คณะกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
คณะกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ส่วนที่จัดการสอนและงานวิจัยเฉพาะระดับบัณฑิตศึกษา
วิทยาเขต
วังท่าพระ
วังท่าพระ ตั้งอยู่ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน ตรงข้ามพระบรมมหาราชวังและท่าช้างวังหลวง มีพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ เดิมเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นวิทยาเขตแรกและเป็นจุดกำเนิดของมหาวิทยาลัย
เป็นที่ตั้งของ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะโบราณคดี คณะมัณฑนศิลป์ และหอศิลป์ต่าง ๆ
มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ยังรวมไปถึงพื้นที่ สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน เป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดี คณะดุริยางคศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ และ บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
เป็นที่รู้จักในชื่อว่า "ม.ทับแก้ว" ตั้งอยู่ในบริเวณ พระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ซึ่งเคยเป็นพระราชวังของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพื้นที่ประมาณ 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา แต่ใช้เป็นที่ก่อสร้างอาคารของมหาวิทยาลัยเพียง 428 ไร่
เป็นที่ตั้งของ คณะอักษรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเปิดให้มีการเรียนการสอนแบบสหศึกษาแก่นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถมศึกษาปีที่ 1–6 และชั้นมัธยมปีที่ 1–6 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์วิทยาศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการต่าง ๆ
สาเหตุที่เลือกจังหวัดนครปฐมเป็นที่ตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ พระราชวังสนามจันทร์ เหมาะสมที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยเหตุผลดังนี้
- ประการแรก พระราชวังสนามจันทร์เคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้สนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งในทางโบราณคดีและศิลปะทั้งปวง ทรงเป็นนักโบราณคดีและศิลปินชั้นเยี่ยมโดยเฉพาะทางวรรณศิลป์ ทรงสนับสนุนนาฏศิลป์ตลอดรัชสมัยของพระองค์
- ประการที่สอง บริเวณพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่ตั้งของเทวาลัยคเณศร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น นอกจากนี้ พระคเณศยังเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ และเป็นตราของทางมหาวิทยาลัยศิลปากรอยู่แล้ว
- ประการสุดท้าย ที่จังหวัดนครปฐมมีพระปฐมเจดีย์ประดิษฐานอยู่ นับได้ว่าเป็นศูนย์กลางของโบราณคดีและศิลปะที่สำคัญในประเทศไทย ดังนั้นบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ จึงเหมาะที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาคของประเทศไทยในรูปแบบของวิทยาเขตสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงมีปณิธานและปรัชญาการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่พื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศ โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ ให้ใช้ที่ราชพัสดุ ณ ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 621 ไร่ และได้รับอนุญาตจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี โดยกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้ใช้พื้นที่เพิ่มเติม จำนวน 200 ไร่ เพื่อรองรับการเรียนการสอนของ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
เป็นที่ตั้งของคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และคลังโบราณวัตถุของคณะโบราณคดี
สถานที่สำคัญ
วังท่าพระ
กำแพงก่ออิฐถือปูนมีใบเสมาประกอบ กำแพงนี้คาดว่าก่อสร้างพร้อมกับ วังท่าพระ ตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปัจจุบันคงเหลือเฉพาะด้านริมถนนหน้าพระลาน ถือเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
ปัจจุบันเป็นหอศิลป์ของมหาวิทยาลัย ลักษณะท้องพระโรงเป็นแบบเรือน 5 ห้อง เฉลียงรอบหันหน้ายาวออกหน้าวัง รูปทรงท้องพระโรงที่ปฏิสังขรณ์ใหม่นั้นภายนอกคงยึดตามแบบที่ปรากฏเมื่อครั้ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ภายในคงไว้แต่เสาเดิม มีบันไดใหญ่เข้าทางด้านหน้าได้ทางเดียว กำแพงนั้นเป็นสถาปัตยกรรมใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลูกกรงที่ทำด้วยเหล็กหล่อเป็นลายสวยงาม และได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
- ตำหนักกลางและตำหนักพรรณราย
