ภูเก็ต (เดิมสะกดว่า ภูเก็จ) เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย และเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่บนทะเลอันดามัน มีจังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือและทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงา ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ต นอกจากทางเรือแล้ว ยังสามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียว คือ ผ่านทางจังหวัดพังงาทางทิศเหนือ โดยข้ามสะพานสารสิน และสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศ โดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ
คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต[4] (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า "ภูเขา" ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า "บูเก๊ะ" หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ประวัติ
เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นสะกดว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลได้ว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา (ภู) มีประกายแก้ว (เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ต (เกาะถลาง) นี้เอง[ต้องการอ้างอิง]
จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราชเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดา ชาวโปรตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต (ถลาง)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็นจังหวัดภูเก็ต
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ลำดับ
|
ชื่อ
|
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
|
รายชื่อเจ้าเมืองถลาง[5]
|
1
|
พระยาถลาง ซาร์บอนโน
|
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
|
2
|
พระยาถลาง บิลลี
|
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
|
3
|
พระยาถลางจอมสุรินทร์
|
สมัยสมเด็จพระเพทราชา
|
4
|
พระยาถลาง คางเซ้ง
|
สมัยสมเด็จพระเพทราชา-สมเด็จพระเจ้าเสือ
|
5
|
พระยาถลางจอมเฒ่า
|
สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
|
6
|
พระยาถลางจอมร้าง
|
สมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ
|
7
|
พระยาถลางอาด
|
|
8
|
พระยาถลางชู
|
2312-2314
|
9
|
พระยาสุรินทราชา (พิมลขัน)
|
2314-2325
|
10
|
พระยาถลาง (ขัน)
|
2335-2328
|
11
|
พระยาถลาง ทองพูน
|
2328-2332
|
12
|
พระยาถลาง เทียน
|
2332-2352
|
13
|
พระยาถลาง บุญคง
|
2352-2360
|
14
|
พระยาถลาง เจิม
|
2360-2370
|
15
|
พระยาถลาง ทอง
|
2370-2380
|
16
|
พระยาถลาง ฤกษ์
|
2380-2391
|
17
|
พระยาถลาง ทับ
|
2391-2405
|
18
|
พระยาถลาง คิน
|
2405-2412
|
19
|
พระยาถลาง เกด
|
2412-2433
|
20
|
พระยาถลาง หนู
|
2433-2437
|
รายชื่อเจ้าเมืองภูเก็ต[5]
|
1
|
เจ้าภูเก็ต เทียน
|
2312-2332
|
2
|
หลวงภูเก็ต ช้างคด
|
2332-ระยะเวลาพม่าเผาบ้านเมืองถลาง
|
3
|
พระภูเก็ต นายศรีชายนายเวร
|
ระยะเวลาพม่าเผาบ้านเมืองถลาง
|
4
|
หลวงปลัด อุด
|
ระยะเวลาพม่าเผาบ้านเมืองถลาง
|
5
|
พระภูเก็ต แก้ว
|
2370-2405
|
6
|
พระภูเก็ต (ทัด รัตนดิลก ณ ภูเก็ต)
|
2405-2412
|
7
|
พระยาภูเก็ต ลำดวน
|
2412-2433
|
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
|
1
|
พระยาวิสูตรสาครดิฐ (สาย โชติกะเสถียร)
|
ก่อน พ.ศ. 2450
