อำเภอเวียงแก่น |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Wiang Kaen |
---|
คำขวัญ: เจ้าหลวงเวียงแก่น ชายแดนไทยลาว น้ำงาวพราวใส ผาไดเด่นดัง ผาตั้งเด่นนาน ภูชี้ฟ้าสูงตระหง่าน ส้มโอหวานรสดี |
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอเวียงแก่น |
พิกัด: 20°6′42″N 100°30′48″E / 20.11167°N 100.51333°E / 20.11167; 100.51333 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | เชียงราย |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 526.0 ตร.กม. (203.1 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2564) |
---|
• ทั้งหมด | 37,284 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 70.88 คน/ตร.กม. (183.6 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 5713 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเวียงแก่น เลขที่ 81 หมู่ที่ 3 ถนนหล่ายงาว-ห้วยลึก ตำบลม่วงยาย อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย 57310 |
---|
|
เวียงแก่น (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดเชียงราย มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นทั้งที่ราบลุ่มมีแม่น้ำงาวไหลผ่าน และเป็นภูเขาสลับซับซ้อนของดอยยาวและดอยผาหม่น มีชายแดนติดต่อกับประเทศลาวและมีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญ ได้แก่ เมืองโบราณสถานดงเวียงแก่น แก่งผาได และดอยผาตั้ง อำเภอเวียงแก่นเป็นอำเภอที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหลากกลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้มีประชากรมีวิถีชีวิตเฉพาะแบบพหุวัฒนธรรม นอกจากนี้อำเภอเวียงแก่นยังเป็นแหล่งผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ส้มโอ ซึ่งมีชื่อเสียงทั้งในระดับจังหวัดและประเทศ
ประวัติ
ประวัติศาสตร์อำเภอ
หล่ายดอย คือ ชื่อในอดีตของอำเภอเวียงแก่น อำเภอเวียงแก่น ในอดีตที่ผ่านมาไม่ทราบแน่ชัดว่าชื่อเมืองอะไร แต่ตามหลักฐานตำนานสิงหนวัต ได้กล่าวไว้ว่า เขตเมืองผาแดง (เชียงของ) ทางทิศตะวันออก มีแคว้นตั้งแต่เมืองผาแง (ผาแล) ล่องมาถึงแจ๋มแกด (แจมป๋อง) ซึ่งก็ถือได้ว่า เวียงแก่นในอดีต เป็นเมืองบริวารที่ขึ้นตรงกับเมืองผาแดงมาก่อน มีชุมชนเมืองโบราณที่มีสภาพ ชัดเจนอยู่หลายแห่งพอที่จะศึกษาค้นคว้าทางด้านประวัติศาสตร์ได้ เช่น โบราณสถานดงเวียงแก่น ซึ่งเป็นเมืองโบราณมีอายุประมาณ 700 กว่าปีราวยุคสมัยสุโขทัยและเชียงรายยุคต้น มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 230 ไร่ มีลักษณะการสร้างเมืองเป็นรูปวงรี อยู่บนที่เนินสูง มีกำแพงคูเมืองล้อมรอบ 2 ชั้น คือมีคูด้านนอกกับคูด้านใน คูด้านนอกจะตื้นกว่าคูด้านใน คูด้านในจะลึกประมาณ 10 เมตร รอบตัวเมืองโบราณจะมีการขุดคูล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน คือทางด้านทิศใต้ ทิศเหนือ และทิศตะวันออก ส่วนทางด้านทิศตะวันตกจะใช้ลำน้ำงาวใช้เป็นคูเมืองแทน เพราะมีร่องน้ำเดิมปรากฏอยู่บริเวณติดกับเขตของตัวเมืองอย่างเห็นได้ชัดเจน และยังมีคูเมืองด้านนอก และด้านในของทางทิศเหนือ และทิศใต้มาเชื่อมต่อร่องน้ำเดิมอย่างเห็นได้ชัด
ตามตำนานสิงหนวัติ กล่าวถึงสมัยอาณาจักรล้านนา บริเวณอำเภอเวียงแก่นปกครองโดยเจ้าหลวงเวียงแก่น มีชายาชื่อ เจ้านางแว่นเตียม มีโอรส 1 องค์ คือ เจ้าองค์คำ เจ้าหลวงเวียงแก่นปกครองเมือง ไพร่ฟ้า ประชาชน ด้วยความสันโดษ ต่อมาพญามังรายได้รวบรวมอาณาจักรล้านนาให้เป็นปึกแผ่นเพื่อผนึกกำลังไว้ต่อสู้กับกองทัพมองโกล พระองค์จึงได้ยกทัพตีเมืองต่างๆ ในแถบน้ำแม่อิงมาจนถึงเมืองเวียงแก่น เจ้าหลวงเวียงแก่นได้รบกับพญามังราย ด้วยความรักและความหวงแหนแผ่นดินแต่กำลังทหารฝ่ายเจ้าหลวงเวียงแก่นมีน้อยจึงเป็นผู้แพ้ในการศึก ในการต่อสู้ดังกล่าวต่างฝ่ายต่างล้มตายเป็นจำนวนมากทำให้เกิดเลือดไหลนอง เมื่อเจ้าหลวงเวียงแก่นได้เห็นผู้คนล้มตายจำนวนมากมายเช่นนั้นจึงเกิดเป็นลมหมดสติสิ้นในไปการรบ ปัจจุบันเรียกที่แห่งนั้นว่า "ทุ่งคาว" อยู่บริเวณบ้านหล่ายงาวในปัจจุบัน จากนั้นเมืองเวียงแก่นจึงร้างไป
ต่อมา ในช่วงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ได้เริ่มมีคนอพยพมาตั้งรกรากกันใหม่ ส่วนใหญ่จะมาอยู่เป็นครั้งคราวและจำนวนน้อย และต่อมาในช่วงประมาณรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 จึงมีการอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่กันอย่างถาวรมากขึ้น ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดน่าน จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่ และมาจากประเทศลาวบางส่วน โดยตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านหลู้ บ้านม่วง บ้านยาย จนมาถึงช่วงประมาณ พ.ศ. 2431 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดระบบการเมืองการปกครองใหม่ มีการแบ่งแยก หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ขึ้นอย่างชัดเจน ในส่วนของอำเภอเวียงแก่นสมัยนั้น แบ่งออกเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลม่วงยายและตำบลปอ ขึ้นอยู่กับอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย [1]
