อำเภอเชียงตุง (พม่า: ကျိုင်းတုံမြို့နယ်; ไทใหญ่: ၸႄႈဝဵင်းၵဵင်းတုင်; อังกฤษ: Kengtung township) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า มีเมืองหลักคือเมืองเชียงตุง ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดเชียงตุงด้วย อาณาเขตเกือบทั้งหมดของอำเภอตั้งอยู่ทางฟากตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน มีพื้นที่ประมาณ 3,500 ตารางกิโลเมตร
เมื่อคราวที่ประเทศไทยส่งกำลังทหารเข้ายึดครองดินแดนบางส่วนของประเทศเมียนมาและจัดตั้งดินแดนสหรัฐไทยเดิมขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทางราชการไทยได้กำหนดชื่อเรียกของอำเภอเชียงตุงว่า "อำเพอเมืองเชียงตุง"[2]
ประวัติ
ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าเมืองเชียงตุงได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่เชื่อกันว่าในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 เมืองเชียงตุงได้ถูกปกครองโดยชาวลัวะ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 1786 จึงถูกพระญามังรายผนวกให้อยู่ภายใต้อำนาจของเมืองเชียงใหม่[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2107 หลังจากที่เมืองเชียงใหม่เสียให้แก่พระเจ้าบุเรงนองแล้ว เมืองเชียงตุงก็ได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อพม่า[4] และนับจากนั้นพม่าก็ได้เข้ามามีอิทธิพลและบทบาทเหนือเมืองเชียงตุงตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะประชากร
ประชากรหลักของเมืองเชียงตุงเป็นชาวไทกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตนเองว่าไทขืน โดยภาษาของชาวไทขืนจะมีคำศัพท์แตกต่างจากภาษาของชาวไทหลวงหรือไทใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรหลักของรัฐฉาน อยู่ค่อนข้างมาก อีกทั้งยังมีภาษาเขียนที่แตกต่างกัน โดยภาษาเขียนของชาวไทขืน ได้ดัดแปลงมาจากอักษรธรรมล้านนาของเชียงใหม่[5]
นอกจากนี้ประชากรของเมืองเชียงตุงยังประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์อีกมากมาย เช่น ไทลื้อ ไทหลวง ไทเหนือ ลาหู่ อาข่า พม่า ว้า ลีซอ ปะหล่อง จีน กะชีน เป็นต้น[6] ชาวอำเภอเชียงตุงส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธลัทธิเถรวาท ศาสนาอื่นที่สำคัญคือ ศาสนาคริสต์ และการนับถือผี[7]
ที่ตั้งและลักษณะทางภูมิศาสตร์
อำเภอเชียงตุงตั้งอยู่บริเวณจุดกึ่งกลางของรัฐฉานภาคตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภออื่นดังนี้
- ทิศเหนือติดต่อกับอำเภอเมืองขากและอำเภอเมืองลา จังหวัดเชียงตุง
- ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอเมืองลา จังหวัดเชียงตุง อำเภอเมืองยองและอำเภอเมืองพยาก จังหวัดท่าขี้เหล็ก
- ทิศใต้ติดต่อกับอำเภอเมืองพยาก จังหวัดท่าขี้เหล็ก และอำเภอเมืองสาต จังหวัดเมืองสาต
- ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอเมืองเป็ง จังหวัดเชียงตุง
พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองเชียงตุงเป็นพื้นที่ภูเขา มีที่แอ่งราบขนาดใหญ่อยู่บริเวณตอนกลางค่อนไปทางเหนือ มีแม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำขืนและแม่น้ำหลวย ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในแต่ละปีอยู่ที่ประมาณ 1,500 มม. ในบริเวณพื้นราบ มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในช่วงฤดูร้อนอยู่ที่ประมาณ 38 °ซ และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยในช่วงฤดูหนาวอยู่ที่ 21 °ซ
เขตการปกครอง
อำเภอเชียงตุงแบ่งการปกครองออกเป็น 1 เมือง (မြို့/Town) และ 31 ตำบล (เอิ่ง/ကျေးရွာအုပ်စု/Village Tract) ได้แก่
- เมืองเชียงตุง (ကျိုင်းတုံ)
- เอิ่งกาดเต่า (ကတ်တောင်)
- เอิ่งกาดถ้าย (ကတ်ထိုက်)
- เอิ่งกาดฟ้า (ကတ်ဖ)
- เอิ่งดอยหลวง (လွယ်လုံ)
- เอิ่งดอยเหมย (လွိုင်မွေ,လွယ်မွေ)
- เอิ่งท่าเดื่อ (တာလေ)
- เอิ่งนาปอ (နားပေါ်)
- เอิ่งน้ำขัก (နမ့်ခတ်)
- เอิ่งน้ำหลวง (နမ့်လုံ)
- เอิ่งน้ำอิง (နမ့်အင်း)
- เอิ่งปางจู่ (ပန်ကြူ)
- เอิ่งปางมาต (ပန်မတ်)
- เอิ่งเป็งเต้า (ပင်းတောက်)
- เอิ่งเมืองกาย (မိုင်းကိုင်)
- เอิ่งเมืองขอน (မိုင်းခွန်)
- เอิ่งเมืองงอม (မိုင်းငွန်း)
- เอิ่งเมืองเจม (မိုင်းဇင်း)
- เอิ่งเมืองนอ/ผาต้า (မိုင်းနော့/ဖာတ)
- เอิ่งเมืองปักใต้ (မိုင်းပတ် (အောက်))
- เอิ่งเมืองปักเหนือ (မိုင်းပတ် (အထက်))
- เอิ่งเมืองปันกลาง (မိုင်းပန် (လယ်))
- เอิ่งเมืองลัง (မိုင်းလန်း)
- เอิ่งเมืองลาบ (မိုင်းလပ်)
- เอิ่งเมืองอิน (မိုင်းအင်း)
- เอิ่งยางเกี๋ยง (ယန်းကျိန်)
- เอิ่งยางคะ (ယန်းခ)
- เอิ่งยางลอ (ယန်းလော)
- เอิ่งวัดซาว (ဝပ်ဆောင်း)
- เอิ่งหนองกุ้ง (နောင်ကုန်)
- เอิ่งหนองตอง (နောင်တောင်း)
- เอิ่งห้วยก๋อย (ဟွေကွယ်)
เมืองเชียงตุง มีฐานะเทียบเท่าเทศบาลนคร แบ่งเขตการปกครองย่อยลงไปเป็นแขวง (ရပ်ကွက်/Ward) โดยมีจำนวนทั้งหมด 5 แขวง[8] ส่วนตำบลต่าง ๆ จะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นหมู่บ้าน (ကျေးရွာ/Village) ซึ่งอำเภอเชียงตุงมีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 718 หมู่บ้าน[9]
#
|
ตำบล/แขวง
|
พื้นที่ (ตร.กม.)
