Share to:

 

ฐานบินวัฒนานคร

ฐานบินวัฒนานคร
ส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศไทย
วัฒนานคร สระแก้ว
เครื่องบินไร้คนขับตรวจการณ์และฝึกแบบที่ 1 RTAF U-1 ฝูงบิน 301 ขณะอยู่บนเส้นทางวิ่ง
แผนที่
พิกัด13°45′51″N 102°18′48″E / 13.76413°N 102.31340°E / 13.76413; 102.31340 (ฐานบินวัฒนานคร)
ประเภทฐานทัพอากาศ
ข้อมูล
ผู้ดำเนินการFlag of the กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทย
ควบคุมโดยฝูงบิน 204 กองบิน 2 (พ.ศ. 2523–2563)
กองบิน 3 (พ.ศ. 2563–ปัจจุบัน)
สภาพปฏิบัติการ
ประวัติศาสตร์
การต่อสู้/สงคราม
กรณีพิพาทอินโดจีน

สงครามมหาเอเชียบูรพา
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์กองบิน 3
ข้อมูลลานบิน
ข้อมูลระบุICAO: VTBW[1]
ความสูง225 ฟุต (69 เมตร) เหนือระดับ
น้ำทะเล
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาวและพื้นผิว
05/23 1,500 เมตร (4,921 ฟุต) แอสฟอลต์คอนกรีต

ฐานบินวัฒนานคร[2] (อังกฤษ: Watthana Nakhon Air Force Base[3][4]) หรือ สนามบินวัฒนานคร (Watthana Nakhon Airport[3]) เป็นฐานทัพอากาศและที่ตั้งทางทหารของกองบิน 3 กองทัพอากาศไทย ในอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว อดีตเคยเป็นที่ตั้งของฝูงบิน 206 กองบิน 2 ในฐานะฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนามชายแดน และฝูงบิน 43 กองบิน 4 ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา

ประวัติ

ฐานบินวัฒนานคร เป็นที่รู้จักกันในชื่อ สนามบินวัฒนานคร โดยปรากฏในเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ส่วนใหญ่ในชื่อของสนามบินวัฒนานคร

กรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา

ในช่วงปี พ.ศ. 2483 - 2484 กองบินน้อยที่ 3 ในขณะนั้นได้แบ่งฝูงบินมาวางกำลังที่จังหวัดปราจีนบุรี (จังหวัดสระแก้วปัจจุบัน) ณ ฐานบินวัฒนานคร เพื่อสนับสนุนการรบให้กับกองทัพภาคบูรพา และช่วงปี พ.ศ. 2484 - 2488[5] ฐานบินวัฒนานครเป็นฐานบินที่ถูกโจมตีในระลอกแรกจากกองทัพญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ทางฝั่งอรัญประเทศ พร้อมกันกับการยกพลขึ้นบกบริเวณอ่าวไทย โดยกองทัพอากาศซึ่งประจำฝูงบิน 43 อยู่ที่ฐานบินวัฒนานครขณะนั้นได้นำเครื่องบินขับไล่แบบฮอว์คจำนวน 3 ลำ[6] ขึ้นสกัดกั้นจนมีนักบินเสียชีวิตระหว่างการรบทางอากาศ 3 นาย[7]

จดทะเบียนเป็นสนามบินอนุญาต

สนามบินบินวัฒนานครได้รับอนุญาตให้เป็นสนามบินอนุญาตตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ในปี พ.ศ. 2498 ซึ่งสามารถให้บริการเที่ยวบินในเชิงพาณิชย์ได้และใช้สำหรับขึ้นลงอากาศยานได้อย่างถูกกฎหมาย แต่ไม่ปรากฎหลักฐานชั้นต้นในเส้นทางการบินในเชิงพาณิชย์ของฐานบินวัฒนานครหรือสนามบินวัฒนานคร[8]

ในปี พ.ศ. 2506 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเงินงบประมาณที่กันไว้สำหรับปรับปรุงสนามบินชัยภูมิมาใช้การปรับปรุงสนามบินวัฒนานคร เป็นวงเงิน 2,243,440 บาท[9]

