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศรีรัตนลงกาทีปมหาสามี (หลัก 1 กับหลัก 11) ไปทำบุญในเกาะลังกา ขากลับมาสยามอาจจะได้รับพระราชทานจากพระเจ้าลังกาให้มีกองเกียรติยศและดนตรีประดับพระคุณ[11] ดังนั้นหากนิยามตามทัศนะดังกล่าว มังคละจึงเป็นดนตรีชั้นสูงสำหรับพระพุทธศาสนาของอาณาจักรสุโขทัย และพระมหากษัตริย์สุโขทัย มีพระราชนิยมในการพระราชทานอุทิศเครื่องประโคมมังคละเภรีถวายแด่ปูชนียสถานสำคัญต่าง ๆ ในพระราชอาณาจักร เช่นเดียวกับธรรมเนียมลังกา ทำให้มังคละเภรีได้เผยแพร่สู่ประชาชนทั่วไปในอาณาจักรสุโขทัย จนกลายเป็นดนตรีพื้นบ้านของอาณาจักรสุโขทัยในระยะต่อมา[12] ดนตรีปี่กลองมังคละ จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของชาวอาณาจักรสุโขทัยมาช้านาน ด้วยเหตุนี้สำเนียงการพูดดั้งเดิมแบบสุโขทัย (ภาษาถิ่นสุโขทัย) และการละเล่นดนตรีมังคละ จึงเป็นส่วนหนึ่งในการชี้วัดความเป็นชุมชนดั้งเดิมที่สืบทอดมาตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัยในเขตภาคเหนือตอนล่างในปัจจุบันอีกด้วย[6] หลักฐานในศิลาจารึกและจดหมายเหตุมังคละ เป็นกลองชนิดหนึ่ง ขึงด้วยหนัง มีรูปกลมรี ใช้ตีด้วยไม้ คำว่า “มังคละ” หมายถึง มงคล หรืองานที่เจริญก้าวหน้า มังคละจึงเป็นดนตรีที่เป็นมงคล การเล่นมังคละมีมาช้านาน ตั้งแต่สมัยโบราณกาลครั้งกรุงสุโขทัย มีหลักฐานในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่ว่า
ซึ่งคำว่า "ดํบงคํกลอง" เป็นคำโบราณที่มีใช้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย แปลว่า เป็นการประโคม หรือตีกลองที่ขึงด้วยหนัง ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าเป็นกลองมังคละเภรี[13] นอกจากนี้ ยังปรากฏธรรมเนียมการถวายข้าพระไว้ประโคมมังคละเภรีสมโภชพระบรมธาตุ เฉกเช่นเดียวกับธรรมเนียมลังกา ในจารึกวัดช้างล้อม เมืองเก่าสุโขทัย พ.ศ. 1927 ความว่า
จากความในศิลาจารึกดังกล่าว ระบุถึงอุปกรณ์ในวงมังคละ คือฆ้อง 2 และกลอง 3 สันนิษฐานว่าคือฆ้องคู่ในวงมังคละ และกลองดังกล่าว คือกลองยืน กลองหลอน และกลองมังคละในวงมังคละเภรี ตามธรรมเนียมกษัตริย์ลังกาแต่โบราณนั่นเอง[15] ดนตรีมังคละจึงเป็นดนตรีชั้นสูงสำหรับพระพุทธศาสนาของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะกลายเป็นดนตรีพื้นบ้าน ในชุมชนกลุ่มคนที่ใช้สำเนียงอาณาจักรสุโขทัยโบราณ ปัจจุบันพบการละเล่นอยู่ในเขตจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ รวมทั้งพบร่องรอยการละเล่นมังคละในจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งดนตรีมังคละ มีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนที่ใช้สำเนียงอาณาจักรสุโขทัยโบราณ เมื่อครั้งสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือเมื่อปี พ.ศ. 2444 พระองค์ท่านบันทึกถึงกลองมังคละขณะที่ผ่านเมืองพิษณุโลกว่า
พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่ว่าดนตรีมังคละนี้คือ “เบญจดุริยางค์แท้” ประกอบด้วย วาตฺต วิตตํ อาตฺตวิตฺตํ สุริสํ และ ฆนํ ครบบริบูรณ์ ซึ่งหมายความว่า ดนตรีมังคละนี้ คือ ดนตรี Classic ตามที่กำหนดไว้ในวรรณกรรมบาลีสันสกฤตโบราณ[16] ซึ่งการละเล่นมังคละ เป็นการละเล่นที่สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของท้องถิ่นในอาณาจักรสุโขทัยมาแต่โบราณ การประสมวงมังคละเครื่องดนตรีในวง
ตัวอย่างโน้ตเพลงดนตรีมังคละ
/---ป๊ะ /- เท่ง -ป๊ะ/
/---ปะ/---เท่ง/---เท่ง/ ---ปะ/---เท่ง/---เท่ง/ ---ปะ/ ขั้นตอนการบรรเลง
วิธีการบรรเลงแต่ละเพลงมี ลักษณะเฉพาะ ดังนี้
เพลงที่ใช้บรรเลงเพลงที่ใช้บรรเลง มีชื่อดังนี้ ไม้หนึ่ง, ไม้สอง, ไม้สาม, ไม้สี่, บัวลบ, ไทรย้อย, ตกปลักเล็ก, ตกปลักใหญ่, ถอยหลังลงคลอง, พญาโศก, ลมพัดชายเขา, ย่ำค่ำ, จูงนางเข้าห้อง, กบเข่นเขี้ยว, แม่หม้ายกระทบแป้ง, สาวน้อยปะแป้ง, อีกาจับหลัก, เวียนเทียน, พระฉันภัตตาหาร, และเพลงนางหงส์ ที่ใช้สำหรับแห่ศพ [17] ส่วนข้อมูลที่เรียบรวมโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก[18] ให้ข้อมูลเพลงที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาอาทิ เพลงไม้สามกลับ เพลงไม้สามถอยหลัง เพลงไม้สี่ เพลงกระทิงเดินดง เพลงกระทิงนอนปลัก เพลงกระทิงกินโป่ง เพลงเก้งตกปลัก เพลงข้ามรับ – ข้ามส่ง เพลงข้าวต้มบูด เพลงคางคกเข็ดเขี้ยว เพลงคลื่นกระทบฝั่ง เพลงคุดทะราดเหยียดกรวด เพลงตกปลัก (อีเก้งตกปลัก)เพลงตกตลิ่ง เพลงตุ๊กแกตีนปุก เพลงถอยหลังลงคลอง (ถอยหลังเข้าคลอง) เพลงนมยานกระทกแป้ง เพลงนารีชื่นชม เพลงบัวโรย เพลงบัวลอย เพลงใบไม้ร่วง (ใบไผ่ร่วง) เพลงปลักใหญ่ เพลงพญาเดิน เพลงแพะชนกัน เพลงแม่หม้ายนมยาน เพลงรักซ้อน เพลงรักแท้ เพลงรักเร่ (สาวน้อยประแป้ง เพลงรำ) เพลงรักลา เพลงลมพัดชายเขา เพลงเวียนเทียน เพลงเวียนโบสถ์ เพลงสาลิกาลืมดง เพลงไม้สาม เพลงสาวน้อยประแป้ง เพลงหิ่งห้อยชมสวน โอกาสที่ใช้บรรเลงดนตรีมังคละการบรรเลงดนตรีมังคละใช้ในโอกาส ดังนี้ แห่พระ แห่นาค ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน งานประเพณีสงกรานต์ ลอยกระทง ทำ บุญกลางนา แห่แม่โพสพบรรเลงประกอบการแสดงต่างๆ งานแห่ศพ เป็นต้น วงดนตรีมังคละ/ผู้สืบทอดในปัจจุบันหน่วยงานราชการ/สถานศึกษา
คณะบุคคล
เชิงอรรถหมายเหตุ 1: เป็นข้อค้นพบจากการศึกษาของสมชาย เดือนเพ็ญ ข้าราชการและนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 2553 ภายใต้สมมุติฐานว่า มังคละ เป็นดนตรีพื้บบ้านของชาติพันธ์กลุ่มชนภาษาถิ่นสุโขทัยโบราณ โดยค้นพบหลักฐานการมีอยู่ของมังคละใต้สุดที่ จ.นครสวรรค์ ตะวันออกสุดที่ ต.สะเดียง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ และเหนือสุดที่ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งทั้งหมดเป็นกลุ่มชนภาษาถิ่นสุโขทัยโบราณ[19] อ้างอิง
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
ข้อมูลเกี่ยวเนื่องวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ Mangkala (folk music)
|