พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล (เกิด 2 มกราคม พ.ศ. 2492) เป็นอดีตนายทหารอากาศไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ราชเลขานุการในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เลขาธิการพระราชวัง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ประธานกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการโครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. รองประธานกรรมการและเลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเป็นประธาน รองประธาน และกรรมการในองค์กรธุรกิจและองค์กรเพื่อสังคมที่ถือหุ้นโดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น ประธานกรรมการ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการและกรรมการ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ชีวิตในช่วงแรก
พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี มีพี่น้องร่วมกัน 5 คน โดยน้องคนสุดท้องของครอบครัว คือ พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ [1] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2515[2] จบโรงเรียนการบินกำแพงแสน รุ่น น.54-16-3 จบการอบรมที่โรงเรียนนายทหารชั้นบังคับฝูง รุ่นที่ 43 โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่น 29 และวิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 27[3]
การรับราชการ
สถิตย์พงษ์เข้ารับราชการทหารยศเรืออากาศตรี จนถึง นาวาอากาศเอก[ต้องการอ้างอิง] จนกระทั่ง 1 เมษายน พ.ศ. 2539 เขาได้เป็นราชองครักษ์ประจำกรมราชองครักษ์ [4] พร้อมได้รับการเลื่อนขั้นเป็นพลอากาศตรีในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน [5] เป็นพลอากาศโท ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542[6][7] ซึ่งต่อมาเมษายน พ.ศ. 2544 เลื่อนขั้นเป็นผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์ [8] พร้อมทั้งได้รับพระราชทานยศพลอากาศเอก ระบุเหตุผลคือ "รับราชการมาด้วยความเรียบร้อยเป็นผลดีแก่ทางราชการ"[3]
ในปี พ.ศ. 2548 สถิตย์พงษ์ได้บรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ในตำแหน่งเทียบเท่ารองเลขาธิการพระราชวัง สังกัดสำนักพระราชวังเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในจำนวน 2 ราย[9] จนกระทั่งเป็นที่สนใจของสื่อจากการได้เป็นราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารในปี พ.ศ. 2554[10] โดยก่อนหน้าจะได้รับตำแหน่ง เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนกระทั่งลาออกในปี พ.ศ. 2556[11]ครบวาระ 3 พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2557[12][3]
จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นทรงราชย์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการผลประโยชน์ทรัพย์สินส่วนพระองค์[3] จนในวันที่ 6 มิถุนายน เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เทียบเท่าเลขาธิการพระราชวัง ตำแหน่งหมายเลข 1 และประธานข้าราชบริพารในพระองค์[3] ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 ได้ประกาศใช้ วันต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น 'สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์' ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ[3]
หลังจากนั้นเป็นต้นมา สถิตย์พงษ์ ได้รับการแต่งตั้งที่สำคัญคือ ประธานข้าราชบริพารในพระองค์ เลขาธิการพระราชวัง ราชเลขานุการในพระองค์ ผู้รักษาและจัดการผลประโยชน์ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ประธานคณะกรรมการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ นอกจากนั้นเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการโครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร.[13]
งานองค์กรธุรกิจและองค์กรเพื่อสังคม
สถิตย์พงษ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการและรองประธานกรรมการองค์กรธุรกิจและองค์กรเพื่อสังคมที่ถือหุ้นใหญ่โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวดังนี้[3]
ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการ
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ
- บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด ธุรกิจด้านการลงทุนในเครือของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
- บริษัท บ้านบึงเวชกิจ จำกัด ดำเนินธุรกิจสถานพยาบาล
- บริษัท ศรีพัฒน์ จำกัด ดำเนินกิจการให้เช่าและดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
- บริษัท ศรีธรณี จำกัด ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเช่าและการดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่พักอาศัย
- บริษัท สยามสินธร จำกัด ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเช่าและการดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่พักอาศัย
- บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเชิงทดลองด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีอื่น และ บริษัท เอเพ็กซ์เซล่า จำกัด จัดจำหน่ายและส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์ให้กับสยามไบโอไซแอนซ์
- บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด
รองประธานกรรมการ
- คณะกรรมการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
- คณะกรรมการบริหารกองทุนพระราชทานสำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- คณะกรรมการบริหารมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- คณะกรรมการมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ
กรรมการ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ พล.ต.ต.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบช.ก. คนใหม่ น้องชายเลขาธิการพระราชวัง
- ↑ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คัดเลือกนักศึกษาเก่าดีเด่น ประจำปี 2560
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 "พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ข้าราชบริพารผู้ถวายงานด้วยความซื่อสัตย์". BBC News ไทย. 2 January 2021.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๕)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๙๒ ง หน้า ๕๑ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๒
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๗ วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๙
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๑ ง หน้า ๑ วันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๕
- ↑ รายงานประจำปี 2556
- ↑ "รายงานประจำปี การบินไทย 2557" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-09-26. สืบค้นเมื่อ 2018-06-13.
- ↑ ประธานกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการโครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร.
- ↑ "คณะกรรมการบริษัท | SCBX". scbx.com.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๓ ข หน้า ๑, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๒๗ ตุลาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๒๙, ๕ มกราคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๙๔ ง หน้า ๔๙๐๓, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
|
---|
เสนาบดี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง | |
---|
เลขาธิการพระราชวัง | |
---|