|
ข้อมูลจากการสำรวจ เมื่อ พ.ศ. 2562 เพื่อเตรียมการเลือกตั้ง[10]
|
ข้อมูลจาก การสำมะโนประชากร เมื่อ พ.ศ. 2557[11]
|
ภาษาไทย
|
ภาษาพม่า
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
หลังคา เรือน
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
1
|
แขวงหมายเลข 1
|
အမှတ် (၁)
|
2.93
|
5,884
|
6,333
|
12,217
|
2,924
|
6,937
|
6,927
|
13,864
|
2
|
แขวงหมายเลข 2
|
အမှတ် (၂)
|
3.52
|
2,352
|
2,724
|
5,076
|
1,314
|
3,126
|
3,067
|
6,193
|
3
|
แขวงหมายเลข 3
|
အမှတ် (၃)
|
1.04
|
3,878
|
4,203
|
8,081
|
1,522
|
3,744
|
3,837
|
7,581
|
4
|
แขวงหมายเลข 4
|
အမှတ် (၄)
|
2.25
|
4,936
|
5,568
|
10,504
|
2,027
|
4,505
|
4,823
|
9,328
|
5
|
แขวงหมายเลข 5
|
အမှတ် (၅)
|
2.12
|
3,367
|
3,805
|
7,172
|
1,315
|
3,900
|
3,423
|
7,323
|
6
|
ยางลอ
|
ယန်းလော
|
40.53
|
3,723
|
3,978
|
7,701
|
1,575
|
3,830
|
3,729
|
7,559
|
7
|
หนองกุ้ง
|
နောင်ကုန်
|
6.24
|
1,230
|
1,348
|
2,578
|
805
|
2,131
|
1,869
|
4,000
|
8
|
ดอยหลวง
|
လွယ်လုံ
|
44.00
|
2,380
|
2,367
|
4,747
|
739
|
1,859
|
1,781
|
3,640
|
9
|
กาดถ้าย
|
ကတ်ထိုက်
|
56.93
|
4,376
|
4,478
|
8,854
|
1,521
|
3,655
|
3,601
|
7,256
|
10
|
ปางมาต
|
ပန်မတ်
|
289.61
|
1,414
|
1,382
|
2,796
|
608
|
1,717
|
1,675
|
3,392
|
11
|
เมืองปันกลาง
|
မိုင်းပန် (လယ်)
|
187.59
|
1,810
|
1,717
|
3,527
|
918
|
2,367
|
2,225
|
4,592
|
12
|
ปางจู่
|
ပန်ကြူ
|
114.01
|
2,740
|
2,706
|
5,446
|
1,003
|
2,985
|
2,710
|
5,695
|
13
|
น้ำขัก
|
နမ့်ခတ်
|
221.13
|
1,441
|
1,509
|
2,950
|
493
|
1,541
|
1,483
|
3,024
|
14
|
เมืองอิน
|
မိုင်းအင်း
|
224.63
|
1,552
|
1,521
|
3,073
|
479
|
1,419
|
1,394
|
2,813
|
15
|
หนองตอง
|
နောင်တောင်
|
182.34
|
873
|
831
|
1,704
|
341
|
940
|
917
|
1,857
|
16
|
น้ำอิง
|
နမ့်အင်
|
91.56
|
1,196
|
1,124
|
2,320
|
405
|
1,239
|
1,122
|
2,361
|
17
|
นาปอ
|
နားပေါ်
|
117.97
|
1,027
|
993
|
2,020
|
295
|
892
|
868
|
1,760
|
18
|
เมืองขอน
|
မိုင်းဒခွန်
|
91.04
|
3,306
|
3,330
|
6,636
|
1,251
|
3,487
|
3,007
|
6,494
|
19
|
ห้วยก๋อย
|
ဟွေကွယ်
|
56.85
|
1,414
|
1,435
|
2,849
|
573
|
1,596
|
1,471
|
3,067
|
20
|
เมืองเจม
|
မိုင်းဇင်
|
86.58
|
6,220
|
6,541
|
12,761
|
3,271
|
8,215
|
8,093
|
16,308
|
21
|
เมืองลาบ
|
မိုင်းလပ်
|
27.01
|
2,131
|
2,034
|
4,165
|
1,185
|
2,959
|
2,725
|
5,684
|
22
|
เมืองลัง
|
မိုင်းလန်
|
125.38
|
1,888
|
1,805
|
3,693
|
928
|
2,616
|
2,043
|
4,659
|
23
|
กาดเต่า
|
ကတ်တောင်
|
70.19
|
2,603
|
2,769
|
5,372
|
1,168
|
2,566
|
2,579
|
5,145
|
24
|
วัดซาว
|
ဝပ်ဆောင်
|
19.32
|
1,186
|
1,130
|
2,316
|
534
|
1,315
|
1,298
|
2,613
|
25
|
เป็งเต้า
|
ပင်းတောက်
|
252.58
|
2,600
|
2,590
|
5,190
|
912
|
2,617
|
2,535
|
5,152
|
26
|
ยางเกี๋ยง
|
ယန်းကျိန်
|
33.31
|
1,311
|
1,378
|
2,689
|
476
|
1,016
|
1,037
|
2,053
|
27
|
กาดฟ้า
|
ကတ်ဖ
|
147.32
|
3,136
|
3,242
|
6,378
|
1,432
|
3,549
|
3,585
|
7,134
|
28
|
ดอยเหมย
|
လွိုင်မွေ
|
96.30
|
3,506
|
3,503
|
7,009
|
1,268
|
3,445
|
3,051
|
6,496
|
29
|
ยางคะ
|
ယန်းခ
|
27.95
|
1,634
|
1,740
|
3,374
|
579
|
1,431
|
1,367
|
2,798
|
30
|
น้ำหลวง
|
နမ့်လုံ
|
135.43
|
775
|
744
|
1,519
|
277
|
781
|
769
|
1,550
|
31
|
เมืองกาย
|
မိုင်းကိုင်
|
323.36
|
418
|
386
|
804
|
169
|
427
|
389
|
816
|
32
|
เมืองนอร์/ผาต้า
|
မိုင်းနော့/ဖာတ
|
135.43
|
1,292
|
1,196
|
2,488
|
507
|
1,421
|
1,272
|
2,693
|
33
|
เมืองงอม
|
မိုင်းငွန်
|
195.00
|
477
|
460
|
937
|
225
|
