สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (อังกฤษ: Queen Sirikit Park) เป็นสวนสาธารณะระดับย่าน ตั้งอยู่บนถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเนื่องใน "วโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงครบ 5 รอบ ซึ่งตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535" โครงการนี้ริเริ่มโดยคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2534 เปิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2539 มีพื้นที่ระยะแรก 140 ไร่ (0.22 ตร.กม.) โครงการระยะที่สองจะเพิ่มพื้นที่อีก 60 ไร่ในอนาคต ซึ่งมีมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ บริหารงานโดยมีคณะกรรมการโดยโปรดเกล้าในราชกิจจานุเบกษาล่าสุดในปี พ.ศ. 2561[1] สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานสวนจตุจักร ประกอบด้วยสวนสาธารณะ 3 แห่งที่มีพื้นที่ติดต่อกันได้แก่ สวนจตุจักร พื้นที่ 155 ไร่ สวนวชิรเบญจทัศ พื้นที่ 375 ไร่ และสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พื้นที่ 196 ไร่ รวมทั้งหมด 727 ไร่ ประวัติริเริ่มโดยคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2534 เพื่อจัดสร้างขึ้นเนื่องใน "วโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงครบ 5 รอบ ซึ่งตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535" โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นสวนสาธารณะในลักษณะสวนป่าที่มีความเป็นธรรมชาติ และน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง วัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน และเป็นสถานที่รวบรวมอนุรักษ์พันธุ์ไม้ให้เป็น สวนพฤกษศาสตร์ที่สมบูรณ์ ตลอดจนส่งเสริมวิชาการในการศึกษาวิจัยด้านพฤกษศาสตร์และปลูกฝัง ทัศนคติในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ให้เห็นถึงประโยชน์และคุณค่าของธรรมชาติแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป รูปแบบของสวนสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ประกอบด้วยความหลากหลายทางชีวภาพด้วยพรรณไม้นานาชนิด ไม่ว่าจะเป็น พรรณไม้ยืนต้น พรรณไม้ล้มลุก พรรณไม้ประดับ พรรณไม้น้ำ พรรณไม้ดอก พรรณไม้ใบ พรรณไม้สมุนไพร และอีกจำนวนมาก อาทิ มีสระน้ำรูปตัว S และ ส ซึ่งเป็นอักษรตัวแรก ในพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ในภาษาอังกฤษและภาษาไทย มีลานบัวเป็นศูนย์กลาง ซึ่งประกอบไปด้วยบัวนับร้อยชนิด ทั้งบัวหลวง บัวสาย บัวผัน และบัวขนาดเล็กหรือบา และล้อมรอบไปด้วยสวนพฤกษศาสตร์ที่รวบรวมสายพันธุ์ต่าง ๆ ของพรรณไม้ที่มีหลากหลายหลายสปีชีส์ เช่น พรรณไม้เทิดพระเกียรติ ต้นไม้ทรงปลูก พรรณไม้ในสกุลลีลาวดี พรรณไม้วงศ์ชบาและสกุลชบา พรรณไม้ในวงศ์กล้วย ซึ่งมีกว่า 229 ชนิดในปัจจุบัน[2] นอกจากนี้ยังมีสระบัว และไม้มงคลพระราชทานพรรณไม้ประจำจังหวัด 76 จังหวัดตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008[3] จนมีครบทั้ง 77 จังหวัด ตั้งแต่ กรุงเทพมหานคร จนถึงอำนาจเจริญ และยังมีสวนหิน สวนพรรณไม้วงศ์ปาล์ม ภายสวนยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เด็ก กรุงเทพมหานครอีกด้วย งานกิจกรรมงานสีสรรพรรณไม้ เทิดไท้บรมราชินีนาถ
งานวิ่ง
ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|