ในส่วนของอำเภอเวียงแก่นที่มีเขตตำบลอยู่ในอำเภอเชียงของในขณะนั้น เดิมมีอยู่ 2 ตำบล คือ ตำบลม่วงยายและตำบลปอ ต่อมาก็ได้มีการจัดตั้งตำบลในเขตท้องที่อำเภอเชียงของขึ้นใหม่ อีก 1 แห่ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 99 ตอนที่ 45 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2525 โดยมีผลตั้งแต่ 1 เมษายน 2525 มีเนื้อหาสำคัญคือให้โอนหมู่บ้าน 5 หมู่บ้านจากตำบลม่วงยาย โดยถือกึ่งกลางของแม่น้ำงาวเป็นแนวแบ่งเขต มาจัดตั้งตำบลขึ้นใหม่ เรียกชื่อว่า ตำบลหล่ายงาว ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ตำบลทีเกิดขึ้นก่อนที่จะจัดตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอเวียงแก่นในเวลาต่อมา [2]
ประวัติการจัดตั้งอำเภอ
กิ่งอำเภอเวียงแก่น ตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเวียงแก่น ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนที่ 67 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2530 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2530 โดยมีเนื้อหา ดังนี้
เนื่องด้วยท้องที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีอาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองมาก ท้องที่บางตำบลอยู่ห่างไกลจากอำเภอ เจ้าหน้าที่ออกตรวจตราดูแลความทุกข์สุขของราษฎรไม่ทั่วถึง สภาพท้องที่โดยทั่วๆ ไปเชื่อว่าจะเจริญต่อไปในภายหน้า ฉะนั้น เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครองและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในท้องที่ กระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 64 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 จึงแบ่งท้องที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ 1 แห่ง เรียกชื่อว่า "กิ่งอำเภอเวียงแก่น" มีเขตปกครอง รวม 3 ตำบล คือ ตำบลม่วงยาย ตำบลปอ และตำบลหล่ายงาว ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอที่ตำบลม่วงยาย ให้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย [3]
กิ่งอำเภอเวียงแก่นได้เปิดทำการให้บริการประชาชน ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2530 เป็นต้นมา มีเขตการปกครองเดิม 3 ตำบล ต่อมาได้ตั้งตำบลท่าข้ามขึ้นอีก 1 ตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลให้ท้องที่อำเภอพญาเม็งราย อำเภอเทิง และกิ่งอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนที่ 171 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2531 มีผลตั้งแต่ 12 ตุลาคม 2531 มีเนื้อหาสำคัญคือ
เนื่องด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลภายในท้องที่ โดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 6 และมาตรา 29 ให้ตั้งตำบลท่าข้าม โดยโอนหมู่บ้าน จำนวน 5 หมู่บ้านจากตำบลปอ ในท้องที่กิ่งอำเภอเวียงแก่น อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
จึงทำให้กิ่งอำเภอเวียงแก่นในขณะนั้น มีเขตการปกครองเพิ่มขึ้นเป็น 4 ตำบล [4]
ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอเวียงแก่น ตามพระราชกฤษฎีกา ตั้งอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอแก่งหางแมว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่วาง อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอบ่อเกลือ อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอห้วยราช อำเภอแม่ลาน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอยางสีสุราช อำเภอจังหาร อำเภอบ้านธิ อำเภอภูสิงห์ อำเภอบางกล่ำ อำเภอวังม่วง และอำเภอนายูง พ.ศ. 2538 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 32 ก หน้า 1 โดยประกาศเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2538 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2538 เหตุผลในการประกาศพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
กิ่งอำเภอเวียงแก่น อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และกิ่งอำเภออื่นๆ ที่กล่าวข้างต้น มีท้องที่กว้างขวาง มีชุมชนและชุมนุมการค้าหนาแน่น มีสภาพเจริญขึ้นกว่าเดิมมาก สมควรยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชนและส่งเสริมท้องที่ให้เจริญยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