686
|
604
|
1,290
|
34
|
เมืองปักใต้
|
မိုင်းပတ် (အောက်)
|
124.42
|
1,233
|
1,078
|
2,311
|
520
|
1,398
|
1,249
|
2,647
|
35
|
เมืองปักเหนือ
|
မိုင်းပတ် (အထက်)
|
99.17
|
1,379
|
1,290
|
2,669
|
462
|
1,293
|
1,160
|
2,453
|
36
|
ท่าเดื่อ
|
တာလေ
|
21.34
|
172
|
155
|
327
|
75
|
174
|
156
|
330
|
รวมทั้งสิ้น
|
3,656.39
|
80,860
|
83,393
|
164,253
|
34,096
|
87,779
|
83,841
|
171,620
|
การสาธารณสุข
อำเภอเมืองเชียงตุง มีโรงพยาบาล 6 แห่ง[12] ดังนี้
- โรงพยาบาลเชียงตุง — เป็นโรงพยาบาลรัฐบาล ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเจม มีขนาด 200 เตียง เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดเชียงตุง
- โรงพยาบาลทหาร (หมายเลข 3/300) — เป็นโรงพยาบาลรัฐบาล ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเจม มีขนาด 300 เตียง
- โรงพยาบาลดอยเหมย — เป็นโรงพยาบาลรัฐบาล ตั้งอยู่ที่ตำบลดอยเหมย มีขนาด 16 เตียง
- โรงพยาบาลเมืองขอน — เป็นโรงพยาบาลรัฐบาล ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองขอน มีขนาด 16 เตียง
- โรงพยาบาลเมืองกาย — เป็นโรงพยาบาลรัฐบาล ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองกาย มีขนาด 16 เตียง
- โรงพยาบาลเจตนา (စေတနာဆေးရုံ) — เป็นโรงพยาบาลเอกชน ตั้งอยู่ที่แขวง 3 เวียงเชียงตุง มีขนาด 25 เตียง
นอกจากนี้ภายในอำเภอเชียงตุงยังมีสถานบริการพยาบาลของเอกชน (คลินิก) อีกประมาณ 40 แห่ง ซึ่งเกือบทั้งหมดตั้งอยู่ในเวียงเชียงตุง และยังมีสถานบริการรัฐบาลระดับตำบลกระจายอยูในตำบลต่าง ๆ อย่างน้อยตำบลละหนึ่งแห่ง
การศึกษา
ระดับอุดมศึกษา
อำเภอเชียงตุงมีมหาวิทยาลัย 3 แห่ง[13] ได้แก่
#
|
ชื่อ
|
ที่ตั้ง
|
จำนวน อาจารย์
|
จำนวน นักศึกษา
|
1
|
มหาวิทยาลัยเชียงตุง
|
บ้านนาขาม ตำบลยางลอ
|
139
|
4,167
|
2
|
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเชียงตุง
|
บ้านใหม่ ตำบลเมืองลัง
|
62
|
742
|
3
|
มหาวิทยาลัยคอมพิวเตอร์เชียงตุง
|
บ้านยางละ ตำบลกาดฟ้า
|
33
|
230
|
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
อำเภอเชียงตุงมีโรงเรียนที่เปิดสอนในระดับมัธยมปลาย 15 แห่ง[14] ได้แก่
#
|
ชื่อ
|
ที่ตั้ง
|
จำนวน ครู/อาจารย์
|
จำนวน นักเรียน
|
1
|
โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย 1
|
เมืองเชียงตุง
|
34
|
967
|
2
|
โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย 2
|
เมืองเชียงตุง
|
63
|
1,834
|
3
|
โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย 3
|
เมืองเชียงตุง
|
49
|
1,665
|
4
|
โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย 4
|
เมืองเชียงตุง
|
62
|
1,748
|
5
|
โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย 5
|
หนองกุ้ง
|
43
|
2,083
|
6
|
โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย 7
|
เมืองเชียงตุง
|
29
|
770
|
7
|
โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลายกาดเต่า
|
กาดเต่า
|
21
|
617
|
8
|
โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลายบ้านอ้อ
|
เมืองขอน
|
18
|
621
|
9
|
โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลายดอยเหมย
|
ดอยเหมย
|
19
|
579
|
10
|
โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลายยางลู
|
เมืองเจม
|
35
|
757
|
11
|
โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย (สาขา) และมัธยมต้น 3
|
เมืองเชียงตุง
|
26
|
620
|
12
|
โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย (สาขา) เมืองเจม
|
เมืองเจม
|
18
|
523
|
13
|
โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย (สาขา) ปางลีออ
|
เมืองขอน
|
19
|
451
|
14
|
โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย (สาขา) กาดฟ้า