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกรุ่นแรก ๆ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือเป็นตึกสองชั้น มีเฉลียงหลังหนึ่งหันเข้าหาอีกหลังหนึ่ง ส่วนหลังนอกนั้นอยู่ข้างสวนแก้ว ตึกหลังในที่มีเฉลียงทำเรียบกว่าหลังนอก และมีเสาทึบ หัวเสาเป็นแบบศิลปะโรมัน ช่องคูหาด้านล่างเป็นช่องโค้ง มีการตกแต่งที่ส่วนต่าง ๆ ภายนอกอาคารเล็กน้อย ส่วนตึกหลังนอกมีรูปทรงทึบกว่า มีการตกแต่งผิวหนังโดยการเซาะเป็นร่องในชั้นล่าง ส่วนชั้นบนผนังเรียบ มีเสาติดผนังระหว่างช่องหน้าต่างและประตูต่าง ๆ ด้วยลายปูนปั้นหรือตีตารางไม้ไว้ในช่องแสงเหนือประตูบางส่วน ตึกหลังนอกมีกันสาด มีเท้าแขนรับกันสาดทำอย่างเรียบ ๆ และประดับชายคาด้วยลายฉลุไม้ ตึกหลังในนี้เป็นที่ประทับของ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย พระมารดาของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยตำหนักกลางนั้นได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของหอศิลป์และหน่วยงานของมหาวิทยาลัย
เรียกว่า ศาลาดนตรี เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์เจ้าของวังเคยประทับที่ศาลานี้เพื่อชมการแสดงหรือประชันดนตรีซึ่งจะตั้งวงกันในสวนแก้ว เพราะในวังท่าพระขณะนั้นมีวงดนตรีประจำวังที่มีชื่อเสียง ศาลาในสวนนี้ทำเป็นศาลาโปร่งมีผนังด้านเดียว หันหน้าเข้าหาสวนแก้ว หลังคาเป็นแบบปั้นหยา มีลายประดับอาคารอย่างละเอียดซับซ้อนกว่าตัวตำหนัก จึงเข้าใจว่าสร้างทีหลัง ลายฉลุไม้ทั้งที่ชายคาท้าวแขนระเบียบทำอย่างประณีตงดงาม
- อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี
เป็นหนึ่งในศูนย์รวมใจของชาวศิลปากร สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บริเวณลานอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี หลังตึกกรมศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
พระตำหนักที่โดดเด่นที่สุดในหมู่พระตำหนักและพระที่นั่ง และเป็นสัญลักษณ์ของ พระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสนามใหญ่ สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2451 โดยมี หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ จุดเด่นของพระตำหนักองค์นี้คือสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะคล้ายกับปราสาท ซึ่งเป็นการผสมระหว่างศิลปะเรอเนซองส์ของฝรั่งเศส กับอาคารแบบฮาล์ฟ ทิมเบอร์ของอังกฤษ แต่ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศไทย ใน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระตำหนักว่า "พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์"[16] และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนัก เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460
พระตำหนัก 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทอง ทาสีแดง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิกของประเทศทางตะวันตก แต่ได้มีการปรับปรุงองค์ประกอบบางส่วนให้เหมาะกับภูมิอากาศแบบเมืองร้อน พระตำหนักองค์นี้สร้างขึ้นคู่กับพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ โดยมีฉนวนทางเดินทำเป็นสะพาน จากชั้นบนด้านหลังของพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ข้ามคูน้ำเชื่อมกับชั้นบนด้านหน้าของพระตำหนัก สะพานดังกล่าวหลังคามุงกระเบื้อง และติดหน้าต่างกระจกทั้งสองด้าน ตลอดความยาวของสะพานที่เชื่อมติดต่อถึงกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักนี้ ในราว พ.ศ. 2459 โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบ
อาคารตึกสองชั้นในพระราชวังสนามจันทร์ เคยเป็นที่ประทับในฤดูหนาวของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในอาคารมีเตาผิงและหลังคา มีปล่องไฟตามแบบตะวันตก ในระหว่างที่มีการซ้อมรบเสือป่า พระตำหนักเป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่ากองเสนาน้อยราบเบารักษาพระองค์ โดยพื้นที่ด้านหลังของพระตำหนักเป็นที่ตั้งของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อันเป็นที่มาของคำว่า "ม.ทับแก้ว"
เป็นเรือนไทยภาคกลางที่อาจเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบที่สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อรักษาศิลปะบ้านไทยแบบโบราณ และใช้พระตำหนักองค์นี้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่าราบหนักรักษาพระองค์ โดยบริเวณกลางชานเรือนปลูกต้นจันใหญ่แผ่กิ่งก้านไว้ให้ร่มเงาอยู่ เหตุนี้ต้นจันจึงถูกกำหนดให้เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ณ ที่อันเป็นศูนย์กลางของพระราชวังสนามจันทร์ สำหรับประดิษฐานพระคเณศ ซึ่งนับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง และเพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งพระราชวังสนามจันทร์ และเมื่อมองจากพระที่นั่งพิมานปฐม จะเห็นพระปฐมเจดีย์ เทวาลัยคเณศร์ และพระที่นั่งพิมานปฐมอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
- อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ก่อตั้งวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่บริเวณหน้าคณะศึกษาศาสตร์ ทางทิศเหนือของสำนักงานอธิการบดี
- สระแก้ว สะพานสระแก้ว และศาลาสระแก้ว
สระน้ำขนาดใหญ่กลางมหาวิทยาลัย อยู่คู่กับพระราชวังสนามจันทร์ มีบรรยากาศร่มรื่น มีการสร้างสะพานข้ามสระหลายแห่ง แต่ที่โดดเด่นคือสะพานไม้หน้าโรงอาหารสระแก้ว ใกล้กันมีศาลาไม้แปดเหลี่ยมแบบโปร่ง ฉลุตามแบบตะวันตก สระน้ำนี้เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและใช้จัดงานลอยกระทงที่มีชื่อเสียง
- ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
สร้างขึ้นในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นอาคารขนาดใหญ่ ขนาดความสูง 2 ชั้น ใช้ในกิจกรรมสำคัญของมหาวิทยาลัย อาทิ พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา พิธีปฐมนิเทศและบายศรีสู่ขวัญนักศึกษาชั้นปีที่ 1
วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
พระคเณศหล่อโลหะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หน้าตักกว้าง 96 นิ้ว ประดิษฐานเมื่อ พ.ศ. 2550 ปัจจุบันอยู่บริเวณลานเทวาลัยพระคเณศ เนื่องในปีมหามงคลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อองค์พระคเณศ ออกแบบปั้นและหล่อโดย อาจารย์ เสวต เทศน์ธรรม ประติมากรอาวุโส ศิษย์คนสำคัญของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นสิริมงคลแก่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
ลานเนินสูงต่ำหลายเนิน ปูคลุมทั้งหมดด้วยสนามหญ้า มีต้นไม้และสระน้ำขนาดใหญ่ กว้างขวาง จัดแสดงผลงานประติมากรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ของศิลปินที่มีชื่อเสียงจากทั้งในและต่างประเทศหลายชิ้น ตั้งอยู่บริเวณหน้าวิทยาเขต มีชื่อเล่นว่า "ลานเทเลทับบีส์" เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับสถานที่ในละครทีวีเรื่องเทเลทับบีส์ เป็นสถานที่พักผ่อนและใช้จัดกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ พิธีบรวงสวงพระคเณศ เทศกาลตลาดศิลป์ และพิธีลอยกระทง
อาคารสูง 7 ชั้น มีลักษณะโดดเด่น ก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้วัสดุและแนวคิดประหยัดพลังงาน เป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดีและหน่วยงานต่าง ๆ ในวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี และเป็นสัญลักษณ์ของวิทยาเขต ด้านข้างอาคารมีทางเดินเชื่อมกับอาคารเรียนรวม 1 เรียกว่าระเบียงชงโค
- สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ
ระเบียงภาพ
-
มศก. วังท่าพระ
-
ประตู มศก. วังท่าพระ
-
กำแพง มศก. วังท่าพระ
-
ท้องพระโรงและกำแพงแก้ว วังท่าพระ
-
อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ใน มศก. วังท่าพระ
-
ประตูฝั่งถนนทรงพล หน้า มศก. สนามจันทร์
-
สระแก้วและสะพานสระแก้ว ใน มศก. สนามจันทร์
วันสำคัญของมหาวิทยาลัยศิลปากร
- วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร
วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 เป็นวันที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศิลปากร"
ด้วยคุณูปการที่ ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี มีให้ต่อประเทศไทย ทำให้มีการรำลึกถึงท่านทุกวันที่ 15 กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายเกิดของท่าน เรียกกันว่า "วันศิลป พีระศรี" โดยถือเป็นวันสำคัญของวงการศิลปะไทยและนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ในวันศิลป พีระศรีนั้น มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ จะจัดกิจกรรมขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่าหรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน มีการวางดอกไม้เป็นการรำลึกถึงท่านที่ลานอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ โดยนักศึกษาจะเปิดร้านขายของที่ระลึกและมีการแสดงดนตรีสดตลอดทั้งวัน นอกจากนั้นยังมีการเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมแสดงความเคารพต่ออัฐิของท่านใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ และพิธีสำคัญจะเริ่มขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งทุ่ม ซึ่งจะเป็นการจุดเทียนที่ลานอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี พร้อมไปกับการร้องเพลงซานตาลูชีอา และเพลงศิลปากรนิยม เพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านในวันสำคัญนี้
- วันศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
เป็นบุคคลที่มหาวิทยาลัยศิลปากรมีความภาคภูมิใจในเกียรติประวัติและเกียรติคุณของท่าน ท่านมีคุณปการด้านการศึกษาที่โดดเด่น จนได้รับการยกย่องจาก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็น บุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา เนื่องในวาระฉลองชาติกาลครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2546