สงครามเย็น

ในปี พ.ศ. 2520 ฐานบินวัฒนานครเป็นที่วางกำลังของฝูงบิน 206 พร้อมกันกับฝูงบิน 207 จากกองบิน 2 ที่วางกำลังในพื้นที่จังหวัดตราด ในฐานะฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนามชายแดน[10] ซึ่งจะมีการวางกำลังทางอากาศเมื่อเกิดสถานการณ์ที่ส่งผลต่อความมั่นคงระหว่างประเทศในการใช้สนับสนุนปฏิบัติการทางบก ซึ่งอากาศยานที่มาประจำการนั้นจะมาในรูปแบบของหน่วยบินเฉพาะกิจจากกองบินต่าง ๆ ไม่มีอากาศมาประจำการถาวร[11]

หลังสงครามเย็น

ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีประกาศกระทรวงคมนาคมในการกำหนดเขตปลอดภัยการเดินอากาศในพื้นที่ของสนามบินวัฒนานครตามแนวทางวิ่งของอากาศยานไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้ในพื้นที่ของตำบลวัฒนานคร ตำบลหนองน้ำใส ตำบลท่าเกวียน ตำบลโนนหมากเค็ง ตำบลหนองแวง ตำบลผักขะ และบางส่วนของตำบลหนองหมากฝ้าย อำเภอวัฒนานคร พร้อมทั้งตำบลหันทราย อำเภออรัญประเทศ ซึ่งลงนามโดย[12]

ปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2563 ฝูงบิน 206 ซึ่งประจำอยู่ที่ฐานบินวัฒนานครได้ถูกปรับและยกฐานะขึ้น[13] เป็นกองบิน 3 และเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนามชายแดนขึ้นเป็นฝูงบินซึ่งขึ้นตรงกับกองทัพอากาศ มีภารกิจเกี่ยวกับการใช้งานอากาศยานไร้คนขับในการสนับสนุนปฏิบัติการทางอากาศและการรบ ทำให้ฐานบินวัฒนานครได้เปลี่ยนเป็นฐานบินหลักของอากาศยานไร้คนขับ[14] หรือ Home of UAV[4]

ฐานบินวัฒนานครได้ทำพิธีทำบุญเปิดซุ้มประตูทางเข้าฐานบินโดยมี นาวาอากาศเอก อำนาจ สิงหพันธ์ ผู้บังคับการกองบิน 3 เป็นประธานในพิธีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2566[15]

บทบาทและปฏิบัติการ

กองทัพอากาศไทย

ฐานบินวัฒนานคร เป็นที่ตั้งหลักของกองบิน 3 ซึ่งเป็นกองบินสำหรับปฏิบัติการอากาศยานไร้คนขับ และเป็นฐานบินสำหรับวางกำลังในสถานการณ์ที่ส่งผลต่อความมั่นคงระหว่างประเทศตามภารกิจของฝูงบิน 206 เดิม ปัจจุบันประจำการฝูงบิน 301 และหน่วยสนับสนุนอื่น ๆ ของกองบิน 3

  • ฝูงบิน 301 เป็นฝูงบินประจำการเครื่องบินไร้คนขับตรวจการณ์และฝึกแบบที่ 1 RTAF U-1[16] และมีหน่วยรองคือหน่วยบินภายใน เช่น หน่วยบิน 3011[16]
  • กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน 3 เป็นกำลังกองรักษาการณ์ฐานบินวัฒนานครหลักในการป้องกันฐานบิน

และส่วนสนับสนุนอื่น ๆ ได้แก่ กองบังคับการ, กองร้อยสารวัตรทหาร, แผนกสนับสนุนการบิน, กองเทคนิค, โรงพยาบาลกองบิน, แผนกช่างโยธา, แผนกขนส่ง, แผนกพลาธิการ, แผนกการเงิน และแผนกสวัสดิการ[10]

หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสระแก้ว

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ใช้ฐานบินวัฒนานครในการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดสระแก้วและจังหวัดใกล้เคียง[17] โดยมีการตั้งโรงเก็บสารฝนหลวงในพื้นที่ฐานบินเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติการทำฝนหลวง[18] ตามนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนโครงการพระราชดำริฝนหลวงในการเบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรนอกพื้นที่ชลประทานที่ต้องการน้ำในการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร[19] รวมถึงเพิ่มปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ชลประทาน[20] โดยใช้เครื่องบินแบบเซสนา 208 คาราวาน[21]

หน่วยในฐานบิน

หน่วยบินที่วางกำลังในฐานบินวัฒนานคร ประกอบไปด้วย

กองทัพอากาศ

  • กองบิน 3 (หน่วยหลัก)
    • ฝูงบิน 301
      • หน่วยบิน 3011[16] – RTAF U-1
    • ฝูงบิน 302 – DominatorXP
    • ฝูงบิน 303
    • ฝูงบิน 306 – ฐานบินหน่วยหน้าคอยส่งกำลังบำรุงต่อระยะทำการ UAV
    • ฐานปฏิบัติการฝนหลวง กองบิน 3[22]
      • หน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

  • ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก

สิ่งอำนวยความสะดวก

ฐานบินวัฒนานครมีเนื้อที่ประมาณ 16,000 ไร่ เป็นฐานบินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของกองทัพอากาศ[23] ซึ่งได้รับจากกรมธนารักษ์มาเพื่อใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง[13] ปัจจุบันมีพื้นที่ใช้งานอยู่ทั้งหมด 2 ส่วนคือ การใช้งานในทางทหารเป็นฐานบิน และการปล่อยให้ราษฎร์โดยรอบเช่าทำประโยชน์

ลานบิน

ฐานบินวัฒนานครประกอบไปด้วยทางวิ่งความยาว 1,500 เมตร (4,921 ฟุต) ความกว้าง 31 เมตร (102 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 225 ฟุต (69 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 05/23 หรือ 051° และ 231°[24] พื้นผิวแอสฟอลต์คอนกรีต[25]

โรงเก็บอากาศยาน

ฐานบินวัฒนานครมีโรงเก็บอากาศยานไร้คนขับ[26] สำหรับจัดเก็บอากาศยานในประจำการของฝูงบิน 301 กองบิน 3[27]

โรงพยาบาลกองบิน กองบิน 3

โรงพยาบาลกองบิน กองบิน 3 เป็นโรงพยาบาลในสังกัดของกองบิน 3 ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดกรมแพทย์ทหารอากาศ[28] กระทรวงกลาโหม[10] ประกอบด้วยเตียงผู้ป่วยขนาด 10 เตียง[29]

อุบัติเหตุ

ฐานบินวัฒนานครเคยเกิดอุบัติเหตุขึ้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งตรงกับวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น หลังจากการจัดแสดงเครื่องบินในวันเด็กเสร็จสิ้น กองทัพอากาศได้นำเครื่องบินฝึกแบบ CT4 A ออกเดินทางจากฐานบินวัฒนานครกลับสู่ฐานทัพอากาศดอนเมือง โดยนาวาอากาศเอก เกษม วงษ์หงสา ครูฝึกที่เดินทางมาจากฐานทัพอากาศดอนเมือง โดยระหว่างการนำเครื่องขึ้นจากฐานบินและไต่ระดับขึ้นไปสูงจากพื้น 50 เมตรและหันหัวกลับไปยังกรุงเทพมหานคร เครื่องบินเกิดเสียความทรงตัวและตกลงกระแทกพื้นจนเกิดระเบิดจนเพลิงลุกไหม้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ นาวาอากาศเอก เกษม วงษ์หงสา ครูฝึกที่ทำหน้าที่นักบิน และเด็กชาย จิรพล นนท์ศิริ อายุ 16 ปี บุตรชายของผู้บังคับการฝูงบิน 206 ในขณะนั้นที่โดยสารไปด้วยเสียชีวิต[30]