|
2
|
พระยาวิเศษสิงหนาท (ปิ๋ว บุนนาค)
|
ก่อน พ.ศ. 2450
|
3
|
พระยาประชากิจกรจักร (ชุบ โอสถานนท์)
|
ก่อน พ.ศ. 2450
|
4
|
พระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ (อรุณ อมาตยกุล)
|
ก่อน พ.ศ. 2450
|
5
|
หม่อมเจ้าปฏิพัทธเกษมศรี เกษมศรี
|
พ.ศ. 2450–2458
|
6
|
พระยาทวีปธุระประศาสตร์ (ชุบ โอสถานนท์)
|
พ.ศ. 2458–2461
|
7
|
พระยากรุงศรีสวัสดิการ (จำรัส สวัสดิ-ชูโต)
|
พ.ศ. 2461–2465
|
8
|
พระยานครราชเสนี (สหัส สิงหเสนี)
|
พ.ศ. 2465–2471
|
9
|
พระศรีสุทัศน์ (ม.ล.อนุจิตร สุทัศน์)
|
พ.ศ. 2471–2472
|
10
|
พระยาอมรศักดิ์ประสิทธิ์ (ทนง บุนนาค)
|
พ.ศ. 2472–2476
|
11
|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
|
พ.ศ. 2476–2476
|
12
|
พระยาสุริยเดชรณชิต
|
พ.ศ. 2476–2478
|
13
|
พระยาศิริชัยบุรินทร์ (เบี๋ยน)
|
พ.ศ. 2478–2479
|
14
|
พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ (จิตร จิตตะยโศธร)
|
พ.ศ. 2479–2480
|
15
|
หลวงเธียรประสิทธิสาร (ร.อ.มงคล เธียรประสิทธิ์)
|
พ.ศ. 2480–2486
|
16
|
หลวงอังคณานุรักษ์ (ร.อ.ถวิล เทพาคำ)
|
พ.ศ. 2486–2489
|
17
|
ขุนภักดีดำรงค์ฤทธิ์ (.....เกษีพันธ์)
|
พ.ศ. 2489–2492
|
18
|
นายอุดม บุณยประสพ
|
พ.ศ. 2492–2494
|
19
|
นายมาลัย หุวะนันทน์
|
พ.ศ. 2494–2495
|
20
|
ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์)
|
พ.ศ. 2495–2497
|
21
|
นายมงคล สุภาพงษ์
|
พ.ศ. 2497–2500
|
22
|
นายเฉลิม ยูปานนท์
|
พ.ศ. 2500–2501
|
23
|
ขุนวรคุตต์คณารักษ์
|
พ.ศ. 2501–2501
|
24
|
นายอ้วน สุระกุล
|
พ.ศ. 2501–2511
|
25
|
นายกำจัด ผาติสุวัณณ
|
พ.ศ. 2511–2512
|
26
|
นายสุนัย ราชภัณฑารักษ์
|
พ.ศ. 2512–2518
|
27
|
นายศรีพงศ์ สระวาลี
|
พ.ศ. 2518–2521
|
28
|
นายเสน่ห์ วัฑฒนาธร
|
พ.ศ. 2521–2523
|
29
|
นายมานิต วัลยะเพ็ขร์
|
พ.ศ. 2523–2528
|
30
|
นายสนอง รอดโพธิ์ทอง
|
พ.ศ. 2528–2529
|
31
|
นายกาจ รักษ์มณี
|
พ.ศ. 2529–2530
|
32
|
นายเฉลิม พรหมเลิศ
|
พ.ศ. 2530–2534
|
33
|
นายยุวัฒน์ วุฒิเมธี
|
พ.ศ. 2534–2536
|
34
|
นายสุดจิต นิมิตกุล
|
พ.ศ. 2536–2539
|
35
|
นายจำนง เฉลิมฉ้ตร
|
พ.ศ. 2539–2541
|
36
|
นายเจด็จ อินสว่าง
|
พ.ศ. 2541–2542
|
37
|
นายชาญชัย สุนทรมัฎฐ์
|
พ.ศ. 2542–2543
|
38
|
นายพงศ์โพยม วาศภูติ
|
พ.ศ. 2543–2546
|
39
|
นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร
|
พ.ศ. 2546–2549
|
40
|
นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร
|
พ.ศ. 2549–2551
|
41
|
นายปรีชา เรืองจันทร์
|
พ.ศ. 2551–2552
|
42
|
นายวิชัย ไพรสงบ
|
พ.ศ. 2552–2553
|
43
|
นายตรี อัครเดชา
|
พ.ศ. 2553–2555
|
44
|
นายไมตรี อินทุสุต
|
พ.ศ. 2555–2557
|
45
|
นายนิสิต จันทร์สมวงศ์
|
พ.ศ. 2557–2558
|
46
|
นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา
|
พ.ศ. 2558–2559
|
47
|
นายโชคชัย เดชอมรธัญ
|
พ.ศ. 2559–2560
|
48
|
นายนรภัทร ปลอดทอง
|
พ.ศ. 2560–2561
|
49
|
นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์
|
พ.ศ. 2561–2563
|
50
|
นายณรงค์ วุ่นซิ้ว
|
พ.ศ. 2563–2566
|
51
|
นายโสภณ สุวรรณรัตน์
|
พ.ศ. 2566–ปัจจุบัน
|
หน่วยการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
การปกครองแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 17 ตำบล 104 หมู่บ้าน
ชั้น
|
หมายเลข
|
อำเภอ
|
ประชากร (พ.ศ. 2561)
|
พื้นที่ (ตร.กม.)
|
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.)
|
รหัสไปรษณีย์
|
ระยะทางจาก อำเภอเมืองภูเก็ต
|
พิเศษ
|
1 |
อำเภอเมืองภูเก็ต |
247,115 |
224.0 |
1,103.19 |
83000, 83100, 83130
|
-
|
1
|
2 |
อำเภอกะทู้ |
58,600 |
67.09 |
873.45 |
83120, 83150
|
9
|
1
|
3 |
อำเภอถลาง |
104,496 |
252.0 |
414.67 |
83110
|
23
|
|
รวม |
402,017 |
543.034 |
740.31 |
|
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
มีการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
- เทศบาลนคร
- เทศบาลเมือง
- เทศบาลตำบล
- เทศบาลตำบลราไวย์
- เทศบาลตำบลรัษฏา
- เทศบาลตำบลวิชิต
- เทศบาลตำบลฉลอง
- เทศบาลตำบลกะรน
- เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
- เทศบาลตำบลศรีสนุทร
- เทศบาลตำบลป่าคลอก
- เทศบาลตำบลเชิงทะเล
ประชากร
ชาวเลเป็นกลุ่มชนกลุ่มแรก ๆ ที่มาอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นมาจึงกลุ่มชนอื่น ๆ อพยพตามมาอีกจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ชาวไทยใต้ ชาวเปอรานากัน ชาวมาเลเซีย ฯลฯ จนมีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นสีสันอย่างหนึ่งของภูเก็ต ตามบันทึกของฟรานซิส ไลต์ กล่าวถึงชาวภูเก็ตว่าเป็นพวกผสมผสานกันทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมกับชาวมลายู โดยเฉพาะคนไทยจำนวนมากในสมัยนั้นทำตัวเป็นพุทธศาสนิกชน สักการะพระพุทธรูป ขณะที่กัปตันทอมัส ฟอร์เรสต์ ชาวอังกฤษที่เดินเรือมายังภูเก็ต ใน พ.ศ. 2327 ได้รายงานว่า "ชาวเกาะแจนซีลอนพูดภาษาไทย ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจภาษามลายู พวกเขามีลักษณะหน้าตาคล้ายกับชาวมลายู ท่าทางคล้ายชาวจีนมาก"
ปัจจุบันชาวภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนช่องแคบ ชาวจีนกวางตุ้ง ฯลฯ รวมไปถึงชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม แถบอำเภอถลาง โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมมีจำนวนถึงร้อยละ 20-36 ของประชากรในภูเก็ต มีมัสยิดแถบอำเภอถลางราว 30 แห่งจาก 42 แห่งทั่วจังหวัด มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ยและพวกมอแกน (มาซิง) ซึ่งมอแกนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ มอเกนปูเลา (Moken Pulau) และ มอเกนตาหมับ (Moken Tamub) และยังมีชนกลุ่มต่างชาติอย่างชาวยุโรปที่เข้าลงทุนในภูเก็ต รวมไปถึงชาวอินเดีย มีชาวคริสต์ในภูเก็ตราว 300 คน ชาวสิกข์ที่มีอยู่ราว 200 คน และชาวฮินดูราว 100 คน และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ลาว และเขมรราวหมื่นคน
จากการสำรวจใน พ.ศ. 2553 พบว่าประชากรในจังหวัดภูเก็ตนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 73 ศาสนาอิสลามร้อยละ 25 ศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 2[7] ส่วนการสำรวจใน พ.ศ. 2557 พบว่านับถือศาสนาพุทธร้อยละ 71.06 ศาสนาอิสลามร้อยละ 27.60 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 1.01 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.33[8] และการสำรวจใน พ.ศ. 2560 พบว่านับถือศาสนาพุทธร้อยละ 68.61 ศาสนาอิสลามร้อยละ 26.65 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.98 นอกนั้นนับถือศาสนาอื่น[6]
