Share to:

 

สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์

สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
13 กันยายน พ.ศ. 2566
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
แพทองธาร ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการอนุทิน ชาญวีรกูล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 (56 ปี)
อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย
พรรคการเมืองสามัคคีธรรม (2535)
ชาติพัฒนา (2535—2547)
ไทยรักไทย (2547—2550)
พลังประชาชน (2550)
ชาติไทย (2550—2551)
กิจสังคม (2551—2554)
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (2554—2555)
ภูมิใจไทย (2555—2557, 2562—ปัจจุบัน)

สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ เเป็นนักการเมืองชาวไทย ตําเเหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (อนุทิน ชาญวีรกูล) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย สังกัดพรรคภูมิใจไทย [1]

ประวัติ

สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 จบการศึกษาชั้นมัธยมปลาย จากโรงเรียนเซนต์จอห์น ระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาด) จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ เป็นบุตรชายของ นายสมชาติ ลิมปะพันธุ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสวรรคโลก และเป็นหลานชายของร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์[2] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัยหลายสมัย

การทำงาน

สมเจตน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัยครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคชาติพัฒนา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา ทั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ในนามพรรคไทยรักไทย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ในนามพรรคชาติไทย หลังจากนั้นได้ย้ายมาสังกัดพรรคกิจสังคม ในปลายปี พ.ศ. 2551 ภายหลังคดียุบพรรคใหญ่หลายพรรค โดยมีนายสุวิทย์ คุณกิตติ อดีตหัวหน้าพรรคได้นำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กลับมาฟื้นฟูพรรคกิจสังคมอีกครั้ง โดยนายสุวิทย์ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรค[3] และเข้าร่วมฝ่ายรัฐบาลซึ่งสนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี

ต่อมา สมเจตน์ ได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งโดยแพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคภูมิใจไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จึงย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย[5] และได้รับเลือกตั้งอีกสมัย[6] แต่ในปี 2566 เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับประภาพร ทองปากน้ำ จากพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. สภาผู้แทนราษฎร
  2. ผลเลือกตั้งซ่อมพท.-ภท.เข้าวิน
  3. "สุวิทย์ โผล่นั่งประธานที่ปรึกษาพรรคกิจสังคม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-11. สืบค้นเมื่อ 2021-04-04.
  4. การเมืองสุโขทัยเดือด!อารยะโต้ภท.ลวงโลก
  5. ""ลิมปะพันธุ์" ตระกูลเก่าสุโขทัย ร่วม ภูมิใจไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-05. สืบค้นเมื่อ 2021-04-04.
  6. เอ็กซเรย์ "สมศักดิ์" ยึดสุโขทัยไม่สำเร็จ
  7. ครม.เศรษฐา เห็นชอบตั้ง ขรก.การเมือง 34 ตำแหน่ง - ชัย วัชรงค์ โฆษกป้ายแดง
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
Kembali kehalaman sebelumnya