อนุสาวรีย์วีรชนกองทัพอากาศ

อนุสาวรีย์วีรชนกองทัพอากาศ
แผนที่
พิกัด13°45′16″N 102°18′47″E / 13.75450°N 102.31313°E / 13.75450; 102.31313
ที่ตั้งบริเวณถนนทางเข้ากองบิน 3
ประเภทอนุสาวรีย์
อุทิศแด่เรืออากาศเอก ไชย สุนทรสิงห์
เรืออากาศเอก ชิน จิระมณี
เรืออากาศตรี สนิท โพธิเวชกุล
นักบินที่เสียชีวิตระหว่างการปกป้องน่านฟ้าจากการรุกรานของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484

ฐานบินวัฒนานคร เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์วีรชนกองทัพอากาศ เพื่อเป็นอนุสรณ์ในเหตุการณ์ที่ทหารอากาศไทยได้ต่อสู้ปกป้องน่านฟ้าไทยจากการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ทางชายแดนประเทศไทยบริเวณอำเภออรัญประเทศ ซึ่งกองทัพอากาศญี่ปุ่นได้ส่งอากาศยานแบบเซนโตกิ[31] แบบโจมตี กิ-30 จำนวน 9 ลำ และเครื่องบินขับไล่ กิ-27 จำนวน 11 ลำ[32] รวม 20 ลำ[31] เข้ามาในน่านฟ้าไทย และโจมตีบริเวณฐานบินวัฒนานครที่มีฝูงบิน 43 ประจำการอยู่ ทำให้ฝ่ายไทยนำเครื่องบินขับไล่แบบที่ 10 ฮอว์ค 3[7] จำนวน 3 ลำ[31] ขึ้นบินสกัดกั้น ด้วยกำลังที่ด้อยกว่าทำให้มีผู้เสียชีวิตระหว่างการบินขับไล่และสกัดกั้นบนน่านฟ้าจำนวน 3 นาย ได้แก่

  • เรืออากาศเอก ไชย สุนทรสิงห์
  • เรืออากาศเอก ชิน จิระมณี
  • เรืออากาศตรี สนิท โพธิเวชกุล

จากเหตุการณ์ดังกล่าว กองทัพอากาศจึงได้สร้างอนุสาวรีย์ไว้เพื่อเชิดชูเกียรติของกำลังพลกองทัพอากาศที่ร่วมต่อสู้ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ณ กองบิน 3 ฐานบินวัฒนานครชื่อว่าอนุสาวรีย์" วีรชนกองทัพอากาศ" และกองบิน 5 ฐานบินประจวบคีรีขันธ์ชื่อว่าอนุสาวรีย์ "วีรชน 8 ธันวาคม 2484"[31]