|
กาดฟ้า
|
9
|
377
|
15
|
โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย (สาขา) กาดถ้าย
|
กาดถ้าย
|
12
|
318
|
การคมนาคม
ทางอากาศ
อำเภอเชียงตุงมีสนามบินพลเรือน 1 แห่ง ตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองกุ้ง เป็นสนามบินภายในประเทศ
ทางบก
ถนนติดต่อระหว่างเมือง
อำเภอเชียงตุงมีถนนติดต่อระหว่างเมืองที่สำคัญดังนี้[15]
- ถนนมิถิลา-ตองจี-เชียงตุง-ท่าขี้เหล็ก — คือทางหลวงแห่งชาติหมายเลข 4 และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 มีระยะทางของถนนอยู่ในเขตอำเภอเชียงตุงประมาณ 57 กิโลเมตร เป็นเส้นทางหลักในการเดินทางไปเมืองตองจีและเมืองท่าขึ้เหล็ก โดยเส้นทางของถนนจะผ่านเข้ามาในเขตอำเภอเชียงตุงทางทิศตะวันตกที่ตำบลเมืองปันกลาง ผ่านตำบลปางจู่ ตำบลยางลอ เข้าสู่เขตเมืองเชียงตุง (ในเวียง) แล้วหักลงไปทางทิศใต้ ผ่านเขตตำบลเมืองเจม ตำบลดอยเหมย และออกจากเขตอำเภอเชียงตุงที่ตำบลยางคะ
- ถนนเชียงตุง-เมืองลา — เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 3 ส่วนใต้ มีระยะทางของถนนอยู่ในเขตอำเภอเชียงตุงประมาณ 48 กิโลเมตร เป็นเส้นทางหลักในการเดินทางไปยังเมืองลา จุดเริ่มต้นของถนนสายนี้อยู่ที่วัดพระเจ้าหลวง เมืองเชียงตุง (ในเวียง) ผ่านตำบลหนองกุ้ง ตำบลกาดฟ้า และออกจากเขตอำเภอเชียงตุงที่ตำบลยางเกี๋ยง
- ถนนเชียงตุง-เมืองขาก-เมืองยาง — มีระยะทางของถนนอยู่ในเขตอำเภอเชียงตุงประมาณ 33 กิโลเมตร เป็นเส้นทางหลักที่ใช้ในการเดินนทางไปยังเมืองขากและเมืองยาง จุดเริ่มต้นของถนนสายนี้อยู่ที่วัดพระเจ้าหลวง เมืองเชียงตุง (ในเวียง) ผ่านตำบลยางลอ ตำบลวัดซาว ตำบลกาดเต่า และออกจากเขตอำเภอเชียงตุงที่ตำบลเป็งเต้า
- ถนนเชียงตุง-เมืองขอน-เมืองกก — มีระยะทางของถนนอยู่ในเขตอำเภอเชียงตุงประมาณ 32 กิโลเมตร เป็นเส้นทางหลักที่ใช้ในการเดินทางไปยังเมือขก (เมืองกก) จังหวัดเมืองสาด จุดเริ่มต้นของถนนสายนี้แยกออกจากถนนมิถิลา-ตองจี-เชียงตุง-ท่าขี้เหล็ก ที่บริเวณใกล้ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางบ้านยางลู ตำบลเมืองเจม เส้นทางผ่านตำบลห้วยก๋อย ตำบลน้ำอิง และออกจากเขตอำเภอเชียงตุงที่ตำบลหนองตอง
สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป
- หนองตุง — เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่ประมาณ 80 ไร่ ตั้งอยู่ภายในเขตเมืองเชียงตุง (ในเวียง) เป็นจุดที่มีทัศนียภาพโล่งกว้าง มีสถานที่สำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมตั้งอยู่ใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก
- กาดหลวง — เป็นตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใหญ่ที่สุดของเมือง ตั้งอยู่ภายในเขตเมืองเชียงตุง (ในเวียง)
- หอหลวงเชียงตุงจำลอง — เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ของเมือเชียงตุง โดยจำลองแบบการก่อสร้างมาจากหอหลวงเมืองเชียงตุงหลังเก่า ที่เริ่มก่อสร้างในรัชสมัยของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงเมื่อ พ.ศ. 2448 และถูกรื้อลงใน พ.ศ 2534 อาคารหอหลวงเชียงตุงจำลองหลังนี้ตั้งอยู่บริเวณริมหนองตุงทางทิศตะวันออก ใกล้กับตำแหน่งของหอหลวงเมืองเชียงตุงหลังเก่าที่ถูกรื้อไป มีการประกอบพิธีเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 โดยมีพลเอกอาวุโสมี่นอองไลง์ นายกรัฐมนตรีเมียนมาในขณะนั้นเป็นประธาน และ ดร. เจ้านาง หยินหยินน้อย (Yin Yin Nwe) ซึ่งเป็นนัดดาของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง ได้เข้าร่วมในพิธีครั้งนี้ด้วย[16] หอหลวงเชียงตุงจำลองได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมเป็นครั้งแรกเป็นการชั่วคราว (การตกแต่งภายในยังไม่เสร็จสมบูรณ์) ระหว่างวันที่ 27 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ซึ่งอยู่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ไท ระหว่างเวลา 9.00 น. – 16.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศเมียนมา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
