หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน ย่อว่า ฉก.ทพ.นย. เป็นหน่วยเฉพาะกิจของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ตั้งอยู่ที่ ค่ายเทวาพิทักษ์ บ้านคลองตาคง ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
ประวัติ
หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน มีจุดเริ่มต้นมาจากการจัดตั้งโครงการทหารพราน ชื่อว่า “โครงการชุดปฏิบัติการพิเศษทหารพรานชายแดนไทย-กัมพูชา” ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2521[1] หนึ่งในนั้นมีหน่วยที่มีทหารนาวิกโยธินเป็นผู้บังคับบัญชาและผ่านการฝึกอบรมจากกองทัพบกจำนวน 2 กองร้อย ปฏิบัติงานในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่เคลื่อนไหวในพื้นที่อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี และอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด และขึ้นการควบคุมทางยุทธการตับกองกำลังด้านจันทบุรี–ตราด กองทัพเรือ จนถึงปลายปีงบประมาณ พ.ศ. 2523[2]
จากนั้นกองบัญชาการทหารสูงสุดได้มีคำสั่งให้กองทัพบกโอนหน่วยทหารพรานในพื้นที่ของ กองกำลังด้านจันทบุรี–ตราด ในเวลานั้น จำนวน 6 กองร้อยให้กับกองทัพเรือเป็นผู้ดูแลให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2523 และกองทัพเรือได้มีคำสั่งให้หน่วยทหารพรานที่ได้รับมอบให้ขึ้นกับกรมนาวิกโยธิน และขึ้นการควบคุมทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (กปช.จต.) ทำให้หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธินถือเอาวันที่ 1 กันยายนในทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนาหน่วย[2][3]
โครงสร้าง
หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และเป็นหน่วยขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (กปช.จต.) [2]
ส่วนบัญชาการ
- กองบังคับการ หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน
- ส่วนการฝึกและศึกษา – ดำเนินการฝึกเจ้าหน้าที่เดิม ฝึกเพื่อทดแทน และฝึกทบทวน
- กองร้อยฟื้นฟูที่ 1–4
- กองร้อยทดแทน 1-5
- ส่วนยิงสนับสนุน – ยิงสนับสนุนชุดควบคุมต่าง ๆ
- ส่วนบริการ (เพื่อพลาง) – ส่งกำลังบำรุงและสนับสนุนการส่งกลับสายแพทย์
- ตอนสูทกรรม
- ตอนยานยนต์
- ตอนเครื่องช่วยฝึก
- ตอนพยาบาล
- ตอนสื่อสาร
- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธิน 1–4
หน่วยขึ้นตรง
หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน ประกอบด้วยหน่วยขึ้นตรง จำนวน 4 ชุดควบคุม 26 กองร้อย[3] ได้แก่
ชุดควบคุม
- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 1 (ชค.ทพ.นย.1) – 6 กองร้อย ขึ้นควบคุมทางยุทธการกับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินตราด (ฉก.นย.ตราด) ตั้งอยู่ที่อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด
- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 2 (ชค.ทพ.นย.2) – 6 กองร้อย ขึ้นควบคุมทางยุทธการกับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินจันทบุรี (ฉก.นย.จันทบุรี) ตั้งอยู่ที่อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี[4]
- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 3 (ชค.ทพ.นย.3) – 7 กองร้อย ขึ้นควบคุมทางยุทธการกับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินตราด (ฉก.นย.ตราด) ตั้งอยู่ที่เขาล้าน อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 4 (ชค.ทพ.นย.4) – 7 กองร้อย ขึ้นควบคุมทางยุทธการกับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินจันทบุรี (ฉก.นย.จันทบุรี) ตั้งอยู่ที่อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
โดยสรุปแล้ว หากแบ่งตามการขึ้นควบคุมทางยุทธการกับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินตราดและจันทบุรี ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด จะแบ่งอัตรากำลังได้ ดังนี้
- หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินตราด (ฉก.นย.ตราด) – ประกอบด้วยกำลัง 2 ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธิน คือ 1 กับ 3 มีกำลัง 11 กองร้อย มีพื้นที่ดูและตลอดแนวชายแดนอำเภอบ่อไร่ถึงอำเภอคลองใหญ่ประมาณ 130 กิโลเมตร ตลอดแนวชายแดนจังหวัดตราด ต่อเนื่องกันกับ หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินที่ 182 (ฉก.นย.182) และกองร้อยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดน (ร้อย.ฉก.ตชด.)
- หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินจันทบุรี (ฉก.นย.จันทบุรี) – ประกอบด้วยกำลัง 2 ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธิน คือ 2 กับ 4 มีกำลัง 10 กองร้อย มีพื้นที่ดูและตลอดแนวชายแดนอำเภอสอยดาวและอำเภอโป่งน้ำร้อนประมาณ 65 กิโลเมตร ตลอดแนวชายแดนจังหวัดจันทบุรี ต่อเนื่องกันกับ กองร้อยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดน (ร้อย.ฉก.ตชด.) และติดต่อกับกองกำลังบูรพาที่จังหวัดสระแก้ว นอกจากนี้ยังมีการวางกำลัง 1 กองร้อย คือ
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินบ้านดงจิก (ร้อย.ทพ.นย.บ้านดงจิก; กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 544) เพื่อดูแลพื้นที่สนามฝึกหมายเลข 12 บ้านพังงอน ในการป้องกันการบุกรุกพื้นที่ ซึ่งกองทัพเรือได้ขอใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อเป็นสนามยิงปืนกองทัพเรือ และตรวจการณ์เพื่อการอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดในพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว ครอบคลุมอำเภอโป่งน้ำร้อนและสอยดาว
กองร้อย
กองร้อยภายในชุดควบคุมทั้ง 4 ชุด จำนวน 26 กองร้อย ประกอบไปด้วย[5]
- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 1 (6 กองร้อย)
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 511 – ฐานคลองห้วยแร้ง บ้านเขาพลู อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด[6]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 512 – บ้านมะม่วง อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด[7]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 513 – บ้านสะพานหิน อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด[8]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 514 – ฐานเนิน 400 บ้านมะม่วง อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด[6]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 515 – อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด[9]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 516 – ฐานทับทิมสยาม บ้านกระดูกช้าง อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด[10]
- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 2 (6 กองร้อย)
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 521 – ฐานบ้านแหลม อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี[11]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 522 – ฐานบ้านซับตารี อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี[12]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 523
- บ้านสวนส้ม อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี[13]
- บ้านซับตารี อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี[14]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 524
- ฐานคลองตาดำ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี[15]
- บ้านบึงชนังล่าง อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 525 – บ้านซับตารี อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี[16]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 526
- บ้านบ่อยาง อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี[14]
- ฐานบ้านแหลม อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี[17]
- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 3 (7 กองร้อย) – บ้านเขาล้าน อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด[18]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 531 – บ้านชำราก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด[18]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 532 – ฐานบ้านสะพานหิน อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด[19]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 533
- บ้านตาหนึก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด[20]
- ฐานบ้านสะพานหิน อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด[21]
