ไทลื้อ
ไทลื้อ ไตลื้อ หรือ ชาวลื้อ (ภาษาไทลื้อ: ᨴᩱ᩠ᨿᩃᩨᩢ จีน: 傣仂, Dǎi lè, ลาว: ລື້, เวียดนาม: Người Lự) เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่ง พูดภาษาตระกูลภาษาขร้า-ไท มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแถบเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา ของประเทศจีน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือการใช้ภาษาไทลื้อ และยังมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อื่น ๆ เช่น การแต่งกาย ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ประวัติไทลื้อ ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณตอนใต้ของประเทศจีน มีเมืองเชียงรุ่ง ในเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน เป็นศูนย์กลางของชาวไทลื้อจึงมีประวัติศาสตร์ร่วมกับจีนมาเป็นเวลายาวนาน ในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมามีกลุ่มชาวไทลื้อบางส่วนได้อพยพและถูกกวาดต้อนลงมาอยู่ทางตอนเหนือของพม่า ตอนเหนือของลาว ตอนเหนือของเวียดนาม และทางภาคเหนือของประเทศไทย ในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ และน่าน เมื่อย้ายมาตั้งถิ่นฐานตามที่ต่าง ๆ แล้ว ชาวไทลื้อก็มีการปรับตัวเข้ากับท้องถิ่นได้อย่างกลมกลืน[4] และมีบางส่วนที่อยู่ร่วมกับชุมชนชาวไทยวนหรือคนเมืองและได้ผสมผสานไปหมดแล้วตั้งแต่โบราณ การอพยพเดิม ไทลื้อ มีถิ่นที่อยู่บริเวณ เมืองลื้อหลวง จีนเรียกว่า "ลือแจง" ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่บริเวณเมืองหนองแส หรือที่เรียกว่าคุนหมิงในปัจจุบัน แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำน้ำโขง สิบสองปันนาปัจจุบัน ประมาณศตวรรษที่ 12 จึงเกิดมีวีรบุรุษชาวไทลื้อชื่อ เจ้าเจื๋องหาญ ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนาปัจจุบันตั้งเป็นอาณาจักรแจ่ลื้อ (เซอลี่) โดยได้ตั้งศูนย์อำนาจการปกครองเอาไว้ที่หอคำเชียงรุ่ง นาน 790 ปี ต่อมาถึงสมัยเจ้าอิ่นเมือง ครองราชต่อมาในปี ค.ศ. 1579-1583 (พ.ศ. 2122-2126) ได้แบ่งเขตการปกครองเป็นสิบสองหัวเมือง แต่ละหัวเมืองให้มีที่ทำนา 1,000 หาบข้าว (เชื้อพันธุ์ข้าว) ต่อนาหนึ่งที่/หนึ่งหัวเมือง จึงเป็นที่มาจนถึงปัจจุบันเมืองสิบสองปันนาได้แบ่งเขตการปกครองเอาไว้ในอดีตดังนี้ (ที่มาของคำว่า สิบสองพันนา อ่านออกเสียงเป็น "สิบสองปันนา") ชาวไทลื้ออาศัยอยู่สองฝั่งแม่น้ำโขง คือ ด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำ มีเมืองต่าง ๆ ดังนี้ภาษาไทลื้อ ได้กล่าวไว้ว่า ห้าเมิงตะวันตก หกเมิงตะวันออก รวมเจงฮุ่ง (เชียงรุ่ง) เป็น 12 ปันนา และทั้ง 12 ปันนานั้น ประกอบด้วยเมืองใหญ่น้อยต่าง ๆ เช่น
