สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี[2][3] หรือ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) หรือที่เรียกกันติดปากว่า สายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน) เป็นสถานีขนส่ง สำหรับรถโดยสารทางไกล สายใต้ และสายตะวันตกเป็นบางส่วน[4] เป็นสถานีขนส่งเอกชน สร้างและบริหารโดย บริษัท สิริโปรเจกต์ คอนสทรัคชั่น จำกัด โดยได้รับสัมปทานจาก บริษัท ขนส่ง จำกัด กระทรวงคมนาคม เป็นระยะเวลา 20 ปี[5] สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี ตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนบรมราชชนนีตัดกับถนนพุทธมณฑลสาย 1 แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน ห่างจากสถานีเดิมไปทางตะวันตก (ออกเมือง) บนฝั่งซ้ายของถนนบรมราชชนนี เช่นเดียวกัน ประมาณ 5 กิโลเมตร ประวัติแต่เดิมนั้น สถานีขนส่งผู้โดยสารสำหรับสายใต้นั้น ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับแยกไฟฉาย ชื่อว่าสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ไฟฉาย) เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้ย้ายสถานีขนส่งสำหรับสายใต้ไปอยู่ในบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่าสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ก่อนที่จะย้ายไปทำการในพื้นที่ปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2537 เนื่องจากปัญหาของสภาพการจราจรที่หนาแน่น สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี มีเนื้อที่รวม 37 ไร่[6] แบ่งเป็นอาคารผู้โดยสารประมาณ 20 ไร่ และพื้นที่จอดรถประมาณ 10 ไร่ มูลค่ารวม 2,200 ล้านบาท และได้ลงทุนก่อสร้างตัวสถานีไม่รวมค่าที่ดินมูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท[1] และเปิดให้บริการเดินรถสายใต้ทั้งหมด ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปเปิดเดินรถในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และมีกำหนดเริ่มการเดินรถสายตะวันตกในวันที่ 15 พฤศจิกายน ของปีเดียวกัน จากการเปิดเผยในปี พ.ศ. 2563 พื้นที่ของสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี นั้นจะหมดสัมปทานจาก บขส. ลงในปี พ.ศ. 2568 ซึ่ง บขส. มีแนวคิดที่จะย้ายกับมาเดินรถยังพื้นที่เดิมคือสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) ซึ่งเป็นที่ดินของ บขส. เองและจะนำเสนอแผนพัฒนาที่ได้ว่าจ้างให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ศึกษาเสนอต่อคณะอนุกรรมการได้พิจารณาและดำเนินการให้เสร็จพร้อมให้บริการก่อนหมดสัมปทานในปี พ.ศ. 2568[7] แต่มีกระแสคัดค้านจากภาคประชาชนเนื่องจากปัญหาการจราจรซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต บขส. จึงออกมาชี้แจงว่าการศึกษาดังกล่าวเป็นเพียงแค่การศึกษาเท่านั้น[8] ที่ตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี ตั้งอยู่ในแขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนหลัก 2 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ รถโดยสารประจำทางท้องถิ่น (ขสมก.) และรถไฟฟ้าสายสีแดง[4] สถานีรถไฟฟ้าที่ใกล้เคียงคือ
การเดินทางจากสถานีรถไฟฟ้าไปยังสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี สามารถเดินทางได้ด้วยรถแท็กซี่ รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ไปยังถนนบรมราชชนนีฝั่งขาออก สำหรับรถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ประกอบไปด้วย สาย 124, 170 (ปอ.), 183 (ปอ.), 524 (ปอ.), 539 (ปอ.) และ 66 (ปอ.)[4] สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่รายชื่อด้านล่าง แผนผังและบริการสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี มีอาคารหลักสองส่วน คือ อาคารผู้โดยสาร และอาคารชานชาลา โดยมีทางเชื่อม (flyover) เชื่อมต่อกัน โดยอาคารผู้โดยสารแบ่งออกเป็น 4 ชั้น คือ G, M, 1 และ 2 ประกอบไปด้ย[9]
สำหรับฝั่งอาคารชานชาลา ชั้นบนเป็นที่ทำการส่วนบริการต่าง ๆ ของฝ่ายเดินรถ และห้องละหมาด ส่วนชั้นล่างเป็นชานชาลาผู้โดยสารขาออก นอกจากนี้สถานีขนส่งแห่งนี้ ยังเป็นสถานีขนส่งที่มีมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสูง มีระบบการจัดการคล้ายท่าอากาศยาน กล่าวคือ ผู้ที่ไม่มีตั๋วโดยสาร จะไม่สามารถเข้าสู่เขตชานชาลาได้[9] และไม่มีข้อกังวลด้านผู้มีอิทธิพลมาเรียกรับผลประโยชน์อย่างสถานีขนส่งหมอชิต เนื่องจากเป็นพื้นที่ปิดของเอกชน รวมถึงได้ประสานงานการดูแลความปลอดภัยและการจราจรกับตำรวจไว้แล้ว[1] เอสซีพลาซ่าเอสซีพลาซ่า เป็นศูนย์การค้าขนาดเล็กอยู่ในพื้นที่โซนพลาซ่าทั้ง 4 ชั้นของสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) มีเนื้อที่ประมาณ 35,000 ตารางเมตร[10] ประกอบด้วยศูนย์อาหาร, ร้านค้าย่อย, ธนาคาร, ร้านสะดวกซื้อ, บริการไปรษณีย์ โดยให้เป็นที่เดินจับจ่ายใช้สอยขณะรอเวลารถโดยสารเทียบท่า[10] นอกจากนี้บริเวณศูนย์อาหาร และที่พักผู้โดยสารในชั้นจำหน่ายตั๋ว มีการติดตั้งโทรทัศน์แขวนเพดานทั่วบริเวณ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้รอการโดยสาร นอกจากนี้ในช่วงเย็นยังมีตลาดนัดให้บริการในช่วงเย็น ชื่อว่าสายใต้เซ็นเตอร์ เปิดให้บริการในพื้นที่ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป[4] เส้นทางเดินรถสามารถตรวจสอบเส้นทางเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และบริษัทที่ได้สัมปทานเดินรถร่วมบริการในแต่ละภูมิภาค
ระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมต่อกับสถานีระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกับสถานีโดยตรงมีเพียงรถโดยสารประจำทางที่ให้บริการรับส่งและเชื่อมต่อสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี กับขนส่งมวลชนอื่นและพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ สีแดง : เขตการเดินรถที่ 3 รถเอกชน สีกรมท่า : เส้นทางของ บจก.ไทยสมายล์บัส (และบริษัทในเครือ) ท่ารถประจำทางเข้าเมือง ภายในสถานีขนส่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
รถเอกชนหน้าสถานีขนส่ง (ฝั่งถนนบรมราชชนนี)องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
รถเอกชน
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ชั่วคราวเนื่องจากอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ขยายขอบเขตมาถึงต่างระดับฉิมพลี ทำให้บริษัท ขนส่ง จำกัด แจ้งปิดสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) ถนนบรมราชชนนี โดยได้ย้ายการให้บริการไปยังโรงเบียร์ฮอลแลนด์ สาขาพระราม 2 ซึ่งตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 2 ฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ ติดกับศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 เป็นสถานีขนส่งชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ต่อมา ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 สถานีขนส่งสายใต้เริ่มกลับมาทำการใหม่อีกครั้ง หลังจากสถานการณ์เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ[11] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)
13°46′52″N 100°25′30″E / 13.781178°N 100.425112°E
|