สถานที่สำคัญ
- ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เป็นศาลากลางที่มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ทั้งยังเป็นโบราณสถานที่ยังใช้การอยู่จนกระทั่งปัจจุบันอีกด้วย
- วัดฉลอง (ปัจจุบันชื่อ วัดไชยธาราราม) พ.ศ. 2419 ศิษย์พ่อท่านแช่มต่อสู้กับอั้งยี่
- วัดพระนางสร้าง มีลายแทง "พิกุลสองสารภีดีสมอแดงจำปาจำปีตะแคง..." พระพุทธรูปดีบุกที่เก่าแก่ที่สุด ตำนานพระนางเลือดขาว
- อนุสาวรีย์ ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509
- เกาะสิเหร่ มีชาวเลกลุ่มอูรักลาโว้ย (ชาวไทยใหม่) รองเง็งคณะแม่จิ้ว ประโมงกิจ เป็นแม่เพลงอันดามัน หรือราชินีรองเง็งแห่งอันดามัน มีพระพุทธไสยาสน์ บนยอดเขา วัดบ้านเกาะสิเหร่ เกาะสิเหร่ แต่เดิมชาวอุรักลาโว้ย เรียกว่า "ปูเลา ซิเระห์" แปลว่า "เกาะพลู" ภายหลังจึงเพี้ยนไปเป็น "เกาะสิเหร่" ตามสำเนียงคนไทยเรียก
- ศาลเจ้ากะทู้ (อ๊ามในทู) เป็นที่แรก ที่เริ่มประเพณีถือศิลกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย)
- ศาลเจ้าบางเหนียว ศาลเจ้าใกล้บริเวณท่าเรือที่ชาวต่างชาติรับส่งสินค้ามีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี
- ศาลเจ้าแสงธรรม หรืออ๊ามเตงก่องต๋อง ศาลเจ้าเก่าแก่แห่งหนึ่งของภูเก็ตมีสถาปัตยกรรมที่งดงามมาก เป็นศาลเจ้าประจำตระกูลตัน
- ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ หรือฮกเล่งเก้ง เป็นที่ประดิษฐานองค์พระโป๊เซ้งไต่เต่ องค์พระประธานของศาลเจ้า
- ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย หรือ จุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง หรือ คนภูเก็ตเรียกว่า อ๊ามจุ๊ยตุ๋ย (เป็นศาลเจ้าที่มีคนร่วมงานประเพณีถือศิลกินผักมากที่สุดในจังหวัด)
- วัดพระทอง วัดในอำเภอถลาง
- จุดชมวิวกะรน หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่าจุดชมวิวสามอ่าว เป็นจุดชมวิวบนเนินเขาซึ่งชื่อเล่นนั้นก็มาจากการที่สามารถมองเห็นอ่าว เห็นชายหาดได้ถึง 3 หาดจากจุดชมวิวนี้ทั้งหาดกะตะน้อย กะตะ และกะรน นอกจากนั้นยังสามารถมองเห็นน้ำทะเลไล่โทนสีอีกด้วย
- จุดชมวิวเขารัง เขารังนั้นเป็นภูเขาเตี้ยๆ ภายในตัวจังหวัด ในอดีตนั้นเรียกว่าเขาหลัง เพราะเปรียบเสมือนหลังบ้านของจังหวัดภูเก็ต ด้านบนนั้นมีสวนสาธารณะให้ประชาชนได้ไปผ่อนคลาย ซึ่งจากด้านบนจะมีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นวิวตัวเมืองภูเก็ตและทะเลภูเก็ตได้ไกลๆ สวยงามมากทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนเลย
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง มีเทวประธานคือพระวิษณุ จดหมายเหตุท้าวเทพกระษัตรี หง่อก่ากี่ ชาวเล