การขยายตัวของชาวไทลื้อสมัยรัชกาลที่ 24 เจ้าอินเมืองได้เข้าตีเมืองแถน เชียงตุง เชียงแสน และล้านช้าง กอบกู้บ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น พร้อมทั้งตั้งหัวเมืองไทลื้อเป็นสิบสองเขต เรียกว่า สิบสองปันนา และในยุคนี้ได้มีการอพยพชาวไทลื้อบางส่วนเพื่อไปตั้งบ้านเรือนปกครองหัวเมืองประเทศราชเหล่านั้น จึงทำให้เกิดการกระจายตัวของชาวไทลื้อ ในลุ่มน้ำโขงตอนกลาง (รัฐฉานปัจจุบัน) อันประกอบด้วยเมืองยู้ เมืองยอง เมืองหลวย เมืองเชียงแขง เมืองเชียงลาบ เมืองเลน เมืองพะยาก เมืองไฮ เมืองโก และเมืองเชียงทอง หรือ หลวงพระบาง (ล้านช้าง) เมืองแถน(เดียนเบียนฟู) ซึ่งบางเมืองในแถบนี้เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไทลื้ออยู่แล้ว เช่น อาณาจักรเชียงแขง ซึ่งประกอบด้วย เมืองเชียงแขง เมืองยู้ เมืองหลวย เมืองเชียงกก เมืองเชียงลาบ เมืองกลาง เมืองลอง เมืองอาน เมืองพูเลา เมืองเชียงดาว เมืองสิง เป็นต้น ชาวไทลื้อบางส่วนได้อพยพหรือถูกกวาดต้อน ออกจากเมืองเหล่านี้เมื่อประมาณหนึ่งร้อยถึงสองร้อยปีที่ผ่านมา แล้วลงมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศตอนล่าง เช่น พม่า, ลาว และไทย ในสมัยรัชกาลที่ 1 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ (เจ้าผู้ครองนครน่าน) และเจ้าสุมนเทวราช (เจ้าผู้ครองนครน่าน) ยกกองทัพขึ้นไปกวาดต้อนชาวไทลื้อจากสิบสองปันนามายังเมืองน่าน และเมืองบางส่วนในประเทศลาว และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เจ้าสุริยะพงษ์ (เจ้าผู้ครองนครน่าน) ก็ได้ยกกองทัพขึ้นไปกวาดต้อนชาวไทลื้อจากสิบสองปันนามายังเมืองน่าน [5] ไทลื้อปัจจุบันไทลื้อในประเทศอื่นกระจายตัวอยู่ใน ประเทศจีน พม่า ลาว และเวียดนาม
ไทลื้อในประเทศไทยกระจายตัวอยู่ใน 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน
อำเภอเมืองน่าน (ตำบลในเวียง บ้านเชียงแขง บ้านเมืองเล็น) อำเภอท่าวังผา มีชาวไทลื้ออยู่ 5 ตำบล คือ ต.ศรีภูมิ บ้านห้วยเดื่อ ต.ป่าคา เป็นชาวไทลื้อที่มาจากเมืองล่า มี 5 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านหนองบัว บ้านดอนแก้ว บ้านต้นฮ่าง บ้านดอนมูล บ้านแฮะ, ตำบลยม มีชาวไทลื้อ 5 หมู่บ้านเป็นชาวไทลื้อที่มาจากเมืองเชียงลาบ และเมืองยอง ประกอบด้วย บ้านลอมกลาง บ้านทุ่งฆ้อง บ้านเชียงยืน บ้านเสี้ยว บ้านหนองช้างแดง, ต.จอมพระ เป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองยองและเมืองยู้มีชาวไทลื้อ 5 หมู่บ้าน บ้านถ่อน และถ่อนสอง บ้านยู้ บ้านยู้เหนือ บ้านยู้ใต้ อำเภอปัว เป็นอำเภอที่มีชาวไทลื้ออยู่มากที่สุด ประกอบด้วย ต.ศิลาเพชรเป็นชาวไทลื้อ ที่อพยพมาจากเมืองยอง คือ บ้านดอนไชย บ้านทุ่งรัตนา มาจากเมืองเลน คือ บ้านป่าตอง บ้านนาคำ (หัวโต้ง) บ้านทุ่งศรีบุญยืน, ตำบลศิลาแลง เป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองเชียงรุ่ง เมืองเลน เมืองยอง เมืองเงิน และเมืองพวน (ลื้อในเมืองพวนไม่ใช่ไทพวน) คือ บ้านดอนไชย-ไร่อ้อย บ้านฝาย (นาร้าง) บ้านหัวน้ำ บ้านตีนตก บ้านเฮี้ย บ้านหัวดอย, ต.