อ้างอิง

  1. รายชื่อสนามบินในประเทศไทย (โค้ด)
  2. "ประกาศกองทัพอากาศ เรื่อง กำหนดชื่อเรียกฐานที่ตั้งหน่วยบินต่าง ๆ". เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา แบบธรรมเนียมทหาร พ.ศ. 2567 (PDF). กรมสารวรรณทหารอากาศ. 2567. p. 329. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-05-31. สืบค้นเมื่อ 2024-06-10.
  3. 3.0 3.1 VTBW AD 2.1 AERODROME LOCATION INDICATOR AND NAME (PDF). สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. 2019. pp. AD 2-VTBW-1-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-05-27. สืบค้นเมื่อ 2024-05-28.
  4. 4.0 4.1 "ภาพซุ้มประตูกองบิน 3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-27. สืบค้นเมื่อ 2024-05-28.
  5. "ประวัติความเป็นมา". web.archive.org. 2022-08-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-10. สืบค้นเมื่อ 2024-05-28.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. "เมื่อสยามเริ่มบิน". catholichaab.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 ทองเล็ก, นิพัทธ์. "ภาพเก่าเล่าตำนาน : เกิดอะไร…ก่อนญี่ปุ่นบุกไทย… 8 ธันวาคม 2484". www.matichon.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นายหยวก สังขจันทร์". dl.parliament.go.th. 2509-02-22.
  9. "ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี - ขออนุมัตินำเงินงบประมาณปี 2506 ที่ตั้งไว้สำหรับปรับปรุงสนามบินชัยภูมิไปใช้ปรับปรุง สนามบินวัฒนานคร". resolution.soc.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 10.2 ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-05-28.
  11. "ฝูงบินสนาม,หน่วยบินแยก,หน่วยบินเฉพาะกิจ". www.pantown.com.
  12. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินวัฒนานคร ในท้องที่อำเภอวัฒนานคร และอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ. ฉบับพิเศษ เล่มที่ 109 ตอนที่ 39, 20 มีนาคม 2535 หน้า 19
  13. 13.0 13.1 ทีมนักข่าวบางกอกไทม์ (2022-12-23). "กองบิน 3 พบสื่อ เผยอากาศยานไร้คนขับแห่งความเป็นเลิศ". ทีมนักข่าวบางกอกไทม์.
  14. "ประวัติความเป็นมา". wing3.rtaf.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-10. สืบค้นเมื่อ 2024-05-28.
  15. "เทศบาลตำบลวัฒนานคร (ทต. วัฒนานคร) อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว". watthananakhon.go.th (ภาษาอังกฤษ).
  16. 16.0 16.1 16.2 "กองทัพอากาศ จัด UAV แบบ RTAF U1 บินสำรวจเส้นทางคมนาคมช่วงปีใหม่ 2565 ที่สระแก้ว". thaiarmedforce. 2021-12-30.
  17. "แผนปฏิบัติการฝนหลวง หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสระแก้ว 24 มิถุนายน 2562". www.royalrain.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "ประกาศ เรื่อง จ้างก่อสร้างโรงเก็บสารฝนหลวงสนามบินวัฒนานคร ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว". www.royalrain.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. 19.0 19.1 "กองบิน3 หนุนพื้นที่ฐานบิน ปฏิบัติการฝนหลวง โครงการพระราชดำริ ช่วยประชาชน". bangkokbiznews. 2023-06-16.
  20. torzkrub (2017-06-15). "ปรับแผนปฏิบัติการฝนหลวง เสริมกำลังเติมน้ำในเขื่อนที่มีปริมาณน้อย". เกษตรก้าวไกล.
  21. "หน่วยฯ จ.สระแก้ว ทำฝนเติมน้ำอ่างเก็บน้ำคลองสียัด รองรับความต้องการใช้น้ำในพื้นที่". สยามรัฐ. 2022-06-02.
  22. "พิธีส่งหน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ ประจำปี 2567". welcome-page.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. "ฝูงบิน 206 วัฒนานคร". www.oocities.org.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  24. "VTBW - Watthana Nakhon Airport | SkyVector". skyvector.com.
  25. "Aedrome/Heliport VTBW". aip.caat.or.th (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-02-13.[ลิงก์เสีย]
  26. "ผู้บังคับการกองบิน ๓ เป็นประธานในพิธีประดับเครื่องหมายยศนายทหารชั้นประทวนสังกัดกองบิน ๓ ณ โรงเก็บอากาศยานไร้คนขับ ฝูงบิน ๓๐๑ กองบิน ๓". wing3.rtaf.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-27. สืบค้นเมื่อ 2024-05-28.
  27. "กองบิน 3 รำลึกถึงคุณงามความดี เชิดชูเกียรติเหล่าวีรชนผู้กล้าผู้ร่วมกันปกป้องประเทศชาติ". สยามรัฐ. 2023-12-08.
  28. "เกี่ยวกับหน่วยงาน - กรมแพทย์ทหารอากาศ". medical.rtaf.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-28. สืบค้นเมื่อ 2024-05-28.
  29. โรงพยาบาลกองบิน กองบิน 3, กลุ่มข้อมูลและสารสนเทศสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  30. "สดุดี "ผู้พันแอร์" นักบินทหารหาญ ผู้พลีชีพ เพื่อหลายชีวิตรอด!". mgronline.com. 2017-01-15.
  31. 31.0 31.1 31.2 31.3 "กองทัพอากาศ ประกอบพิธี "สดุดีวีรชน 8 ธันวาคม 2484" ประจำปี 2566". กองทัพอากาศไทย.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  32. "ย้อนรอยประวัติศาสตร์ทัพฟ้า ศึกยุทธเวหาที่คนไทยมิอาจลืม". www.thairath.co.th. 2015-05-10.
Kembali kehalaman sebelumnya