- บ้านชำราก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด[22]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 534 – บ้านหนองม่วง[23]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 535
- บ้านท่าเส้น อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด[24]
- บ้านคลองขุด อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด[21]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 536 – บ้านชำราก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 537
- บ้านหนองม่วง อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
- บ้านท่าเส้น อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด[21]
- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 4 (7 กองร้อย)
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 541 (พิฆาตไพรี) – ฐานสันติพัฒนา อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี[25]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 542 (พิฆาตทรชน) – ฐานคลองโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี[26]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 543 (อินทรีพิฆาต) – ฐานผักกาด อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 544 (ปีศาจดำ) – ฐานดงจิก อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี[27]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 545 (จงอางพิฆาต) – ฐานสันติพัฒนา อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี (ย้ายเข้าหลังฟื้นฟู 31 ม.ค.68) [28]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 546 (นรกคำราม) – ฐานป่าวิไล อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี[29]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 547 (พรานทมิฬ) – ฐานเนินดินแดง อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี[30]
กำลังพล
กำลังพลของหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน[2] ประกอบไปด้วย
- กำลังพลประจำการ (เจ้าหน้าที่โครงฯ) ประกอบด้วย นายทหารชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวนจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินเกือบทั้งหมด โดยมีส่วนสนับสนุนมาจากกรมแพทย์ทหารเรือ และกรมการเงินทหารเรือ
- กำลังพลอาสาสมัคร (อส.ทพ.) คือ การรับสมัครพลเรือนหรือประชาชนทั่วไปสมัครเข้ามาตามคุณสมบัติที่หน่วยกำหนด ซึ่งมีทั้งเพศชายและเพศหญิง[31] มีคุณสมบัติ ดังนี้
- เพศชาย[32]
- มีสัญชาติไทย และบิดา มารดา มีสัญชาติไทยตั้งแต่เกิด
- ไม่เคยมีคดีอาญา ที่ศาลได้พิจารณาคดีถึงที่สุดแล้วว่ามีความผิด ยกเว้น ในคดีลหุโทษหรือคดีที่ทำโดยประมาท
- ไม่อยู่ในระหว่างการเป็นจำเลยในคดีอาญาต่าง ๆ
- มีความประพฤติที่ดี ไม่เสื่อมเสียตามศีลธรรมอันดี
- ไม่เสพยาเสพติดหรือสิ่งเสพติดผิดกฎหมายหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สามารถปฏิบัติหน้าที่ในสนามได้
- จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือเทียบเท่าขึ้นไป
- ไม่มีรอยสักนอกร่มผ้าที่สามารถมองเห็นได้ (กรณีแต่งชุดกีฬาแขนสั้นและกางเกงขาสั้น)
- ไม่เป็นอาสาสมัครทหารพรานนาวิกโยธินมาก่อน (เว้นแต่ผู้ที่ลาออกไปรับราชการ ทหารกองประจำการ)
- สามารถโอนย้ายทะเบียนบ้าน เข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านของหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธินได้
- ไม่เป็นโรคที่เป็นที่รังเกียจของสังคม ปัญหาสุขภาพจิต หรือการติดยาเสพติด
- สัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์
- กรณีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้ปกครอง หากผ่านการคัดเลือก
- สูงต้องไม่ต่ำกว่า 160 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 45 กิโลกรัม ขึ้นไป
- ไม่รับสมัครผู้ที่ต้องไปคัดเลือกการเกณฑ์ทหารในปีที่รับสมัคร และยังไม่ได้ดำเนินการผ่อนผันให้เรียบร้อย (ต้องมีเอกสารการผ่อนผันมายืนยัน)
- สามารถว่ายน้ำได้ (ดำเนินการทดสอบผู้ที่ผ่านการคัดเลือกแล้วในวันรายงานตัวเข้ารับการฝึก โดยต้องเตรียมกางเกงสำหรับว่ายน้ำมาด้วย)
- เพศหญิง[32]
- มีสถานภาพโสด
- มีสัญชาติไทย และบิดา มารดา มีสัญชาติไทยตั้งแต่เกิด