- ภูเก็ตแฟนตาซี ภูเก็ตแฟนตาซี ธีมปาร์ควัฒนธรรมไทยแห่งแรกของโลก ซึ่งมีหลายจุดน่าสนใจทั้งภูผาพิศวง จำลองเขาตะปูของอ่าวพังงา หมู่บ้านพรรษา ที่มีสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์หลายรูปแบบ มีการจัดแสดงชุดมหัศจรรย์กมลาที่เป็นการแสดงที่ใช้งบลงทุนทั้งในโชว์และในโรงละครวังไอยราสูงถึง 1,500 ล้านบาท
- ย่านเมืองเก่าภูเก็ต (สถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส) ถนนถลาง ถนนดีบุก ถนนพังงา ถนนกระบี่ ถนนภูเก็ต ถนนรัษฎา ถนนระนอง ถนนเยาวราช ถนนเทพกระษัตรี ถนนสตูล ซอยรมณีย์ และตรอกสุ่นอุทิศ
- พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต เดิมใช้ชื่อว่าพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ใน อังมอเหลามีเหมืองจำลองเหมืองแล่น เหมืองรู เหมืองหาบ เหมืองฉีด เหมือง เรือขุด; โลหะดีบุก เพชรภูเก็จ เพชรพังงา แทนทาลัม วิถีชีวิตชาวกะทู้; ภายนอกมีรางเหมืองแร่ (เหมืองสูบ-ฉีด) ขนาดใหญ่ไว้สาธิตการได้แร่ดีบุกของนายหัวเหมือง
- พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี หรือพระใหญ่แห่งเมืองภูเก็ต พระใหญ่ประดิษฐานอยู่บนยอดเขานาคเกิด เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ สามารถสังเกตเห็นได้จากหลายจุดในภูเก็ต ผิวของพระพุทธรูปนั้นประดับด้วยหินอ่อนหยกขาวจากพม่า เป็นงานประณีตที่สวยงามมาก
- แหลมพรหมเทพ แลนด์มาร์กของจังหวัดภูเก็ต เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่ว่ากันว่าสวยที่สุดในประเทศไทย แหลมพรหมเทพมีลักษณะเป็นแหลมโค้งทอดตัวลงสู่ทะเล สามารถเดินลงไปที่ปลายแหลมได้ เมื่อไปถึงตรงปลายแหลมจะสามารถมองเห็นวิวด้านซ้ายเป็นหาดในยะ ส่วนด้านขวาก็จะเป็นชายหาดในหานสวยงามมากทีเดียว นอกจากตัวแหลมแล้ว เพื่อนๆ ยังสามารถไปดูประภาคารกาญจนาภิเษก ซึ่งภายในจะมีนิทรรศการเกี่ยวกับการสร้างประภาคาร
- สนามบินนานาชาติภูเก็ต อยู่ติดชายทะเลระหว่างหาดในยางและหาดไม้ขาว
- อนุสรณ์สถานเมืองถลาง อยู่ในสมรภูมิเมืองถลาง พ.ศ. 2328 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง พื้นที่ ๙๖ ไร่ ก่อนการพัฒนาเป็นทุ่งนาหลวง มีคลองเสน่ห์โพไหลผ่านไปบรรจบกับคลองบางใหญ่ซึ่งไหลมาจากเทือกเขาพระแทวไปออกทะเลที่อู่ตะเภา ทะเลพัง เคยเป็นที่จอดเรือรบของยี่หวุ่น แม่ทัพเรือพม่าเมื่อ พ.ศ. 2328
- ฮ่ายเหลงอ๋อง พญามังกร ณ ลานเฉลิมพระเกียรติฯ 72 พรรษา มหาราชินี (อยู่ติดกับสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูเก็ต)
- หาดป่าตอง ชายหาดในอำเภอกะทู้
- คริสตจักรพระนิเวศภูเก็ต ศาสนสถานของคริสเตียนในตำบลฉลอง ตั้งอยู่เลขที่ 40/36 ซ.ทรงคุณ หมู่ 1 ตำบลฉลอง
ภาษาถิ่น
ภาษาถิ่นของจังหวัดภูเก็ต เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ ที่ไม่เหมือนถิ่นอื่นในภาคใต้ โดยจะมีสำเนียงภาษาจีนฮกเกี้ยน และภาษามลายูปนอยู่มาก ดังนั้นภาษาถิ่นภูเก็ตจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พบได้เฉพาะ แถบภูเก็ตและพังงา เท่านั้น
