Share to:

 

สนามบินปราจีนบุรี

สนามบินทหารบกปราจีนบุรี
ส่วนหนึ่งของกองทัพบกไทย
ปราจีนบุรี
แผนที่
พิกัด14°04′39″N 101°22′47″E / 14.077628°N 101.379791°E / 14.077628; 101.379791 (สนามบินปราจีนบุรี)
ประเภทสนามบินทหารบก
ข้อมูล
ผู้ดำเนินการ กองทัพบกไทย
ควบคุมโดยมณฑลทหารบกที่ 12
สภาพรองรับการปฏิบัติการของอากาศยานปีกหมุนได้
ประวัติศาสตร์
สร้างพ.ศ. 2477; 90 ปีที่แล้ว (2477)
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์กองร้อยบิน กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
ข้อมูลลานบิน
ข้อมูลระบุICAO: VTBI[1]
ความสูง79 ฟุต (24 เมตร) เหนือระดับ
น้ำทะเล
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาวและพื้นผิว
17/35 1,021 เมตร (3,350 ฟุต) แอสฟอลต์คอนกรีต

สนามบินทหารบกปราจีนบุรี (อังกฤษ: Prachin Buri Airport) หรือ สนามบินมณฑลทหารบกที่ 12[2] หรือ สนามบินค่ายจักรพงษ์[3] หรือ สนามบินปราจีนบุรี เป็นฐานบินของมณฑลทหารบกที่ 12 กองทัพบกไทย ตั้งอยู่ภายในค่ายจักรพงษ์ ตำบลดงพระราม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

ประวัติ

สนามบินปราจีนบุรี ไม่ปรากฏปีที่ก่อตั้งแต่ชัด แต่จากการสืบค้นมีปรากฏบนฐานข้อมูลของหอสมุดแห่งชาติในหนังสือพิมพ์ประชาชาติเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2477 กล่าวถึงในหัวข้อข่าวเบ็ดเตล็ดถึงอากาศยานจำนวน 6 ลำของกองทัพได้เดินทางไปยังจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งหนึ่งในเครื่องบินทั้ง 6 ลำนั้นถูกระบุว่าประสบอุบัติเหตุร่อนลงฉุกเฉิน ทำให้มีการแก้ข่าวจาก สิบโท โต๊ะ ซึ่งถูกกล่าวถึงว่าประสบเหตุว่าตนสามารถนำเครื่องร่อนลงอย่างปลอดภัยที่สนามบินปราจีนบุรี[4]

ในระหว่างปี พ.ศ. 2483-2484 มีการวางกำลังทางอากาศของกองบินน้อยที่ 3 จำนวน 1 ฝูงบิน ในกรณีพิพาทอินโดจีนเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการภาคพื้นดินของกองทัพภาคบูรพา[5]

ในคืนวันที่ 8 และ 9 มกราคม พ.ศ. 2484 ฝรั่งเศสได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบฟาร์มัง (Farman) จำนวน 2 ลำเข้ามาทิ้งระเบิดในจังหวัดปราจีนบุรีและนครราชสีมา ทำให้สนามบินปราจีนบุรีได้รับความเสียหายพร้อมด้วยอากาศยานที่ประจำการในสนามบินส่วนหนึ่ง ขณะที่เครื่องบินหลักของกองทัพไทยคือนาโกยาไม่ได้รับความเสียหายเนื่องจากถอนกำลังกลับไปที่ฐานทัพอากาศดอนเมืองแล้ว[6]

สนามบินปราจีนบุรีได้รับการประกาศให้เป็นสนามบินอนุญาตในปี พ.ศ. 2498 และยังคงสถานะอยู่จนถึงปัจจุบัน

บทบาทและปฏิบัติการ

กองทัพบกไทย

สนามบินปราจีนบุรี อยู่ในความดูแลของ มณฑลทหารบกที่ 12[7] เป็นที่ตั้งหลักของชุดปฏิบัติการบินทหารบก กองกำลังบูรพา สนับสนุนอากาศยานในการปฏิบัติการในพื้นที่ของกองกำลังบูรพาและมณฑลทหารบกที่ 12

หน่วยในฐานบิน

หน่วยบินที่วางกำลังในสนามบินปราจีนบุรีในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย

กองทัพบกไทย

กองกำลังบูรพา

  • ชุดปฏิบัติการบินทหารบก – มีอากาศยานปีกหมุนจากศูนย์การบินทหารบกหมุนเวียนกันมาประจำการ

สิ่งอำนวยความสะดวก

สนามบินปราจีนบุรี ตั้งอยู่ภายในค่ายจักรพงษ์ ตำบลดงพระราม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งนอกจากจะใช้งานในการบินแล้ว ยังถูกใช้เป็นพื้นที่ในการประกอบพิธีการตรวจพลหรือสวนสนามของมณฑลทหารบกที่ 12 และกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์[2]

ลานบิน

สนามบินปราจีนบุรี ประกอบด้วยทางวิ่งความยาว 1,021 เมตร (3,350 ฟุต) ความกว้าง 25 เมตร (82 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 79 ฟุต (24 เมตร)[8] ทิศทางรันเวย์คือ 17/35 หรือ 170° และ 350° พื้นผิวแอสฟอลต์คอนกรีต[9]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. รายชื่อสนามบินในประเทศไทย (โค้ด)
  2. 2.0 2.1 "หน่วยบูรพาพยัคฆ์ ร่วมกับ มทบ.12 จัดสวนสนามโชว์แสนยานุภาพ12กองพัน". www.matichon.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "มทภ.1 ตรวจเยี่ยม 'พล.ร.2รอ' ชมสาธิตแผนป้องกันประเทศด้านบูรพา". www.matichon.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "เครื่องบินไปปราจีน" (PDF). ประชาชาติ ฉบับพิเศษวันเสาร์. 1934-06-16. p. 3. สืบค้นเมื่อ 2024-07-20.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "ประวัติความเป็นมา". wing3.rtaf.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-10. สืบค้นเมื่อ 2024-07-20.
  6. "[สนามบิน] ยุทธเวหาเหนือน่านฟ้าอินโดจีน ปี ๒๔๗๙ รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ผ่านพระราชบัญญัติจัดซื้ออาวุธสงครามครั้งมโหฬารที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย เพื่อเสริมเขี้ยวเล็บให้กับทุกกองทัพ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเตรีย". www.blockdit.com.
  7. "สนามบินมณฑลทหารบกที่ ๑๒". Foursquare (ภาษาอังกฤษ).
  8. "Airport VTBI, Prachin Buri". aviapages.com (ภาษาอังกฤษ).
  9. "PRACHINBURI AIRSTRIP - Royal Thai Army". www.thaiflyingclub.com.
Kembali kehalaman sebelumnya