- ไม่เคยมีคดีอาญา ที่ศาลได้พิจารณาคดีถึงที่สุดแล้วว่ามีความผิด ยกเว้น ในคดีลหุโทษหรือคดีที่ทำโดยประมาท
- ไม่อยู่ในระหว่างการเป็นจำเลยในคดีอาญาต่าง ๆ
- มีความประพฤติที่ดี ไม่เสื่อมเสียตามศีลธรรมอันดี
- ไม่เป็นโรคที่เป็นที่รังเกียจของสังคม ปัญหาสุขภาพจิต หรือการติดยาเสพติด
- ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สามารถปฏิบัติหน้าที่ในสนามได้
- ไม่มีรอยสักนอกร่มผ้าที่สามารถมองเห็นได้ (กรณีแต่งชุดกีฬาแขนสั้นและกางเกงขาสั้น)
- ไม่เป็นอาสาสมัครทหารพรานนาวิกโยธินมาก่อน
- สามารถโอนย้ายทะเบียนบ้าน เข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านของหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธินได้
- สัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์
- จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือเทียบเท่าขึ้นไป
- สูงต้องไม่ต่ำกว่า 155 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 40 กิโลกรัม ขึ้นไป
- สามารถว่ายน้ำได้ (ดำเนินการทดสอบผู้ที่ผ่านการคัดเลือกแล้วในวันรายงานตัวเข้ารับการฝึก โดยต้องเตรียมกางเกงสำหรับว่ายน้ำมาด้วย)
ภารกิจ
มีพื้นที่รับผิดชอบตามแนวชายแดนกัมพูชาในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด[33] แบ่งออกเป็น 4 ชุดควบคุมในการดูแลพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด ดำเนินการฝึกกำลังพลในหน่วยขึ้นตรงให้ดำรงขีดความสามารถในการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน และสนับสนุนด้านยุทธการและการส่งกำลังบำรุงให้กับชุดควบคุมทั้ง 4 หน่วยที่ปฏิบัติงานในพื้นที่[3]
การฝึก
หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน มีภารกิจหลักในการฝึกกำลังพลของทหารพรานนาวิกโยธิน ทั้งในพื้นที่กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด และกำลังพลที่ไปปฏิบัติการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้[31] ดำเนินการโดย ส่วนการฝึกและศึกษา ได้แก่
- หลักสูตรการฝึกเจ้าหน้าที่โครง[3]
- หลักสูตรการฝึกอาสาสมัครทหารพรานทดแทน[3]
- หลักสูตรเบื้องต้นอาสาสมัครทหารพรานนาวิกโยธิน[34]
- หลักสูตรเบื้องต้นอาสาสมัครทหารพรานหญิง[31] (เฉพาะ อส.ทพ.หญิง)
- หลักสูตรการปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้[31]
- หลักสูตรการฝึกฟื้นฟูกองร้อยทหารพรานนาวิกโยธิน[3]
- หลักสูตรการฝึกฟื้นฟูหมวดอาวุธสนับสนุน[3]
สิ่งอำนวยความสะดวก
หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน มีค่ายเทวาพิทักษ์เป็นฐานปฏิบัติการหลัก ประกอบด้วยสิ่งอำนวยการสะดวกสำหรับการฝึกต่าง ๆ เช่น
- หอสูง 34 ฟุต[35]
- สนามส่วนการฝึกและศึกษาฯ (ลานเกียรติศักดิ์พราน)
ยุทโธปกรณ์
อาวุธและยุทโธปกรณ์ของหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน จะใช้รูปแบบเดียวกันกับกรมทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ มีเพียงบางส่วนที่มีการจัดหามาใช้งานเฉพาะหน่วย
ยานพาหนะภาคพื้นดิน
อากาศยาน
ปืนเล็กยาว
ปืนใหญ่สนาม
รุ่น
|
ภาพ
|
ประเภท
|
ที่มา
|
หมายเหตุ
|
ปืนครกเอ็ม 120
|
|
ปืนครก 120 มม.
|
อิสราเอล
|
มีอยู่ที่หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน ค่ายเทวาพิทักษ์
|
|
|
ปืนครก 60 มม.
|
|
[3]
|
|
|
ปืนครก 81 มม.
|
|
[3]
|
สถานที่สำคัญ
หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน มีสถานที่สำคัญในค่ายเทวาพิทักษ์ ได้แก่
พระอนุสาวรีย์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
พระอนุสาวรีย์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประดิษฐานอยู่ที่ยอดเขาของที่ตั้งหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและดูแลรักษาเจ้าหน้าที่ในสังกัดและผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ค่ายเทวาพิทักษ์ให้ปลอดภัย[40]
ลักษณะเป็นอนุสาวรีย์กลางแจ้ง ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม พระรูปมีลักษณะทรงยืน ไม่สวมหมวก ความสูง 1.69 เมตร[40]
อ้างอิง
|
---|
ฐานทัพเรือ | ส่วนกำลังรบ | |
---|
ทัพเรือภาคที่ 1 | |
---|
ทัพเรือภาคที่ 2 | |
---|
ทัพเรือภาคที่ 3 | |
---|
| |
---|
สถานีเรือ | |
---|
สถานีการบิน | |
---|
นาวิกโยธิน |
|
---|
หน่วยเฉพาะกิจ | |
---|
|