ในอดีตนั้นชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในภูเก็ตนั้น ส่วนใหญ่ล้วนเป็นชาวจีนอพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยน เมื่อเข้ามาอาศัยอยู่ในภูเก็ตแล้ว ก็ได้นำเอาวัฒนธรรมต่าง ๆ มากมายเข้ามาใช้ หนึ่งในนั้นก็คือ ภาษา ซึ่งในยุคแรก ๆ นั้นได้ติดต่อสื่อสารกันด้วยภาษาจีนฮกเกี้ยน ต่อมามีการค้าขายมากขึ้นต้องติดต่อกับต่างชาติมากขึ้น ชาวจีนฮกเกี้ยนบางส่วนก็ไปมาหาสู่กับปีนัง มาเลเซียบ้าง มีการค้าขายแร่ดีบุกต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้ภาษามลายูเริ่มเข้ามาผสมปนเข้าด้วยกันกับภาษาฮกเกี้ยน ทำให้เกิดเป็นภาษาที่ผสมสำเนียงเข้าด้วยกัน เป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในภูเก็ตและใกล้เคียง
ภาษาฮกเกี้ยนในภูเก็ตนั้น ปัจจุบันยังคงมีใช้อยู่เพียงแต่สำเนียงอาจจะเพี้ยนไปจากภาษาฮกเกี้ยนเดิมบ้าง เพื่อปรับให้เข้ากับการออกเสียงของคนภูเก็ต ซึ่งใกล้เคียงกับภาษาฮกเกี้ยนที่ใช้กันในปีนัง มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ เนื่องจากมีการปรับเสียงให้เข้ากับสัทอักษรการออกเสียงของคนภูเก็ต บางคำในภาษาฮกเกี้ยนจึงไม่เหมือนกันภาษาฮกเกี้ยนแท้ของจีน แต่ก็ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังพบว่าระบบไวยากรณ์ที่ใช้นั้น บ้างก็ยืมมากจากภาษาฮกเกี้ยนด้วย ภาษาภูเก็ตบ้างก็เรียก ภาษาบาบ๋า
การศึกษา
โรงเรียน
ระดับอุดมศึกษา
เหตุการณ์และอุบัติเหตุ
- วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2527 เกิดเหตุไฟไหม้ บ้านเลขที่ 103 ถนนบางกอก อำเภอเมืองภูเก็ต มีผู้เสียชีวิตเป็นผู้หญิง 5 ราย ซึ่งภายหลังวันต่อมาทราบว่าผู้เสียชีวิตทั้งห้าราย มีอาชีพเป็นหญิงขายบริการทางเพศ
- วันที่ 23-30 มิถุนายน พ.ศ. 2529 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหลัง[9]เกิดเหตุจลาจลทั่วจังหวัดภูเก็ตเพื่อประท้วงคัดค้านโรงงานแทนทาลัมจนนำไปสู่การเผาโรงงานแทนทาลัม อันเป็นการเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไปสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างสิ้นเชิง
- วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย และทำให้เกิดคลื่นสึนามิในเวลาต่อมา เกิดเหตุเวลา 07.58 น. ตามเวลาในประเทศไทย ศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปในมหาสมุทรอินเดีย ใกล้ด้านตะวันตกของตอนเหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ทำให้เกิดความเสียหายบนเกาะสุมาตรา และภาคใต้ของประเทศไทย
- วันที่ 16 กันยายน 2550 - เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินของสายการบิน วัน-ทู-โก แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ OG 269 ซึ่งเดินทางมาจากท่าอากาศยานดอนเมือง แต่เมื่อถึงท่าอากาศยานภูเก็ตแล้ว เครื่องบินเกิดการไถลออกนอกรันเวย์(ทางวิ่ง) ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 90 ราย บาดเจ็บ 41 ราย
- วันที่ 10-24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร[10]
- วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เกิดเหตุเผาทำลายสถานีตำรวจภูธรถลางท่ามกลางการใช้ มาตรา 44 แทนกฎอัยการศึก[11]ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีผู้ต้องหาประมาณ 50 ราย ทั้งหมดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายมาตรา 44 และพรบ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558[12]
- วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เกิดเหตุการณ์เรือล่ม 3 ลำ[13] โดยมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 47 ราย[14]
เมืองพี่เมืองน้อง
บุคคลที่มีชื่อเสียงของจังหวัด
(รายชื่อบุคคลบันเทิงดังต่อไปนี้ ไม่ได้เรียงลำดับจากอายุงานทางด้านวงการบันเทิง)
- ภัทรพล ศิลปาจารย์ (พอล) - นักจัดรายการวิทยุ, นักแสดง , นักธุรกิจ
- จริยา แอนโฟเน่ (นก) - นักแสดง, ผู้จัดละครของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- สกาวใจ พูนสวัสดิ์ (อ๋อม) - พิธีกร,นักแสดง
- วิชญาณี เปียกลิ่น (แก้มเดอะสตาร์) - ผู้ชนะการประกวดจากรายการเรียลลิตีโชว์ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 4
- จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม (โดม) - ผู้ชนะการประกวดจากรายการเรียลลิตีโชว์ รายการเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 8
- สโรชา เย็นใส (โบวี่) - นักร้องสังกัดอาร์เอส
- อาเมเรีย จาคอป (เอมี่) - มิสทีนไทยแลนด์ 2006
- พรสุดา ถาวราภา (เจแอน) - นักร้องสังกัด (GMM GRAMMY)
- จักรกฤษณ์ อินทนา (อุ่น) เคพีเอ็น 2
- สุภาษิต วงษา (อ้น) - ผู้ชนะเลิศ To Be Number One Idol รุ่นที่2
- อันโทนี่ ทง (กาย) - รองชนะเลิศอันดับ 1 เคพีเอ็น อวอร์ด 2010, นักร้องสังกัดเคพีเอ็น
- พิทวัส พฤกษกิจ (โต้ง 2p) - นักร้องวงเซาท์ไซด์ สังกัดไทยเทเนี่ยม เอ็นเตอร์เทนเมนต์
- จิณภัค เปียกลิ่น (เกต เดอะสตาร์) - ผู้ร่วมการแข่งขันรายการเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 6, นักร้องสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
- มัฑณาวี คีแนน (ซี) - นักร้องสังกัดอาร์เอส
- ลัลณ์ลลิน เตจะสา เวศซ์ (เฌอเบลล์) - นักแสดงสังกัดเอ็กแซ็กท์
- เซลิน่า เพียซ (เซ) - นักแสดงสังกัดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- มาเรีย จูเลียตต้า คอนเซนติโน่ (จูเลียต) - นักแสดงสังกัดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- ธนนท์ จำเริญ (นนท์) - ผู้ชนะเลิศเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 1 และ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ฤดูกาลที่ 4
- ภาวิดา มอริจจิ (ซิลวี่) - ผู้เข้าร่วมการแข่งขันเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาวปี 7
- วัลเณซ่า เมืองโคตร (ณฉัตร) - มิสไทยแลนด์เวิลด์ 2012
- เทีย ลี่ ทวีพาณิชย์พันธุ์ (เทีย) - มิสทีนไทยแลนด์ 2012, ผู้เข้าแข่งขันเอเชียเน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 2 และ รองชนะเลิศรายการเดอะเฟซไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 3ผู้เขาแข่งขันรายการเดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซั่น 4 ออลสตาร์