- น้ำตกเชียงตุง — ตั้งอยู่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลกาดเต่า อยู่ห่างจากเมืองเชียงตุงประมาณ 16 กิโลเมตร
- ดอยเหมย — เป็นดอยสูง อยู่ห่างจากเมืองเชียงตุงประมาณ 20 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตตำบลดอยเหมย มีภูมิอากาศเย็นสบาย มีสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่หลายแห่ง ในช่วงฤดูหนาวต้นหมอกก๋อมที่ขึ้นในพื้นที่จะออกดอกจำนวนมาก เพิ่มความงามด้านทัศนียภาพในพื้นที่
- ดอยปางควาย - เป็นตอยสูง อยู่ใกล้ดอยเหมย ตั้งอยู่ในเขตตำบลดอยเหมย เป็นที่ตั้งของพุทธมณฑลนครเชียงตุง มีจุดชมวิว รีสอร์ท และร้านกาแฟ หลายแห่ง
- บ่อน้ำพุร้อนบ้านหล้าว — ตั้งอยู่ใกล้บ้านปุ่งและบ้านหล้าว ตำบลดอยหลวง อยู่ห่างจากเมืองเชียงตุงประมาณ 8 กิโลเมตร
- 13 หลัก — เป็นชายหาดริมฝั่งแม่น้ำขืน ตั้งอยู่ในเขตตำบลกาดเต่า อยู่ห่างจากเมืองเชียงตุงประมาณ 20 กิโลเมตร หรือ 13 ไมล์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมในฤดูร้อน
- 19 หลัก — เป็นจุดชมทัศนียภาพบนภูเขาสูง ตั้งอยู่ในเขตตำบลนาปอ บนถนนเชียงตุง-เมืองขอน-เมืองกก ห่างจากเมืองเชียงตุงราว 37 กิโลเมตร หรือ 19 ไมล์นับจากจุดเริ่มต้นของถนนเชียงตุง-เมืองขอน-เมืองกก
สถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
ในเขตเมืองเชียงตุง (ในเวียง)
- วัดพระเจ้าหลวง
- วัดราชฐานหลวงหัวข่วง
- วัดพระธาตุหลวงจอมคำ
- วัดพระธาตุจอมมน และต้นไม้หมายเมือง
- กู่เจ้าฟ้าเชียงตุง — สุสานบรรจุพระอัฐิของเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงเก้าพระองค์ นับตั้งแต่เจ้าฟ้ามหาสิงหบวรสุธรรมราชา หรือเจ้าฟ้ามหาขนานดวงแสง จนถึงอัฐิของเจ้าจายหลวง ซึ่งเป็นเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงองค์สุดท้าย ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวง 3 (ရပ်ကွက် ၃ / Ward 3) ติดถนนเซตานหลวง ใกล้ประตูป่าแดง และเนื่องจากกู่เจ้าฟ้าเชียงตุงนี้ตั้งอยู่ในบริเวณกาดหลวงเก่า จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “หอเจ้าหลวงกาด” โดยสำหรับกู่บรรจุพระอัฐิของเจ้าฟ้าทั้งเก้าพระองค์นั้น ประดิษฐานเรียงตามลำดับจากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกดังนี้
- องค์ที่ 1 — บรรจุพระอัฐิของเจ้าฟ้ามหาสิงหบวรสุธรรมราชา หรือเจ้าฟ้ามหาขนานดวงแสง
- องค์ที่ 2 — บรรจุพระอัฐิของเจ้าหนานมหาพรหม พระโอรสของเจ้าฟ้ามหาขนานดวงแสง
- องค์ที่ 3 — บรรจุพระอัฐิของเจ้าน้อยคำแสง พระโอรสของเจ้าฟ้ามหาขนานดวงแสง
- องค์ที่ 4 — บรรจุพระอัฐิของเจ้าโชติกองไท หรือเจ้าฟ้าเชียงแขง พระโอรสของเจ้าฟ้ามหาขนานดวงแสง
- องค์ที่ 5 — บรรจุพระอัฐิของเจ้ากองคำฟู พระโอรสของเจ้าโชติกองไท
- องค์ที่ 6 — บรรจุพระอัฐิของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง พระโอรสของเจ้าฟ้าโชติกองไท และเป็นพระอนุชาของเจ้ากองคำฟู
- องค์ที่ 7 — บรรจุพระอัฐิของเจ้าฟ้ากองไท พระโอรสของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง
- องค์ที่ 8 — บรรจุพระอัฐิของเจ้าพรหมลือ พระโอรสของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง และเป็นพระอนุชาของเจ้ากองไท
- องค์ที่ 9 — บรรจุพระอัฐิของเจ้าจายหลวง พระโอรสของเจ้ากองไท และเป็นเจ้าฟ้าเชียงตุงองค์สุดท้าย
- อนุสาวรีย์เจ้าฟ้ามหาขนาน — พระราชานุสาวรีย์ของเจ้าฟ้ามหาสิงหบวรสุธรรมราชา หรือเจ้าฟ้ามหาขนานดวงแสง เจ้าฟ้าเชียงตุงองค์ที่ 35 ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวง 3 (ရပ်ကွက် ၃ / Ward 3) ติดถนนเซตานหลวง ตรงข้ามกู่เจ้าฟ้าเชียงตุง โดยมีการประกอบพิธีประดิษฐานพระราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