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านเคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยดำรงตำแหน่ง 3 วาระเป็นท่านแรก และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ณ พระราชวังสนามจันทร์ โดยตั้งคณะอักษรศาสตร์ขึ้นเป็นคณะวิชาแรก แล้วจึงมีคณะอื่น ๆ ขึ้นมาตามลำดับดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ท่านจึงเป็นเป็นผู้มีส่วนพัฒนามหาวิทยาลัยให้ก้าวหน้า ทำให้เกิดการขยายตัวทางการศึกษาหลายสาขาวิชา มหาวิทยาลัยมีความรำลึกถึงพระคุณของ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้ วันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปีเป็น "วันศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" และได้จัดกิจกรรมในวันดังกล่าวเพื่อรำลึกถึงพระคุณท่านที่มีต่อมหาวิทยาลัยศิลปากรมาตั้งแต่ พ.ศ. 2545 อันเป็นปีที่เปิดอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยศิลปากร
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี อดีตผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเสด็จฯ ครั้งแรกในวันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร ณ ท้องพระโรง วังท่าพระ[17]
ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
ทำเนียบนายกคณะกรรมการและนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศิลปากรมีนายกคณะกรรมการและนายกสภามหาวิทยาลัยมาแล้ว 11 คน ดังรายนามต่อไปนี้
รายนามผู้ดำรงตำแหน่งนายกคณะกรรมการและนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
|
ลำดับ
|
นายกคณะกรรมการ
|
วาระการดำรงตำแหน่ง
|
1
|
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
|
พ.ศ. 2486 – พ.ศ. 2500
|
2
|
พลโท ถนอม กิตติขจร
|
พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2503 พ.ศ. 2507 – พ.ศ. 2512
|
3
|
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
|
พ.ศ. 2503 – พ.ศ. 2507
|
ลำดับ
|
นายกสภามหาวิทยาลัย
|
วาระการดำรงตำแหน่ง
|
2
|
จอมพล ถนอม กิตติขจร
|
พ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2514
|
4
|
พลเอก บุญเรือน บัวจรูญ
|
18 กันยายน พ.ศ. 2515 – 17 กันยายน พ.ศ. 2517[18] 18 กันยายน พ.ศ. 2517 – 17 กันยายน พ.ศ. 2519[19] 18 กันยายน พ.ศ. 2519 – 17 กันยายน พ.ศ. 2521[20] 18 กันยายน พ.ศ. 2521 – 17 กันยายน พ.ศ. 2523[21] 18 กันยายน พ.ศ. 2523 – 17 กันยายน พ.ศ. 2525[22] 18 กันยายน พ.ศ. 2525 – 17 กันยายน พ.ศ. 2527[23] 18 กันยายน พ.ศ. 2527 – 17 กันยายน พ.ศ. 2529[24]
|
5
|
อดุล วิเชียรเจริญ
|
18 กันยายน พ.ศ. 2529 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2531 29 มิถุนายน พ.ศ. 2531 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2533[25]
|
6
|
ชุมพล พรประภา
|
29 มิถุนายน พ.ศ. 2533 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2535[26] 29 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2537[27] 29 มิถุนายน พ.ศ. 2537 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2539[28] 29 มิถุนายน พ.ศ. 2539 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2541[29] 29 มิถุนายน พ.ศ. 2541 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2543[30]
|
7
|
เกษม วัฒนชัย
|
29 มิถุนายน พ.ศ. 2543 – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (ขอลาออก)[31] 29 มิถุนายน พ.ศ. 2545 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2547[32]
|
8
|
เกษม สุวรรณกุล
|
29 มกราคม พ.ศ. 2544 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2545[33]
|
9
|
คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ
|
29 มิถุนายน พ.ศ. 2547 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2549[34] 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551 – 2 เมษายน พ.ศ. 2552[35] 3 เมษายน พ.ศ. 2552 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553[36] 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555[37] 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557[38] 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557 – 12 มกราคม พ.ศ. 2558[39] 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2567[40] 4 มิถุนายน พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน[41]
|
10
|
ชุมพล ศิลปอาชา
|
29 มิถุนายน พ.ศ. 2549 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551[42] 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551[43] (ขอลาออก)[44]
|
11
|
ภราเดช พยัฆวิเชียร
|
13 มกราคม พ.ศ. 2558 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560[45] 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[46][47]
|
- หมายเหตุ ตำแหน่งในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
ทำเนียบผู้อำนวยการและอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศิลปากรมีผู้อำนวยการและอธิการบดีมาแล้ว 21 คน ดังรายพระนามและรายนามต่อไปนี้[48]
รายพระนามและรายนามผู้อำนวยการและอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
|
ลำดับ
|
ผู้อำนวยการ
|
วาระการดำรงตำแหน่ง
|
1
|
ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)
|
พ.ศ. 2486 – พ.ศ. 2492
|
2
|
ศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
|
พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2494
|
3
|
ศาสตราจารย์ พลเอก หลวงรณสิทธิพิชัย (เจือ กาญจนิทุ)
|
พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2501
|
4
|
ศาสตราจารย์ ธนิต อยู่โพธิ์
|
พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2508
|
ลำดับ
|
อธิการบดี
|
วาระการดำรงตำแหน่ง
|
5
|
ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
|
19 สิงหาคม พ.ศ. 2508 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2510[49] 19 สิงหาคม พ.ศ. 2510 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2512[50] 19 สิงหาคม พ.ศ. 2512 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2514[51]
|
6
|
ศาสตราจารย์ พันเอก หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์
|
19 สิงหาคม พ.ศ. 2514 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2516[52] 19 สิงหาคม พ.ศ. 2516 – พ.ศ. 2517[53]
|
7
|
ศาสตราจารย์ แสวง สดประเสริฐ
|
รักษาราชการแทนอธิการบดี พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2518
|
8
|
ศาสตราจารย์ ดร. อดุล วิเชียรเจริญ
|
30 มกราคม พ.ศ. 2518 – 29 มกราคม พ.ศ. 2520[54] 30 มกราคม พ.ศ. 2520 – 28 มกราคม พ.ศ. 2522[55]
|
9
|
ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ทองใหญ่ ทองใหญ่
|
29 มกราคม พ.ศ. 2522 – 28 มกราคม พ.ศ. 2524[56] 29 มกราคม พ.ศ. 2524 – พ.ศ. 2525 (ขอลาออก)[57]
|
10
|
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล
|
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2527[58] 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2529[59]
|
11
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอนก วีรเวชชพิสัย
|
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2531[60]
|
12
|
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ
|
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2535[61] 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2539[62]
|
13
|
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ตรึงใจ บูรณสมภพ
|
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543[63]
|
14
|
อาจารย์ พุฒ วีระประเสริฐ
|
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2547[64]
|
15
|
รองศาสตราจารย์ ดร. วิวัฒน์ชัย อัตถากร
|
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2550[65]
|
16
|
อาจารย์ ภราเดช พยัฆวิเชียร
|
รักษาราชการแทนอธิการบดี 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 – 30 เมษายน พ.ศ. 2551 รักษาราชการแทนอธิการบดี 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
|
17
|
อาจารย์ ดร. อุทัย ดุลยเกษม
|
รักษาราชการแทนอธิการบดี 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551 – 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555[66]
|
18
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช
|
รักษาราชการแทนอธิการบดี 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2556 13 มีนาคม พ.ศ. 2556 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2560[67] รักษาราชการแทนอธิการบดี 1 เมษายน พ.ศ. 2562 – 25 กันยายน พ.ศ. 2562 26 กันยายน พ.ศ. 2562 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 (ขอลาออก)[68][69]
|
19
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันชัย สุทธะนันท์
|
รักษาการแทนอธิการบดี 13 มีนาคม พ.ศ. 2560 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2560 23 มีนาคม พ.ศ. 2560 – 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (ขอลาออก)[70] รักษาการแทนอธิการบดี 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 – 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[71]
|
20
|
อาจารย์ ปัญจพล เหล่าพูนพัฒน์
|
รักษาการแทนอธิการบดี 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2562[72]
|
21
|
ศาสตราจารย์ ดร. ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์
|
รักษาการแทนอธิการบดี 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2566[73] 18 มีนาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน[74]
|
- หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยศิลปากร
ปูชนียบุคคล
บุคคลในวงการบันเทิง
ข้าราชการ
- ประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "การกำหนดรหัสตัวพยัญชนะประจำกระทรวงและเลขที่หนังสือออก ของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ปรับปรุง ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2562)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-11. สืบค้นเมื่อ 2019-05-20.
- ↑ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศิลปากร พุทธศักราช 2486 เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา 12 ตุลาคม 2486 หน้า 1496 เล่ม 60 ตอนที่ 54
