อาสา สารสิน (เกิด 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2480) ประธานกรรมการ บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) อดีตประธานกรรมการ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) อดีตราชเลขาธิการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ประวัติ
อาสา สารสิน เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพจน์ สารสิน[1] อดีตนายกรัฐมนตรี กับท่านผู้หญิงสิริ สารสิน (สกุลเดิม โชติกเสถียร) เป็นหลานของพระยาสารสินสวามิภักดิ์ ต้นสกุลสารสิน ซึ่งรับราชการเป็นแพทย์หลวงประจำราชสำนัก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันเป็นนายกสมาคมไทย-ญี่ปุ่น กิตติมศักดิ์
ครอบครัว
อาสา สารสิน มีพี่น้อง 5 คน คือ
- พงส์ สารสิน ประธานกรรมการอินทัช โฮลดิ้งส์ หลังจากขายหุ้นให้บริษัทกุหลาบแก้ว จำกัดในเครือ ชเทมาเส็กโฮลดิงส์ ประเทศสิงคโปร์
- พลตำรวจเอกเภา สารสิน อดีตอธิบดีกรมตำรวจ
- บัณฑิต บุญยะปาณะ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง
- พิมสิริ ณ สงขลา สมรสกับพันเอกจินดา ณ สงขลา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
- พลเอกสุภัทร สารสิน
อาสา สมรสกับหม่อมราชวงศ์สุจิตคุณ สารสิน (ราชสกุลเดิม กิติยากร) ธิดาในหม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร กับหม่อมราชวงศ์วิจิตรโฉม กิติยากร (ราชสกุลเดิม ชยางกูร) มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ
การศึกษา
การทำงาน
- พ.ศ. 2502 : กรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2504 – 2506 : กององค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมองค์การระหว่างประเทศ
- พ.ศ. 2506 – 2508 : เลขานุการโท ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2508 – 2510 : เลขานุการโท กองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมการเมือง
- พ.ศ. 2510 – 2512 : หัวหน้ากองเอเชียใต้ ตะวันออกใกล้ ตะวันออกไกล และแอฟริกา กรมการเมือง
- พ.ศ. 2512 – 2514 : เลขานุการเอกประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
- พ.ศ. 2514 : ผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมการเมือง
- พ.ศ. 2514 – 2516 : เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2516 – 2518 : ผู้อำนวยการกองนโยบายและวางแผน สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ, เลขาธิการสำนักงานเลขาธิการแห่งชาติ สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะมนตรีเอเชียแปซิฟิค (ASA-ASEAN and ASPAC National Secretariat (Thailand)
- พ.ศ. 2518 – 2520 : อธิบดีกรมเศรษฐกิจ
- พ.ศ. 2520 – 2522 : เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศเบลเยียม และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
- พ.ศ. 2522 – 2525 : อธิบดีกรมการเมือง
- พ.ศ. 2525 – 2528 : ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2528 – 2531 : เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐ
- พ.ศ. 2531 – 2534 : กรรมการผู้จัดการ ผาแดงอินดัสทรี
- มีนาคม พ.ศ. 2534 – เมษายน พ.ศ. 2535 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[2]
- มิถุนายน พ.ศ. 2535 – กันยายน พ.ศ. 2535 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[3]
- 27 เมษายน พ.ศ. 2542 : รองราชเลขาธิการ
- 21 สิงหาคม พ.ศ. 2542 : ราชเลขาธิการ
การทำงานอื่น ๆ
เช่น กรรมการธนาคารกรุงเทพ, รองประธานกรรมการเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจ, ประธานกรรมการไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ ผู้ผลิตและจำหน่ายไฮเนเก้น และเบียร์ไทเกอร์ ประเทศสิงคโปร์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อาสา สารสิน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งของไทยและต่างประเทศ ดังนี้[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
อ้างอิง
- ↑ ""อาสา สารสิน จากนักการทูตมาสู่โลกธุรกิจ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-01-20.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 ชีวิตและงาน อาสา สารสิน ในวาระสิริอายุครบ 7 รอบ หน้า 273
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๗, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒๒, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๓๐, ๕ มกราคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑ ตุลาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๒๗ ง หน้า ๒๒๓๘, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๖, ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖, ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓, ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ |
---|
|
| |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ |
---|
|
|