วรนคร อพยพมาจากเมืองเลน (ลิน) เมืองยอง ปัจจุบันอยู่ในเขตพม่า คือ บ้านเก็ต บ้านร้องแง บ้านดอนแก้ว บ้านมอน ต.ปัว อพยพมาจากเมืองขอน เมืองยองและเมืองพวน คือ บ้านขอน บ้านป่าลาน อพยพมาจากเมืองยอง เมืองพวน คือ บ้านดอนแก้ว อพยพมาจากเมืองยอง คือ บ้านปรางค์ ต.สถาน อพยพมาจากเมืองยอง เมืองเชียงลาบ เมืองล้า เมืองเงิน คือ บ้านนาป่าน บ้านสันติสุข นอกนั้นในยังมีอีกไม่ต่ำกว่า 20 หมู่บ้านในอำเภอปัวที่เป็นชาวไทลื้อ
ศิลปะและวัฒนธรรมชาวไทลื้อมีชีวิตที่คล้ายคลึงกับชาวไทยหรือชนเผ่าอื่นในภูมิภาค คือมีการสร้างบ้านเรือนเป็นบ้านไม้ มีใต้ถุนสูง มีครัวไฟบนบ้าน ใต้ถุนเลี้ยงสัตว์ แต่ในปัจจุบันวิถีชีวิตได้เปลี่ยนไป การสร้างบ้านเรือนก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย เรือนที่ยังคงสภาพเป็นเรือนไม้แบบเดิมสถาปัตยกรรมแบบไทลื้อผสมล้านนายังพอจะมีให้เห็นบ้างในบางชุมชน เช่น บ้านธาตุสบแวน และบ้านหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ภาษาชาวไทลื้อมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตัวเอง เช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ภาษาไทลื้อจัดอยู่ในกลุ่มภาษาตระกูลไท(ไต) ลักษณะเด่นของภาษาไทลื้อคือการเปลี่ยนแปลงเสียงสระภายในคำโดยการเปลี่ยนระดับของลิ้น ภาษาพูดของชาวไทลื้อนั้นเสียงบางเสียงจะแตกต่างไปจากภาษาไทยวน เช่น สระเอีย เป็น เอ เช่น เมีย เป็น เม สระอัว เป็น โอ เช่น ผัว เป็น โผ สระเอือ เป็น เออ เช่น เกลือ เป็น เกอ เสียงวรรณยุกต์ของไทลื้อมี 6เสียง เหมือนภาษาไทยวนแต่มีลักษณะแตกต่างไป คำศัพท์ที่ใช้ในภาษาไทลื้อมักเป็นภาษาถิ่นตระกูลไทหรือคำศัพท์ไทดั้งเดิมเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีความหมายซับซ้อนมากนัก อักษรอักษรไทลื้อดั้งเดิม มีลักษณะเหมือนกับอักษรธรรมล้านนาหรืออักษรยวน ซึ่งไทลื้อรับผ่านการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากล้านนา อักษรไทลื้อใหม่ ประยุกต์อักษรไทลื้อเป็น abugida ใช้ในการเขียนภาษาไทลื้อ New Tai Lue ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในประเทศจีนในทศวรรษ 1950 โดยมีพื้นฐานมาจากตัวอักษร Tai Tham หรืออักษรธรรมล้านนา แบบดั้งเดิมที่พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1200 โดยรัฐบาลจีนส่งเสริมอักษรเพื่อใช้แทนอักษรตัวเก่า ทางรัฐบาลจีนไม่ได้มีการให้เรียนภาษาไทลื้อ หลายคนจึงไม่รู้หนังสือภาษาอักษรไทลื้อใหม่ นอกจากนี้ชุมชนไทลื้อในพม่า , ลาว , ไทย และเวียดนาม ยังคงใช้อักษรธรรมล้านนา ศาสนาชาวไทลื้อส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด นิยมสร้างวัดในชุมชนต่าง ๆ แทบทุกชุมชนของชาวไทลื้อ ทั้งยังตกแต่งด้วยศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์งดงาม มีการบูรณะ ซ่อมแซม