- โสภาพรรณ วิรุฬหมาศ (เชอร์รี่) - มิสโกลบอินเตอร์เนชันแนลไทยแลนด์ 2013
- ซูซานน่า เรโนล (ซู) - พรีเซนเตอร์โฆษณา
- ณัฐวดี ดอกกะฐิน (นัท) - เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 10
- ธนกฤต อยู่โต (โจอี้) - นักแสดงสังกัดสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- ธัญชนก กู๊ด (แพทริเซีย) - นักแสดงสังกัดสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- รัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น (เจมส์) - พิธีกร , นักแสดง , นายแบบ , นักจัดรายการวิทยุ
- ชาวิกา วัตรสังข์ (ยิ้ม) รองชนะเลิศอันดับหนึ่งมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2558, Top10 ไทยซุปเปอร์โมเดลคอนเทสต์ 2012, มิสเอิร์ธไทยแลนด์ 2015
- กันติชา ชุมมะ (ติชา) - ผู้ชนะเลิศเดอะเฟซไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 2
- นัตยา ทองเสน (เพลงขวัญ) - รองชนะเลิศ รายการเดอะเฟซไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 3 นักแสดงของ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ภายใต้สังกัด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
- อารียา ผลฟูตระกูล (กิ่ง) - สงครามนางงาม 2
- อแมนด้า ออบดัม (ด้า) -มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2563, มิสทัวริซึมเมโทรโพลิตันอินเตอร์เนชันแนล 2016
- ปาเมล่า ปาสิเนตตี้ (แพม) - มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2017
- ธนบดี ใจเย็น (ภีม) - นักร้องสังกัด MBO Teen Entertainment
- อาร์เธอร์ อภิชาติ กานโยซ์ (อติล่า) - รองชนะเลิศ รายการเดอะเฟซเมนไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 1 รองชนะเลิศ รายการเดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซั่น 4 ออลสตาร์
- วัณเลิศ รณรงค์ (เต้ ควนดินแดง ) - บุคคลยอดเยี่ยมประจำจังหวัด ครั้งที่ 45 เมื่อ 2017
- อชิรญา เสนปาน (มาย Last Idol)
ดูเพิ่ม
หนังสือและบทความ
- ธีรวัต ณ ป้อมเพชร. (2550). ตามรอย (ว่าด้วย) ประวัติศาสตร์เมืองภูเก็ตในคริสต์ศตวรรษที่ 17 (กรรณิกา จรรย์แสง, ผู้แปล). ใน ยงยุทธ ชูแว่น (บก.), คาบสมุทรไทยในราชอาณาจักรสยาม. น. 229–81. กรุงเทพฯ: นาคร.
- นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2550). จากรัฐชายขอบถึงมณฑลเทศาภิบาล: ความเสื่อมสลายของกลุ่มอำนาจเดิมในเกาะภูเก็ต. ใน ยงยุทธ ชูแว่น (บก.), คาบสมุทรไทยในราชอาณาจักรสยาม. น. 283–347. กรุงเทพฯ: นาคร.
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
7°53′N 98°23′E / 7.88°N 98.38°E / 7.88; 98.38
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดภูเก็ต
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | คมนาคม | |
---|
ธุรกิจและการท่องเที่ยว | |
---|
|
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
|
---|
|
|
---|
เขต 1 | | |
---|
เขต 2 | |
---|
เขต 3 | |
---|
เขต 4 | |
---|
เขต 5 | |
---|
เขต 6 | |
---|
เขต 7 | |
---|
เขต 8 | |
---|
เขต 9 | |
---|
เขต 10 | |
---|