- ประตูป่าแดง — เป็นประตูเมืองหนึ่งในสิบสองประตูของเมืองเชียงตุง เป็นประตูเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ ปัจจุบันได้ปิดการจราจรผ่านประตูไปตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 และได้ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์โดยรอบให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
- กู่เจ้านางสุวรรณา — สุสานบรรจุพระอัฐิของเจ้านางสุวรรณา พระราชมารดาของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านน้อยนอ เวียงเชียงตุง
นอกเขตเมืองเชียงตุง (นอกเวียง)
- วัดพระธาตุจอมหมอก
- วัดพระธาตุป้านเมือง
- พระธาตุจุ๊กเป็งฟ้า — ตั้งอยู่ห่างจากเมืองเชียงตุงไปทางทิศเหนือประมาณ 21 กิโลเมตร ใกล้น้ำตกหัวยาง
- พระธาตุจอมแก้ว — ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเดื่อลอเหนือ ตำบลกาดฟ้า ห่างจากเมืองเชียงตุงไปทางทิศเหนือประมาณ 16 กิโลเมตร
- วัดพระธาตุเวียงไชย — ตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านป่าขาม ตำบลกาดฟ้า ห่างจากเมืองเชียงตุงไปทางทิศเหนือประมาณ 12 กิโลเมตร
- หมู่บ้านหนองเงิน — ตั้งอยู่ในเขตตำบลกาดฟ้า เป็นหมู่บ้านของชาวไทเหนือ มีลักษณะพิเศษที่สถาปัตยกรรมของบ้านเรือนซึ่งทำด้วยดิน ตั้งอยู่ในเขตตำบลกาดฟ้า ห่างจากเมืองเชียงตุงประมาณ 6 กิโลเมตร กำลังได้รับการปรับปรุงให้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์
วัฒนธรรมประเพณี
เทศกาลประจำปี
- เทศกาลอาบน้ำร้อน — ช่วงต้นเดือนมกราคม ที่น้ำพุร้อนบ้านหล้าว
- เทศกาลดอกซากูระบานดอยเหมย — จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนมกราคม ที่อุทยานแห่งชาติดอยเหมย จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อระหว่างวันที่ 6-10 มกราคม พ.ศ. 2565
- เทศกาลวัดกาดเก่า — จัดขึ้น ณ บริเวณที่ตั้งของกาดหลวงเดิม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดเชียงจันทร์ ใกล้กู่เจ้าฟ้าเชียงตุง โดยหัวตลาดอยู่ที่วัดหัวกาด และท้ายตลาอดยู่ที่วัดราชฐานหลวงหัวข่วง แต่แรกจัดขึ้นราว 2-3 วันก่อนเทศกาลสงกรานต์ แต่ในปัจจุบันมักเลือกจัดในวันแรมเลขคี่ เดือนห้า ตามปฏิทินไทขืน ก่อนเทศกาลสงกรานต์ และตรงกับวันกาดเต่า ซึ่งจะตรงกับช่วงกลางถึงปลายของเดือนมีนาคมในแต่ละปี โดยจะมีการจัดพิธีสักการะหอเจ้าหลวงกาดพร้อมกันไปด้วย วันกาดเก่านี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วันกาดเจ้าฟ้า”
กำหนดการจัดงานวันกาดเก่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556
ปี พ.ศ.
|
วันจัดงาน
|
วันตามปฏิทินไทขืน
|
วันเม็ง
|
วันไท
|
วัดกาด
|
หมายเหตุ
|
2556
|
3 มีนาคม
|
แรม 7 ค่ำ เดือน 5
|
อาทิตย์
|
เปิกสี
|
วันกาดเต่า
|
|
2557
|
18 มีนาคม
|
แรม 3 ค่ำ เดือน 5
|
อังคาร
|
เปิกใจ้
|
วันกาดเต่า
|
|
2558
|
8 มีนาคม
|
แรม 4 ค่ำ เดือน 5
|
อาทิตย์
|
ก่าเม็ด
|
วันกาดเต่า
|
|
2559
|
1 เมษายน
|
แรม 10 ค่ำ เดือน 5
|
ศุกร์
|
ก่าเป้า
|
วันกาดเต่า
|
|
2560
|
17 มีนาคม
|
แรม 5 ค่ำ เดือน 5
|
ศุกร์
|
ก่าเหม้า
|
วันกาดเต่า
|
|
2561
|
2 มีนาคม
|
แรม 1 ค่ำ เดือน 5
|
ศุกร์
|
ก่าใส้
|
วันกาดเต่า
|
|
2562
|
27 มีนาคม
|
แรม 7 ค่ำ เดือน 5
|
พุธ
|
ก่าใค้
|
วันกาดเต่า
|
|
2563
|
16 มีนาคม
|
แรม 8 ค่ำ เดือน 5 (วันศีล)
|
จันทร์
|
เปิกสะง้า
|
วันกาดเต่า
|
เป็นงานที่จัดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ
|
2564
|
—
|
—
|
—
|
—
|
—
|
ไม่มีการจัดงาน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19
|
2565
|
26 มีนาคม
|
แรม 9 ค่ำ เดือน 5
|
เสาร์
|
เปิกยี
|
วันกาดเต่า
|
|
2566