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓๙, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ [1], กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ↑ สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
- ↑ 6.0 6.1 พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศิลปากร พุทธศักราช 2486, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๕๔ หน้า ๑๔๙๗ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๘๖
- ↑ นพรัตน์, มนต์ชัยธนพัฒน์. "พบปะปู่ต้นไม้อายุเกิน 100 ปี แหล่งพื้นที่สีเขียวในเขตพระนคร". The Standard. สืบค้นเมื่อ 23 December 2023.
- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๕๗ ก หน้า ๗๙ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๓๐, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๗๗ ฉบับพิเศษ หน้า ๑ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๖ ก หน้า ๖ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑
- ↑ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๕๙, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๔๙ ก หน้า ๑ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๙
- ↑ ประกาศจัดราชการ และเปลี่ยนนามกระทรวงโยธาธิการใหม่ กับตั้งกรมศิลปากรขึ้นใหม่ กรมหนึ่ง, ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๗ มีนาคม ๑๓๐ เล่ม ๒๔ หน้า ๕๖๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒๔) เรื่องกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒, ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ ๕๓ เล่ม ๖๘ หน้า ๑๒๙๖ ๒๑ สิงหาคม ๒๔๙๔
- ↑ ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร เก็บถาวร 2017-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง หน้า ๒๕ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๙
- ↑ ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๙, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง หน้า ๒๖ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๙
- ↑ ประกาศพระราชทานนามพระตำหนัก ที่พระราชวังสนามจันทร์ เมืองนครปฐม, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๒ หน้า ๔๑๕ วันที่ ๙ มกราคม ๒๔๕๘
- ↑ พิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยศิลปากร หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ↑ คำสั่งกองบัญชาการคณะปฏิวัติ ที่ ๓๘๔/๒๕๑๕ เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๕๖ ฉบับพิเศษ หน้า ๗ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๑๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๗๑ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗ ๙ ตุลาคม ๒๕๑๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๕๗ หน้า ๔๐๑๓ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๙
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๒๒ ฉบับพิเศษ หน้า ๗ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๔๘ ฉบับพิเศษ หน้า ๑ ๒๔ กันยายน ๒๕๒๓
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๑๕ ฉบับพิเศษ หน้า ๖ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๒๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๓๙ ฉบับพิเศษ หน้า ๖ ๕ ตุลาคม ๒๕๒๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๑๒ ฉบับพิเศษ หน้า ๖ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๔๐ หน้า ๖๒๕๐ ๗ สิงหาคม ๒๕๓๓
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๖ ฉบับพิเศษ หน้า ๗ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๕ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๓๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๕ ๔ มิถุนายน ๒๕๓๙
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๓๖ ง หน้า ๗ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๔ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๓
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๖๕ ง หน้า ๖ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๕
- ↑ เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๘ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๔
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๒ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗
- ↑ รายนามนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยศิลปากร เริ่มวาระวันที่ 29 มิถุนายน 2551 – 28 มิถุนายน 2553, รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ระหว่างปี 2535 - 2557 หน้า 3
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๒๗ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๑๙ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๘๑ ง หน้า ๒ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕
- ↑ รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ 29 มิ.ย. 2557 - 12 ม.ค. 2558, สำนักงานสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓๕ ง หน้า ๓๑ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑๕๕ ง หน้า ๑๗ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๖๘ ง หน้า ๖ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๙
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๓๔ ง หน้า ๙ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๑
- ↑ ระเบียบวาระการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร วาระพิเศษ ครั้งที่ 3/2551, หน้า 5-6 2 เมษายน 2551
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๑๑ ง หน้า ๔ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๑๔ ง หน้า ๓ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๐
- ↑ รายนามนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยศิลปากร วาระการดำรงตำแหน่ง ระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม 2560 – 20 สิงหาคม 2563, สำนักงานสภามหาวิยาลัยศิลปากร
- ↑ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, กองทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๒ ตอนพิเศษ ๗๐ หน้า ๒๑๙๘ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๐๘
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๕ หน้า ๑๐๑ ๑๖ มกราคม ๒๕๑๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๑๘ หน้า ๓๕๕๐ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ คำสั่งกองบัญชาการคณะปฏิวัติ ที่ ๑๑๘/๒๕๑๕ เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๕๓ ฉบับพิเศษ หน้า ๑ ๑ เมษายน ๒๕๑๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๑๖ หน้า ๒๙๗๕ ๑๘ กันยายน ๒๕๑๖
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒ ตอนพิเศษ ๓๕ ฉบับพิเศษ หน้า ๗ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๑๒๙๙ ๒๙ มีนาคม ๒๕๒๐
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๑๒๘๙ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๖๖ ฉบับพิเศษ หน้า ๒ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๔
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๗๘ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘ ๑ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๙๕ ฉบับพิเศษ หน้า ๑ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๒๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๙๑ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๙
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๕ หน้า ๙๑๑๙ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๒๙ ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕ ๗ ตุลาคม ๒๕๓๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๘๘ ง หน้า ๒๑ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๙
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๙๔ ง หน้า ๒๐ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๐๐ ง หน้า ๑๕ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๒๐ ง หน้า ๑๐ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๓๕ ง หน้า ๗ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๖
- ↑ แต่งตั้งผู้รักษาการแทนอธิการบดี, คำสั่่งมหาวิทยาศิลปากรที่ 78/2565 9 พฤษภภาคม 2565
- ↑ Bhattarada (2022-05-02). "อธิการบดีศิลปากร "ลาออก" รับผิดชอบข่าวฉาว ถ่ายรูปแอร์บนเครื่องบิน". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๙๔ ง หน้า ๒ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
- ↑ มติชนออนไลน์ (2022-05-09). "มติสภา ม.ศิลปากรตั้ง 'วันชัย สุทธะนันท์' นั่งรักษาการอธิการบดี หลัง 'ชัยชาญ' ยื่นลาออก". มติชนออนไลน์.
- ↑ อธิการมศก.ลาออกแล้ว สภามหา’ลัยออกประกาศ ตั้ง ‘รองอธิการบดี’ รักษาการแทน, มติชนออนไลน์ วันที่ 18 ธันวาคม 2561 – 16:08 น.
- ↑ แต่งตั้งผู้รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 11/2565 หน้า 9 23 พฤศจิกายน 2565
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๖๕ ง หน้า ๒๗ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖
- ↑ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร, หอสมุดสาขา วังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ↑ ทรงพระเจริญ...การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงเข้าศึกษาปริญญาเอก สาขาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ที่ ม.ศิลปากร, สำนักข่าวทีนิวส์ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560 เวลา 09:39:35 น.
- ↑ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ทรงเจริญพระชันษา๓๔ปี ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ, สำนักข่าวทีนิวส์ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 13:25:21 น.