ให้คงสภาพดีอยู่เสมอ ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่เพียงบางแห่ง เช่น วิหารวัดดอนมูล วิหารวัดหนองแดง วิหารวัดหนองบัว วิหารวัดท่าฟ้าใต้ วิหารวัดแสนเมืองมา(วัดมาง) วิหารวัดหย่วน เป็นต้น ส่วนชาวไทลื้อที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น อันเนื่องมาจากสตรีชาวไทลื้อบางส่วนได้มีการแต่งงานกับชาวหุย ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่นับถือศาสนาอิสลาม สตรีไทลื้อกลุ่มนี้มักเรียกตนเองว่า "ภาสีไท" ("ภาสี" ร่วมรากศัพท์กับคำพม่า ပန်းသေး) ศิลปะศิลปะที่โดดเด่นของชาวไทลื้อได้แก่งานผ้าทอไทลื้อ นิยมใช้ผ้าฝ้าย บางสมัยนิยมใช้เส้นไหมจากต่างถิ่น ทอลวดลายที่เรียกว่า "ลายเกาะ" ด้วยเทคนิคการล้วง ซึ่งปัจจุบันนิยมเรียกว่า ลายน้ำไหล มีการฟื้นฟูและถ่ายทอดศิลปะการทอผ้าแบบไทลื้อในหลายชุมชนของภาคเหนือในปัจจุบัน การแต่งกายผู้ชาย ไทลื้อส่วนใหญ่จะนิยมสวมเสื้อขาวแขนยาว สวมทับด้วยเสื้อกั๊กปักลวดลายด้วยเลื่อม เรียกว่า "เสื้อปา" สวมกางเกงหม้อห้อมขายาวต่อหัวกางเกงด้วยผ้าสีขาว เรียกว่า "เต๋วหัวขาว" นิยมโพกศีรษะ ("เคียนหัว") ด้วยผ้าสีขาว สีชมพู ผู้หญิง ไทลื้อนิยมสวมเสื้อปั๊ด (เป็นเสื้อที่ไม่มีกระดุมแต่สาบเสื้อจะป้ายเฉียงมาผูกไว้ที่เอวด้านข้าง) นุ่งซิ่นต๋าลื้อ สะพายกระเป๋าย่าม ("ถุงย่าม")และนิยมโพกศีรษะด้วยผ้าสีขาวหรือสีชมพู[6] อาหารชาวไทลื้อเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ทานข้าวเหนียวเป็นหลัก เช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทอื่น ๆ อาหารที่นิยมรับประทานมักจะเป็นแกงผัก ประกอบจากผักหรือพืชพรรณธรรมชาติ หรืออาหารที่หาได้ง่าย เช่น เห็ด หน่อไม้ ไข่มดแดง สาหร่ายน้ำจืด ส่วนพืชผักสวนครัวทั่วไปมักจะปลูกตามข่วงบ้าน ใช้พริกแกงเป็นเครื่องปรุงหลักประกอบด้วย พริก ตะไคร้ หอม กระเทียม ปลาร้า หากเป็นอาหารประเภทหน่อไม้จะใส่น้ำปู๋ลงไปด้วย เช่น ยำหน่อไม้ แกงหน่อไม้ เป็นต้น อาหารของชาวไทลื้อจะไม่ค่อยมีส่วนผสมของไขมัน[7] นาฏศิลป์ฟ้อนฟ้อนนางนก เป็นการฟ้อนของไทลื้อ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา มาจากวรรณกรรม เจ้าสุธนกับนางมโนราห์ เรื่องย่อ ๆ เล่าว่า ก่อนนางมโนราห์จะโดนเผ่าไฟ นางขอเอาหางและปีกใส่เพื่อฟ้อนรำก่อนที่จะฆ่านาง เมื่อนางได้ปีกและหางแล้ว นางก็ฟ้อนเป็นแม่เป็นลาย และค่อย ๆ ขยับห่างจากขุนหาญอาชญา แลไพร่เมิง และสะยองเหาะขึ้นก๋างหาว อำลา เจ้าสุธน ขับลื้อขับลื้อ คือ การขับร้องเพลงชนิดหนึ่งของชาวไตลื้อ ที่ต้องใช้ไหวพริบในการคิดบทร้องทันทีทันใด หรือจะนำเอาเรื่องราวในพระพุทธศาสนา เรื่องราวของการเล่าเรื่องประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวไตลื้อในรอบปี วิถีการดำเนินชีวิต หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำมาหากิน ทั้งนี้ การขับลื้อจะขับร้องร่วมกับเครื่องดนตรีประเภทปี่ หรือที่เรียกว่า ปี่ลื้อ อีก 1 เลา ประวัติความเป็นมาของการขับลื้อ เป็นเรื่องราวการบอกเล่าสืบต่อกันมาเป็นตำนานเรื่องการขับลื้อเพื่อขับไล่ผึ้ง โดยเชื่อว่าการขับลื้อนี้มีการต้นกำเนิดมาไม่น้อยกว่าร้อยปี และพบเห็นการแสดงการขับลื้อมานานตั้งแต่บรรพบุรุษเมื่อครั้งอาศัยอยู่ที่สิบสองปันนา หรือเมืองยอง ขับเล่นกันเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อมีกิจกรรมงานสำคัญในหมู่บ้านช่างขับเหล่านี้จะได้รับเชิญไปขับแสดงความยินดีหรือขับเพื่อสร้างความรื่นเริงในหมู่บ้านเสมอ การขับลื้อ เป็นการขับที่มีการคิดเนื้อร้องโดยฉับพลัน หลักการสัมผัสของคำร้องจะเป็นไปอย่างไม่ตายตัว บทคำหรือคำขับ เป็นคำประพันธ์ที่คล้ายกับร่าย ใช้บรรยายเรื่องราวให้คล้องตามบังคับสัมผัสต่าง ๆ กันไปทุกวรรค ไม่กำหนดสั้นยาว ขึ้นอยู่กับเนื้อความที่แต่ง ไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ว่าจะต้องมีกี่วรรค มีกี่คำแต่ลักษณะของการส่งสัมผัสจะส่งคำท้ายวรรคต้นไปยังคำหนึ่งคำใดในวรรคต่อไป คำขับจะไพเราะด้วยถ้อยคำที่นำมาเรียบเรียง ไม่มีบังคับเอก โท อันใด ลักษณะทางทำนองของการขับลื้อ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งในการขับลื้อ โดยทำนองหลักอยู่ที่ทำนองขับ ส่วนเสียงปี่จะช่วยในการยึดระดับเสียงทำนอง จากนั้นจะสามารถเปลี่ยนเนื้อร้องไปได้เสมอ ๆ หรือที่นิยม เรียกว่า “ร้อยเนื้อทำนองเดียว”[8] ประเพณีชาวไทลื้อได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นในล้านนามายาวนาน ทำให้เกิดการผสมผสานด้านวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน แต่ชาวไทลื้อยังคงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม เช่น ประเพณีพิธีกรรมของชาวไทลื้อ เป็นพิธีเลี้ยงผีอารักษ์เรียกว่าเข้าก๋ำหรือเข้ากรรม มีตั้งแต่ก๋ำเฮือน หรือกรรมเรือน ไปจนถึงก๋ำเมืองหรือกรรมเมือง ชาวไทลื้อให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สืบสานงานประเพณี ในแต่ละพื้นที่ เช่น งานจุลกฐิน ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ การรวบรวมเครือข่ายไทลื้อจาก 12อำเภอในจังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ ลำพูน เชียงใหม่ น่าน และเชียงราย ในงานสืบสานประเพณีไทลื้อของอำเภอแม่สาย เป็นต้น ลักษณะบ้าน1. เป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง ใช้งานใต้ถุนเรือน 2. ทางขั้นบันไดหน้าเพียงบันไดเดียว มีหลังคาคลุม ทั้งที่หลังคาผืนใหญ่คลุมและที่ต่อชายคายื่นยาวคลุม 3. หลังคาผืนใหญ่ ยื่นยาว และทำเป็นสองตับ จนแทบมองไม่เห็นผนัง 4. มีและใช้เสาแหล่งหมา 5. มีบริเวณที่เรียกว่า หัวค่อมหรือค่อม เหมือนเติ๋นในเรือนล้านนา แต่นิยมทำม้านั่งยาวโดยรอบแทนการทำราวกันตก 6. ภายในเรือนเป็นโถง แบ่งพื้นที่ซ้ายขวาเป็นส่วนเอนกประสงค์และส่วนนอน ซึ่งอาจแบ่งสองส่วนนี้ด้วยฝาไม้หรือเพียงผ้าม่าน 7. โถงเอนกประสงค์ใช้พักผ่อน ครัวไฟ เก็บของ ส่วนปลายเป็นลานซักล้างหรือ จานกอน 8. ใช้แม่เตาไฟเป็นกระบะไม้ดาดดินเหนียวใช้ตั้งเตาไฟ 9. ส่วนนอนจะกั้นพื้นที่แต่ละคนด้วยผ้าม่าน ใช้เตียงหรือฟูกปูนอน 10. มีหิ้งผีบรรพบุรุษติดตั้งกับฝาบ้านในห้องโถง ไม่มีหิ้งพระ การผสมผสานวัฒนธรรมชาวไทลื้อในสิบสองปันนาบางส่วนได้สมรสกับชาวหุยและเข้ารีตเป็นมุสลิม พวกเขาจะเรียกแทนตัวว่า "ภาสีไท" ("ภาสี" ร่วมรากศัพท์กับคำพม่า ပန်းသေး) พูดภาษาและแต่งกายอย่างไทลื้อแต่สวมหมวกและมีผ้าคลุมศีรษะ ในปี พ.ศ. 2553 มีจำนวนไทหุยทั้งหมด 743 คน ตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านหม่านล้วนหุย และบ้านหม่านซ่ายหุยในเขตเมืองฮาย[9] กลุ่มชาติพันธ์ที่เกี่ยวข้องไทยองชาวไทยอง หรือ ชาวเมืองยอง ใช้เรียกกลุ่มคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเมืองยอง และกระจายอยู่ในด้านตะวันออกของรัฐฉาน ประเทศพม่า เขตสิบสองพันนา ในมณฑลยูนนานของจีน ภายหลังได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนใน จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย และน่าน ในสมัยรัชกาลที่ 1 ภายใต้กุศโลบาย "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" ของ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ เพื่อรื้อฟื้นอาณาจักรล้านนาภายหลังการยึดครองของพม่าสิ้นสุดลง จากตำนาน ชาวเมืองยองนั้น ได้อพยพมาจากเมืองเชียงรุ่งและเมืองอื่น ๆ ในสิบสองปันนา ซึ่งเป็นคนไทลื้อ และได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งใหญ่ในเมืองลำพูน และ เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2348 ด้วยสาเหตุของสงคราม เจ้าเมืองยองพร้อมด้วยบุตรภรรยา น้องทั้ง 4 ญาติพี่น้อง ขุนนาง พระสงฆ์และไพร่พลจากเมืองยอง จำนวน 20,000 คนเข้ามาแผ้วถางเมืองลำพูนที่ร้างอยู่ ตั้งบ้านเรือนตามลุ่มน้ำแม่ทา น้ำแม่ปิง ผู้คนทั่วไปในแถบนั้นจึงเรียกคนที่มาจากเมืองยองว่า ชาวไทยอง [1] ในสมัยนั้นผู้คนต่างเมืองที่มาอยู่ร่วมกัน จะเรียกขานคนที่มาจากอีกเมืองหนึ่งตามนามของคนเมืองเดิม เช่น คนเมืองเชียงใหม่ คนเมืองลำปาง คนเมืองแพร่ คนเมืองน่าน คนเมืองเชียงตุง เป็นต้น แต่ของคนเมืองยองนั้น ต่อมาคำว่าเมืองได้หายไป คงเหลืออยู่คำว่า คนยอง ดังนั้น ยอง จึงมิใช่เป็นเผ่าพันธุ์ และเมื่อวิเคราะห์จากพัฒนาการ ประวัติศาสตร์ของเมืองยองแล้ว ชาวไทยอง ก็คือ ชาวไทลื้อนั่นเอง ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 เจ้าสุนันทะ โอรสเจ้าเมืองเชียงรุ่ง ได้พาบริวารชาวไทลื้อจากเมืองเชียงรุ่ง เข้ามาปกครองเมืองยองเหนือคนพื้นเมือง ซึ่งเป็นชาวลัวะ โดยมีทั้งปัจจัยสนับสนุน ได้แก่
ดังนั้น ชาวไทยองกับชาวไทลื้อก็คือญาติกันนั่นเอง อ้างอิง
ดูเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่น |