|
11 มีนาคม
|
แรม 5 ค่ำ เดือน 5
|
เสาร์
|
เปิกสี
|
วันกาดเต่า
|
|
2567
|
5 มีนาคม
|
แรม 11 ค่ำ เดือน 5
|
อังคาร
|
เปิกสี
|
วัดกาดเต่า
|
|
2568
|
20 มีนาคม
|
แรม 7 ค่ำ เดือน 5
|
พฤหัสบดี
|
เปิกใจ้
|
วันกาดเต่า
|
|
หมายเหตุ — ในปี พ.ศ. 2563 แต่เดิมได้กำหนดให้มีการจัดงานวันกาดเก่าขึ้นในวันที่ 16 มีนาคม แต่เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น ทำให้มีประกาศยกเลิกการจัดงานในวันที่ 14 มีนาคม อย่างไรก็ตามเมื่อถึงวันที่ 16 มีนาคม ก็ยังมีผู้ค้ามาตั้งร้านขายของและมีประชาชนเข้ามาร่วมงาน ร่วมถึงมีการเปิดให้ประชาชนเข้าสักการะกู่เจ้าหลวงได้ตามปกติ แต่จำนวนผู้ค้าและประชาชนที่มาร่วมงานมีน้อยกว่าในปีที่ผ่านๆ มา
- เทศกาลตั้งธรรม — จัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม
- เทศกาลสงกรานต์ — จัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน
- เทศกาลเข้าพรรษา — จัดขึ้นในช่วงวันเข้าพรรษา
- เทศกาลออกพรรษา — จัดขึ้นในช่วงวันออกพรรษา
- เทศกาลกินเจ — จัดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม
- เทศกาลปีใหม่ไท — จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนธันวาคม
วันกาด
วันกาดคือวันที่กำหนดให้มีการจัดตลาดนัดขึ้นภายในเวียงเชียงตุง ซึ่งเชื่อว่าเป็นธรรมเนียมที่รับมาจากจีน โดยตั้งแต่ในสมัยโบราณได้กำหนดให้มีการจัดตลาดนัดใหญ่ 5 วันต่อครั้ง ณ บริเวณกาดหลวงเดิม หรือกาดเก่า เรียกวันที่จัดตลาดนัดนี้ขึ้นว่า "วันกาดหลวง" ซึ่งมาจากคำว่า "กาด" ที่แปลว่าตลาด กับคำว่า "หลวง" ที่แปลว่าใหญ่ ส่วนอีกสี่วันที่เหลือ แม้จะไม่มีการจัดตลาดนัดใหญ่เหมือนในวันกาดหลวง แต่ก็จะยังมีผู้นำสินค้ามาขายอยู่บ้าง โดยจะมีการนับรอบวันในการจัดให้มีตลาดนัดหมุมเวียนไปดังนี้[17]
- วันกาดหลวง — เป็นวันที่กำหนดให้จัดตลาดนัดใหญ่ บริเวณกาดตุ๋ง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดเชียงจันทร์ ใกล้สุสานเจ้าฟ้าเชียงตุง กินพื้นที่ตั้งแต่วัดหัวกาดยาวไปตามถนนจนถึงวัดหัวข่วง วันนี้จะมีผู้ค้านำสินค้ามาขายมากที่สุด และเป็นวันที่คึกคักที่สุด
- วันวายกาดหลวง — เป็นวันที่ไม่มีการจัดตลาดนัด แต่ยังมีผู้ค้าจำนวนเล็กน้อยที่นำสินค้ามาขาย
- วันกาดลี — เป็นวันที่มีการจัดตลานัด แต่จะไม่คึกคักนัก
- วันวายกาดลี — เป็นวันที่ไม่มีการจัดตลาดนัด แต่ยังมีผู้ค้าจำนวนเล็กน้อยที่นำสินค้ามาขาย เช่นเดียวกับวันวายกาดหลวง
- วันกาดข่วง — เป็นวันที่ผู้ค้าที่เตรียมตัวจะมาขายสินค้าในวันกาดหลวง ซึ่งเป็นวันถัดไป มาตั้งร้านขาย โดยจะไปกระจุกตัวตั้งร้านกันที่บริเวณวัดราชฐานหลวงหัวข่วง
ต่อมาในรัชสมัยของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง พระองค์ทรงพัฒนาปรับปรุงเมืองเชียงตุงในหลายด้าน โดยใน พ.ศ. 2478 ทรงโปรดให้สร้างกาดหลวงแห่งใหม่ คือกาดหลวงในปัจจุบัน[18] และยกเลิกการจัดตลาดนัดใหญ่ในบริเวณเดิม กาดหลวงใหม่มีลักษณะเป็นตลาดถาวรที่เปิดจำหน่ายสินค้าทุกวัน ทำให้การจัดตลาดนัดภายในเมืองเชียงตุงมีความสำคัญลดลง จนเหลือวันที่มีการจัดตลาดนัดตามธรรมเนียมนี้อยู่เพียงวันเดียว คือในวันกาดหลวง การนับวันกาดหมุมเวียนแบบเดิมจึงไม่ถูกนำมาใช้อีก แต่ก็ได้มีการสืบทอดดัดแปลงนำไปใช้งาน โดยได้มีการจัดตลาดนัดขึ้นในชุมชนใหญ่ทางทิศเหนือของเชียงตุง 4 แห่ง หมุนเวียนกันไปในช่วงที่ไม่ใช่วันกาดหลวง จนทำให้เกิดการนับรอบวันของการจัดให้มีตลาดแบบใหม่ขึ้น อันประกอบด้วย
- วันกาดตุง — มีการจัดตลาดนัดที่กาดหลวง ในเมืองเชียงตุง
- วันกาดบุ้ง — มีการจัดตลาดนัดที่บ้านกาดบุ้ง ตำบลกาดถ้าย
- วันกาดเต่า — มีการจัดตลาดนัดที่บ้านกาดเต่า ตำบลกาดเต่า
- วันกาดถ้าย — มีการจัดตลาดนัดที่บ้านกาดถ้าย ตำบลกาดถ้าย
- วันกาดฟ้า — มีการจัดตลาดนัดที่บ้านกาดฟ้า ตำบลกาดฟ้า
วันกาดของวันที่ 1 มกราคม ของแต่ละปี
ปี พ.ศ.
