เขตบึงกุ่ม
บึงกุ่ม เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางตอนกลางของพื้นที่ ที่ตั้งและอาณาเขตเขตบึงกุ่มตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ที่มาของชื่อเขตประมาณ พ.ศ. 2386 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบางจนได้รับชัยชนะ และได้กวาดต้อนครอบครัวจากหัวเมืองรายทางเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โดยให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่เขตบึงกุ่มและเขตคันนายาวในปัจจุบัน[3] ในย่านนั้นมีคลองสายหนึ่งซึ่งแยกจากคลองแสนแสบและไหลผ่านบึงเก่าแก่ที่มีขนาดใหญ่[4] มีต้นกุ่มขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก[5] จึงเรียกแหล่งน้ำสองแห่งนั้นว่า "คลองกุ่ม" และ "บึงกุ่ม" ประวัติเมื่อมีผู้คนอพยพเข้าไปอาศัยและทำมาหากินในบริเวณนี้เพิ่มขึ้น ย่านคลองกุ่มและพื้นที่ใกล้เคียงจึงได้รับการจัดตั้งเป็น ตำบลคลองกุ่ม เป็นตำบลหนึ่งที่ขึ้นกับอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร โดยกระทรวงมหาดไทยก็ได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลคลองกุ่มด้วยใน พ.ศ. 2506[6] ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[7] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[8] ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ ตำบลคลองกุ่มได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคลองกุ่ม อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ เนื่องจากเขตบางกะปิมีพื้นที่กว้างขวางมากและมีประชากรหนาแน่นขึ้น เพื่อความสะดวกในการบริหารราชการ ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่โดยแยกแขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาว และแขวงสะพานสูงมาจัดตั้งเป็นเขตใหม่โดยใช้ชื่อว่า เขตบึงกุ่ม[9] เนื่องจากตั้งสำนักงานเขตอยู่ใกล้กับสวนสาธารณะบึงกุ่ม[5] จนกระทั่ง พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบึงกุ่ม โดยยกฐานะแขวงคันนายาวรวมกับพื้นที่บางส่วนของแขวงคลองกุ่ม[10] ขึ้นเป็นเขตคันนายาว[11] และยกฐานะแขวงสะพานสูงขึ้นเป็นเขตสะพานสูง[11] การแบ่งเขตการปกครองวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น ได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคลองกุ่ม และตั้งแขวงนวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน[12] ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตบึงกุ่มแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตสะพานสูงและเขตคันนายาว ประชากร
ตราสัญลักษณ์ประจำเขตตราสัญลักษณ์ประจำเขตบึงกุ่ม มีลักษณะเป็นตรารูปวงกลม มีองค์ประกอบสำคัญต่างๆ และความหมายดังนี้
การคมนาคมในพื้นที่เขตบึงกุ่มมีทางสายหลัก ได้แก่
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
สถานที่สำคัญ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |