Share to:

 

สมบัติ ยะสินธุ์

สมบัติ ยะสินธุ์
สมบัติ ใน พ.ศ. 2566
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 19 วัน)
ก่อนหน้านราพัฒน์ แก้วทอง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 228 วัน)
ก่อนหน้าเขตเลือกตั้งใหม่
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าปัญญา จีนาคำ
ถัดไปปัญญา จีนาคำ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 (59 ปี)
อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2550–ปัจจุบัน)
คู่สมรสพรทิพย์ ยะสินธุ์

สมบัติ ยะสินธุ์ ม.ว.ม. ป.ช. (เกิด 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508) เป็นนักการเมืองชาวไทย รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่ภาคเหนือ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน 3 สมัย กรรมการยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ประวัติ

สมบัติ เกิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 ที่อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ในครอบครัวของเกษตรกร และย้ายมาอยู่ที่อำเภอปาย เมื่อปี พ.ศ. 2534 เป็นบุตรนายบุญทรัพย์ นางเกี๋ยงคำ ยะสินธุ์ ด้านครอบครัวสมรสกับ นางพรทิพย์ ยะสินธุ์ มีบุตร 4 คน คือ นายกรินทร์ ยะสินธุ์ นายกษิดิศ ยะสินธุ์ นายกษิดิ์เดช ยะสินธุ์ และนายกฤติเดช ยะสินธุ์[1]

สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนวชิระป่าซาง จังหวัดลำพูน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร ระดับปริญญาตรี สาขาบริหารงานบุคคล จากมหาวิทยาลัยพายัพ และระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การทำงาน

สมบัติ เคยเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน 3 สมัย (2538 - 2550) และรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน (2540 - 2542) ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 เนื่องจากโชคชัย เวชกิจ เพื่อนสมาชิกสภาองค์การบริหารจังหวัดด้วยกัน จากอำเภอขุนยวม แต่เพราะรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 กำหนดการเลือกตั้งเป็นแบบเรียงเบอร์ ส่งผลให้ โชคชัย ไม่มีความมั่นใจ พรรคประชาธิปัตย์ จึงบอกให้โชคชัย หาคนลงแทน โชคชัยจึงเสนอสมบัติไปสุดท้ายสมบัติจึงตัดสินใจตามที่นายโชคชัยเสนอ ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงคนเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ ในเขตภาคเหนือตอนบน (ต่อมาในการเลือกตั้งซ่อม ได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 1 คน คือ ขยัน วิพรหมชัย) โดยสามารถเอาชนะอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีก 3 คน คือ ปัญญา จีนาคำ (พรรคพลังประชาชน), อดุลย์ วันไชยธนวงศ์ (พรรคพลังประชาชน), และสมบูรณ์ ไพรวัลย์ (พรรคเพื่อแผ่นดิน)

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 สมบัติ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม สามารถเอาชนะอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีก 3 คน คือ ปัญญา จีนาคำ (พรรคเพื่อไทย), อดุลย์ วันไชยธนวงศ์ (พรรคชาติไทยพัฒนา), และสมบูรณ์ ไพรวัลย์ (พรรคภูมิใจไทย) และเป็น สส. เพียงคนเดียวในเขตพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ที่ไม่ได้สังกัดพรรคเพื่อไทย[2]

ในปี พ.ศ. 2561 สมบัติ เป็นคนจุดประกายให้ นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก ลงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรค[3] จากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในนาม กลุ่มประชาชื่น ก่อนจะพ่ายแพ้ให้กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยผลการหยั่งเสียงเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ประกาศว่าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยคะแนน 67,505 คะแนน ขณะที่ นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม ได้ 57,689 คะแนน และอลงกรณ์ พลบุตร ได้ 2,285 คะแนน

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สมบัติ ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม แต่แพ้ให้กับปัญญา จีนาคำ จากพรรคพลังประชารัฐ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 สมบัติ ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม แต่ย้ายพื้นที่ไปลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่แม่ฮ่องสอน เขต 2 สามารถเอาชนะผู้สมัครจากพรรคการเมืองอื่น ได้เป็น สส.พรรคประชาธิปัตย์เพียงคนเดียวในภาคเหนือของประเทศไทย

คณะกรรมาธิการ

สมบัติ ยะสินธุ์ ได้รับเลือกเป็นกรรมาธิการ จำนวน 4 คณะ ดังนี้

  1. รองประธานคณะกรรมาธิการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ คนที่ห้า
  2. รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .… คนที่ห้า
  3. กรรมาธิการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่…) พ.ศ. ….
  4. อนุกรรมาธิการคณะอนุกรรมาธิการครุภัณฑ์ ICT และทุนหมุนเวียน

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

สมบัติ ยะสินธุ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน
  2. "สมบัติ ยะสินธุ์". พรรคประชาธิปัตย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-24. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
  3. "แค้นสั่งฟ้า" ชิงประมุข ปชป.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สมบัติ ยะสินธุ์ ถัดไป
นราพัฒน์ แก้วทอง
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
(ภาคเหนือ)

(9 ธันวาคม พ.ศ. 2566)
ยังดำรงตำแหน่ง
Kembali kehalaman sebelumnya