Share to:

 

สนามบินชะเอียน

สนามบินทหารบกชะเอียน
ส่วนหนึ่งของกองทัพบกไทย
เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช
แผนที่
พิกัด08°28′16.13″N 99°57′20.25″E / 8.4711472°N 99.9556250°E / 8.4711472; 99.9556250 (สนามบินทหารบกชะเอียน)
ประเภทสนามบินทหารบก
ข้อมูล
ผู้ดำเนินการ กองทัพบกไทย
ควบคุมโดยค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4
สภาพปฏิบัติการ
ประวัติศาสตร์
สร้างพ.ศ. 2527; 40 ปีที่แล้ว (2527)
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์กองร้อยบิน กองพลทหารราบที่ 5
ข้อมูลลานบิน
ข้อมูลระบุIATA: NST, ICAO: VTSN[1]
ความสูง44 ฟุต (13 เมตร) เหนือระดับ
น้ำทะเล
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาวและพื้นผิว
18/36 2,300 เมตร (7,546 ฟุต) คอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต

สนามบินทหารบกชะเอียน[2] หรือ สนามบินกองทัพภาคที่ 4[3] หรือ ท่าอากาศยานชะเอียน หรือ สนามบินชะเอียน[4] (อังกฤษ: Cha Eian Airport) ตั้งอยู่ที่ ค่ายวชิราวุธ ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช อดีตบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด เคยใช้เป็นสนามบินขนส่งผู้โดยสารระหว่าง นครศรีธรรมราช - สุราษฎร์ธานี - กรุงเทพมหานคร

ปัจจุบัน สนามบินชะเอียน ใช้ในการทหารและใช้ในการรับเสด็จเครื่องบินพระที่นั่งของพระบรมวงศานุวงศ์[5]

ประวัติ

สนามบินชะเอียน เมื่อปี 2459 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ตกลงพระทัยสร้างที่ประทับชั่วคราวขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ บริเวณตำบสวนจันทร์ ซึ่งปัจจุบันคือบริเวรณสนามบินกองทัพภาคที่ 4 หรือ ท่าอากาศยานชะเอียน[6]

ต่อมาได้มีการผลักดันจากทั้งพ่อค้า ข้าราชการ และประชาชนให้มีการสร้างอาคารผู้โดยสารสำหรับการใช้งานด้านพลเรือน และใช้งานสนามบินร่วมกันกับทหาร โดยมีการปรับปรุงทางวิ่งให้มีขนาดความยาว 1,700 เมตร (5,577 ฟุต) กว้าง 30 เมตร (98 ฟุต)[7]

เมื่อปี พ.ศ. 2528 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้ใช้สนามบินชะเอียนในการรับส่งผู้โดยสาร ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทำให้ให้ชาวนครศรีธรรมราช มีเส้นทางคมนาคมครบทั้ง 3 รูปแบบคือ ทางรถไฟ ทางรถทัวร์ และทางอากาศยาน ซึ่งทำให้ชาวนครศรีธรรมราชมีความสะดวกสบายและมีช่องทางในการเดินทางเพิ่มมากยิ่งขึ้น

หลังจากเปิดให้บริการมาหลายปี สนามบินชะเอียนเกิดความหนาแน่นและแออัด รวมถึงไม่สามารถขยายเพิ่มได้แล้ว ทำให้มีการพิจารณาย้ายที่ตั้งของสนามบินแห่งใหม่คือในพื้นที่ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช[7]

1 ธันวาคม 2541 ท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์ของนครศรีธรรมราช หรือ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชได้เปิดให้บริการครั้งแรก ทำให้ต้องมีการย้ายการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ไปยังท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชดูแลแทนทั้งหมด ท่าอากาศยานชะเอียดจึงใช้เป็นสนามบินของมลฑลทหารบกที่ 41 กองทัพภาคที่ 4 ใช้ในกิจการด้านการทหารและรับเสด็จและส่งเสด็จเครื่องบินพระที่นั่งของพระบรมวงศานุวงศ์[5]