มีผลให้เป็นอำเภอเวียงแก่นโดยสมบูรณ์ ในวันที่ 8 กันยายน 2538 มีท้องที่การปกครองรวม 4 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลม่วงยาย ตำบลหล่ายงาว ตำบลท่าข้าม และตำบลปอ นับเป็นอำเภอที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 13 ของจังหวัดเชียงราย [5]
รายนามหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอและนายอำเภอ
รายนามผู้ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเวียงแก่น
|
ลำดับ
|
รายนาม
|
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
|
1
|
นายชูชาติ กีฬาแปง
|
15 พฤษภาคม 2530 - 1 เมษายน 2533
|
2
|
นายสมโภชน์ กระจ่างพืช
|
2 เมษายน 2533 - 3 ธันวาคม 2533
|
3
|
นายสุชาติ สุวรรณกาศ
|
21 มกราคม 2533 - 13 มีนาคม 2534
|
4
|
นายศักดิ์ชัย จ.ผลิต
|
8 เมษายน 2534 - 28 มีนาคม 2537
|
5
|
ว่าที่ ร.ต.สกุลวัฒน์ พัฒน์โชติ
|
28 มีนาคม 2537 - 2 เมษายน 2538
|
6
|
นายประเสริฐ โอสถาพันธุ์
|
3 เมษายน 2538 - 30 เมษายน 2538
|
7
|
นายเลื่อน รัตนมงคล
|
1 พฤษภาคม 2538 - 6 กันยายน 2538
|
รายนามผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเวียงแก่น
|
ลำดับ
|
รายนาม
|
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
|
1
|
นายเลื่อน รัตนมงคล
|
7 กันยายน 2538 - 13 กรกฎาคม 2540
|
2
|
นายปิติธรรม ฐิติมนตรี
|
14 กรกฎาคม 2540 - 1 พฤศจิกายน 2541
|
3
|
นายศักดิ์ชัย จ.ผลิต
|
2 พฤศจิกายน 2540 - 10 ธันวาคม 2544
|
4
|
นายนิพนธ์ แจ้งจันทร์
|
11 ธันวาคม 2544 - 15 ธันวาคม 2545
|
5
|
นายเทพสิทธิ์ ธัญญวนิช
|
23 ธันวาคม 2545 - 5 ตุลาคม 2546
|
6
|
นายบำเพ็ญ บินไทยสงค์
|
6 ตุลาคม 2546 - 11 พฤศจิกายน 2550
|
7
|
นายเรวัต ประสงค์
|
12 พฤศจิกายน 2550 - 22 มิถุนายน 2551
|
8
|
นายพิภัช ประจันเขตต์
|
23 มิถุนายน 2551 - 23 พฤศจิกายน 2551
|
9
|
ร.ท.ศักดิ์ชัย หงษ์ทอง
|
24 พฤศจิกายน 2551 - 21 กุมภาพันธ์ 2553
|
10
|
นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ
|
22 กุมภาพันธ์ 2553 - 29 กรกฎาคม 2555
|
11
|
นายสุภักดิ์ เศวตวิษุวัต
|
30 กรกฎาคม 2555 - 30 กันยายน 2556
|
12
|
นายทัศนัย สุธาพจน์
|
14 พฤศจิกายน 2556 - ปัจจุบัน
|
13
|
นายคำรณ ศรีโพธิ์
|
|
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอเวียงแก่นตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่เป็นที่ราบริมแม่น้ำงาวและพื้นที่ลาดเชิงเขา มีเทือกเขาขนาบทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกซึ่งทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาผีปันน้ำ แนวเทือกเขาที่ขนาบทางทิศตะวันออก คือ ดอยผาหม่น เป็นแนวเขตแดนธรรมชาติระหว่างเขตอำเภอเวียงแก่นกับแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว และแนวเทือกเขาที่ขนาบทางทิศตะวันตก คือ ดอยยาว แบ่งแนวเขตระหว่างอำเภอเวียงแก่น อำเภอขุนตาล และอำเภอเชียงของ โดยเทือกเขาที่ขนาบทั้งสองนั้นทอดตัวอยู่ในแนวเหนือใต้
แม่น้ำสำคัญ
- แม่น้ำงาว เป็นแม่น้ำสายใหญ่ ที่ไหลผ่านพื้นที่ทั้งอำเภอ จากตำบลปอ ผ่านตำบลท่าข้าม ตำบลม่วงยาย ตำบลหล่ายงาว ลงสู่แม่น้ำโขงในเขตท้องที่ตำบลหล่ายงาว (บ้านแจมป๋อง) แม่น้ำงาวนี้เปรียบเสมือนสายโลหิตของประชากรทั้ง 4 ตำบลซึ่งใช้ในการเกษตร อุปโภคบริโภค และยังอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำที่ราษฎรสามารถจับและบริโภคได้ทุกฤดูกาลในหน้าแล้งจะมีน้ำน้อยมาก
- แม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำกั้นเขตแดนไทย-ลาว ในอดีตใช้เป็นเส้นทางสัญจรทางเรือ ติดต่อกับอำเภอเชียงของ มีหมู่บ้านติดกับแม่น้ำโขง ได้แก่ บ้านห้วยเอียน และบ้านแจมป๋อง ตำบลหล่ายงาว บ้านห้วยลึก ตำบลม่วงยาย ซึ่งเป็นหมู่บ้านสุดท้ายทางทิศเหนือ ซึ่งแม่น้ำโขงไหลผ่าน ก่อนที่จะเลี้ยววกเข้าไปในประเทศลาวบริเวณแก่งผาได จนกระทั่งไหลผ่านประเทศไทยอีกครั้งที่จังหวัดเลย
- ห้วยวอง เป็นห้วยที่มีต้นน้ำอยู่ที่ถ้ำผาปู่ มีน้ำออกมาสามรู รวมกันเป็นห้วยน้ำวอง ไหลผ่านบ้านยายเหนือ บ้านยายใต้และบ้านม่วง ลงสู่แม่น้ำงาว ผ่านที่ว่าการอำเภอเวียงแก่น กรมชลประทาน ได้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำวอง เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเกษตรและเพาะพันธุ์ปลา ตลอดจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้วย
- ห้วยปอ ต้นกำเนิดอยู่ที่บ้านเย้าห้วยปอ ดอยผาหม่น ไหลผ่านบ้านดอน บ้านดอน ตำบลปอ ไหลลงสู่แม่น้ำงาว
- ห้วยกุ๊ก ต้นกำเนิดอยู่ที่บ้านห้วยกุ๊ก ดอยผาหม่น ไหลผ่านบ้านห้วยกุ๊กล่าง บ้านเจดีย์ทอง แล้วลงสู่แม่น้ำงาว
- ห้วยผาตั้ง ต้นกำเนิดอยู่ที่บ้านผาตั้ง ดอยผาหม่น ไหลผ่านบ้านปางหัดลงสู่แม่น้ำงาว
- ห้วยหาน ต้นกำเนิดอยู่ที่ดอยผาหม่น ไหลผ่านบ้านห้วยหาน ลงสู่แม่น้ำงาว
- ห้วยม่วง ต้นกำเนิดอยู่ที่ดอยยาว ดอยผาหม่น ไหลลงสู่แม่น้ำงาว ระหว่างบ้านผาแล และบ้านหนองเตา
- ห้วยจะยิน ต้นกำเนิดอยู่ที่ดอยยาว ดอยผาหม่น ไหลผ่านบ้านอยู่สุข และบ้านปางปอ ไหลลงสู่แม่น้ำงาว
- ห้วยติ้ว ต้นกำเนิดอยู่ที่ดอยเพียสี ไหลผ่านบ้านห้วยติ้ว ลงสู่แม่น้ำงาว
- ห้วยขวาก ต้นกำเนิดอยู่ที่ดอยเพียสี ไหลผ่านบ้านขวากใต้ ลงสู่แม่น้ำงาว
ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว [6]
การปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเวียงแก่นแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 41 หมู่บ้าน[7] ดังนี้
ที่ |
ชื่อตำบล |
ตัวเมือง |
อักษรโรมัน |
จำนวนหมู่บ้าน |
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนประชากร[8]
|
1. |
ม่วงยาย |
|
Muang Yai |
9 |
2,777 |
7,482
|
2. |
ปอ |
|
Po |
20 |
5,112 |
16,338
|
3. |
หล่ายงาว |
|
Lai Ngao |
6 |
1,839 |
3,539
|
4. |
ท่าข้าม |
|
Tha Kham |
6 |
1,752 |
5,789
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเวียงแก่นประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลม่วงยาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงยายทั้งตำบล มีพื้นที่ประมาณ 84 ตารางกิโลเมตร หรือ 52,500 ไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านม่วง หมู่ 3 ตำบลม่วงยาย อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดเชียงราย ติดแม่น้ำโขงซึ่งเป็นชายแดนประเทศไทยกับประเทศลาว ระยะทางจากศาลากลางจังหวัดเชียงรายถึงที่ทำการเทศบาลตำบลม่วงยายประมาณ 130 กิโลเมตร ที่ทำการเทศบาลตำบลม่วงยายอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเวียงแก่นประมาณ 200 เมตร เทศบาลตำบลม่วงยายจัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2552 โดยยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงยาย มีเขตตามเขตตำบลตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
- เทศบาลตำบลหล่ายงาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหล่ายงาวทั้งตำบล มีพื้นที่ประมาณ 76 ตารางกิโลเมตร หรือ 47,500 ไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านหล่ายงาว หมู่ 1 ตำบลหล่ายงาว อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ห่างจากที่ว่าการอำเภอเวียงแก่นประมาณ 1.5 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดเชียงรายประมาณ 132 กิโลเมตร เทศบาลตำบลหล่ายงาวจัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2552 โดยยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลหล่ายงาว มีเขตตามตำบลตามกฎหมายว่าด้วยด้วยลักษณะการปกครองท้องที่
- เทศบาลตำบลท่าข้าม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าข้ามทั้งตำบล มีพื้นที่ประมาณ 23 ตารางกิโลเมตร หรือ 14,477 ไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านขวากเหนือ หมู่ 5 ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเวียงแก่นมาทางทิศใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร
- องค์การบริหารส่วนตำบลปอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปอทั้งตำบล มีพื้นที่ประมาณ 299 ตารางกิโลเมตร หรือ 186,875 ไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านดอน หมู่ 3 ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเวียงแก่นมาทางทิศใต้ประมาณ 15 กิโลเมตร มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้มีสถานที่สำคัญได้แก่ จุดชมต่างๆ บริเวณบ้านผาตั้ง ถ้ำผาแล ภูชี้ดาว เป็นต้น องค์การบริหารส่วนตำบลปอได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม 2539 มีเขตตามตำบลว่าด้วยลักษณะการปกครองท้องที่
กลุ่มชาติพันธุ์
การกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์
อำเภอเวียงแก่นมีที่ตั้งอยู่ในแนวชายแดนไทยลาว มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน และมีลักษณะภูมิประเทศที่มีทั้งพื้นราบและภูเขาสูง จึงมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่อย่างหลากหลาย ดังนี้ [9]
ตารางแสดงการกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอเวียงแก่น
|
ตำบลม่วงยาย |
|
|
|
|
ตำบลหล่ายงาว |
|
|
|
|
ตำบลท่าข้าม |
|
|
|
|
ตำบลปอ [10] |
|
หมู่ |
บ้าน |
กลุ่มชาติพันธุ์ |
|
|
หมู่ |
บ้าน |
กลุ่มชาติพันธุ์ |
|
|
หมู่ |
บ้าน |
กลุ่มชาติพันธุ์ |
|
|
หมู่ |
บ้าน |
กลุ่มชาติพันธุ์
|
1 |
หลู้ |
คนเมือง ม้ง ขมุ |
|
|
1 |
หล่ายงาว |
คนเมือง |
|
|
1 |
ท่าข้าม |
ไทลื้อ |
|
|
1 |
ปางปอ |
คนเมือง ไทลื้อ
|
1 |
ห้วยจ้อ |
ขมุ |
|
|
2 |
ทุ่งคำ |
คนเมือง เย้า |
|
|
2 |
ห้วยแล้ง |
ม้ง |
|
|
2 |
ปางหัด |
ไทลื้อ
|
2 |
ยายเหนือ |
คนเมือง |
|
|
3 |
ทุ่งทราย |
คนเมือง |
|
|
3 |
โล๊ะ |
ไทลื้อ |
|
|
2 |
ปางหัดใหม่ |
ไทลื้อ ลาว
|
3 |
ม่วง |
คนเมือง |
|
|
4 |
ท่าข้าม |
ไทลื้อ |
|
|
4 |
ขวากใต้ |
คนเมือง |
|
|
2 |
พิทักษ์คีรี |
ม้ง
|
4 |
ห้วยลึก |
ลาว ม้ง |
|
|
5 |
แจมป๋อง |
คนเมือง ลาว |
|
|
5 |
ขวากเหนือ |
คนเมือง |
|
|
3 |
ดอน |
ไทลื้อ
|
5 |
ยายใต้ |
คนเมือง |
|
|
6 |
ห้วยเอียน |
ขมุ |
|
|
5 |
ป่าตึง |
ม้ง ขมุ |
|
|
3 |
กอก |
ไทลื้อ
|
6 |
ไทยสามัคคี |
ม้ง |
|
|
|
|
|
|
|
5 |
ห้วยติ้ว |
ม้ง ขมุ |
|
|
3 |
เจดีย์ทอง |
ม้ง
|
7 |
ไทยพัฒนา |
เย้า |
|
|
|
|
|
|
|
6 |
วังผา |
ขมุ |
|
|
4 |
หนองเตา |
เย้า
|
8 |
ไทยเจริญ |
ม้ง ลาว |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
5 |
ปอกลาง |
ไทลื้อ
|
9 |
ไทยสมบูรณ์ |
ม้ง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
6 |
ผาแล |
คนเมือง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
6 |
ผาแลใหม่ |
คนเมือง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
7 |
ทรายทอง |
ม้ง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
8 |
ห้วยคุ |
ม้ง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
9 |
ห้วยหาน |
ม้ง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
10 |
อยู่สุข |
มูเซอ อาข่า เย้า
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
11 |
ร่มโพธิ์เงิน |
ม้ง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
12 |
ร่มฟ้าหลวง |
ม้ง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
13 |
ฟ้าไทยงาม |
ม้ง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
14 |
ผาตั้ง |
จีนฮ่อ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
14 |
หนอง |
เย้า
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
15 |
ร่มฟ้าผาหม่น |
ม้ง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
15 |
ร่มฟ้าสยาม |
ม้ง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
16 |
ศิลาแดง |
ม้ง เย้า
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
17 |
ห้วยปอ |
ม้ง เย้า
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
18 |
ร่มฟ้าทอง |
ม้ง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
19 |
สันติพัฒนา |
จีนฮ่อ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
20 |
ห้วยกุ๊ก |
ม้ง
|
ประวัติการอพยพของกลุ่มชาติพันธุ์
- คนเมือง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2280 ได้มีราษฎรจำนวนประมาณ 50 ครัวเรือน อพยพมาจากจังหวัดแพร่ น่าน เชียงใหม่ และลำปาง โดยการนำของพระยาเตรียม ได้มาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกที่บ้านม่วง บ้านยาย และบ้านหลู้ เดิมเป็นชื่อที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2431 ได้จัดให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านตำบลให้เป็นระบบ และตั้งเป็นตำบลม่วงยาย โดยมีขุนม่วงยายยศเขต เป็นกำนันคนแรกและมีหมู่บ้านต่าง ๆ ได้แก่ บ้านหลู้ บ้านยาย บ้านม่วง หลังจากนั้นชุมชนขยายขึ้นจึงมีหมู่บ้านใหม่อีก ได้แก่ บ้านหล่ายงาว บ้านทุ่งทราย ตามลำดับ [1]
- ไทลื้อ ชาวไทลื้อที่มาตั้งถิ่นฐานในอำเภอเวียงแก่น เคยอาศัยอยู่ที่เมืองลวง เมืองฮำ เมืองพงน้อย เมืองพงหลวง ในแคว้นสิบสองปันนา (ประเทศจีนในปัจจุบัน) ต่อมาได้เกิดการทำศึกสงครามกับพวกจีนฮ่อ จึงอพยพมาอยู่ที่บ้านนาไฮ เมืองน่านในปีไหนไม่ได้ระบุ และหลังจากนั้นก็ได้อพยพจากบ้านนาไฮเมืองน่านอีก มาอยู่ที่บ้านปอ บ้านน้ำโละ บ้านกลาง บ้านท่าข้าม ซึ่งมาอยู่แทนที่พลเมืองที่ติดตามเจ้ารำมะเสนจากเมืองน่าน จากนั้นเจ้ารำมะเสนอพยพไพร่พลของตนไปอยู่ที่เชียงของที่บ้านสถาน บ้านศรีดอนไชย และบ้านส้านในปัจจุบัน ส่วนลื้อที่มาจากบ้านนาไฮ เมืองน่าน (ไพร่พลที่ติดตามเจ้ารำมะเสน) แต่เดิมไม่ได้ขึ้นกับเมืองเชียงของ แต่ยังขึ้นกับทางเมืองน่านอยู่ จะมีการส่งส่วยให้กับทางเมืองน่านเป็นทองคำ คู่ละ 1 สลึง คนเปรียว (โสด) 1 บี้ (ครึ่งสลึง) ถ้าไม่มีทองคำก็ส่งเงิน 7 แถบ การส่งส่วยมาเลิกใช้เมื่อประมาณ ร.ศ.119 พ.ศ. 2443 ต่อจากนั้นไทลื้อที่มาจากบ้านนาไฮเมืองน่านก็ขึ้นกับเมืองเชียงของ [1]
- เย้า (เมี่ยน) เมื่อเกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มคอมมิวนิสต์ ชาวเย้าได้ไปตั้งหลักแหล่งที่บ้านโล๊ะ พอการเคลื่อนไหวได้สงบลง หมู่บ้านหนองเตาได้ก่อตั้งขึ้น ชาวเย้าที่อาศัยอยู่มีด้วยกันสามตะกูลคือ แซ่ฟุ้ง (โล่ห์ปุ๋ง) แซ่เติ๋น (โล่ห์ตั่ง) และมีบางส่วนที่ แซ่จ๋าว(โล่ห์เจ๋ว) คำว่าหนองเตา ความเป็นมาคือ เมื่อก่อนมีหนองน้ำท้ายหมู่บ้านมีเต่าเยอะเลยตั้งชื่อว่า หนองเต่า (ข้อมูลจากผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนในหมู่บ้าน) เดิมทีชื่อหมู่บ้านหนองเต่าเรียกไปเรียกมา เพี้ยนกลายเป็นหมู่บ้านหนองเตา [11]
- ม้ง (แม้ว) ชาวม้ง เป็นชนเผ่าที่มีการกระจายมากที่สุด คืออาศัยอยู่ตั้งแต่ประเทศจีน พม่า ลาว และไทย มีต้นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวงสี และยูนนาน จัดอยู่ในกลุ่ม ธิเบต-พม่า อพยพเข้ามาในประเทศไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านมาทางประเทศลาว เข้าสู่ประเทศไทยทางจังหวัดเลย และจังหวัดน่าน ในจังหวัดเชียงราย ชนเผ่าม้งอาศัยอยู่ในเขต 8 อำเภอ 12 ตำบล 50 หมู่บ้าน ในเขตอำเภอเวียงแก่น ถือว่ามีชนเผ่าม้งเป็นประชากรที่มากที่สุดในอำเภอ โดยเฉพาะในเขตตำบลปอ ได้แก่ บ้านเจดีย์ทอง บ้านทรายทอง บ้านห้วยคุ บ้านห้วยหาน ฯลฯ [12]
- จีนฮ่อ การอพยพเข้ามาของชาวจีนฮ่อที่เข้ามาในประเทศไทยนั้น เริ่มจากการตั้งบ้านเรือนเป็นชุมชนใหญ่ ได้แก่ บ้านผาตั้ง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น และชุมชนดอยแม่สลอง ตำบลแม่สลองนอก และตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยอพยพเข้ามาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2492 เนื่องจากจีนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ในปี พ.ศ. 2496 และ พ.ศ. 2504 รัฐบาลไทยโดยการอำนวยการขององค์การสหประชาชาติได้อพยพกลุ่มทหารกลับไปยังประเทศไต้หวัน แต่ก็ยังมีชาวจีนบางส่วนทั้งที่เป็นทหารและพลเรือนไม่ยอมอพยพกลับไป ยังคงอยู่ในจังหวัดเชียงราย รัฐบาลไทยได้ดำเนินการปลดอาวุธบุคคลเหล่านั้นและให้อยู่อาศัยในความควบคุมของฝ่ายปกครอง และกองบัญชาการทหารสูงสุด และได้ให้ชาวจีนจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง [13]
- ขมุ ชาวขมุได้อพยพเข้ามาจากประเทศลาวที่อำเภอเวียงแก่นเป็นครั้งแรกที่บ้านห้วยจ้อ ตำบลม่วงยาย แล้วแตกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ไม่โยกย้ายไปไหน อีกกลุ่มโยกย้ายไปอยู่บ้านแป บ้านห้วยป่าซาง บ้านดู่ บ้านน้ำเหมือง สุดท้ายประมาณ ปี พ.ศ. 2513 ที่บ้านป่าตึง อำเภอเวียงแก่น โดยสาเหตุที่ของการโยกย้าย เนื่องจากกลัวภัยจากการเกิดสงครามซึ่งช่วงนั้นประเทศลาวยังอยู่ในอาณานิคมของฝรั่งเศส และเป็นความเชื่อของชาวขมุที่ต้องมีการโยกย้ายที่อยู่อยู่เสมอ ต่อมาความเชื่อนี้จึงหมดไป ชาวขมุจึงตั้งหลักแหล่งที่อยู่อาศัยอยู่ที่เดิม [14]
สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
- จุดชมวิวแม่น้ำโขง บ้านห้วยเอียน จุดชมวิวบ้านห้วยเอียน ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยเอียน ตำบลหล่ายงาว เป็นจุดที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน มีทิวทัศน์ที่สวยงาม สามารถมองเห็น ทิวทัศน์ของประเทศลาวได้อย่างชัดเจน ทางเทศบาลตำบลหล่ายงาว และชาวตำบลหล่ายงาว ได้พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและจุดพักชมวิว เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านใกล้เคียง ปัจจุบันมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงามยิ่งขึ้น มีระเบียบจุดชมวิว มีห้องน้ำที่สะอาดไว้คอบบริการนักท่องเที่ยวทั่วไป [15]
- โบราณสถานดงเวียงแก่น โบราณสถานดงเวียงแก่น ตั้งอยู่ที่บ้านม่วง ตำบลม่วงยาย ทางการเรียก ดงโบราณสถานเวียงแก่น มีเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ มีพันธุ์ไม้สมบูรณ์มากแห่งหนึ่งของประเทศไทย และยังปรากฏร่องรอยเมืองโบราณให้เห็นได้ เช่น ซุ้มกำแพงแก้ว ร่องรอยกำแพงเมือง ซากเจดีย์ ครอบเมือง เป็นต้น โบราณสถานแห่งนี้มีอายุกว่า 700 ปี เมื่อครั้งเจ้าหลวงเวียงแก่นปกครองเมือง และยังคงมีพิธีกราบไหว้เจ้าหลวง สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน สถานที่นี้นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี โดยขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานกับกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2542 [16]
- แก่งผาได แก่งผาได ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยลึก ตำบลม่วงยาย อยู่ห่างจากตัวอำเภอเวียงแก่น ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบลม่วงยาย มีพื้นที่ประมาณ 17 ไร่ เป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจ มองเห็นธรรมชาติที่สวยงามของแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายน – เดือนพฤษภาคม จะเป็นช่วงน้ำลดน้อยลง ทำให้มองเห็นโขดหินที่โผล่พ้นแม่น้ำ ปกคลุมไปด้วยพืชพันธุ์ธรรมชาติ ประกอบกับอากาศที่บริสุทธิ์ มองเห็นฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขง คือ ประเทศลาว แก่งนี้นอกจากปกคลุมด้วยทรายแล้ว ยังมีก้อนหินขนาดเล็กมากมาย ก้อนหินเหล่านี้จะเป็นแหล่งกำเนิดไก เช่นเดียวกับแก่งหินใต้น้ำ หาดทรายยังเป็นที่อาบน้ำและเล่นทรายของนกอีกด้วย และมีแก่งหินที่มีลักษณะเป็นแท่งหินตั้งอยู่ในแม่น้ำโขง ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้ำจึงมีพืชริมน้ำขึ้นอยู่ คือ ต้นไคร้ ต้นไคร้หางนาคขึ้นอยู่จำนวนมาก ผาในแม่น้ำโขงบริเวณนี้จมอยู่ใต้น้ำในฤดูน้ำหลาก และโผล่เหนือน้ำในฤดูน้ำลดมีทัศนียภาพที่สวยงาม จนมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเดินทางมาล่องเรือเล็กชมความงดงามของลำน้ำโขง นักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวภูชี้ฟ้า ผาตั้ง ก็จะแวะมาท่องเที่ยวที่แก่งผาไดแห่งนี้ด้วย [17]
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยแล้ง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยแล้ง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเวียงแก่น ที่บ้านห้วยแล้ง ตำบลท่าข้าม เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร สามารถชมแปลงพืชผัก ไม้ผล และไม้ดอก โดยเฉพาะไม้ผลท้องถิ่นและเมืองหนาว เช่น สาลี่ ท้อ พลับ อโวกาโด เกาลัด โทมาเมโล มะม่วง ส้มโอ และมะนาว เป็นต้น นอกนั้นยังมีพืชไร่ คือ ถั่วชนิดต่างๆ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยแล้งถือกำเนิดขึ้นเมื่อครั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสมถวิลจินตมัย ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2539 ในโอกาสนั้น นายจงนึ่ง ศักดิ์สิทธานุภาพ ผู้ใหญ่บ้านห้วยแล้ง ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานความช่วยเหลือจากโครงการหลวงเพื่อสร้างอาชีพที่มั่นคงให้กับราษฎรในพื้นที่เป็นการเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยแล้งจึงถือกำเนิดขึ้นใน พ.ศ. 2542 โดยประธานมูลนิธิโครงการหลวงมอบหมายให้ ม.ร.ว.แซมแจ่มจรัส รัชนี เป็นผู้อำนวยการจัดตั้งพื้นที่โครงการหลวงตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่อิงและป่างาว ความสูงจากระดับน้ำทะเลระหว่าง 400-1,360 เมตร พื้นที่รับผิดชอบ 76.97 ตารางกิโลเมตร หรือ 48,310 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงขนาบข้างในแนวเหนือ-ใต้ มีที่ราบลุ่มกว้าง ความลาดชันของพื้นที่ปานกลาง มีลำน้ำสำคัญ อาทิ ห้วยกุ๊ก ห้วยล้าน ห้วยนาน้อย ห้วยหัด ฯลฯ อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีประมาณ 24.7 องศาเซลเซียส [18]
- ดอยผาตั้ง ดอยผาตั้ง ตั้งอยู่ที่บ้านผาตั้ง ตำบลปอ โดยหมู่บ้านผาตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,635 เมตร มีจุดชมวิวตามแนวชายแดนไทย-ลาว มีความสวยงามที่เป็นลักษณะเฉพาะของหมู่บ้านผาตั้ง ไม่ว่าจะเป็นสภาพทะเลหมอกยามเช้า สายแม่น้ำโขงที่มองเห็นจากยอดดอยไหลคดเคี้ยวเข้าสู่ประเทศลาวไกลสุดสายตา กลิ่นอายธรรมชาติ อากาศเย็นสบายบริสุทธิ์ทุกฤดูกาล รวมทั้งวัฒนธรรมประเพณีการต้อนรับ และอาหารจีนที่ถูกรสนิยมของคนไทย จุดชมวิวและสถานทีสำคัญบริเวณดอยผาตั้ง ได้แก่
- จุดชมวิวผาบ่องประตูสยาม เป็นหน้าผาหินขนาดใหญ่ตรงกลางเป็นเนินช่องเขาขนาดใหญ่เหมือนประตู เป็นช่องทางผ่านไปยังประเทศลาว
- ศาลาอนุสรณ์นายพลหลี่ เป็นศาลารูปทรงจีน สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ สำหรับนายพล หลี่ เหวิน ฟาน อดีตผู้นำทางทหารจีนคณะชาติ กองพล 93
- ป่าหินยูนนาน มีลักษณะเป็นกลุ่มของก้อนหินทั้งเล็กและใหญ่รวมกัน ที่มาของชื่อเนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับป่าหินที่มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
- จุดชมวิวช่องผาขาด เป็นจุดชมวิวที่อยู่ใกล้จุดชมวิวผาบ่องประตูสยามลักษณะเป็นหน้าผาหินที่ขาดออกจากกัน สามารถชมวิวทิวทัศน์ของประเทศลาวได้ และ สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้น และทะเลหมอกตลอดทั้งปี
- เนิน 102 เป็นเนินเขาลูกหนึ่ง บนดอยผาตั้ง เป็นจุดชมวิวที่นักท่องเที่ยวนิยมไปชมมากที่สุด สามารถชมทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้น – ลง ได้โดยรอบ
- เนิน 103 เป็นเนินเขาอีกลูกหนึ่งบนดอยผาตั้ง ลักษณะบนเนิน 103 มีหินขนาดใหญ่อยู่บนเนิน เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,635 เมตร [19]
งานเทศกาลและประเพณีสำคัญ
- งานเที่ยวดอยผาตั้ง-ชมทะเลหมอก ดอกไม้บาน-สืบสานวัฒนธรรมชนเผ่า เป็นเทศกาลประจำปี ที่จัดบริเวณดอยผาตั้ง บ้านผาตั้ง ตำบลปอ ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม และ 1 มกราคมของทุกปี จุดเด่น คือ มีการแสดงของชนเผ่าม้ง เย้า ไทลื้อ จีน ชิมอาหารจีนยูนาน ชมดอกซากุระบานและดอกไม้เมืองหนาวบนดอยผาตั้ง [20]
- งานบวงสรวงเจ้าหลวงเวียงแก่น เป็นประเพณีที่จัดเป็นประจำทุกปี ณ บริเวณโบราณสถานดงเวียงแก่น ในช่วงเดือนมิถุนายน เพื่อบวงสรวงเจ้าหลวงเวียงแก่น โดยอัญเชิญเจ้าหลวงมาประทับทรงและสอบถามความเป็นอยู่ของชุมชนในอำเภอเวียงแก่น ในพิธีจะมีการจัดเครื่องบูชาและมีการฟ้อนรำถวายแบบล้านนา [21]
- งานเทศกาลส้มโอและของดีอำเภอเวียงแก่น เป็นงานเทศกาลประจำปีที่จัดบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเวียงแก่น บ้านม่วง ตำบลม่วงยาย ระหว่างปลายเดือนสิงหาคม-ต้นเดือนกันยายนของทุกปี โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส้มโอเวียงแก่น เพื่อเผยแพร่ผลผลิตส้มโอ ซึ่งอำเภอเวียงแก่นมีพื้นที่การปลูกส้มโอ ประมาณ 4,000 ไร่ มีต้นส้มโอมากถึง 11,000 ต้น เป็นแหล่งตลาดภายในประเทศหลายจังหวัด และส่งออกไปยังยุโรปและจีนเป็นหลัก ภายในงานยังมีการจัดประกวดธิดาส้มโอ การประกวดส้มโอทุกสายพันธุ์ ขบวนแห่ การแสดงของศิลปินและกิจกรรมบันเทิง [22]
- พิธีเลี้ยงปางแปด เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวไทลื้อ เป็นการอัญเชิญเจ้าป่าเจ้าเขาให้มาปกปักษ์รักษาพืชผลที่ทำการเพาะปลูกไว้ จัดในช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายนของทุกปี [19]
- พิธีถวายหนังแดง เป็นพิธีขอฝนเพื่อความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูก จัดขึ้นในช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายนของทุกปี [19]
- ประเพณีปีใหม่ม้ง เป็นประเพณีที่ชาวม้งจะมารวมตัวกันเพื่อพบปะญาติพี่น้องและมีกิจกรรมการละเล่น เช่น การโยนลูกช่วง การตีลูกข่าง การตีลูกขนไก่ การแข่งขันชนวัว เป็นต้น โดยจะจัดในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ของทุกปี [19]
- ประเพณีตรุษจีนและสารทจีน เป็นประเพณีของชาวจีนฮ่อหรือจีนคณะชาติ มีการละเล่น เช่น การเชิดสิงโต จัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี [19]
- ประเพณีปีใหม่อาข่า จะมีการโล้ชิงชา จัดขึ้นในเดือนสิงหาคมของทุกปี [19]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 "ประวัติอำเภอเวียงแก่น". สืบค้นเมื่อ 2013-01-11.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย" (PDF).
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเวียงแก่น" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2013-03-24.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลให้ท้องที่อำเภอพญาเม็งราย อำเภอเทิง และกิ่งอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย" (PDF).
- ↑ "พระราชกฤษฎีกา ตั้งอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอแก่งหางแมว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่วาง อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอบ่อเกลือ อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอห้วยราช อำเภอแม่ลาน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอยางสีสุราช อำเภอจังหาร อำเภอบ้านธิ อำเภอภูสิงห์ อำเภอบางกล่ำ อำเภอวังม่วง และอำเภอนายูง พ.ศ. 2538" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2013-03-24.
- ↑ "อำเภอเวียงแก่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-07. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ pop
- ↑ จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดเชียงราย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ "ข้อมูลท้องถิ่นอำเภอเวียงแก่น". สืบค้นเมื่อ 2013-01-11.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ข้อมูลทั่วไปและสภาพพื้นฐานองค์การบริหารส่วนตำบลปอ" (PDF).
- ↑ "ชนเผ่าเมี่ยน(เย้า) - หมู่บ้านหนองเตา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-01-11.
- ↑ "ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม".
- ↑ "การปรับตัวของชาวจีนฮ่อในจังหวัดเชียงราย" (PDF).[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ข้อมูลพื้นบ้านชาวขมุ บ้านป่าตึงและบ้านห้วยจ้อ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย".[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม".
- ↑ "โบราณสถานดงเวียงแก่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2022-03-08.
- ↑ "ข้อมูลและรายละเอียดของแก่งผาได".
- ↑ "ข้อมูลและรายละเอียดของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยแล้ง".
- ↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 19.5 "ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบลปอ".[ลิงก์เสีย]
- ↑ "งานเที่ยวดอยผาตั้ง-ชมทะเลหมอก ดอกไม้บาน-สืบสานวัฒนธรรมชนเผ่า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
- ↑ "งานบวงสรวงเจ้าหลวงเวียงแก่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2022-03-08.
- ↑ "เชียงรายโฟกัส เทศกาลส้มโอเวียงแก่น".[ลิงก์เสีย]
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา |
- สนามกีฬา
- สโมสรฟุตบอล
- สโมสรวอลเลย์บอลคอสโม เชียงราย
- กีฬาแห่งชาติ
|
---|
การเมือง | |
---|
เหตุการณ์ | |
---|
|
---|
|