|
วันกาด
|
ปี พ.ศ.
|
วันกาด
|
ปี พ.ศ.
|
วันกาด
|
ปี พ.ศ.
|
วันกาด
|
ปี พ.ศ.
|
วันกาด
|
2560
|
วันกาดเต่า
|
2564
|
วันกาดถ้าย
|
2568
|
วันกาดฟ้า
|
2572
|
วันกาดตุง
|
2576
|
วันกาดบุ้ง
|
2561
|
วันกาดเต่า
|
2565
|
วันกาดถ้าย
|
2569
|
วันกาดฟ้า
|
2573
|
วันกาดตุง
|
2577
|
วันกาดบุ้ง
|
2562
|
วันกาดเต่า
|
2566
|
วันกาดถ้าย
|
2570
|
วันกาดฟ้า
|
2574
|
วันกาดตุง
|
2578
|
วันกาดบุ้ง
|
2563
|
วันกาดเต่า
|
2567
|
วันกาดถ้าย
|
2571
|
วันกาดฟ้า
|
2575
|
วันกาดตุง
|
2579
|
วันกาดบุ้ง
|
อ้างอิง
- ↑ Myanmar City Population
- ↑ "ประกาสกองบันชาการทหานสูงสุด เรื่องการจัดการปกครองสหรัถไทยเดิม" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 60 (55ง): 3272. 15 มิถุนายน พ.ศ. 2486. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-05.
- ↑ ทวี สว่างปัญญางกูร. "พงศาวดารเมืองเชียงตุง." หน้า 33.
- ↑ ทวี สว่างปัญญางกูร. "พงศาวดารเมืองเชียงตุง." หน้า 48.
- ↑ สรัสวดี อ๋องสกุล (2555). "ประวัติศาสตร์ล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 9)". กรุงเทพ:อัมรินทร์. หน้า 230.
- ↑ ကျိုင်းတုံခရိုင်. မြို့နယ်ဆထွေထွေဆုပ်ချုပ်ရေးဦးစီးဌာန. "ကျိုင်းတုံမျို့နယ် ဒေသဆိုင်ရာအချက်အလက်များ", หน้า 12. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1]
- ↑ ကျိုင်းတုံခရိုင်. မြို့နယ်ဆထွေထွေဆုပ်ချုပ်ရေးဦးစီးဌာန. "ကျိုင်းတုံမျို့နယ် ဒေသဆိုင်ရာအချက်အလက်များ", หน้า 18. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2]
- ↑ Department of Population. Ministry of Labour, Immigration and Population. Kengtung Township Report, หน้า 7. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3]
- ↑ http://themimu.info/sites/themimu.info/files/documents/TspProfiles_GAD_Kengtung_2019_MMR.pdf
- ↑ ကျိုင်းတုံခရိုင်. မြို့နယ်ဆထွေထွေဆုပ်ချုပ်ရေးဦးစီးဌာန. ကျိုင်းတုံမျို့နယ် ဒေသဆိုင်ရာအချက်အလက်များ, หน้า 49. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4]
- ↑ Department of Population. Ministry of Labour, Immigration and Population. Kengtung Township Report, หน้า 8. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [5]
- ↑ ကျိုင်းတုံခရိုင်. မြို့နယ်ဆထွေထွေဆုပ်ချုပ်ရေးဦးစီးဌာန. ကျိုင်းတုံမျို့နယ် ဒေသဆိုင်ရာအချက်အလက်များ, หน้า 49. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [6]
- ↑ ကျိုင်းတုံခရိုင်. မြို့နယ်ဆထွေထွေဆုပ်ချုပ်ရေးဦးစီးဌာန. ကျိုင်းတုံမျို့နယ် ဒေသဆိုင်ရာအချက်အလက်များ, หน้า 45. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [7]
- ↑ ကျိုင်းတုံခရိုင်. မြို့နယ်ဆထွေထွေဆုပ်ချုပ်ရေးဦးစီးဌာန. ကျိုင်းတုံမျို့နယ် ဒေသဆိုင်ရာအချက်အလက်များ, หน้า 45-46. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [8]
- ↑ ကျိုင်းတုံခရိုင်. မြို့နယ်ဆထွေထွေဆုပ်ချုပ်ရေးဦးစီးဌာန. ကျိုင်းတုံမျို့နယ် ဒေသဆိုင်ရာအချက်အလက်များ, หน้า 47. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [9]
- ↑ Myanmar Junta Boss Attends Opening of Replica of Shan Palace Demolished by Previous Regime. (May 13, 2024). The Irrawaddy. https://www.irrawaddy.com/news/burma/myanmar-junta-boss-attends-opening-of-replica-of-shan-palace-demolished-by-previous-regime.html
- ↑ เกรียงไกร เกิดศิริ. "ภูมิทัศน์เมืองโบราณและองค์ประกอบของเมือง กรณีศึกษาเมืองเชียงตุงและเมืองเชียงใหม่", วารสารหน้าจั่ว, ปีที่ 3 ฉบับที่ 4, (กันยายน 2549): หน้า 78-80.
- ↑ ดุจฤดี คงสุวรรณ์. " 'กาดเมืองเชียงตุง': ความหลากหลายและพลวัตชาติพันธุ์บนเวทีเศรษฐกิจ". (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560), หน้า 84.
|
---|
| ฉานตะวันออก | | |
---|
ฉานใต้ | |
---|
ฉานเหนือ | |
---|
เมือง | |
---|
|
|