- ↑ เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ จักรพันธุ์ โปษยกฤต เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เก็บถาวร 2018-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ ชลูด นิ่มเสมอ เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ ช่วง มูลพินิจ เก็บถาวร 2018-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ ถวัลย์ ดัชนี เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ ทวี รัชนีกร เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ ประยูร อุลุชาฎะ เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ ประเวศ ลิมปรังษี เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ ประหยัด พงษ์ดำ เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ ปรีชา เถาทอง เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ พิชัย นิรันต์ เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ พูน เกษจำรัส เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ เฟื้อ หริพิทักษ์ เก็บถาวร 2018-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ มานิตย์ ภู่อารีย์ เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ เมธา บุนนาค เก็บถาวร 2018-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ ฤทัย ใจจงรัก เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ วนิดา พึ่งสุนทร เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ สวัสดิ์ ตันติสุข เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ สุจิตต์ วงษ์เทศ เก็บถาวร 2018-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ อังคาร กัลยาณพงศ์ เก็บถาวร 2017-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ อาวุธ เงินชูกลิ่น เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ อิทธิพล ตั้งโฉลก เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ อินสนธิ์ วงศ์สาม เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ เปิดใจ "มิว ลักษณ์นารา" เงือกน้อย แห่งอักษรศาสตร์, ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 9 มกราคม 2558
- ↑ ส่องประวัติ 'ตาหวาน BNK48' ไอดอลสายดีด ผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยความฝันและความพยายาม เก็บถาวร 2018-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ทรูปลูกปัญญา วันที่ 7 มิถุนายน
2561
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
13°45′10.93″N 100°29′27.98″E / 13.7530361°N 100.4911056°E / 13.7530361; 100.4911056
|
---|
อัตลักษณ์ | | |
---|
วิทยาเขต | |
---|
คณะ | |
---|
วิทยาลัย | |
---|
หน่วยงานอื่น | |
---|
สถานที่สำคัญ | |
---|
หน่วยงานในอดีต | |
---|
|
ลิงก์ไปยังบทความที่เกี่ยวข้อง |
---|
|
---|
นายกคณะกรรมการ | |
---|
นายกสภามหาวิทยาลัย | |
---|
(ในวงเล็บ) หมายถึง วาระการดำรงตำแหน่งของบุคคลนั้น (กรณีมากกว่า 1 วาระ) |
|
---|
ผู้อำนวยการ | |
---|
อธิการบดี | |
---|
(ในวงเล็บ) หมายถึง วาระการดำรงตำแหน่งของบุคคลนั้น (กรณีมากกว่า 1 วาระ) |
|
---|
| |
---|
มหาวิทยาลัย | |
---|
สถาบัน | |
---|
วิทยาลัย | |
---|
|
| |
---|
มหาวิทยาลัย | |
---|
สถาบัน | |
---|
วิทยาลัย | |
---|
|
| | | | |
|
---|
วัด/องค์กรศาสนา | | |
---|
สถาบันการศึกษา | |
---|
กองสาธารณสุข | |
---|
องค์กรสาธารณกุศล | |
---|
|
---|
พระที่นั่ง | | |
---|
พระตำหนัก | |
---|
เรือน | |
---|
สถานที่อื่น | |
---|
สิ่งก่อสร้างในอดีต | |
---|
ดูเพิ่ม | |
---|
|
---|
การเมือง | ระบอบการปกครอง | |
---|
อุดมการณ์ | |
---|
อื่น ๆ | |
---|
| |
---|
ศิลปะ-วัฒธรรม | |
---|
สถานที่ และสิ่งปลูกสร้าง | อนุสาวรีย์ | |
---|
ผังเมือง | |
---|
การศึกษา-กีฬา | |
---|
ศูนย์ราชการ | |
---|
การทหาร | |
---|
สาธารณสุข | |
---|
คมนาคม | |
---|
ศาสนสถาน | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
|
---|
อื่น ๆ | |
---|
- (✗) = ไม่ปรากฏแล้ว, ถูกรื้อถอน, สูญหาย, ยกเลิก
- (∇) = เปลี่ยนชื่อ, เปลี่ยนแปลงความหมาย
|
|
|