บทบาทและปฏิบัติการ

สนามบินชะเอียน อยู่ในความดูแลของค่ายวชิราวุธ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทัพภาคที่ 4 มีหน่วยเฉพาะกิจคือหน่วยบินทหารบกยุทธวิธีที่ 4 อยู่ภายใต้การควบคุมทางยุทธการกับกองทัพภาคที่ 4 ในการสนับสนุนการปฏิบัติการภาคพื้นดินให้กับกองทัพบก รวมถึงการสนับสนุนปฏิบัติการต่าง ๆ ของพลเรือนตามที่ได้รับการร้องขอ[8] โดยเฉพาะในภารกิจในยามสงบคือการช่วยเหลือลำเลียงผู้ป่วยและการบรรเทาสาธารณภัย[9]

นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของกองร้อยบิน กองพลทหารราบที่ 5 ซึ่งเป็นหน่วยประจำฐานบิน มีหน่วยหลักตั้งอยู่ที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช[9]

หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครศรีธรรมราช

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคภาคใต้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ใช้สนามบินชะเอียนในการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ภาคใต้ หมุนเวียนกันมาประจำการ เช่น เซสนา 208 คาราวาน[10]

หน่วยในฐานบิน

กองทัพบกไทย

กองทัพภาคที่ 4

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้

สิ่งอำนวยความสะดวก

สนามบินชะเอียน ตั้งอยู่ภายในค่ายวชิราวุธ ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสนามบิน ดังนี้

ลานบิน

ฐานบินอุบลราชธานีประกอบไปด้วยทางวิ่งความยาว 2,300 เมตร (7,546 ฟุต) ความกว้าง 45 เมตร (148 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 44 ฟุต (13 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 18/36 หรือ 180° และ 360° พื้นผิวคอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต[2]

สายการบิน

สายการบินระหว่างประเทศ

ไม่มีสายการบินพาณิชย์เปิดให้บริการ

สายการบินภายในประเทศ

ไม่มีสายการบินพาณิชย์เปิดให้บริการ

สายการบินที่เคยทำการบิน

เหตุการณ์ที่สำคัญ

  • 2528 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด เปิดเส้นทางบินตรงจาก กรุ่งเทพมหานคร สู่ นครศรีธรรมราช เป็นครั้งแรก โดยใช้สนามบินชะเอียน เป็นการชั่วคราว[11]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. รายชื่อสนามบินในประเทศไทย (โค้ด)
  2. 2.0 2.1 "Aedrome/Heliport VTSN". aip.caat.or.th (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2023-11-16.
  3. "สอบยาว45วัน หาเหตุ ฮ.ตกที่เมืองคอน". www.thairath.co.th. 2014-02-04.
  4. ประกาศกระทรวงคมนาคม ที่ ๑/๒๔๙๘ เรื่อง กำหนดสนามบินอนุญาต
  5. 5.0 5.1 "การเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดนครศรีธรรมราช". www.nstru.ac.th.
  6. "กองทัพภาคที่ 4". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-17. สืบค้นเมื่อ 2010-02-16.
  7. 7.0 7.1 "โครงการพัฒนาท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช". www.airports.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "กองทัพภาค 4 ฝึกซ้อมแผนการปฏิบัติช่วยชีวิตอากาศยานประสบอุบัติเหตุ". www.banmuang.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 "กองทัพภาคที่ 4 สั่งเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติภาคใต้". bangkokbiznews. 2017-10-29.
  10. 10.0 10.1 ผลการปฏิบัติการฝนหลวง ประจำเดือนตุลาคม 2566 (PDF). กรมฝนหลวงและการบินเกษตร.
  11. พิพิธภัณฑ์ เมืองนครศรีธรรมราช[ลิงก์เสีย]
Kembali kehalaman sebelumnya