Share to:

 

สตางค์ มงคลสุข


สตางค์ มงคลสุข

เกิด15 กรกฎาคม พ.ศ. 2462
อำเภอท่าใหม่ มณฑลจันทบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต6 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 (51 ปี)
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตำบลพญาไท อำเภอพญาไท จังหวัดพระนคร
สาเหตุเสียชีวิตฆาตกรรมด้วยการยิง
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย
คู่สมรสนางยุพิน มงคลสุข (เบญจกาญจน์)
บุตรรศ.ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์
ผศ.ศศพินทุ์ ภูมิรัตน
พ.ญ.วีนิตา กรเณศ
ศ. ดร. ศกรณ์ มงคลสุข
บิดามารดานายแจ้ง มงคลสุข
นางไน้ มงคลสุข

ศาสตราจารย์ สตางค์ มงคลสุข (15 กรกฎาคม 2462 - 6 กรกฎาคม 2514) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยผู้เชี่ยวชาญการวิจัยทางด้านอินทรีย์เคมีและสมุนไพร และเป็นนักบริหารการศึกษาระดับสูงของชาติ โดยเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และได้ขยายจนเป็นคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ หรือ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ศาสตราจารย์ สตางค์ มงคลสุข หรือ ศ.ดร.สตางค์ มงคลสุข เป็นคณบดีคนแรกของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นกำลังสำคัญในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของประเทศไทยในระยะเริ่มแรก ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งวิทยาเขตหาดใหญ่และปัตตานี

ประวัติ

ศ.ดร.สตางค์ มงคลสุข เกิดที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นบุตรคนที่สอง ของนายแจ้ง และนางไน้ มงคลสุข มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 1 คน คือ นายแสตมป์ มงคลสุข ศาสตราจารย์สตางค์ มงคลสุข สมรสกับ นางสาวยุพิน (เบญจกาญจน์) เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 มีธิดาและบุตรรวม 4 คน คือ

ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลุสข เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 จากการถูกนางสาวลัดดาวัลย์ วรรณจำรัส อาจารย์โทสอนภาษาอังกฤษในคณะวิทยาศาสตร์ ชักปืนยิงจนเสียชีวิตภายในห้องพิเศษของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์[1] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2516 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

การศึกษา

การงาน

ตำแหน่งวิชาการ

  • พ.ศ. 2486 - อาจารย์ผู้ช่วยสอนแผนกเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2488 - อาจารย์โท แผนกเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2490 - ลาราชการเพื่อศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ
  • พ.ศ. 2493 - อาจารย์โท แผนกเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2494 - อาจารย์โท แผนกเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • พ.ศ. 2496 - อาจารย์เอก แผนกเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • พ.ศ. 2502 - ศาสตราจารย์แผนกเคมี มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

ตำแหน่งบริหาร

  • พ.ศ. 2501 - ผู้อำนวยการ โรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • พ.ศ. 2503 - รักษาการคณบดี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • พ.ศ. 2503 - คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และหัวหน้าภาควิชาเคมี (พ.ศ. 2512 เปลี่ยนชื่อเป็น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
  • พ.ศ. 2511 - ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อีกตำแหน่งหนึ่ง
  • พ.ศ. 2512 - ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อีกตำแหน่งหนึ่ง

ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่างๆ

  • กรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • กรรมการพัฒนามหาวิทยาลัย
  • กรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์
  • กรรมการดำเนินการเกี่ยวกับการช่วยเหลือในระดับอุดมศึกษา ในด้านแพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
  • กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ
  • กรรมการร่วมกับมูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สถาบันประเทศอังกฤษและประเทศออสเตรเลีย เพื่อจัดหาอาจารย์จากต่างประเทศ จัดหาทุน ให้อาจารย์และนักศึกษาไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ

ผลงานวิจัย

ศ.ดร. สตางค์ มงคลสุข มีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะและสารประกอบทางเคมีที่สกัดจากสมุนไพรของไทย และมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติจำนวนหลายเรื่อง ผลงานวิจัยโดยสรุปมีดังนี้

  • การวิจัยเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะจาก Lichens บนภูกระดึง
  • การพิสูจน์โครงสร้างของสารเคมีที่พบในต้นไม้หลายชนิด (Coniferin) โดยวิธีการทางฟิสิกส์
  • การศึกษาโครงสร้างทางเคมีของยาขับพยาธิจากสมุนไพร ปวกหาด (Artrocarpus lakoocha)
  • การศึกษาโครงสร้างทางเคมีของยาขับพยาธิจากสมุนไพร มะเกลือ (Diospyros mollis)
  • การศึกษาองค์ประกอบของสารเคมีจากสมุนไพรชนิดต่างๆ เช่น กระชาย รงทอง สะแก เจตมูลเพลิงแดง เป็นต้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ศิษย์อาจารย์สตางค์

บรรดาลูกศิษย์ที่เคยศึกษาเล่าเรียน และได้รับการอบรมสั่งสอนจาก ศ.ดร. สตางค์ มงคลสุข ปัจจุบันได้กลายมาเป็นบุคคลสำคัญ ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในวงการศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น และนักวิจัยดีเด่นของประเทศ เป็นจำนวนมาก อาทิ

  1. ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ. พรชัย มาตังคสมบัติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. ศ.เกียรติคุณ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2527 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  3. ผศ.ดร. ไพโรจน์ เปรมปรีดิ์ อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2519-2534)
  4. ศ.เกียรติคุณ ดร. สกล พันธุ์ยิ้ม นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2528
  5. ศ.เกียรติคุณ ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2529
  6. ศ.เกียรติคุณ ดร. วิสุทธิ์ ใบไม้ ราชบัณฑิต สาขาชีววิทยา นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2533
  7. ศ.ดร. ประเสริฐ โศภน นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2538
  8. ศ.ดร.นพ. เรือน สมณะ ราชบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  9. รศ.ดร.คุณหณิงสุมณฑา พรหมบุญ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  10. พลโท ประวิชช์ ตันประเสริฐ เจ้ากรมแพทย์ทหารบก

อ้างอิง

  1. "ระบุถูกปล้ำจนได้เสียกันว่ามีอารมณ์เพศรุนแรง". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 6 June 1972. p. 16.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2018-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๑ ง หน้า ๕๑๘, ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๔๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
  • อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ป.ช. ป.ม. ท.จ. วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม 2514. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2514.
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 6 กรกฎาคม 2514. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2514.
  • นักวิทยาศาสตร์ไทยที่ได้รับการยกย่อง. สร้างคนสร้างชาติด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 18-24 สิงหาคม 2529 สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ, 34-35. กรุงเทพฯ : กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน, 2529.
  • ยอดหทัย เทพธรานนท์. อาจารย์สตางค์ มงคลสุข: Super mentor. Mentor-Mentee-Mentoring ศาสตร์และศิลป์ของการเป็นนักวิจัยพี่เลี้ยงที่ดี, 262-279. กรุงเทพฯ : มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2548.
  • ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. อดีต ปัจจุบัน อนาคต วิทยาการเคมีและเภสัชไทย, 67-74. กรุงเทพฯ : มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2549.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya