อิทธพร ศุภวงศ์
พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ อดีตราชองครักษ์พิเศษ [1] ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เขาเป็นผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.)ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552 ในเหตุการณ์ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552[2] และที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ประวัติพล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2495 เป็นบุตรของ นาวาอากาศเอก จำรัส ศุภวงศ์ และ เผ่าทอง เริงรุกปัจจามิตร์ (ญ.) , ธิดาของ สอาด เริงรุกปัจจามิตร์ (ญ.) กับ พันเอก พระเริงรุกปัจจามิตร์ (ทอง รักสงบ) , เป็นผู้สืบสายสกุล “ณ ราชสีมา” ชั้น 7 สาย "เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)" [3][4] จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล รุ่นปี พ.ศ. 2510 จากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 11 และโรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 18 นอกจานั้นยังได้เข้ารับการศึกษาอบรมที่โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 31 วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 34 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 47 ชีวิตส่วนตัว พล.อ.อ.อิทธพร มีชื่อเล่นว่า "เฟื่อง" โดยมาจากชื่อจริงในอดีตว่า "เฟื่องฟู" แต่ต่อมาบิดาได้ขอพระราชทานชื่อใหม่จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเป็น "อิทธพร" ตั้งแต่อายุ 12 จึงใช้ชื่อนี้เป็นชื่อเล่นมาโดยตลอด[5] ทำให้บางครั้งสื่อมวลชนจะเรียกฉายาว่า "บิ๊กเฟื่อง" ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางนภาพร ศุภวงศ์ (นามสกุลเดิม สถิตพิทยายุทธ์) มีบุตรด้วยกัน 2 คน การทำงานพล.อ.อ.อิทธพร เข้ารับราชการในสังกัดกองทัพอากาศ เคยเป็นผู้บังคับฝูงบิน 103 กองบิน 1 ในปี พ.ศ. 2531 เป็นเสนาธิการกองบิน 1 ปี พ.ศ. 2534 และได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งที่สูงขึ้นเรื่อยมาจนในปี พ.ศ. 2538 ได้รับตำแหน่งผู้บังคับการกองบิน 21 เป็นเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ พ.ศ. 2547 เป็นผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศฝ่ายยุทธการ พ.ศ. 2549 เป็นรองเสนาธิการทหารอากาศ พ.ศ. 2550 และเป็นเสนาธิการทหารอากาศในปีเดียวกัน กระทั่งในปี พ.ศ. 2551 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2555 พล.อ.อ.อิทธพร ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศจาก พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศคนก่อนและเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ซึ่งทาง พล.อ.อ.ชลิต ได้กล่าวถึง พล.อ.อ.อิทธพรว่า เป็นทหารของประชาชนโดยขนานแท้ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไปในระหว่างการชุมนุม 193 วัน นั้น พล.อ.อ.อิทธพร ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า อย่าเลือกปฏิบัติ[6] หากมีการออกมาเรียกร้องให้มีการดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งต้องทำอย่างเสมอภาค ถ้าเห็นว่า มีการเลือกปฏิบัติ หรือถูกกระทำเพียงฝ่ายเดียว ต้องระวัง เพราะจะเป็นตัวเร่ง อาจจะตกหลุมพรางในสิ่งที่คาดไม่ถึงได้ หากกฎหมายเป็นกฎหมาย และถูกปฏิบัติเหมือนกันทั้งสองฝ่าย คงไม่มีเหตุการณ์ที่รุนแรงเกิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[7] เครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
ราชการพิเศษ
อ้างอิง
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ อิทธพร ศุภวงศ์ แหล่งข้อมูลอื่น
|